Opera GX เว็บเบราว์เซอร์สำหรับเกมเมอร์ ฉลองอายุครบ 1 ปี (เปิดตัวเดือนมิถุนายน 2019) เพิ่มฟีเจอร์สำคัญคือรองรับ Discord แอพแชทยอดนิยมของชุมชนเกมเมอร์ โดยเพิ่มปุ่ม Discord ที่แถบ sidebar ด้านซ้ายมือ กดแล้วจะเป็นหน้าต่างแชทของ Discord ลอยขึ้นมาทับหน้าจอปกติ
ก่อนหน้านี้ Opera GX รองรับเว็บแอพยอดนิยมตัวอื่นๆ คือ Twitch, Facebook Messenger, WhatsApp และล่าสุดในอัพเดตเดือนพฤษภาคมคือ Instagram
ฟีเจอร์ใหม่ในอัพเดตนี้คือ Hot Tabs Killer หรือการ kill แท็บที่กินทรัพยากรเยอะๆ และ Force Dark Pages เปลี่ยนธีมหน้าเว็บใดๆ ก็ได้เป็นธีมสีมืด
มาถึงตอนนี้ทุกคนคงใช้แอพประชุมออนไลน์กันหมดแล้ว โดยมีผู้เล่นในตลาดมากมายทั้งบริษัทเล็กใหญ่ ซอฟต์แวร์ตัวหนึ่งที่ดังขึ้นมาในช่วงโรคระบาดคือ Zoom แต่ดังได้ไม่นานก็มีข่าวด้านลบเกี่ยวกับความปลอดภัยของแอพนี้เข้ามาหลายเรื่อง ซึ่ง Zoom ก็ได้รีบจัดการกับประเด็นดังกล่าวและร่วมมือกับหลายบริษัทในการยกเครื่องความปลอดภัย
นอกจากนี้ก็มี Microsoft Teams ที่ตัวเลขผู้ใช้ก้าวกระโดดเช่นกัน โดยการใช้งานประชุมออนไลน์เพิ่มขึ้น 200% ในเวลาเพียงครึ่งเดือน หรือซอฟต์แวร์ตัวอื่นๆ ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นกันถ้วนหน้า เช่น Google Meet, BlueJeans, Cisco Webex ฯลฯ
สัปดาห์นี้คนจำนวนมากทั่วโลกต้องเริ่มทำงานจากที่บ้าน หรือที่เราเรียกกันว่า Work From Home (WFH) ความท้าทายที่สุดคือการสนทนาแบบเห็นหน้าจะต้องถูกทดแทนด้วยการสื่อสารแบบอื่น เช่น แชท โทรศัพท์ วิดีโอ ซึ่งคนทำงานย่อมต้องปรับตัวทั้งในแง่เครื่องมือ (tools) วิถีการทำงาน (process) และวัฒนธรรมองค์กร (culture)
บทความนี้จะแนะนำตัวเครื่องมือ (tools) นั่นคือโซลูชันการประชุมออนไลน์แบบวิดีโอเป็นกลุ่มใหญ่ (video meeting) ที่ได้รับความนิยมในตลาด 6 ตัวมาให้เป็นตัวเลือกกัน
โปรแกรมที่คัดมาเสนอรอบนี้เกือบทั้งหมดฟรี หรือมีแพ็กเกจแบบฟรีให้ลองใช้งาน
Discord เป็นแอปแชทฟรีที่สามารถสร้างเซิร์ฟเวอร์แบบต้องเชิญคนเข้าเท่านั้น สามารถสร้าง แชนแนลคุยเสียงหรือแชท แยกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ ได้ ถึงจะใช้เวอร์ชั่นฟรี ก็ไม่มีการจำกัดจำนวนข้อความในห้อง มีฟังก์ชั่น syntax highlighting สำหรับชาว developers แถมยังมีฟังก์ชั่นวิดีโอคอลได้สูงสุด 10 คน และแชร์จอให้คนอื่นดูได้ด้วย
Discord สามารถใช้งานผ่านบราวเซอร์ หรือดาวน์โหลดมาลงในเครื่องก็ได้ ใช้งานได้ทั้งบน Mac, Windows, Linux, Android และ iOS หลังจากดาวน์โหลด ก็สามารถสมัครผ่านในแอปได้เลย หรือถ้าใช้งานผ่านบราวเซอร์ ก็สามารถสมัครได้ผ่าน ลิงก์นี้ โดยใช้แค่อีเมล ตั้ง username และรหัสผ่านเท่านั้น
