หลังจากดำเนินการแปลร่างสัญญาอยุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons - CC) มาได้ระยะหนึ่งแล้ว ในตอนนี้สำนักงานธรรมนิติได้ส่งมอบร่างสุดท้ายของสัญญาอนุญาตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยจะเปิดให้แสดงความคิดเห็นกันได้อีกสามสิบวันก่อนประกาศรับรองในที่สุด โดยเอกสารที่ทางธรรมนิติส่งมอบให้ครีเอทีฟคอมมอนส์ประเทศไทยนั้นได้แก่
ช่วงไม่กี่เดือนหลังข่าว Atom เริ่มมาทาง VIA ซึ่งบุกตลาดพีซีประหยัดไฟมานานก็พบว่าตัวเองกำลังอยู่ในสภาพไม่ดีนัก เนื่องจากผู้ผลิตจำนวนมากเลือกข้างไปอยู่กับทาง Atom ที่ให้ประสิทธิภาพดีกว่าเป็นเท่าตัว แผนการล่าสุดของทาง VIA จึงเป็นการออกแบบเครื่อง UMPC ในชื่อ OpenBook แล้วปล่อยแบบทั้งหมดให้ใครก็ได้ไปใช้งานได้ฟรีด้วยสัญญาอนุญาตแบบ Creative Commons (By-SA)
ตัวแบบมีทั้งลายวงจรบนตัวเครื่องและไฟล์ CAD ของตัวถัง นับว่าพร้อมเอาไปผลิตได้ในทันที สเปคมาตรฐานตามแบบที่ให้มามีดังนี้
หลังมีการเรียกร้องให้ Lawrence Lessig ผู้ให้กำเนิด Creative Commons ลงสมัครรับเลือกตั้งเข้าสู่สภาคองเกรสเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ ที่สร้างปัญหาในทุกวันนี้ ทางตัว Lessig เองก็ออกมาประกาศเป็นทางการแล้วว่าเขาตัดสินใจจะไม่ลงสมัครดังกล่าวอย่างแน่นอน โดยให้เหตุผลไว้ในวีดีโอความยาวห้านาทีของเขาว่าเขาต้องการการเปลี่ยนแปลง แต่เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่จะเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วอย่างที่ทุกคนหวัง
Lawrence Lessig เป็นอาจารย์สอนกฎหมายที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เขาโด่งดังจากกฎหมายด้านลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาแนวใหม่ มีหนังสือด้านนี้ออกมาหลายเล่ม เช่น Code หรือ Free Culture ผลงานชิ้นสำคัญคือเป็นหนึ่งในทีมผู้ริเริ่มแนวคิด Creative Commons ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตลิขสิทธิ์ที่ Blognone ใช้อยู่ นอกจากนี้ก็เป็นกรรมการบริหารในองค์กรด้านส่งเสริมเสรีภาพออนไลน์หลายแห่ง เช่น Electronic Frontier Foundation และ the Software Freedom Law Center
หลังจากที่มูลนิธิวิกิมีเดียซึ่งเป็นผู้ดำเนินการสารานุกรมวิกิพีเดียและโครงการอื่น ๆ ในรูปแบบเดียวกัน ได้เห็นชอบกับข้อเสนอของมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี ที่จะแก้ไขสัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู (ซึ่งบทความในวิกิพีเดียใช้อยู่ในปัจจุบ
เรื่องหนึ่งที่ถกเถียงกันในประชาคมวิกิพีเดีย คือเรื่องสัญญาอนุญาต กล่าวคือนับตั้งแต่เริ่มโครงการวิกิพีเดียเป็นต้นมา ผู้ก่อตั้งต้องการให้เนื้อหาของวิกิพีเดียสามารถนำไปเผยแพร่ต่อหรือแก้ไขได้อย่างเสรี แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องการให้การนำไปเผยแพร่ต่อหรือแก้ไขนั้นยังคงความเสรีอยู่เช่นเดิม จึงได้เลือกที่จะเผยแพร่เนื้อหาข้อความทั้งหมดด้วยสัญญาอนุญาต GFDL ซึ่งออกโดย Free Software Foundation (FSF)
จิมมี เวลส์ ผู้ก่อตั้งวิกิพีเดีย (หรือ วิกีพีเดีย ถ้าไม่อ่านแบบทิงลิช) ประกาศมาเมื่อคืนว่า มูลนิธิวิกิมีเดียตกลงยอมรับที่จะมีการปรับแก้ลิขสิทธิ์ของวิกิพีเดียจากเดิมที่เป็นแบบ GFDL ให้สอดคล้องกับ CC หรือ ครีเอทีฟคอมมอนส์ ที่ปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมและมีการพัฒนาตลอดเวลา (รวมถึงการแปลในหลายภาษา ซึ่งภาษาไทยเรากำลังจัดทำอยู่และคงออกมาให้ใช้เร็ววันนี้)
หลังจากที่สำนักกฎหมายธรรมนิติและสถาบันไทยรูรัลเน็ต ได้ร่วมกันเผยแพร่ร่างสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์สำหรับประเทศไทย ฉบับรับฟังความคิดเห็น ต่อสาธารณชนแล้ว คณะทำงานได้นำข้อคิดเห็นไปปรับปรุงร่างสัญญาและได้ส่งร่างข้างต้นถึงครีเอทีฟคอมมอนส์อินเตอร์เนชันแนล (CCi) เพื่อพิจารณาเห็นชอบ
