มีคนค้นพบข้อมูลสมาร์ทโฟนตัวใหม่ของแบรนด์ Sony Xperia ที่จะเป็นตัวต่อของ Xperia 1 เมื่อต้นปี โดยข้อมูลนี้มาจาก UA profile (User Agent Profile) ซึ่งเป็นไฟล์ XML ที่รวมข้อมูลของอุปกรณ์ชิ้นนั้นๆ เพื่อแจ้งให้ทางเว็บไซต์ทราบว่ามีขีดความสามารถอย่างไรบ้าง
ข้อมูลระบุว่ามือถือตัวนี้ใช้รหัสรุ่น J8220 (ชื่อทางการค้าน่าจะเป็น Xperia 1R หรือ Xperia 2) มีหน้าจอความละเอียดสูงถึง 5,040 x 2,160 พิกเซล รวมเม็ดพิกเซลทั้งหมด 10,888,400 พิกเซล เยอะกว่าเม็ดพิกเซลของ Xperia 1 (1,644 x 3,840) ถึง 70%
ข่าวลือบอกว่า Xperia 1R ใช้ดีไซน์ใกล้เคียงกับ Xperia 1 โดยจะมีหน้าจอขนาดเล็กลงจากเดิม 6.5" เป็น 6.1"
สำนักข่าว Asahi ของญี่ปุ่น รายงานว่าแอปเปิลได้เข้าร่วมลงทุนใน Japan Display Inc (JDI) บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนหน้าจอของญี่ปุ่น ซึ่งอยู่ในแผนฟื้นฟูกิจการ คิดเป็นเงิน 100 ล้านดอลลาร์ โดยแอปเปิลก็จะสั่งชิ้นส่วนหน้าจอจาก JDI เพิ่มมากขึ้นด้วย
ก่อนหน้านี้ JDI เคยเตรียมขายหุ้นเพิ่มทุนกับกลุ่ม TPK ของไต้หวัน แต่ล่าสุดข้อเสนอถูกปัดไป ทำให้ JDI ต้องหาผู้ร่วมลงทุนรายใหม่
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจหลักของ JDI ในตอนนี้ยังเป็นการผลิตชิ้นส่วนหน้าจอแบบ LCD ซึ่งแอปเปิลนำไปใช้กับ iPhone XR เป็นหลัก ขณะที่แนวโน้มการใช้ชิ้นส่วนหน้าจอก็มาทาง OLED มากขึ้น และ JDI เพิ่งอยู่ช่วงเริ่มต้นในการผลิต
สมาคม VESA หรือ Video Electronics Standards Association ประกาศออกสเปกของ DisplayPort 2.0 มาตรฐานการส่งข้อมูลวิดีโอเวอร์ชันใหม่ ที่มีแบนด์วิดท์สูงสุดทางทฤษฎีถึง 80Gbps สูงกว่าของเวอร์ชันก่อนคือ DisplayPort 1.3/1.4 ที่ทำได้ 32.4Gbps เกือบ 3 เท่าตัว
แบนด์วิดท์ของ DisplayPort 2.0 ทำให้รองรับการส่งวิดีโอความละเอียด 8K พร้อมฟีเจอร์ต่างๆ อย่างรีเฟรชเรตสูงๆ หรือภาพแบบ HDR ได้สบาย แต่เท่านั้นยังไม่พอ การที่แบนด์วิดท์สูงมากจนเกินพอ (ลำพังแค่ DisplayPort 1.4 ก็รองรับ 8K อยู่แล้ว) ส่งผลให้ DisplayPort 2.0 มีฟีเจอร์ multi-stream ส่งข้อมูลวิดีโอได้หลายชุดพร้อมกัน ต่อออกหลายจอพร้อมกันด้วยเคเบิลเส้นเดียว (ต่อแบบ daisy-chain)
เกิดเป็นแอปเปิลย่อมหนีไม่พ้นการถูกเปรียบเทียบ และสิ่งที่โดนโจมตีมากที่สุดในงาน WWDC 2019 ย่อมหนีไม่พ้น ขาตั้งจอราคา 999 ดอลลาร์
บริษัทรายล่าสุดที่เข้ามาร่วมวงคือ MSI โดยบัญชีทวิตเตอร์ของ MSI ออสเตรเลีย โพสต์ภาพเปรียบเทียบระหว่างจอภาพ MSI Prestige รุ่น PS341WU ขนาด 34" ความละเอียด 5K ราคา 1,299 ดอลลาร์สหรัฐ (รวมขาตั้งจอแล้ว) โดยเทียบกับขาตั้งจอ 999 ดอลลาร์ที่ยังไม่รวมราคาของจอมาด้วยซ้ำ
