ธนาคารกสิกรไทยนำโดยคุณสมคิด จิรานันตรัตน์ ประธานของ KBTG (Kasikorn Business-Technology Group) แถลงสาเหตุของปัญหาที่ระบบการโอนเงินล่มเมื่อช่วงปลายเดือนที่ผ่านมาทั้งวันที่ 31 สิงหาคมและ 1 กันยายน
ส่วนของวันที่ 31 สิงหาคม คุณสมคิดระบุว่าทุกๆ ช่วงปลายเดือนในช่วง 6.30 น. ตอนเช้า ทราฟฟิคของธนาคารมักจะมี spike ขึ้นมาเล็กๆ ที่ไม่มีส่งผลอะไรกับระบบ เจ้าหน้าที่พยายามจะหาที่มาที่ไปของ spike ดังกล่าวมาตลอด ทว่ารอบล่าสุดดันใช้คำสั่งจัดการอุปกรณ์ผิดพลาด ทำให้ Core Switch ไม่ทำงานในช่วงเวลาดังกล่าว ก่อนที่เวลา 6.31 น. ทาง ITMX จะตัดธนาคารกสิกรออกจากระบบ PromptPay
สุดท้ายทางธนาคารกสิกรแก้ปัญหาเสร็จทั้งหมดราว 11 น. และเปิดให้บริการ 11.05 น.
จากเหตุการณ์ระบบธนาคารล่มในวันนี้ (31 สิงหาคม) ล่าสุดธนาคารกสิกรไทย ประกาศยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับลูกค้ากสิกรไทยที่ทำธุรกรรมโอนข้ามเขต โอนต่างธนาคาร และจ่ายบิลผ่านช่องทางตู้ ATM ธนาคารกสิกรไทยในวันนี้
เงินค่าธรรมเนียมจะถูกโอนคืนเข้าบัญชีของลูกค้า ภายในวันพุธที่ 5 กันยายน 2561
ที่มา - KBank Live
ปัญหาธนาคารล่มทุกสิ้นเดือนคงกลายเป็นปัญหาสำหรับลูกค้าในช่วงปีที่ผ่านมา แม้ธนาคารต่างๆ จะพยายามสนับสนุนให้คนลดการไปสาขาด้วยการลดค่าบริการอิเล็กทรอนิกส์ แต่กลับไม่สามารถพัฒนาระบบให้รองรับการใช้งานได้ เดือนนี้ระบบของธนาคารกสิกรไทย และธนาคารกรุงไทยก็ไม่สามารถใช้งานได้ตั้งแต่ช่วงเช้าที่ผ่านมา
นับแต่มีการเปิดบริการพร้อมเพย์ และการสนับสนุนการใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์ มาตรการกำหนดความน่าเชื่อถือของระบบการเงินอิเล็กทรอนิกส์ ของธนาคารแห่งประเทศไทย มีเพียงการกำหนดระยะเวลาแก้ไขหลังจากเกิดความผิดพลาด โดยไม่มีการกำหนดมาตรฐานระยะเวลาที่ต้องให้บริการได้ (uptime) แต่อย่างใด
เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาธนาคารกสิกรไทยก็ล่มช่วงต้นเดือนเช่นกัน
ธนาคารกสิกรไทยประกาศความร่วมมือกับไปรษณีย์ไทย โดยช่วงแรกให้บริการนับฝากเงินผ่านสาขาไปรษณีย์ 964 แห่ง รับฝากเงินสดครั้งละไม่เกิน 20,000 บาท วันละไม่เกิน 40,000 บาท โดยมีค่าธรรมเนียม 20 บาทต่อครั้ง และช่วงแนะนำจนถึงสิ้นปีนี้ค่าธรรมเนียมจะอยู่ที่ 10 บาทต่อครั้ง ในชื่อ KBank Service
สาขาของไปษณีย์ไทยมีมากกว่า 5,000 สาขา หากเปิดเพิ่มได้ก็จะเข้าถึงประชาชนได้เป็นวงกว้าง โดยสาขาที่ให้บริการชุดแรก 964 แห่งนี้เน้นเขตภูมิภาค ส่วนระยะต่อไปจะเริ่มให้บริการอื่น ได้แก่การถอนเงินและการจ่ายบิล และหลังจากนี้เพิ่มสาขาให้ครบทุกแห่งต่อไป รวมถึงมีแผนจะเพิ่มพันธมิตรรายอื่น ตั้งแต่ร้านสะดวกซื้อ, ห้างสรรพสินค้า, ไปจนถึงปั๊มน้ำมัน
