เมื่อวานนี้ทาง FreeBSD ได้ปล่อย FreeBSD 14.0 รุ่นเสถียรอย่างเป็นทางการตัวแรกของรุ่น 14 โดยรุ่นนี้มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญดังนี้
ใครที่ใช้งาน FreeBSD อยู่สามารถปรับรุ่นได้แล้ววันนี้
ที่มา: FreeBSD 14.0-RELEASE Announcement - FreeBSD และ Phoronix
ระบบปฏิบัติการ FreeBSD มีอายุครบ 30 ปีเมื่อวานนี้ 19 มิถุนายน 2023 โดยมูลนิธิ FreeBSD Foundation ได้จัดฉลองด้วยกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการติดแท็ก #FreeBSD30 ในโซเชียลต่างๆ ด้วย
FreeBSD เป็นระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์สที่สร้างโดยทีมจาก University of California และพัฒนาต่อจากระบบปฏิบัติการดั้งเดิม Berkeley Software Distribution (BSD) อีกทีหนึ่ง จุดเริ่มต้นของการเลือกชื่อ FreeBSD เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 1993 และซอฟต์แวร์เวอร์ชันแรกออกในเดือนพฤศจิกายน 1993
โค้ดของ FreeBSD ถูกนำไปใช้ในโครงการ Darwin ของแอปเปิล ที่ภายหลังกลายเป็นแกนของระบบปฏิบัติการ macOS และ iOS ส่วนโครงการอื่นที่นำไปใช้งานคือระบบปฏิบัติการ Orbis OS ของ PS3, PS4, PS5
ระบบปฏิบัติการ FreeBSD ออกเวอร์ชัน 12.0 โดยทิ้งช่วงห่างจากเวอร์ชัน 11.0 ประมาณสองปี
ของใหม่ได้แก่
FreeBSD รองรับสถาปัตยกรรมซีพียูหลากหลาย ได้แก่ amd64, i386, powerpc, powerpc64, powerpcspe, sparc64, armv6, armv7, aarch64
FreeNAS ดิสโทรย่อยของ FreeBSD ออกเวอร์ชั่น 11.0 ตัวจริงแล้ว โดยเปลี่ยนตั้งแต่เคอร์เนลไปจนถึงหน้าเว็บสำหรับคอนฟิก
ตัวหน้าจอเขียนใหม่ใช้ Angular สามารถปรับธีมได้เองแล้ว แต่ตอนนี้ยังไม่สมบูรณ์นัก ประกาศระบุว่าจะสมบูรณ์ในเวอร์ชั่น 11.1 (เลือกใช้หน้าเว็บแบบเดิมได้) ส่วนเคอร์เนลเปลี่ยนมาใช้ FreeBSD 11-STABLE ความเร็วส่วนของเคอร์เนลเพิ่มขึ้น 20% เมื่อเทียบกับเวอร์ชั่น 9.10 สำหรับฟีเจอร์การเก็บไฟล์ส่วนที่เพิ่มมาคือ S3 API สามารถใช้งานกับแอปพลิเคชั่นที่ต้องเก็บไฟล์เข้า S3 แต่ใช้งานภายในองค์กรได้
ที่มา - FreeNAS
หลังจากที่ออกรุ่น 10.0 เมื่อต้นปี (ข่าวเก่า) ต้นเดือนที่ผ่านมา ทีมวิศวกรของ FreeBSD ก็ได้ปล่อยรุ่น 10.3-RELEASE ที่เป็นรุ่นปรับปรุงตัวที่สามของสายการพัฒนา 10-STABLE ที่เน้นการเพิ่มความเสถียรของระบบปฏิบัติการ