จอภาพของ MSI รุ่นนี้เปิดตัวในงาน Computex และมีกำหนดวางขายในไตรมาสที่สามของปีนี้ เป็นจอ IPS แบบ wide สัดส่วน 21:9 รองรับ HDR และเน้นตลาดผู้ใช้กลุ่มครีเอทีฟโดยเฉพาะ
ที่ผ่านมาแอปเปิลอาจเขี้ยวแล้ว แต่ใช่ว่าจะเขี้ยวอีกไม่ได้ หลังจากเมื่อคืนที่ผ่านมาแอปเปิลเปิดตัวหน้าจอให้ Pro Display XDR ความละเอียด 6K โดยแอปเปิลพยายามชูจุดขายไม่ว่าจะเรื่องสี ความสว่างหรือแพแนลหน้าจอ
ทว่าเมื่อซื้อ Pro Display XDR สิ่งที่ได้มาในกล่องกลับมีแค่หน้าจอ, สายไฟ, สาย Thunderbolt 3 ขนาด 2 เมตรและผ้าเช็ดหน้าจอเท่านั้น เพราะแอปเปิลขายขาตั้ง (Pro Stand) แยกออกมาต่างหากในราคา 999 เหรียญหรือราว 31,000 บาท รวมถึงเมาท์ล็อกหน้าจอกับฐานอีก 199 เหรียญหรือราว 6,400 บาท เท่ากับว่าหากจะซื้อหน้าจอ Pro Display XDR รุ่นถูกสุด (4,999 เหรียญ) จะต้องจ่ายรวมขาตั้งแล้วเกือบ 6,000 เหรียญหรือราวๆ 180,000-190,000 บาท
ASUS เปิดตัวหน้าจอพกพา 2 รุ่นพร้อมกัน รุ่นแรก ZenScreen Touch เป็นรุ่นต่อจาก ZenScreen รุ่นแรกเมื่อปีที่แล้ว โดยรองรับทัชสกรีนแล้วพร้อมกัน 10 จุด เชื่อมต่อผ่าน USB-C และ Micro HDMI มีลำโพงบิลด์อินขนาด 1W มาให้ 2 ตัว
ตัวหน้าจออยู่ที่ขนาด 15.6 นิ้ว แพแนล IPS ความละเอียด FHD หนัก 0.9 กก. รองรับการเชื่อมต่อทั้ง Windows 10 และแอนดรอยด์ 6.0 ขึ้นไป โดยมีแอป ZenScreen Touch App บนแอนดรอยด์สำหรับฟังก์ชันต่างๆ บนแอนดรอยด์ที่เพิ่มเข้ามา แบตเตอรี่ขนาด 7,800 mAh ราคายังไม่เปิดเผย
ถัดจากมือถือจอพับได้ เราก็เข้าสู่ยุคโน้ตบุ๊กจอพับได้กันอย่างรวดเร็ว หลัง Lenovo เปิดตัวโน้ตบุ๊กจอพับได้ (Foldable PC) ที่มีกำหนดวางขายจริงในปีหน้า 2020
โน้ตบุ๊กตัวนี้ยังไม่มีชื่อรุ่น บอกเพียงว่ามันจะใช้แบรนด์พรีเมียม ThinkPad X1 ทำตลาด ตัวหน้าจอพับได้เป็นจอ LG OLED ความละเอียด 2K และยังไม่มีรายละเอียดอื่นๆ ออกมามากนัก ไม่ว่าจะเป็นสเปก น้ำหนัก และราคา
ที่มา - Lenovo
แม้จะยังไม่เปิดตัว แต่ OnePlus 7 เรือธงรุ่นถัดไปของ OnePlus ก็มีข่าวหลุดออกมาแล้วมากมาย ไม่ว่าจะเรื่องมี 2 รุ่นย่อย โดยรุ่น Pro หน้าจอจะมีรีเฟรชเรท 90Hz หรือมีกล้อง 3 ตัวเป็นต้น
ล่าสุดก็เป็นรีวิวเบื้องต้นจาก DisplayMate ผู้เชี่ยวชาญด้านหน้าจอที่เผยว่า หน้าจอของของ OnePlus 7 Pro ได้คะแนนที่ระดับ A+ ระดับเดียวกับ Galaxy S10+ และ Pixel 3 XL