ธนาคารและอุตสาหกรรมการเงินมักจะเป็นอุตสาหกรรมแรกๆ ที่นำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้งาน แต่ถึงแม้ที่ผ่านมาเทคโนโลยีที่ธนาคารสนใจและให้ความสำคัญก็มักจะเป็นเรื่องของเทคโนโลยีความปลอดภัยเป็นหลัก และอาจไม่ได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยีโดยตรง แต่การไหลบ่าของเทคโนโลยีก็เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ใช้และลูกค้าธนาคาร เป็นการกดดันให้ธนาคารต้องปรับตัวตามและอีกทอดหนึ่งอยู่ดี
บทเรียนของ KBank บนเวที Blognone Tomorrow จึงน่าสนใจในแง่ของการนำเทคโนโลยีมาช่วยสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ขณะเดียวกันโมเดลนั้นก็ต้องตอบรับและสอดคล้องกับพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคให้ได้มากที่สุดด้วย
ธนาคารกสิกรไทย ประกาศตั้งบริษัทลูก บริษัท กสิกร วิชั่น จำกัด (KASIKORN VISION COMPANY LIMITED) หรือเรียกย่อว่า เควิชั่น (KVision) ทำหน้าที่เป็นบริษัทลงทุน (Investment Holding Company) นอกประเทศไทย
KVision มีงบลงทุนตั้งต้น 245 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 8 พันล้านบาท (ทุนจดทะเบียน 5 พันล้านบาท) มีขอบเขตการลงทุนทั่วโลก แต่ในระยะแรกจะโฟกัส 4 ประเทศคือ จีน ที่มีบริษัท FinTech เป็นจำนวนมาก, อินโดนีเซีย-เวียดนาม ที่มีอัตราการเติบโตของสตาร์ตอัพสูงเป็นอันดับต้นๆ ของอาเซียน และอิสราเอล ที่เป็นแหล่งกำเนิดของเทคโนโลยีใหม่ๆ และมีความพร้อมเรื่องบุคคลากรสูง
กลับมาอีกครั้งกับการแข่งขันเพื่อค้นหาขุนพลและยอดฝีมือด้าน Coding, Data Science และ Design กับ TechJam 2018 การแข่งขันด้านเทคโนโลยี และการออกแบบ ในรูปแบบใหม่ จาก KBTG กลุ่มบริษัทด้านเทคโนโลยีของธนาคารกสิกรไทย ที่จัดขึ้นเป็นปีที่สองติดต่อกัน
การแข่งขันในปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด Tomorrow Squad ที่ต้องการค้นหาผู้ที่จะมาเป็นขุนพลแห่งอนาคต ที่จะมาเปลี่ยนอนาคตของประเทศ จากจุดประสงค์ที่ต้องการผลักดันและขับเคลื่อนวงการด้านเทคโนโลยีของไทย ทำให้การแข่งขันในปีนี้จะการนำเสนอเนื้อหาการแข่งขันแนวใหม่ ด้วยโจทย์ที่เข้มข้นท้าทาย และมีสีสัน
หลังจากทางธนาคารแห่งประเทศไทยแถลงข่าว ตอนนี้ก็มีข้อมูลจากทั้งสองธนาคารเพิ่มเติม
ระบบของธนาคารกสิกรไทยเป็น "ส่วนหน้า" ของของระบบขอหนังสือรับประกัน K CONNECT LG โดยเป็นข้อมูลที่หาได้จากแหล่งสาธารณะ โดยยืนยันว่าข้อมูลสำคัญเช่นรหัสผ่านหรือรายการธุรกรรมของลูกค้าไม่ได้รั่วออกไป
ทางธนาคารกสิกรไทยกำลังจะติดต่อลูกค้าเป็นรายองค์กรต่อไป
