วันนี้ทาง Ericsson ออกมาประกาศว่าได้บรรลุข้อตกลงกับ DTAC (อย่างเป็นทางการคือ dtac TriNet บริษัทลูกของ DTAC ที่ได้รับใบอนุญาตในคลื่น 2100 MHz) ในการขยายโครงข่าย 4G/LTE บนคลื่น 2100 MHz เป็นระยะเวลานาน 5 ปี
ตามข้อตกลงนี้ ทาง DTAC และ Ericsson จะร่วมมือกันทั้งวางแผน, เปิดให้ใช้งาน รวมถึงปรับแต่งและตั้งค่าเครือข่าย 4G/LTE ร่วมกันทั้งหมด โดยระบุว่าเมื่อการขยายโครงข่ายเสร็จสิ้น จะทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ใช้งานที่ดีขึ้นกว่าเดิม
ที่มา - Ericsson (ผ่านระบบ GlobeNewswire)
นอกจากข่าว ซัมซุงแลกสิทธิบัตรกับกูเกิลสิบปี วันนี้ซัมซุงยังประกาศข่าวสิทธิบัตรอีกหนึ่งข่าว โดยซัมซุงบรรลุข้อตกลงแลกเปลี่ยนสิทธิบัตรกับยักษ์ใหญ่วงการสื่อสาร Ericsson
ข้อตกลงนี้ ซัมซุงจะจ่ายเงินให้ Ericsson จำนวนหนึ่ง (จำนวนเงินไม่เปิดเผย แต่เป็นหลัก "ร้อยล้านดอลลาร์") แลกเปลี่ยนกับสิทธิการใช้งานสิทธิบัตรของ Ericsson และ Ericsson จะยุติคดีความฟ้องร้องด้านสิทธิบัตรทั้งหมดต่อซัมซุงที่ยื่นฟ้องต่อศาลทั่วโลก
ตัวแทนด้านทรัพย์สินทางปัญญาของ Ericsson ออกมาแสดงความยินดีต่อข้อตกลงครั้งนี้
สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานจากแหล่งข่าววงในว่า Hans Vestberg ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งซีอีโอของอีริคสัน ได้เข้ามาอยู่ในรายชื่อของการสรรหาซีอีโอคนใหม่ของไมโครซอฟท์ ขณะที่รายชื่ออื่น ๆ อย่างเช่น Satya Nadella หัวหน้าฝ่ายซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์, Stephen Elop อดีตซีอีโอของโนเกีย และคนอื่น ๆ ยังคงอยู่ในรายชื่อต่อไป
เราเห็นข่าว ST-Ericsson บริษัทร่วมทุนของ STMicroelectronics กับ Ericsson เตรียมปรับโครงสร้างองค์กร กันมาสักระยะหนึ่งแล้ว ล่าสุดบริษัทออกมาประกาศแผนการดังนี้
ต่อเนื่องจากที่ ST-Ericsson เคยประกาศปรับโครงสร้างองค์กร รวมถึงอาจต้องขายกิจการบางส่วน และยกเลิกการร่วมทุนกับ Ericsson ล่าสุดมีความคืบหน้าเพิ่มเติมแล้ว
จากการแถลงข่าวโดย Carlo Bozotti ซีอีโอของ STMicroelectronics ระบุว่าภายในปีหน้านี้ ST-Ericsson จะปรับโครงสร้างตลาดใหม่ ในการตัดสินใจดังกล่าวรวมถึงยกเลิกการร่วมทุนกับ Ericsson อยู่ด้วย โดยจะแล้วเสร็จในช่วงปรับโครงสร้างนี้ แต่จะยังให้กับสนับสนุนกับลูกค้าเดิมที่ยังใช้โซลูชันของ ST-Ericsson ต่อไป
ส่วนแผนใหม่ที่ว่าแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือเน้นไปที่กลุ่มผลิตภัณฑ์ MEMS เซนเซอร์ (ST เรียกกลุ่มนี้ว่า Sense & Power) และชิปสำหรับรถยนต์ อีกกลุ่มเป็นโซลูชันสำหรับหน่วยประมวลผลแบบฝังตัว
ตัวแทนของบริษัทที่เป็นสมาชิกกลุ่ม MPEG ไปประชุมกันที่สวีเดนเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อเตรียมพัฒนามาตรฐานการบีบอัดวิดีโอตัวใหม่ High Efficiency Video Coding (HEVC) หรือชื่ออย่างไม่เป็นทางการคือ H.265