Discord เป็นแอปแชทออนไลน์ฟรี ที่ใช้งานได้ทั้งบนคอม บนบราวเซอร์ และในมือถือ แท็บเล็ต ของทั้ง iOS และ Android มีระบบสร้างห้องแบบต้องถูกเชิญเข้ามาเท่านั้น ทั้งห้องแชทธรรมดา ห้องคุยเสียง หรือวิดีโอคอลได้สูงสุด 10 คน และมีฟังก์ชั่น Go Live แชร์หน้าจอให้คนอื่นดูได้ ที่ปกติจะแชร์ได้แค่กับ 10 คน แต่ไม่นานมานี้ Discord เพิ่งเพิ่มลิมิตให้เป็น 50 คนในช่วงวิกฤต COVID-19
ในช่วงกระแสทำงานจากที่บ้านแบบนี้ Discord จากที่เคยเป็นแอปพูดคุยที่ฮิตในหมู่เกมเมอร์ กลายเป็นอีกหนึ่งแอปที่น่าสนใจในการใช้งานเป็นห้องเรียนออนไลน์ ซึ่ง Discord เองก็ออกมาแนะนำวิธีการใช้เครื่องมือสำหรับการเรียนออนไลน์แล้วด้วย
หลังจาก Go Live เป็นฟีเจอร์สตรีมเกมและแชร์หน้าจอผ่าน voice channel ใน Discord ที่จะให้อารมณ์เหมือนชวนเพื่อนมานั่งเล่นเกมด้วยกัน เปิดตัวไปเมื่อปีที่แล้ว และก่อนหน้านี้ลิมิตผู้เข้าชมไว้ที่ 10 คน แต่ล่าสุด ทาง Discord ได้เพิ่มลิมิตให้เป็นพิเศษ เพื่อให้มีผู้เข้าชมได้ถึง 50 คน เพื่อช่วยอำนวยความสะดวก ในช่วงวิกฤต COVID-19
Jason Citron ซีอีโอของ Discord ได้เขียนในบล็อกของ Discord ว่า ทางบริษัทรับฟังเสียงของผู้ใช้ และตัดสินใจเพิ่มลิมิตนี้ เพราะว่า “เราอยากช่วยพวกคุณ” ให้ก้าวผ่านวิกฤตและความวุ่นวายในชีวิตนี้ไปได้ และจะคงลิมิตที่ 50 คนไว้ “นานเท่าที่จำเป็น” แต่ Citron ก็ยังกล่าวไว้ว่า การเพิ่มลิมิตนี้ อาจทำให้มีผู้ใช้มากขึ้น ขอให้อดทนกับปัญหาทางเทคนิคบางประการที่อาจตามมาบ้างไป
ประเด็นหนึ่งที่บริการคลาวด์ถูกโจมตีมาตลอดคือเรื่อง vendor lock-in หรือการถูกบังคับโดยอ้อมให้ต้องอยู่กับผู้ให้บริการคลาวด์เจ้านั้นตลอดไป เพราะการย้ายออกมีต้นทุนแฝงสูงมาก โดยเฉพาะบริการเฉพาะทางของผู้ให้บริการแต่ละราย (เช่น AI หรือ data) ที่ไม่ใช่บริการสามัญ (เช่น compute หรือ storage)
กรณีศึกษาล่าสุดมาจาก Discord แอพแชทยอดนิยมของวงการเกมเมอร์ ที่ระบุว่าย้ายระบบคลังข้อมูล (data warehouse) จากเดิมที่ใช้ Amazon Redshift มาเป็นบริการเทียบเคียงกันคือ BigQuery ของกูเกิล
หมายเหตุ: บทความนี้มาจากบล็อกของกูเกิล (เขียนโดยทีมงาน Discord ในฐานะลูกค้า GCP) ย่อมเชียร์บริการฝั่งกูเกิล แต่นำมาให้อ่านเพื่อเป็นกรณีศึกษาเรื่องการย้ายคลาวด์ข้ามค่าย
Discord เปิดร้านขายเกมดิจิทัลของตัวเองเมื่อเดือนสิงหาคม 2018 และภายหลังขยายมาเป็นบริการเกมฟรี Nitro Games สำหรับลูกค้า Discord Nitro บริการพรีเมียมเดือนละ 9.99 ดอลลาร์