Creative Commons ออก Add-in สำหรับ OpenOffice.org ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกสัญญาอนุญาตของเอกสารที่สร้างเป็น Creative Commons เวอร์ชันต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
Add-in ตัวนี้พัฒนาโดย Cassio Melo นักศึกษาจากบราซิลใต้โครงการ Google Summer of Code 2007 และพัฒนาต่อโดยทีมของ OpenOffice.org ใช้ได้กับ Writer, Calc และ Impress ส่วน Draw นั้นรอเวอร์ชันหน้า
ดาวน์โหลดและอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก OOo Wiki วิดีโอสอนการใช้งานมีที่ YouTube ถ้าใครยังไม่เคยรู้จัก Creative Commons แนะนำ CC Thailand
Lawrence Lessig กรรมการครีเอทีฟคอมมอนส์ ได้เสนอร่างแก้ไขสัญญาอนุญาตฉบับทั่วไป (unport version) ใหม่เป็นรุ่น 3.01 เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากชุมชนครีเอทีฟคอมมอนส์ใน บล็อกของเขา
สาระสำคัญของการแก้ไขครั้งนี้ คือการแก้ไขสัญญาข้อ 4 (f) ซึ่งเป็นเรื่อง moral right เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ถกเถียงและวิจารณ์กันอย่างกว้างขวางมาก่อนหน้านี้แล้ว (ดูข่าวเก่ากรณี Flickr)
ในโอกาสที่ Creative Commons ภาษาไทยจะออกมาเร็วๆ นี้ เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจพอสมควรเลย
เรื่องนี้เริ่มจาก ครอบครัวชาวเท็กซัสครอบครัวหนึ่ง ไดทำการฟ้องร้อง Virgin Mobile ออสเตรเลียและ Creative Commons ในกรณีทำให้เกิดความอับอายและอดสู (grief and humiliation) ด้วยการนำรูปภาพของลูกสาวของครอบครัวนี้ ไปใช้ในป้ายโฆษณาของทาง Virgin โดยไม่ได้รับอนุญาต
ก่อนหน้านี้สำนักกฎหมายธรรมนิติ และสถาบันไทยรูรัลเน็ต ได้เซ็นสัญญา MOU ในการแปล Creative Commons เป็นภาษาไทยและให้สอดคล้องกับกฤหมายลิขสิทธิ์ในประเทศไทย (ข่าวเก่า)
ขณะนี้ร่าง CC Licences ภาษาไทย ฉบับรับฟังความคิดเห็น ได้ออกแผยแพร่ต่อสาธารณชนเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณชนไทย ว่ามีข้อเสนอแนะอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ โดยจะปิดรับความคิดเห็นในวันที่ 17 ตุลาคม ที่จะถึงนี้
ดาวน์โหลดเอกสารทั้ง 6 ฉบับได้ที่เว็บไซต์ต้นทางได้เลยครับ
ที่มา : youfest.in.th/CC_Thailand
ขอแสดงความยินดีในโอกาสครบรอบสามปีของ Blognone และในโอกาสงาน BTD3 ด้วยข่าวสั้นนี้ก็แล้วกันครับ
บจ.สำนักกฎหมายธรรมนิติิ และ สถาบัน TRN ลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมกับ Creative Commons International (Berlin) เพื่อที่จะแปลสัญญาเสรี Creative Commons (cc) เป็นภาษาไทย และให้ใช้ได้จริงในกฏหมายไทย
ผู้ดำเนินงานคาดว่าภายในสามเดือนนี้น่าจะเรียบร้อย
Creative Commons ได้ออกเวอร์ชัน 3.0 มาแล้ว โดยมีสิ่งที่เพิ่มมาจากเวอร์ชัน 2.5 หลายอย่างเช่น แยกสัญญาอนุญาตแบบ generic ออกจาก สัญญาอนุญาตของสหรัฐอเมริกา แล้วเรียกว่า “unported” license หรือในกรณีที่เอาผลงานที่ติด CC BY-SA มาใช้ สามารถเผยแพร่ต่อ โดยใช้สัญญาอนุญาตอื่นที่เทียบเท่าแทนได้ เป็นต้น รายละเอียดทั้งหมดอ่านได้จากที่มาครับ
ที่มา - Creative Commons
Lawrence Lessig แห่ง cc ได้เอารูปของฟักทองฮาโลวีนที่จิมโบ เวลส์กับลูกสาวทำมาขึ้นที่ บล็อกของเขา
ไม่ค่อยเห็นข่าว blognone จะใส่รูปเท่าใดนัก เลยให้ไปดูที่ Flicker เอาเองนะครับ มีวิธีทำด้วย
จาก --- lessig blog, Jimmy Wales's blog
ส่วนหนึ่งสั้นๆ ของบทสัมภาษณ์ Bill Gates ข้างล่างนี้ กำลังเป็นจุดสนทนาอยู่บนหลายๆ website
Q: "In recent years, there's been a lot of people clamoring to reform and restrict intellectual-property rights. It started out with just a few people, but now there are a bunch of advocates saying, 'We've got to look at patents, we've got to look at copyrights.' What's driving this, and do you think intellectual-property laws need to be reformed?