HEVC เป็นพัฒนาการอีกขั้นของการเข้ารหัสแบบ Advanced Video Coding (AVC) หรือ H.264 ที่เราคุ้นเคยกันดี โดยทางกลุ่ม MPEG คาดว่ามันจะบีบอัดข้อมูลได้มากกว่า H.264 ถึงสองเท่า
เจ้าภาพของงานนี้คือ Ericsson ซึ่งระบุว่า HEVC ถูกออกแบบมาสำหรับเล่นวิดีโอผ่าน mobile broadband ซึ่งจะกลายเป็นเรื่องปกติที่พบได้ทั่วไป ดังนั้นประสิทธิภาพในการบีบอัด HEVC จึงต้องดีขึ้นกว่า AVC เพื่อส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายมือถือได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
เราเห็นข่าวการถอนตัวของ Ericsson ออกจาก Sony Ericsson กันไปแล้ว คราวนี้เราอาจเห็น Ericsson ถอนตัวออกจากบริษัทร่วมทุนอีกแห่งคือ ST-Ericsson
ST-Ericsson เป็นบริษัทที่เกิดจาก STMicroelectronics ยักษ์ใหญ่ของวงการไมโครอิเล็กทรอนิกส์ในฝรั่งเศส และ Ericsson เจ้าพ่อสื่อสารจากสวีเดน โดยร่วมทุนกันแบบ 50:50 พอดี
STMicroelectronics เชี่ยวชาญด้านหน่วยประมวลผลสำหรับอุปกรณ์พกพา ส่วน Ericsson ก็เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร มีสิทธิบัตรด้านนี้เป็นจำนวนมาก สองบริษัทมาเจอกันเลยได้โซลูชันทางฮาร์ดแวร์ที่สมบูรณ์แบบสำหรับโทรศัพท์มือถืออย่าง NovaThor นั่นเอง
เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ธุรกรรมการเข้าซื้อหุ้น Sony Ericsson ส่วนที่เหลือก็จบลงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดย Sony ได้ซื้อหุ้นส่วนที่เหลือจาก Ericsson ตามที่ได้มีการประกาศไว้เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2554
สองยักษ์ด้านโทรคมนาคมของโลกคือ Qualcomm และ Ericsson ประกาศความสำเร็จในการทดสอบการส่งข้อมูลเสียงระหว่างเครือข่าย 3G กับ LTE
ต้องอธิบายก่อนนิดนึงครับว่ายุค 2G/3G ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน จะแยกช่องสัญญาณเสียงกับข้อมูลออกจากกัน แต่พอเป็น 4G LTE จะคิดใหม่ทำใหม่ คือทุกอย่างที่ส่งกันบน LTE จะเป็นข้อมูลล้วนๆ (วิ่งบน IP ตามปกติ) ทำให้การโทรศัพท์ด้วยเสียงผ่าน LTE ตรงๆ ไม่สามารถทำได้ (การใช้งานมือถือ LTE ในปัจจุบันจึงต้องใช้ทั้ง LTE และ 2G/3G ควบคู่กันไป ขึ้นกับว่าตอนนั้นสื่อสารด้วยอะไร)
ยุคสมัยของสมาร์ทโฟนที่แม้ว่าจะอินเทอร์เน็ตในการรับข้อมูลจำนวนมหาศาลอยู่แล้ว แต่เอาเข้าจริงก็ยังต้องพึ่งพาการโอนข้อมูลผ่านสาย USB อยู่ดี และการส่งไฟล์แบบไร้สายก็ยังช้าเกินไป
ในงาน CES 2012 เวทีของ Ericsson ได้มาโชว์การส่งข้อมูลแบบที่เรียกว่า Capacitive coupling ที่เปรียบร่างกายดั่งสาย และใช้มือดั่งพอร์ต โดยให้คนหนึ่งถือสมาร์ทโฟนที่เปิดรูปภาพอยู่ และจับมือเข้ากับอีกคนที่แตะทีวีอยู่ ผลคือภาพดังกล่าวถูกส่งไปยังหน้าจอทีวีได้ (ดูภาพได้จากที่มา)
แม้ว่าจะยังบอกไม่ได้ว่าวิธีนี้จะเวิร์คหรือไม่ แต่ผู้ชายบางคนอาจชอบน่าดู เพราะนอกจากจะได้ถ่ายรูปสาวด้วย และได้จับมือตอนส่งด้วย :D
หลังจาก Sony เข้าซื้อหุ้นทั้งหมดของกิจการร่วมค้า Sony Ericsson ทุกคนก็ตั้งคำถามว่าชะตากรรมของคำว่า 'Ericsson' ในชื่อแบรนด์จะเป็นอย่างไร
