ไมโครซอฟท์ รายงานภาพรวมโครงการ Bug Bounty ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา (1 กรกฎาคม 2020 - 30 มิถุนายน 2021) จ่ายเงินรางวัลไปรวม 13.6 ล้านดอลลาร์ ให้กับผู้วิจัย 340 ราย จาก 58 ประเทศ
เงินรางวัลที่จ่ายให้สูงสุดมูลค่า 200,000 ดอลลาร์ ในโครงการรายงานช่องโหว่ของ Hyper-V มีค่าเฉลี่ยที่ 10,000 ดอลลาร์
ปัจจุบันไมโครซอฟท์มีโครงการรายงานช่องโหว่ 17 โครงการ โดยโครงการของ Hyper-V มีเงินรางวัลสูงสุดที่ 250,000 ดอลลาร์ ในปีที่ผ่านมาได้เพิ่มโครงการใหม่หลายอย่าง อาทิ Microsoft Teams หรือการเข้ารหัส SIKE
ที่มา: ZDNet
ไมโครซอฟท์จับมือ Canonical ออกอิมเมจ Ubuntu 18.04.1 LTS เวอร์ชันพิเศษที่ปรับปรุงให้ทำงานร่วมกับ Hyper-V ได้ดีกว่าเดิม เมื่อติดตั้งแล้วจะได้ Ubuntu ที่เป็น Enhanced Session Mode เชื่อมต่อระหว่าง host/guest ได้ดีขึ้น (เช่น แชร์ไฟล์ หรือ คลิปบอร์ด) โดยไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเองเลย
วิธีใช้งานสามารถเรียกจาก Hyper-V Quick Create ได้โดยตรงจากตัว Windows 10 เลย (ต้องเป็น Fall Creators Update ขึ้นไป)
ฟีเจอร์นี้จำเป็นต้องใช้ Hyper-V ซึ่งมีใน Windows 10 เกือบทุกเวอร์ชันยกเว้น Home
ไมโครซอฟท์ออก Windows Server 2019 รุ่นทดสอบ Insider Preview Build 17744 ของใหม่โฟกัสที่ Hyper-V
กูเกิลปล่อย Android Emulator ตัวใหม่ โดยได้ปรับปรุงให้สามารถรัน Android Virtual Device (AVD) สถาปัตยกรรม x86 บนเครื่องที่ใช้ซีพียูจากค่าย AMD ด้วยการใช้อีมูเลเตอร์ซึ่งสามารถเร่งความเร็วระดับฮาร์ดแวร์ผ่านแพลตฟอร์ม Hyper-V ของไมโครซอฟท์
การปรับปรุงข้างต้นจะช่วยให้นักพัฒนามีตัวเลือกมากขึ้น จากเดิมที่ต้องเลือกรัน AVD บนคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียู Intel เท่านั้น ถึงจะสามารถทดสอบแอพ Android บนเครื่องระบบปฏิบัติการ Windows ได้อย่างไหลลื่นและมีประสิทธิภาพ
ไมโครซอฟท์ประกาศว่าฟีเจอร์ Hyper-V บน Windows 10 รองรับ Android Emulator แล้ว ผลคือการรันอีมูเลเตอร์บนวินโดวส์จะเร็วกว่าเดิมจากการเร่งความเร็วที่ระดับฮาร์ดแวร์ ไม่อืดอาดแบบในอดีต
การใช้งานจำเป็นต้องอัพเกรด Windows 10 เป็น April 2018 Update ก่อน และเปิดใช้งาน Hyper-V จากหน้า Windows Feature, ติดตั้ง Visual Studio Tools for Xamarin preview และใช้งาน Android Emulator เวอร์ชัน 27.2.7 ขึ้นไป
ที่มา - Visual Studio Blog
ไมโครซอฟท์ประกาศฟีเจอร์ใหม่ของ Windows 10 ชื่อ Windows Defender Application Guard for Microsoft Edge มันคือการนำเบราว์เซอร์ Edge ไปรันใน VM เพื่อยกระดับความปลอดภัยอีกชั้น
เบราว์เซอร์รุ่นใหม่ๆ ทำงานใน sandbox เพื่อจำกัดความเสียหายของมัลแวร์ที่อาจทะลุช่องโหว่ของเบราว์เซอร์เข้ามา แต่ sandbox ที่ว่านี้คือซอฟต์แวร์ที่ยังอาจมีช่องโหว่ได้ แต่ฟีเจอร์ตัวใหม่นี้แยก Edge ไปรันใน VM ที่ใช้เทคโนโลยี Hyper-V ของไมโครซอฟท์ ซึ่งรันบนฮาร์ดแวร์ที่รองรับ (Intel VT-d) อีกทีหนึ่ง การแยกส่วนหรือ isolation ตัวเบราว์เซอร์ออกจากระบบปฏิบัติการหลัก จึงเข้มแข็งกว่ากันมาก ต่อให้มัลแวร์ทะลุเข้ามาก็ถูกจำกัดวงอยู่แต่ใน VM เท่านั้น