แอปเปิลได้นำจอภาพ LG UltraFine Display ความละเอียด 4K ออกจาก Apple Online Store แล้ว โดยเริ่มต้นในสหรัฐฯ ก่อน และจะตามด้วยประเทศอื่นๆ ต่อไป
หน้าจอ LG UltraFine Display นี้เป็นการร่วมมือกันระหว่างแอปเปิล และ LG ในปี 2016 เพื่อใช้กับ MacBook Pro รุ่นที่เปิดตัวในตอนนั้นผ่านพอร์ต Thunderbolt 3
หน้าจอ LG 4K มีขนาด 21.5 นิ้วแบบ IPS ความละเอียด 4096x2304 พิกเซล เปิดตัวที่ราคา 699.95 ดอลลาร์ แต่อย่างไรก็ตามหน้าจอความละเอียด 5K ที่เปิดตัวพร้อมกันยังคงอยู่บน Apple Online Store อยู่
Japan Display (JDI) บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนหน้าจอของญี่ปุ่น ประกาศรับเงินช่วยเหลือรวม 80,000 ล้านเยน หรือราว 23,000 ล้านบาท จากกลุ่มกองทุนของจีนและไต้หวัน ได้แก่ TPK บริษัทผลิตชิ้นส่วนจอสัมผัสของไต้หวัน, Harvest Tech กองทุนจากจีน และ Cosgrove Global กลุ่มทุนจากไต้หวัน โดยจะเป็นการออกหุ้นเพิ่มทุน เพื่อช่วยให้ JDI สามารถขยายตลาดสินค้าจากจอ LCD มาสู่ OLED รวมทั้งลดการพึ่งพาลูกค้าหลักอย่างแอปเปิล
ถึงแม้ในตลาดมือถือเป็นคู่แข่งกัน แต่ซัมซุงก็ป้อนชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และจอภาพให้กับคู่แข่งด้วย ก่อนหน้านี้เราเห็นข่าว iPhone X ใช้จอ OLED จาก Samsung Display กันไปแล้ว ล่าสุดมีข่าวว่า Huawei P30 ที่กำลังจะเปิดตัว ก็ใช้จอภาพ AMOLED/OLED จาก Samsung Display เช่นกัน
ข้อมูลนี้มาจากเว็บไซต์ MyDrivers ของประเทศจีน ที่บอกว่า Huawei เปลี่ยนผู้ผลิตจอภาพของซีรีส์ P จากเดิม LG มาเป็น Samsung Display และมีโอกาสสูงที่มือถือรุ่นอื่นๆ เช่น Mate จะเปลี่ยนมาใช้จอของซัมซุงด้วย
ไม่น่าใช่เรื่องเกินความคาดหมายนักเมื่อ DisplayMate ผู้เชี่ยวชาญด้านการทดสอบจอภาพ ให้คะแนนรีวิวหน้าจอของ Galaxy S10 ออกมาที่ A+ ได้รับคะแนนยอดเยี่ยมในทุกหมวดการทดสอบ พร้อมทำสถิติใหม่ในการทดสอบหน้าจอสมาร์ทโฟนในหลายหมวด แม้ DisplayMate จะปรับรูปแบบการทดสอบให้เคี่ยวขึ้นกว่าเดิมก็ตาม
จุดที่ DisplayMate ระบุว่า Galaxy S10 ทำสถิติใหม่คือ การแสดงผลสีได้ถูกต้องที่สุดแทบจะเรียกได้ว่าสมบูรณ์แบบ รวมถึงยังแสดงคอนทราสต์ของภาพได้ถูกต้องสมบูรณ์แบบที่สุด (Visually Indistinguishable From Perfect), หน้าจอสว่างที่สุด (1,215 nits) และการแสดงผลสีและความสว่างแทบไม่เพี้ยนแม้จะเปลี่ยนมุมมอง เป็นต้น
Samsung Display บริษัทลูกด้านจอภาพของซัมซุง เปิดตัวจอภาพ OLED ความละเอียด 4K ขนาด 15.6 นิ้วสำหรับโน้ตบุ๊ก เป็นสัญญาณว่าเราจะได้เห็นโน้ตบุ๊กจอ OLED ออกสู่ตลาดกันมากขึ้นภายในปีนี้