Kristian Tear ผู้บริหารของ Sony ตอบเรื่องนี้ในคำสัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ Times of India ว่าแบรนด์ Sony Ericsson จะถูกลดความสำคัญลง ในขณะที่บริษัทจะเปลี่ยนภาพลักษณ์ตัวเองมาเป็นบริษัทสมาร์ทโฟนเพียงอย่างเดียว ใต้แบรนด์ Sony แทน
จากที่มีข่าวมาก่อนหน้า วันนี้ Sony ประกาศว่าจะเข้าซื้อหุ้นในกิจการร่วมทุน Sony Ericsson ในส่วนที่เป็นถือหุ้นโดย Ericsson 50% ทั้งหมด ทำให้ Sony เป็นเจ้าของส่วนธุรกิจโทรศัพท์มือถือนี้อย่างสมบูรณ์ รายละเอียของดีลนี้คือ Sony จะจ่ายเงินให้ Ericsson มูลค่า 1.05 พันล้านยูโร หรือประมาณ 1.47 พันล้านดอลลาร์
ครั้งที่แล้วแค่เจรจา แต่วันนี้ฝ่าย Ericsson ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า Sony ได้เข้าซื้อหุ้นที่เหลืออยู่ทั้งหมดของ Sony Ericsson ที่เป็นส่วนของ Ericsson ไปเรียบร้อยแล้วเมื่อเช้านี้ ด้วยจำนวนเงินทั้งหมด 1.05 พันล้านยูโร ทั้งนี้ Sony จะทำการรวบกิจการระหว่างแท็บเล็ต, มือถือ, โน้ตบุ๊ค และเครื่องเล่นเกมเข้าเป็นตระกูลเดียวกัน อีกทั้ง Sony ยังมีสิทธิ์ที่จะได้ครอบครองสิทธิบัตรจำนวน 5 ใบของ Ericsson Mobile ไว้ด้วย
Sony Ericsson เป็นบริษัทร่วมทุนของ Sony จากญี่ปุ่น และ Ericsson จากสวีเดน (สัดส่วน 50:50) เริ่มกิจการมาตั้งแต่ปี 2001 แต่วันนี้ผ่านมาสิบปี มีข่าวว่า Sony เตรียมเสนอซื้อหุ้นส่วนของ Ericsson แล้ว
ทางหนังสือพิมพ์ Wall Street Journal รายงานข่าวว่า Sony เจรจาซื้อหุ้นเกือบสำเร็จแล้ว มูลค่าการซื้อกิจการจะอยู่ระหว่าง 1.3-1.7 พันล้านดอลลาร์ ส่วนชื่อแบรนด์จะยังเป็น Sony Ericsson เหมือนเดิม หรือจะเปลี่ยนมาใช้แบรนด์ Sony ทั้งหมด อันนี้ยังไม่มีข้อมูล
ในข่าวยังบอกว่าการเจรจาครั้งนี้ Sony ยังจะได้สิทธิบัตรด้านมือถือจาก Ericsson ด้วย
อิริกสันเป็นบริษัทด้านการสื่อสารที่อาจจะเงียบๆ ไปบ้างในช่วงหลัง แต่ผลงานล่าสุดของห้องปฎิบัติการวิจัยก็แสดงผลงานด้วยการเสนอการปรับปรุงมาตรฐาน HTML5 ในส่วนของ Stream API และ device element เพื่อเป้าหมายหลักคือการประชุมทางไกลบนหน้าเว็บได้โดยไม่ต้องลงปลั๊กอินเพิ่มเติม
การปรับปรุงมีสามประการหลัก ได้แก่
ในขณะที่บ้านเรายังเพิ่งได้เริ่มใช้ 3G กันแบบพอหอมปากหอมคอไม่กี่พื้นที่ ตอนนี้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงบนโครงข่ายโทรศัพท์มือถือก็พัฒนามาถึงระดับกิกะบิตกันแล้ว
งานนี้ บริษัทอีริคสัน ผู้ผลิตอุปกรณ์โครงข่ายโทรศัพท์มือถือได้นำเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดอันนี้มาแสดงเป็นครั้งแรกในงาน Mobile World Congress 2010 ด้วย โดยการที่จะทำให้ได้ความเร็วสูงขนาดนั้น อีริคสันได้ใช้เทคโนโลยี MIMO 4 เสา คู่กับ Multi Carrier อีก 4 ช่องสัญญาณ ช่องละ 20MHz รวมช่องสัญญาณทั้งสิ้น 80MHz ทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะทำความเร็วได้ถึง 1 Gbps