ไมโครซอฟท์ออกโปรโมชั่นจูงใจคนมาใช้ Windows Server 2016 (ออกเดือนกันยายนนี้) โดยมุ่งเป้าไปยังองค์กรที่ใช้ VMware ให้ย้ายมาใช้ระบบ Hyper-V ของไมโครซอฟท์แทน
โปรโมชั่นนี้จะให้ไลเซนส์ Windows Server Datacenter ฟรี สำหรับลูกค้าที่ย้ายจาก VMware มาใช้ Hyper-V โดยมีเงื่อนไขว่าต้องซื้อบริการ Software Assurance ด้วย ถือว่าช่วยลดค่าใช้จ่ายเรื่องไลเซนส์ของ Windows Server Datacenter ลงไปได้ มีระยะเวลาตั้งแต่ 1 กันยายน 2016 ถึง 30 มิถุนายน 2017
เมื่อต้นปี ไมโครซอฟท์เคยออกโปรโมชั่นลักษณะเดียวกัน ให้คนย้ายจาก Oracle Database มาใช้ SQL Server 2016 ฟรี โดยจ่ายเฉพาะค่า Software Assurance เท่านั้น
เทคโนโลยี container กำลังมาแรงมากในโลกของเซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่ แม้แต่ในสายของวินโดวส์เอง ปีที่แล้วไมโครซอฟท์ก็ประกาศความร่วมมือกับ Docker ว่า Windows Server รุ่นถัดไป (Windows 10 Server หรือบ้างก็เรียก Windows Server 2016) จะผนวกเอาระบบ container ของ Docker มาให้ในตัว
คราวนี้ไมโครซอฟท์ประกาศฟีเจอร์ container ที่เพิ่มความสามารถเข้ามาอีกชั้น ชื่อว่า Hyper-V Container หลักการคือเอาระบบ virtualization ของ Hyper-V ห่อหุ้ม container เข้ามาอีกชั้น
ใครที่กำลังมองหาอุปกรณ์ที่รองรับ InstantGo (ชื่อเดิม Connected Standby บน Windows 8) รัน Windows 8.1 อย่าง Surface Pro 3 เพื่อมารัน VM หรือพัฒนาแอพบน Windows Phone อาจจะต้องใส่ใจกับบทความนี้สักนิดครับ
ก่อนอื่นต้องขอปูพื้นเกี่ยวกับ Hyper-V และ InstantGo กันก่อน Hyper-V เป็นแพลตฟอร์มเวอร์ชวลไลเซชันของไมโครซอฟท์ มีทั้งบน Windows แบบเซิร์ฟเวอร์อย่าง Windows Server 2012 R2 และไคลเอนท์อย่าง Windows 8.1 สำหรับงานฝั่งไคลเอนท์ที่จะต้องใช้ Hyper-V ก็อย่างการทดสอบแอพบนระบบปฏิบัติการรุ่นต่างๆ หรือการพัฒนาแอพบน Windows Phone 8 เป็นต้นไป ที่อีมูเลเตอร์จะทำงานบน Hyper-V เท่านั้น
FreeBSD 10.0 ออกรุ่นสมบูรณ์แล้ว ของใหม่ในรุ่นนี้ได้แก่
เมื่อพูดถึงซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สสำหรับสร้างสถาปัตยกรรมกลุ่มเมฆ (IaaS Cloud) ช่วงหลังๆ คนมักพูดถึงโครงการ OpenStack ซึ่งเริ่มโดย NASA+Rackspace แต่จริงๆ แล้วก็ยังมีซอฟต์แวร์ฝั่งโอเพนซอร์สที่ทำงานแบบเดียวกันอีกหลายตัวที่ไม่ดังเท่า
โครงการหนึ่งที่มาก่อน OpenStack คือ OpenNebula ซึ่งมีที่มาจากห้องแล็บ CERN ในสวิตเซอร์แลนด์ กำเนิดในฐานะโครงการวิจัยตั้งแต่ปี 2005 และเริ่มเปิดกว้างต่อชุมชนเมื่อปี 2008
ไมโครซอฟท์เริ่มเปิดฟีเจอร์ของ Windows 8 มาให้เราดูกันเรื่อยๆ และฟีเจอร์ล่าสุดคือ Hyper-V ออกมา โดยฟีเจอร์ที่สำคัญนั้นคือ Hyper-V ที่เปิดเผยแล้วมีดังนี้