ส่วนของธนาคารกรุงไทยเป็นข้อมูลสมัครสินเชื่อกรุงไทย Super Easy รวม 120,000 ราย ส่วนใหญ่เป็นลูกค้ารายบุคคล เป็นนิติบุคคล 3,000 ราย ทางธนาคารกรุงไทยไม่ได้ระบุว่ามีข้อมูลอะไรที่หลุดออกไปบ้าง แต่หน้าเว็บสมัครสินเชื่อ Super Easy นั้นมีข้อมูล ชื่อ, นามสกุล, หมายเลขโทรศัพท์, และรายได้ต่อเดือน
update: ข้อมูลเพิ่มเติมจากทั้งสองธนาคาร
ธนาคารแห่งประเทศไทยเผยแพร่ข่าวระบุว่าสัปดาห์ที่ผ่านมาเกิดเหตุการณ์ข้อมูลลูกค้าธนาคารสองแห่งหลุดสู่ภายนอก ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารกรุงไทย
ข้อมูลที่หลุดจากธนาคารกสิกรไทยเป็นข้อมูลลูกค้านิติบุคคล ที่เป็นข้อมูลสาธารณะอยู่แล้ว ขณะที่ข้อมูลของธนาคารกรุงไทยเป็นข้อมูลคำขอสินเชื่อลูกค้ารายย่อยและนิติบุคคล
ประกาศไม่ได้ระบุถึงจำนวนลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ
ที่มา - จดหมายข่าวธนาคารแห่งประเทศไทย
Appsynth เอเจนซี่ด้านการพัฒนาแอพพลิเคชันในไทย สรุปสถิติยอดดาวน์โหลดทั้งหมดของแอพสัญชาติไทยบน App Store ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ว่าแอพตัวไหนมียอดดาวน์โหลดรวมเยอะที่สุด (ใช้ข้อมูลจาก App Annie ที่เป็นพันธมิตรกัน, ไม่รวมหมวดเกม)
แอพยอดนิยมสองอันดับแรกคือแอพธนาคาร โดย K PLUS ของธนาคารกสิกรไทยนำมาเป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วย SCB Easy ของธนาคารไทยพาณิชย์ตามมาเป็นอันดับสอง ใน Top 20 ยังมีแอพธนาคารและการจ่ายเงินของไทยติดอันดับอีกหลายตัว เช่น KTB netbank (อันดับ 4), Wallet by Truemoney (อันดับ 5), Bualuang mBanking (อันดับ 6), Krungsri (อันดับ 20)
K PLUS ออกฟีเจอร์ใหม่ Pay with K PLUS จ่ายเงินซื้อของผ่านแชท Facebook ได้ไม่ต้องสลับหน้าจอ ไม่ต้องขอเลขบัญชี ทำให้การซื้อทุกขั้นตอนจบในหน้าจอเดียว
หนึ่งใน pain point ของลูกค้าเวลาซื้อของออนไลน์คือ ต้องขอเบอร์บัญชีแล้วสลับหน้าจอไปที่แอปโมบายแบงกิ้งเวลาจะจ่ายเงิน และร้านค้าเองก็ต้องคอยส่งเลขบัญชีของตัวเองเพื่อบอกลูกค้าทุกครั้ง ล่าสุด K PLUS ทำให้การซื้อของง่ายและไร้รอยต่อมากขึ้นโดยออกฟีเจอร์ Pay with K PLUS เมื่อลูกค้าตกลงจะซื้อของใน Facebook Messenger ที่แชทคุยกับแม่ค้า จะเห็นปุ่ม Pay with K PLUS ปรากฏขึ้นมาพร้อมๆ กับทางเลือกการจ่ายในรูปแบบอื่น ช่วยให้สามารถจ่ายได้ในขั้นตอนนั้นเลย โดยไม่ต้องสลับหน้าจอไปมา และไม่ต้องคอยถามเบอร์บัญชีร้านค้า
ธนาคารกสิกรไทยประกาศการนำเสนอสินเชื่อ SME บนมือถือผ่านแอป K PLUS ไม่ต้องใช้หลักประกัน ไม่ต้องยื่นเอกสาร คลิ๊กปุ๊บรับเงินภายใน 1 นาที โดยทางธนาคารใช้ AI มาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลการเงินของลูกค้า