หน้าจอ 4K OLED มีความสว่างต่ำสุด 0.0005 nits และสูงสุด 600 nits, อัตราคอนทราสต์ 120,000:1 สูงกว่า LCD แบบดั้งเดิมมาก, รองรับสี 3.4 ล้านสีตามมาตรฐาน DCI-P3 ที่ 100%, ผ่านมาตรฐาน VESA DisplayHDR TrueBlack ที่มีระดับสีดำลึกว่า HDR ปกติถึง 100 เท่า
จอภาพตัวนี้จะเริ่มผลิตเป็นจำนวนมากในเดือนกุมภาพันธ์ แต่ยังไม่มีข้อมูลว่ามีผู้ผลิตโน้ตบุ๊กรายใดบ้างจะนำไปใช้งานกัน
Dell เปิดตัวจอภาพใหม่ขนาดใหญ่ 75 นิ้ว 4K แบบสัมผัสเพื่อการใช้งานเป็นกระดาน มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาและใช้เพื่อการประชุมหรือทำงานร่วมกัน ซึ่งไอเดียลักษณะคล้ายกับ Surface Hub หรือ Google Jamboard
จอนี้มีชื่อว่า Dell 75 4K Interactive Touch Monitor (C7520QT) ซึ่งออกแบบมาเพื่อการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม หรือใช้เพื่อการสอนในห้องเรียน ตัวจอรองรับการสัมผัสสูงสุด 20 จุด รองรับทั้งนิ้วและปากกา พร้อมทั้งฟีเจอร์ Dell Screen Drop ที่สามารถปรับให้จอเลื่อนขึ้นหรือลงได้สามระดับเพียงกดปุ่ม ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้ที่มีความสูงต่างกันไม่มีปัญหาในการใช้งานจอนี้
The Wall Street Journal รายงานข้อมูลจากแหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยชื่อ ระบุ Apple จะใช้จอ OLED ใน iPhone ปี 2020 ทุกรุ่น จะไม่ใช้จอ LCD ในรุ่นใดรุ่นหนึ่ง เพื่อสนับสนุนการออกแบบโทรศัพท์ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาจอ OLED ได้รับความนิยมมากกว่าจอ LCD ซึ่ง Apple ก็มีความสนใจหาทางเลือกอื่นๆ เพื่อทดแทนจอ LCD โดย Mark Gurman แห่ง Bloomberg เคยรายงานว่า Apple มีการทดลองผลิตชิ้นส่วนหน้าจอขึ้นเองที่เรียกว่า MicroLED ที่ทำให้อุปกรณ์มีความบางและสว่างมากกว่าจอ OLED
ในงาน CES 2019 สัปดาห์ที่แล้ว NVIDIA ออกไดร์ฟเวอร์ G-Sync ที่ซัพพอร์ทหน้าจอ FreeSync บางรุ่น ซึ่งก็นำไปสู่คำถามของผู้ใช้ว่าจีพียูเก่าของ NVIDIA อย่างซีรีส์ 900 จะรองรับคุณสมบัติรีเฟรชภาพแบบไดนามิกนี้หรือไม่
ทีมงานซัพพอร์ทของ NVIDIA ได้ตอบคำถามในฟอรัม GeForce บนเว็บ NVIDIA ยืนยันว่าจีพียูที่ใช้สถาปัตยกรรม Maxwellหรือเก่ากว่านั้น (ซีรีส์ 900 ลงไป) จะไม่รองรับเทคโนโลยีรีเฟรชภาพแบบไดนามิกนี้ (Adaptive Sync, FreeSync) แน่นอน เท่ากับว่ามีเพียงจีพียูซีรีส์ 1000 และ 2000 เท่านั้น