เวลาผ่านไปหนึ่งปี Discord ประกาศว่าบริการเกมฟรีมีคนใช้น้อยกว่าที่คาด และเมื่อต้องต่อสัญญากับบริษัทเกมเมื่อครบปี ทำให้ Discord ตัดสินใจปิด Nitro Games โดยมีผลวันที่ 15 ตุลาคม 2019 ส่วนเกมที่เคยซื้อบนระบบ Discord (ที่ไม่ใช่เกมฟรี) ยังสามารถเล่นต่อได้ตามปกติ
Discord ระบุว่าจะหันไปเพิ่มบริการใหม่ๆ ให้กับ Discord Nitro แทน เพื่อให้ผู้ที่จ่ายค่าสมาชิกรู้สึกคุ้มค่ายิ่งขึ้น แต่ก็การันตีว่าบริการหลักของ Discord จะฟรีตลอดไป
ยุคสมัยนี้ใครๆ ก็ต้องมีระบบไลฟ์ของตัวเอง ล่าสุดเป็นคิวของ Discord แอพแชทชื่อดังขวัญใจเกมเมอร์ ที่ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ "Go Live" สำหรับสตรีมเกมให้คนอื่นรับชมผ่าน Discord ได้ด้วย
ฟีเจอร์ Go Live ของ Discord ยังออกแบบมาสำหรับการสตรีมเกมในหมู่เพื่อนๆ เป็นหลัก เพราะจำกัดจำนวนผู้ชมที่ 10 คนเท่านั้น ส่วนผู้ชมสามารถชมไลฟ์ได้จากแอพเดสก์ท็อปหรือเบราว์เซอร์ (แอพมือถือกำลังตามมา) ฟีเจอร์นี้จะเริ่มให้บริการในวันที่ 15 สิงหาคมนี้
ผู้ที่เคยล็อกอินเข้าระบบ Xbox (แม้ไม่มีเครื่องคอนโซล Xbox ก็สามารถใช้ได้ผ่านแอพ Xbox ของ Windows 10) คงทราบกันดีว่ามันมีระบบตั้งชื่อบัญชีที่เรียกว่า Gamertag ซึ่งมีข้อจำกัดในการตั้งชื่ออยู่พอสมควร โดยเฉพาะการห้ามตั้งชื่อซ้ำกัน
แต่ด้วยอิทธิพลของแอพแชทสำหรับเกมเมอร์อย่าง Discord ที่อนุญาตให้ตั้งชื่อผู้ใช้ซ้ำกัน โดยจะมีตัวเลขห้อยท้ายหลังสัญลักษณ์ # ก็กลายเป็นมาตรฐานใหม่ของวงการเกม (เช่น Blognone#1048) จนทำให้ไมโครซอฟท์ต้องยอมอนุญาตให้ตั้งชื่อ Gamertag แบบมีตัวเลขห้อยท้ายเหมือนกันแล้ว ส่วนผู้ใช้เดิมที่ไม่ต้องการเปลี่ยนชื่อ Gamertag ก็สามารถใช้ชื่อของตัวเองได้ตามปกติ โดยไม่มีตัวเลขห้อยท้ายชื่อด้วย
สงครามการถล่มราคา ลดส่วนแบ่งของร้านขายเกมเริ่มต้นขึ้นแล้ว หลัง Epic Games ประกาศท้าสู้ Steam ด้วยการขอส่วนแบ่งเพียง 12% ให้นักพัฒนาถึง 88% (Steam เป็น 30/70) ก็มีผู้ท้าชิงรายใหม่คือ Discord
แอพแชท Discord เพิ่งเปิดร้านขายเกมไปเมื่อกลางปี และมีจุดเด่นที่การเข้าถึงผู้ใช้ Discord จำนวน 200 ล้านคน ก็ออกมาประกาศว่าจะขอหักค่าส่วนแบ่งเพียง 10% เท่านั้น นักพัฒนาเอาไปเต็มๆ เลยถึง 90%
นโยบายใหม่จะเริ่มมีผลในปี 2019 และมีผลกับทุกเกมบน Discord Store โดยไม่แบ่งแยกว่าเป็นเกมดังหรือเกมอินดี้ แถม Discord ยังระบุว่าจะพยายามลดสัดส่วนรายได้ให้ต่ำกว่า 10% ด้วยในอนาคตถ้าเป็นไปได้
เป็นไปตามคาดหมายว่า Discord จะเปิดร้านขายเกมของตัวเอง วันนี้ผู้ใช้ในแคนาดาสามารถทดสอบ Discord Store ได้ก่อนใคร