FreeBSD 10.0 ออกรุ่นสมบูรณ์แล้ว ของใหม่ในรุ่นนี้ได้แก่
ภายใต้บรรยากาศของความไม่วางใจว่าระบบรักษาความปลอดภัยอะไรจะถูกสร้างช่องโหว่โดย NSA ไว้บ้าง ระบบยูนิกซ์ที่เน้นเรื่องความปลอดภัยอย่าง FreeBSD ก็ประกาศว่าจะไม่ใช้งานตัวสร้างเลขสุ่มในซีพียู มาเป็นตัวสร้างเลขสุ่มของระบบปฎิบัติการโดยตรงอีกต่อไป
อินเทลและ VIA มีชุดคำสั่งพิเศษสำหรับการสร้างเลขสุ่มด้วยฮาร์ดแวร์ในตัวซีพียูเอง ฟีเจอร์สำคัญของตัวสร้างเลขสุ่มฮาร์ดแวร์คือให้ค่าสุ่มที่ดีและสามารถปล่อยค่าออกมาได้รวดเร็ว ตัว RDRAND สามารถสร้างค่าสุ่มได้ถึง 800 เมกกะไบต์ต่อวินาที
หลังจากที่ออกรุ่น 9.1 เมื่อต้นปี (ข่าวเก่า) ปลายเดือนที่ผ่านมา ทีมวิศวกรของ FreeBSD ก็ได้ปล่อยรุ่น 9.2-RELEASE ที่เป็นรุ่นปรับปรุงตัวที่สองของสายการพัฒนา 9-STABLE ที่เน้นการเพิ่มความเสถียรของระบบปฏิบัติการ
โดยนอกจากความเสถียรแล้ว ในรุ่น 9.2 จะมีความสามารถใหม่ ๆ เช่น
ชุดพัฒนา PlayStation 4 เริ่มแจกจ่ายให้นักพัฒนา เราก็เริ่มเห็นรายละเอียดของเครื่องรุ่นต่อไปกันมากขึ้น โดยระบบปฎิบัติการของ PlaySation 4 ที่ชื่อว่า Orbis OS นั้นภายในเป็น FreeBSD 9.0
เครื่อง PlayStation 4 นั้นหันมาใช้แพลตฟอร์ม x86-64 เช่นเดียวกับไมโครซอฟท์ ภายในเป็น AMD APU และชิปกราฟิก Radeon ที่ตอนนี้ไม่รองรับ FreeBSD
การเลือกใช้ BSD ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจสำหรับโซนี่ เพราะสัญญาอนุญาตที่ให้อิสระกับคนนำไปใช้งานว่าไม่ต้องเปิดซอร์ส ทำให้โซนี่สามารถเลือกพัฒนาส่วนที่เป็นความลับบริษัทฝังลงไปในเคอร์เนลได้โดยตรง (ขณะที่การพัฒนาบนลินุกซ์ต้องหาทางอื่นๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการละเมิด GPL)
หลังจากที่ออกรุ่น 9.0 เมื่อต้นปี (ข่าวเก่า) ปลายปีที่ผ่านมา ทีมวิศวกรของ FreeBSD ก็ได้ปล่อยรุ่น 9.1-RELEASE ที่เป็นรุ่นปรับปรุงตัวแรกของสายการพัฒนา 9-STABLE
โดยในรุ่น 9.1 จะมีความสามารถใหม่ ๆ เช่น
ก่อนหน้านี้ FreeBSD เปลี่ยนคอมไพเลอร์ประกาศเปลี่ยนคอมไพเลอร์เป็น LLVM/Clang ถัดจากคอมไพเลอร์ ก็ถึงทีของไลบรารีมาตรฐาน โดยชุดของ G++ นั้นจะมาพร้อมกับ libstdc++
การพัฒนานั้นจะเป็นจังหวะเดียวกันที่ไม่เข้ากับ Clang ทำให้การพัฒนาไปไม่พร้อมกัน ตอนนี้ทาง FreeBSD จึงดึงโครงการ libc++
ที่พัฒนามาคู่กันกับ LLVM/Clang
ปัญหาสำคัญของ libstdc++