ไมโครซอฟท์ประกาศผ่านบล็อก Building Windows 8 ว่า Windows 8 จะมี Hyper-V ฟีเจอร์ด้าน virtualization ที่เคยมีเฉพาะใน Windows Server
ไมโครซอฟท์ระบุว่า Hyper-V จะใช้ได้กับ Windows 8 รุ่น 64 บิตเท่านั้น (แต่รัน Guest OS แบบ 32 บิตได้) โดยซีพียูจะต้องรองรับ Second Level Address Translation (SLAT) ซึ่งมีในซีพียูสมัยใหม่ทุกตัวอยู่แล้ว (ใครใช้ซีพียูอะไรก็เช็คกันเอง) และแรมขั้นต่ำ 4GB
ที่งาน Open Source Business Conference ไมโครซอฟท์ได้ประกาศที่จะซัพพอร์ต CentOS อย่างเป็นทางการ โดยลูกค้าที่ต้องการติดตั้ง CentOS ลงบนระบบ Hyper-V ของ Windows Server 2008 R2 จะสามารถโทรขอซัพพอร์ตจากไมโครซอฟท์ได้โดยตรงโดยไม่ต้องหาผู้ให้บริการซัพพอร์ตเองอีกต่อไป
CentOS เป็นโครงการที่นำซอร์สโค้ดของ Red Hat Enterprise Linux (RHEL) มาคอมไพล์เองโดยชุมชนภายนอก Redhat เนื่องจากตัว RHEL นั้นแม้จะเปิดเผยซอร์สโค้ดแต่ตัวติดตั้งและแพ็กเกจทั้งหมดนั้นขายสำหรับลูกค้าของ Redhat เท่านั้น
OpenStack ชุดซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สำหรับสร้าง cloud computing (ข่าวเก่า) ได้ไมโครซอฟท์มาเป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่อีกราย
ไมโครซอฟท์ประกาศความร่วมมือกับ Cloud.com ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนรายหนึ่งของ OpenStack เพื่อให้ Hyper-V ซอฟต์แวร์ทำ virtualization ที่อยู่ใน Windows Server 2008 ทำงานร่วมกับ OpenStack ได้ ซึ่งจะส่งผลให้ OpenStack สามารถทำงานกับวินโดวส์ได้ดีขึ้น
งานนี้ไมโครซอฟท์จะให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค ส่วน Cloud.com รับหน้าที่พัฒนา โค้ดที่ได้จะส่งเข้ารวมกับ OpenStack
ใครที่ติดตามสงครามน้ำลายระหว่างไมโครซอฟท์กับลินุกซ์มานาน อาจจะต้องทึ่งกับข่าวนี้
เรื่องมีอยู่ว่าไมโครซอฟท์มีผลิตภัณฑ์ด้าน virtualization ชื่อ Hyper-V (ข่าวเก่า) อย่างไรก็ตาม ข้อเสียสำคัญของ Hyper-V คือ guest OS นั้นสนับสนุนแต่ระบบปฏิบัติการในตระกูลวินโดวส์เท่านั้น เอาลินุกซ์ไปรันได้แต่ก็ทำงานได้ไม่ดีนัก เพราะว่าลินุกซ์ไม่รู้จักฮาร์ดแวร์ (เสมือน) ของเครื่อง Hyper-V ซึ่งจุดนี้เลยเป็นจุดอ่อนให้ไมโครซอฟท์เสียตลาดให้กับคู่แข่งอย่าง VMware ไปพอสมควร (ใครเคยใช้ VMware หรือ VirtualBox น่าจะพอนึกภาพออกว่าเราต้องลง guest addition driver เพิ่มเติมให้ระบบทำงานได้ดีขึ้น)
ในโลกลินุกซ์นั้นเทคโนโลยี Virtualization กำลังจะกลายเป็นเรื่องปรกติไป แต่การเข้ามาอย่างเป็นทางการของไมโครซอฟท์ก็น่าจะช่วยตอกย้ำความสำคัญของเทคโนโลยีนี้ได้เป็นอย่างดี ที่ผ่านมาเราคงได้ยินชื่อเทคโนโลยี Hyper-V ซึ่งเป็นเทคโนโลยี Virtualization ของทางฝั่งไมโครซอฟท์มาแล้ว (มีการเปิดให้ทดสอบตั้งแต่สองเดือนก่อน) แต่ในวันนี้ไมโครซอฟท์ก็เตรียมการเปิดตัวเทคโนโลยีนี้อย่างเป็นทางการแล้วในงาน getVIRTUALnow
ซอฟต์แวร์ที่คาดว่าจะเปิดตัวในงานมีสามตัวด้วยกันคือ
ไม่รู้ว่ามีงานเปิดตัวในเมืองไทยมั่งรึเปล่า