ก่อนซัมซุงจะเผยโฉมต้นแบบมือถือพับได้ในงาน Samsung Developer Conference 2018 เมื่อวันที่ 8 พ.ย.2018 หลายคนอาจไม่รู้ว่าก่อนหน้านั้น Royole บริษัทด้านเทคโนโลยีของจีน ชิงเปิดตัว FlexPai มือถือพับได้ 180 องศา ไปก่อนแล้วตั้งแต่ 31 ต.ค.2018 และยังเป็นเจ้าแรกที่วางขายมือถือประเภทนี้แล้วด้วย
แม้ Lenovo จะไม่ได้โดดเด่นเรื่องหน้าจอแยกเท่าไหร่นัก แต่ ThinkVision P44w รุ่นใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวในงาน CES 2019 มาพร้อมฟีเจอร์ที่น่าสนใจอย่างการรองรับแหล่งภาพจาก 2 แหล่งพร้อมกัน
ThinkVision P44w มาในขนาด 43.4 นิ้ว อัตราส่วน 32:10 ความละเอียด 3840x1200 หรือเทียบเท่ากับจอ 24 นิ้ว สัดส่วน 16:10 ต่อกัน 2 จอ แหล่งภาพที่รองรับ 2 แหล่ง สามารถแสดงผลต่อกัน (Picture-by-Picture) หรือจะให้จอหนึ่งขึ้นเป็นจอเล็กซ้อนอยู่ก็ได้ (Picture-in-Picture) รีเฟรชเรทสูงสุด 144Hz พร้อมด้วยลำโพงที่ได้รับการรับรองจาก Harman Kardon ที่ฐาน
เทคโนโลยีด้านการแสดงผลที่ปรับอัตราการรีเฟรชภาพแบบไดนามิก (dynamic refresh rate หรือ variable refresh rate) ตามเนื้อหาการแสดงผล แบ่งออกเป็น 2 ค่ายคือ NVIDIA G-Sync และ AMD FreeSync
G-Sync ออกสู่ตลาดตั้งแต่ปี 2013 แต่กลับเป็น FreeSync ที่มาทีหลัง (เปิดตัว 2015) และมาแรงกว่า ด้วยเหตุผลว่า AMD ไม่คิดค่าไลเซนส์การใช้งานเทคโนโลยีแบบที่ NVIDIA ทำ ส่งผลให้บริษัทผลิตจอภาพสะดวกใจกับการซัพพอร์ต FreeSync มากกว่า มีจอที่เป็น FreeSync ออกสู่ตลาดเยอะกว่า
รอบนี้ NVIDIA จึงแก้เกมด้วยการออกไดรเวอร์ซัพพอร์ต หากจอภาพ FreeSync ตัวใดสามารถรองรับเทคโนโลยีแบบเดียวกับ G-Sync ได้ด้วย ตัวจีพียูก็จะเปิดฟีเจอร์ G-Sync ให้เองเลย
สินค้าน่าสนใจเปิดตัวในงาน CES 2019 คือโน้ตบุ๊กเกมมิ่งจาก HP ซึ่งเป็นการนำ HP Omen 15 ที่เปิดตัวเมื่อกลางปี 2018 มาอัพเดตเพิ่มเติม
หน้าตาของเครื่องยังเหมือนเดิมทุกประการ ซีพียูยังเป็น Core i7-8750H แต่จุดที่เปลี่ยนคือจีพียูอัพเกรดเป็น NVIDIA GeForce RTX ซีรีส์ 20 โดยจะวางขายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ ราคาเริ่มต้น 1,369.99 ดอลลาร์
แต่ฟีเจอร์ที่น่าสนใจจริงๆ คือ HP จะออกเวอร์ชันจอที่ใช้อัตรารีเฟรช 240Hz มาด้วย ถือเป็นโน้ตบุ๊กตัวแรกของโลกที่มีจอระดับนี้ กำหนดวางขายต้องรอนานถึงเดือนกรกฎาคม และยังไม่ระบุราคา
VESA หรือ Video Electronics Standards Association (ถ้าให้แปลน่าจะเป็น สมาคมกำหนดมาตรฐานวิดีโออิเล็กทรอนิกส์) ได้เปิดตัวมาตรฐาน HDR ใหม่ในชื่อ DisplayHDR True Black เพื่อกำหนดมาตรฐานระดับการแสดงผลสีดำให้กับจอภาพสมัยใหม่ที่เป็นกลุ่ม OLED ไปจนถึงจอ microLED ในอนาคต