คือสัญญาอนุญาตที่เพิ่งเปลี่ยนเป็น GPLv3 ในด้านเทคนิคนั้นฟีเจอร์ต่างๆ ของ libc++
นั้นจะใช้ฟีเจอร์ใหม่ๆ ของ C++11 ได้ครบถึง 98% แล้ว โดยตอนนี้ยังขาดอยู่เพียงฟีเจอร์ด้าน atomic เท่านั้น
ข่าวนี้เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ด้านคอมไพเลอร์ ศัพท์เทคนิคเฉพาะทางจะเยอะหน่อยนะครับ
เกริ่นก่อนว่าผู้อ่าน Blognone คงคุ้นเคยกับชื่อ GCC หรือ GNU Compiler Collection ซึ่งเป็นชุดซอฟต์แวร์ด้านคอมไพเลอร์สำหรับภาษาโปรแกรมต่างๆ มากมาย (ตอนแรกเน้น C/C++ เป็นหลัก) มันถูกสร้างขึ้นภายใต้โครงการ GNU และใช้สัญญาอนุญาตแบบ GPL ปัจจุบันมันเป็นคอมไพเลอร์มาตรฐานบนแพลตฟอร์มลินุกซ์และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สต่างๆ
แต่ GCC ไม่ใช่คอมไพเลอร์แบบโอเพนซอร์สเพียงโครงการเดียว เพราะมีโครงการคู่แข่งที่มาแรงในช่วงหลังคือ LLVM ซึ่งพัฒนามาจากโครงการวิจัยของมหาวิทยาลัย University of Illinois at Urbana–Champaign ในปี 2003
หลังจากที่ออกรุ่น 7.4 และ 8.2 พร้อมกัน(ข่าวเก่า) เมื่อเกือบหนึ่งปีที่แล้ว ทีมวิศวกรของ FreeBSD ก็ได้ปล่อยรุ่น 9.0-RELEASE ที่เป็นรุ่นแรกของสายการพัฒนา 9-STABLE หลังจากที่ออก 8-STABLE มาเมื่อสามปีที่แล้ว
โดยในรุ่น 9.0 จะมีความสามารถใหม่ ๆ เช่น
หลังจากที่ออกรุ่น 7.2 (ข่าวเก่า) เมื่อไม่กี่เดือนที่แล้ว และรุ่น 8.0 (ข่าวเก่า) เมื่อปลายปีที่แล้ว ทีมวิศวกรของ FreeBSD ก็ได้ปล่อยรุ่น 8.1 ที่เป็นรุ่นปรับปรุงสำหรับสายการพัฒนาเพื่อใช้งานจริง (Production release) โดยรุ่นนี้จะเน้นการจัดการกับบั๊กและปรับปรุงรุ่นของซอฟท์แวร์มากกว่าการแนะนำความสามารถใหม่ ๆ เช่น การสนับสนุน ZFS ได้ดีขึ้น สนับสนุน SMP บน PowerPC G5 สนับสนุน CPU ตระกูล UltraSPARC IV, IV+ และ SPARC64 V ของบริษัท Sun^H^H^HOracle และการปรับปรุงรุ่น เช่น GNOME 2.30.1 และ KDE 4.4.5 เป็นต้น
หลังจากที่ออกรุ่น 7.2 (ข่าวเก่า) เมื่อกลางปีที่แล้ว และรุ่น 8.0 (ข่าวเก่า) เมื่อปลายปีที่แล้ว ทีมวิศวกรของ FreeBSD ก็ได้ปล่อยรุ่น 7.3 ที่เป็นรุ่นปรับปรุงสำหรับสายการพัฒนาหลัก (Stable branch) โดยรุ่นนี้จะเน้นการจัดการกับบั๊กและปรับปรุงรุ่นของซอฟท์แวร์มากกว่าการแนะนำความสามารถใหม่ ๆ เช่น KDE/Gnome เป็น 4.3.5/2.28.2 ตามลำดับ bind เป็น 9.4-ESV และ Perl เป็น 5.10