คุณสุรัตน์ ลีลาทวีวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทยระบุว่าที่ผ่านมา อุปสรรคในการเข้าถึงสินเชื่อของกลุ่ม SME คือการไม่มีหลักประกัน, ไม่มีข้อมูลการเงินเพียงพอ, ไม่มีการวางแผนใช้เงิน รวมถึงขั้นตอนการขอสินเชื่อที่ต้องเตรียมเอกสารเยอะและระยะเวลาในการทำเรื่องที่นาน บริการนี้ของกสิกรไทยจึงจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหานี้โดยเฉพาะ
ปตท. ประกาศทำแอพจ่ายเงินของตัวเองชื่อ PTT e-Wallet โดยให้ธนาคารกสิกรไทยเป็นผู้ร่วมพัฒนาระบบ
แอพ PTT e-Wallet จะใช้กับสถานีบริการน้ำมันของ ปตท. และร้านค้าปลีกในเครือ ได้แก่ Cafe Amazon, Texas Chicken, Daddy Dough, ฮั่วเซ่งฮง ติ่มซำ, ศูนย์บริการรถยนต์ FIT Auto, ร้านสะดวกซื้อ Jiffy โดยเชื่อมต่อกับระบบสะสมแต้มของ PTT Blue Card ด้วย
นายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย บอกว่าจะใช้ความเชี่ยวชาญจากแอพ K PLUS มาช่วยออกแบบให้มีประสบการณ์ใช้งานที่ดี เชื่อมต่อกับแอพ K PLUS เพื่อทำการยืนยันตัวตน (KYC) และโอนเงินจาก K PLUS เข้ามายัง e-Wallet ได้
แอพ PTT e-Wallet มีกำหนดเปิดบริการในไตรมาส 4 ของปี 2561
ธนาคารกสิกรไทยเปิดบริการ "บิลแมวเขียว" สามารถสร้าง PromptPay QR แบบใช้ครั้งเดียว โดยมีหมายเลขประจำรายการแยกกันทุกใบเสร็จ ทำให้ร้านค้าสามารถขายของราคาเท่ากันโดยตรวจสอบได้ว่าลูกค้าคนใดจ่ายเงินแล้ว ไม่ต้องให้ลูกค้าโอนเศษสตางค์ไว้อ้างอิงอีกต่อไป แต่ต้องเป็นผู้ใช้ K Plus Shop เท่านั้น
ผมทดลองใช้งานดูแล้วพบว่าหมายเลขอ้างอิงรายการ เป็น "SOC" แล้วค่าเวลา epoch หากใครสร้าง QR ในช่วงนี้ก็จะได้เลขรายการเป็น SOC152697[เลขอีก 10 หลัก] เป็นต้น ส่วนนี้คงยังยืนยันไม่ได้ว่าเป็นเลข epoch แบบละเอียดระดับ micro second หรือเป็นเลขอ้างอิงอย่างอื่นมาต่อท้าย epoch
ขณะที่ลองใช้งานตอนนี้ยังไม่มีค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด แม้จะทดลองจ่ายข้ามธนาคารจากแอปธนาคารไทยพาณิชย์
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาธนาคารไทยประกาศให้บริการออนไลน์ฟรีจำนวนมาก แต่คำถามอย่างหนึ่งคือการปรับลดค่าธรรมเนียมเช่นนี้จะกระทบได้และกำไรของธนาคารมากน้อยเพียงใด เมื่อวานนี้ทางธนาคารกสิกรไทยก็ประกาศเป้าหมายใหม่ของรายได้ปี 2018 โดยปรับลดรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยลง 6%-8%
เมื่อปลายปีที่แล้ว ธนาคารกสิกรไทยเคยตั้งเป้ารายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยว่าจะอยู่ระดับเดิม โดยตลอดปี 2017 ธนาคารกสิกรไทยมีรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยรวม 62,695 ล้านบาท ลดลงจากปี 2016 มา 1.62% หากปี 2018 ลดลงอีก 8% ก็จะเหลือประมาณ 57,679 ล้านบาท
หลังจากเมื่อวานนี้ธนาคารกสิกรไทยประกาศฟรีค่าธรรมเนียมช่องทางออนไลน์ตั้งแต่วันนี้จนถึงสิ้นปี และธนาคารไทยพาณิชย์แถลงช่วงเช้าว่าเป็นการ "ยกเลิก" ค่าธรรมเนียม ตอนนี้ธนาคารกสิกรไทยก็ออกประกาศเพิ่มเติม "ยกเลิก" ค่าธรรมเนียมช่องทางออนไลน์เช่นกัน