ซึ่งมาตรฐาน DisplayHDR True Black แบบใหม่นี้จะกำหนดค่าของสีดำได้ลึกกว่าเดิมถึง 100 เท่า และปรับปรุงการวัด rise time (เวลาที่จอพลิกจากการแสดงผลสีดำมาเป็นขาว) ได้ดีกว่าเดิมถึง 4 เท่า
ในประเด็นเดียวกัน VESA ก็เปิดตัวมาตรฐานการวัด DisplayHDR และ DisplayHDR True Black ออกมาเป็น DisplayHDR 500 เลเวลสำหรับจอ HDR บนโน้ตบุ๊กแบบบางโดยเฉพาะ โดยยังคงเกณฑ์ของระดับความเข้มของสีดำ, color gamut เหมือนกับชุดวัด DisplayHDR 600 และ DisplayHDR 1000 เลเวล แต่ลดเกณฑ์ด้านการวัด luminance (ความเข้มแสง) ลงเล็กน้อยให้สอดคล้องกับการควบคุมความร้อนของจอขนาดพกพาด้วย
ที่มา - VESA
ทิศทางของมือถือในอนาคตกำลังก้าวเข้าสู่ดีไซน์แบบพับได้เพื่อใช้งานเป็นมือถือ กางออกเป็นแท็บเล็ต ซึ่งซัมซุงโชว์ต้นแบบให้เห็นกันไปแล้วในงาน Samsung Developer Conference 2018 และล่าสุด @evleaks นักปล่อยภาพหลุดข่าวลือวงการมือถือเผยคลิปการใช้งานมือถือแบบพับได้จาก Xiaomi
เว็บไซต์ SamMobile เจ้าพ่อข่าวลือสายซัมซุงรายงานข้อมูลที่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่า ซัมซุงจะเผย Sound on Display (SoD) ระบบกำเนิดเสียงบนหน้าจอ OLED ในงาน CES 2019 และจะนำไปใช้ร่วมกับสมาร์ทโฟนและทีวีรุ่นใหม่ด้วย
Sound on Display เป็นระบบกำเนิดเสียงบนหน้าจอ ทำให้สามารถตัดลำโพงด้านบนหรือล่างหน้าจอออกไปได้ ซึ่ง SamMobile คาดว่าระบบดังกล่าวจะทำให้ซัมซุงสามารถพัฒนาสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ให้มีสัดส่วนจอแสดงผลได้บนตัวเครื่องได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม SamMobile ระบุว่าระบบกำเนิดเสียงบนหน้าจอจะยังไม่ถูกนำมาใช้ใน Galaxy S10 ที่กำลังจะเปิดตัวต้นปี 2019
เทรนด์สมาร์ทโฟนปี 2019 เราเริ่มเห็นบ้างแล้วในปีนี้ นั่นคือ หน้าจอไร้รอยบาก พร้อมกล้องหน้าลอยบนหน้าจอ ได้แก่ Huawei Nova 4, Samsung Galaxy A8s และ Honor View 20 แม้ภายนอกเราอาจรู้สึกว่าการออกแบบไม่แตกต่าง แต่ Honor ออกมาเกทับ Samsung ว่าเทคนิคที่พวกเขาใช้ให้คุณภาพที่ดีกว่า
Honor แบรนด์ลูกของ Huawei เผยข้อมูลมือถือใหม่ที่ใช้ชื่อว่า Honor View20 มาพร้อมจุดเด่นของกล้องหลังความละเอียด 48 ล้านพิกเซล ใช้เซนเซอร์ Sony IMX586 CMOS ขนาดพิกเซล 0.8 ไมครอน และดีไซน์หน้าจอแบบใหม่ที่เรียกว่า All View (คล้ายดีไซน์หน้าจอ Infinity-O ของซัมซุง) มีกล้องหน้าลอยบนหน้าจอขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.5 มิลลิเมตร