สำหรับรุ่น 7.3 นี่จะเป็นรุ่นรองสุดท้าย ก่อนที่จะสายการพัฒนา 7.x จะเลิกการพัฒนา ซึ่งในขณะนี้นักพัฒนาส่วนใหญ่ก็ไปทำงานกับสายการพัฒนา 8.x กันหมดแล้ว รายละเอียดเพิ่มเติมอื่น ๆ ดูได้จากที่มาครับ
หลังจากที่ออกรุ่น 7.0 (ข่าวเก่า) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว และรุ่น 7.1 (ข่าวเก่า) เมื่อต้นปีนี้ ทีมวิศวกรของ FreeBSD ก็ได้ปล่อยรุ่น 7.2 ออกมาแล้ว โดยในรุ่นนี้ความสามารถเด่น ๆ ที่เพิ่มขึ้นมาก็คือการสนับสนุน superpage (เป็นการทำ memory paging ที่มีขนาด page ใหญ่มาก โดยบนวินโดวส์จะเรียก large page) สนับสนุนทั้งIPv4 และ IPv6 บน jails (เทคนิคการทำ virtualization แบบ FreeBSD คล้าย ๆ กับ OpenVZ บน Linux) และปรับปรุงรุ่นของซอฟท์แวร์ต่าง ๆ เช่น Gnome เป็น 2.26 และ KDE
หลายคนที่ใช้ลินุกซ์นั้นอาจจะสังเกตว่าเราเปลี่ยนเคอร์เนลได้อย่างอิสระ เช่นการลงลินุกซ์รุ่นเดสก์ทอปนั้นอาจจะเปลี่ยนไปใช้เคอร์เนลรุ่นเซิร์ฟเวอร์ได้ (ใช้บ่อยเวลาต้องการใช้แรมเกิน 4GB) แต่วันนี้โครงการ Debian ก้าวไปอีกขั้นด้วยการรองรับเคอร์เนล FreeBSD ซึ่งเป็นโครงการอีกโครงการที่พัฒนาบนพื้นฐานของยูนิกซ์โดยตรง
การรองรับ FreeBSD ยังจำกัดอยู่ในสถาปัตยกรรม i386 และ AMD64 เท่านั้น ถ้าใครใช้ ARM หรือ Itanium (แถวนี้มีมั่งไหม?) คงต้องรอไปอีกพักใหญ่ และการรองรับนี้จะอยู่ในส่วนของ unstable และ experimental เท่านั้น
ที่มา - Debian
หลังจากที่ออกรุ่น 7.0 เมื่อต้นปีที่แล้ว (ข่าวเก่า) ทีมวิศวกรของ FreeBSD ก็ได้ปล่อยรุ่น 7.1 ออกมาแล้ว โดยในรุ่นนี้ความสามารถเด่น ๆ ที่เพิ่มขึ้นมาก็คือการเปลี่ยนไปใช้ scheduler ตัวใหม่ที่ชื่อว่า ULE โดย scheduler ตัวใหม่นี่เชื่อกันว่าจะทำให้ทำงานกับหน่วยประมวลผลแบบหลาย core ได้ดียิ่งขึ้น และในส่วนของ kernel ก็ได้เพิ่ม DTrace เข้าไปซึ่งก็เอามาจาก OpenSolaris นั่นเอง โดย DTrace จะช่วยให้ตรวจหาข้อผิดพลาดใน kernel และในโปรแกรมทั่ว ๆ ไปได้ง่ายยิ่งขึ้น
FreeBSD เป็นระบบปฏิบัติการที่ดังอยู่เงียบๆ ในแวดวงของเซิร์ฟเวอร์ ปัจจุบันเวอร์ชันล่าสุดของ FreeBSD คือ 7.0-RELEASE แต่ในสาย 6.x ก็ยังมีคนใช้กันอยู่ ตอนนี้ 6.4 ซึ่งเป็นรุ่นล่าสุดในสายนี้ก็ออกแล้วครับ
รายการเปลี่ยนแปลง
รายละเอียดอยู่ที่ FreeBSD ใครเอา mirror เข้ามาในไทยแล้ว แจ้งไว้ได้ในคอมเมนต์