หน้าตาของ Discord Store คล้ายกับร้านขายเกมแบบดิจิทัลรายอื่นๆ ทางบริษัทบอกว่าจุดเด่นคือการคัดเลือกเกมมานำเสนอ ที่ตั้งใจให้เหมือนการเข้าร้านหนังสือเล็กๆ ที่เจ้าของรู้จักหนังสือทุกเล่ม และสามารถแนะนำได้ว่าเราควรอ่านเล่มไหน
นอกจากนี้ Discord Store ยังมีเกมเอกซ์คลูซีฟที่เรียกว่า First On Discord เน้นเกมอินดี้จากนักพัฒนารายย่อย มาขายเฉพาะบน Discord ช่วงเวลาหนึ่งก่อนไปขายที่อื่นด้วย (ส่วนใหญ่คือ 90 วัน)
เพียงสัปดาห์เดียวหลัง Steam ยกเครื่องระบบแชทที่หน้าตาเหมือน Discord ฝั่งของ Discord ก็โต้กลับด้วยหน้า Games Tab รวมข้อมูลของเกมที่เพื่อนๆ ของเรากำลังเล่นกันอยู่ และหน้าตามันก็เหมือนกับ... Steam
Discord ระบุว่าหน้า Games Tab จะกลายเป็นหน้าโฮมอันใหม่ของผู้เล่น ในหน้านี้ประกอบด้วย
หลังจากมีเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างกลุ่มสนับสนุนคนผิวขาวแบบสุดโต่งกับฝ่ายต่อต้านการเหยียดผิวเกิดขึ้น บริษัทไอทีทั้งหลายแสดงท่าทีต่อต้านชัดเจนทั้งในระดับ CEO ที่ลาออกจากคณะที่ปรึกษาให้ทรัมป์
ล่าสุด Discord แพลตฟอร์มเพื่อติดต่อพูดคุยระหว่างเกมเมอร์แบบครบวงจร ได้ปิดแอคเคาท์ที่มีแนวโน้มเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่ชาร์ล็อตต์วิลล์ โดยมีแถลงการณ์ออกมาว่าไม่สนับสนุนให้เกิดความรุนแรงและการสร้างความเกลียดชัง จึงได้ปิดเซิร์ฟเวอร์ account ของ alright.com
หลังจากที่ Blognone ได้เคยแนะนำถึง Discord บริการช่องทางสื่อสารสำหรับเกมเมอร์ ไป และมีการกล่าวถึงฟีเจอร์ที่กำลังจะเพิ่มขึ้นมาในอนาคตอย่างวิดีโอแชทและการแชร์หน้าจอระหว่างกัน ในขณะนี้ Discord ได้เปิดให้ผู้ใช้งานจำนวน 5% ได้ทดลองใช้ฟีเจอร์ดังกล่าวแล้ว
Discord กล่าวว่าที่เปิดให้ทดลองกับผู้ใช้งานจำนวน 5% ก่อนนั้น เพราะต้องการทดสอบเซิฟเวอร์ว่าสามารถรับการสื่อสารที่กินแบนด์วิธจำนวนมากแบบนี้ได้มากขนาดไหน รวมถึงระบบยังไม่เสร็จสมบูรณ์ดี ยังคงมีบั๊กและอาการค้างอยู่ จึงขอทดสอบในวงแคบๆ ก่อน ทั้งนี้ Discord กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ผู้ใช้งานทั่วไปอาจจะต้องรอไม่น้อยกว่า 1 เดือน กว่าฟีเจอร์ทั้งสองนี้จะเปิดให้บริการแบบเต็มรูปแบบ
ที่ผ่านมา เกมเมอร์มีช่องทางหลากหลายในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ทั้งในขณะกำลังเล่นเกม หรือ พูดคุยสนทนาหลังเกมจบลง แต่ ณ เวลานี้ ไม่น่าจะมีแอปหรือโปรแกรมไหนที่จะมาแรงไปกว่า Discord แพล็ตฟอร์มช่องทางติดต่อพูดคุยกันระหว่างเกมเมอร์แบบครบวงจร ซึ่งทำให้คนทั้งนอกและในวงการเกมต่างต้องจับตามอง