ที่มา - จดหมายข่าวธนาคารกสิกรไทย
ธนาคารกสิกรไทยประกาศฟรีค่าธรรมเนียมบริการสามประเภท ได้แก่ โอนเงิน (รวมข้ามเขตและข้ามธนาคาร), เติมเงิน, และจ่ายบิล ช่องทางออนไลน์ 4 ช่องทาง ได้แก่ K PLUS, K PLUS SME, K-Cyber, K-Cyber SME ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
ตอนนี้ผู้ใช้ K PLUS สูงถึง 8.1 ล้านคน มูลค่าธุรกรรม 6.3 ล้านล้านบาทต่อปี, K-Cyber สูงถึง 1.7 ล้านคน มูลค่าธุรกรรม 1.7 ล้านล้านบาทต่อปี
ทางธนาคารกสิกรไทยประกาศแนวทางนี้อย่างเป็นทางการ และจะใช้งานได้ตั้งแต่วันพรุ่งนี้ (28 มีนาคม) เป็นต้นไป จนถึงสิ้นปีนี้
ที่มา - จดหมายข่าวธนาคารกสิกรไทย
ในงานสัมมนา Bangkok Fintech Fair 2018 ที่จัดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย มีหัวข้อหนึ่งที่น่าสนใจคือ All-in-one e-Platform: Future Solutions for SMEs? ที่พูดถึงประเด็นเรื่องบทบาทของ e-commerce และ e-payment ในการพัฒนาธุรกิจ SME ของประเทศไทย โดยมีตัวแทนจากแพลตฟอร์ม e-commerce และ e-payment เข้าร่วมเสวนาด้วยหลายราย
KBTG บริษัทเทคโนโลยีของธนาคารกสิกรไทย เผยวิสัยทัศน์ด้านธนาคารดิจิทัล เปิดตัว "เกด" KADE (K PLUS AI-Driven Experience) นวัตกรรมของการให้บริการบนแพลตฟอร์ม K PLUS ที่ใช้พลัง AI เป็นตัวขับเคลื่อน
นายสมคิด จิรานันตรัตน์ ประธาน KBTG ระบุว่าตอนนี้ธนาคารกสิกรไทยมีธุรกรรมผ่านช่องทางดิจิทัลเกิน 80% ของธุรกรรมทั้งหมดแล้ว แอพ K PLUS มีผู้ใช้มากกว่า 8 ล้านคน แต่ก็ยังมีคนไทยอีกมากที่เข้าไม่ถึงบริการธนาคารในแบบดั้งเดิม หรือที่เรียกว่า unbanked ซึ่งเป็นเป้าหมายของธนาคารกสิกรไทยที่จะขยายไปยังคนกลุ่มนี้ ตัวอย่างบริการที่เปิดตัวไปแล้วคือ K PLUS Beacon สำหรับผู้บกพร่องทางการเห็น
บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) และธนาคารกสิกรไทย ได้ร่วมลงนามในพิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การเปิดใช้บริการรับชำระเงินด้วยระบบ QR Code เพื่อสร้าง “สังคมไปรษณีย์ไทยยุคใหม่ ไม่ใช้เงินสด” (Thailand Post Cashless Society) มุ่งสู่การเป็นไปรษณีย์ไทย 4.0 ที่ช่วยลดการใช้เงินสดอย่างแท้จริง
โดยธนาคารกสิกรไทยจะได้ดำเนินการติดตั้ง เครื่อง EDC ที่สามารถสร้าง Dynamic QR Code ซึ่งเป็น QR Code ที่ถูกสร้างตามมูลค่าเงินที่ต้องชำระจริง เพื่อให้ผู้ใช้บริการที่มีแอพพลิเคชั่นโมบาย แบงกิ้งทุกธนาคาร สามารถสแกนเพื่อชำระเงินได้ง่ายขึ้น ซึ่งสำหรับค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ใช้บริการที่ไม่ได้ใช้บัญชีธนาคารกสิกรไทย จะมีอัตราค่าธรรมเนียมที่เป็นไปตามหลักการธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
ธนาคารกสิกรไทยผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่น mobile banking K Plus ประกาศเพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานในแอพ 4 อย่าง คือ
แอป K PLUS ของธนาคารกสิกรไทยรุ่นล่าสุดเปิดบริการ QuickPay ที่สามารถรับเงินได้ด้วย โดยเป็นการสร้างหมายเลข eWallet ID ให้กับทุกบัญชี ทำให้ผู้ใช้สามารถรับเงินได้โดยไม่ต้องเปิดเผยหมายเลขบัตรประชาชนหรือเบอร์โทรศัพท์
จุดเด่นอีกอย่างของหมายเลข eWallet ID จาก K PLUS คือมีหมายเลขเชื่อมกับทุกบัญชีแยกจากกัน และไม่ต้องลงทะเบียน PromptPay ก่อนใช้งานแต่อย่างใด
ก่อนหน้านี้ธนาคารกสิกรไทยก็เคยให้บริการ eWallet ID ที่ไม่เป็นหมายเลขโทรศัพท์หรือหมายเลขบัตรประชาชนมาก่อนแล้วผ่านแอป K PLUS SHOP ที่ต้องลงทะเบียนเป็นร้านค้า
หมายเลข eWallet ID ตัวอย่างจาก icez
ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) และธนาคารกสิกรไทย เริ่มเปิดให้ร้านค้าขอรับเครื่องรับจ่ายเงิน (electronic data capture - EDC) รุ่นใหม่ที่นอกจากจะรองรับบัตรเครดิตและเดบิตแล้ว ยังรองรับการจ่ายเงินผ่าน Thai QR Payment
เครื่อง KBank Mini-EDC นั้นเปิดตัวมาตั้งแต่ปลายเดือนที่แล้ว แต่จะเริ่มเปิดให้สมัครรับเครื่องได้ในเดือนนี้ มีความสามารรถนอกจากการรับบัตรยังสามารถรับ Alipay และ WeChat Pay ได้ด้วย
เมื่อวานนี้ทางธนาคารกสิกรไทยเปิดตัวแอป K PLUS SHOP อย่างเป็นทางการ แม้จะโฆษณาว่าเป็นแอปสำหรับร้านค้าเป็นหลัก แต่คุณสมบัติอย่างหนึ่งของ K PLUS SHOP คือมันเป็น e-Wallet ที่ใช้เลขเฉพาะ
การสมัคร K PLUS SHOP นับว่าง่ายที่สุดในบรรดา e-Wallet ทั้งหมดเพราะไม่ต้องไปยืนยันตัวตนที่ธนาคารอีกครั้งหากเปิดบริการ K PLUS สำหรับใช้บริการธนาคารผ่านโทรศัพท์มือถือไว้ล่วงหน้า
ผมลองสมัคร K PLUS (ไม่เคยใช้ ครั้งนี้เป็นครั้งแรก) พบว่าไม่สามารถเปิด K PLUS SHOP ใช้ได้ทันที ต้องรออีกหนึ่งวัน แม้อย่างนั้นก็ยังนับว่าสะดวกมากกว่า e-Wallet อื่นที่ต้องยืนยันตัวตนใหม่ทุกรอบ เมื่อครบหนึ่งวันแล้ว เมนูใน K PLUS จะเปิดให้ลงทะเบียนได้
ธนาคารกสิกรไทย เปิดตัวแอพใหม่ K PLUS Beacon บริการธนาคารผ่านมือถือสำหรับผู้บกพร่องทางการเห็น (visually impaired) ไม่ว่าจะเป็นตาบอดหรือมีปัญหาด้านการมองเห็นประเภทอื่นๆ หรือแม้แต่บุคคลทั่วไป ก็สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้ง่ายขึ้นมาก
K PLUS Beacon เป็นการต่อยอดจาก Beacon Interface แอพต้นแบบที่เคยไปชนะงาน Singapore FinTech Festival เมื่อปี 2016 หลังจากนั้นทีมงานพัฒนาก็ไปทำงานร่วมกับคนพิการทางสายตา และสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย เพื่อปรับปรุงแอพให้เหมาะกับการใช้งานมากขึ้น