Android Talkback ฟีเจอร์อ่านหน้าจอสำหรับคนพิการทางสายตาของ Android เริ่มนำ Gemini เข้ามาช่วยบรรยายภาพบนหน้าจอ ด้วยความสามารถของโมเดล Gemini ที่เป็น multimodal เข้าใจรูปภาพด้วย ทำให้บรรยายภาพได้ละเอียดขึ้นมาก ไม่ว่าจะเป็นภาพในเครื่อง ภาพในข้อความแชท หรือภาพบนอินเทอร์เน็ตทั่วไปก็ตาม
เมื่อต้นปีนี้ กูเกิลเคยออกฟีเจอร์ AI บรรยายภาพในลักษณะเดียวกัน แต่ยังจำกัดเฉพาะแอพ Android Lookout ที่เป็นแอพแยกต่างหากสำหรับการบรรยายภาพ ข่าวนี้คือการผนวกเข้ามาที่ตัว Talkback เลย และใช้โมเดล Gemini ที่มีความสามารถมากขึ้น
Chrome for Android เพิ่มฟีเจอร์อ่านบทความในหน้าเว็บเป็นเสียง โดยสามารถเลือกความเร็วในการอ่าน และเสียงอ่านได้หลายรูปแบบ
ฟีเจอร์การอ่านบทความบนหน้าจอ มีใน Android อยู่ก่อนแล้ว แต่ที่ผ่านมาต้องเรียกผ่าน Google Assistant หรือใช้แอพอ่านหน้าจอ ข่าวนี้คือฟีเจอร์ Listen to this page ถูกผนวกเข้ามาใน Chrome โดยตรง กดเลือกจากเมนู ... ได้เลย
ที่มา - Google
ไมโครซอฟท์เปิดตัวจอยเกมสำหรับคนพิการรุ่นใหม่ Xbox Adaptive Joystick หน้าตาคล้ายกับจอยเกมของฝั่งวงการ VR แต่ออกแบบมาให้ควบคุมได้ด้วยมือข้างเดียว และตั้งราคาให้ถูกลง เข้าถึงได้ง่ายขึ้น
ไมโครซอฟท์เน้นเรื่องอุปกรณ์สำหรับคนพิการมายาวนาน ตั้งแต่ออกจอยเกม Xbox Adaptive Controller มาตั้งแต่ปี 2018, อุปกรณ์เสริมมาเชื่อมต่อในปี 2022 และ Proteus Controller ที่ปรับแต่งชิ้นส่วนได้ในปี 2024
ในงานเปิดตัว Pixel 9 กูเกิลได้ประกาศฟีเจอร์ช่วยเหลือการเข้าถึง (Accessibility) เพิ่มเติมสำหรับผู้ใช้งาน Pixel ซึ่งได้อัปเดตย้อนไปถึงรุ่นเก่าด้วย มีรายละเอียดดังนี้
ฟีเจอร์แรกอัปเดตเพิ่มในแอป Magnifier แอปสำหรับช่วยเหลือผู้มีข้อจำกัดการมองเห็น โดยใช้กล้องทั้งเลนส์มาโครและเลนส์ไวด์ ช่วยค้นหาสิ่งที่ต้องการ เช่น เมนูมังสวิรัติในหน้าเมนูอาหาร หรือค้นหาไฟลต์บินที่ต้องการจากกระดานแสดงตารางเวลาในสนามบิน การแสดงผลใช้ Picture-in-picture เพื่อให้เห็นภาพมุมกว้าง และภาพที่ซูมค้นหาสิ่งที่ต้องการ
Magnifier อัปเดตให้กับผู้ใช้ Pixel 5 ขึ้นไป
จากราวหนึ่งปีก่อน ที่แอพช่วยเหลือผู้มีปัญหาทางสายตาอย่าง Be My Eyes ได้ เพิ่มผู้ช่วยอัจฉริยะ พลัง A.I. เข้ามา แต่แอพพลิเคชันยังสามารถใช้งานได้จากบน mobile device เท่านั้น ล่าสุด Be My Eyes ได้เปิดตัวฟีเจอร์ผู้ช่วยอัจฉริยะที่เป็นแอพพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการวินโดส์แล้ว โดยสามารถติดตั้งได้จาก Microsoft store
เมื่อเปิดโปรแกรมและล็อกอินเรียบร้อยแล้ว หน้าต่างหลักของโปรแกรมจะมีฟีเจอร์ให้เราเลือกใช้งานอยู่ 4 เมนู ได้แก่
กูเกิลเพิ่มคุณสมบัติช่วยเหลือการเข้าถึง (Accessibility) ในหลายผลิตภัณฑ์ทั้ง Android, Google Maps ตลอดจนการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับการใช้งาน มีรายละเอียดดังนี้
Android เพิ่มความสามารถ Lookout ใช้กล้องสมาร์ทโฟนช่วยระบุตำแหน่งวัตถุ เช่น โต๊ะ ห้องน้ำ สำหรับคนที่มีปัญหาการมองเห็น, Look to Speak ใช้ดวงตามองอีโมจิบนหน้าจอเพื่อส่งเสียงสื่อสาร ไม่ต้องพิมพ์ข้อความ, ใช้ใบหน้าควบคุมเกมบน Android
ส่วน Google Maps มีของใหม่เพิ่มเติมได้แก่ ระบบเสียงแนะนำเส้นทาง เพิ่มการให้รายละเอียดสิ่งที่อยู่โดยรอบมากกว่าเดิม, เพิ่มข้อมูลสถานที่ซึ่งรองรับการเข้าถึงทุกคน (Accessibility) บนเดสก์ท็อป, เพิ่มข้อมูลสถานที่ซึ่งรองรับอุปกรณ์ช่วยการได้ยิน
ไมโครซอฟท์เปิดตัวคอนโทรลเลอร์สำหรับผู้พิการ Xbox Adaptive Controller รุ่นปรับปรุงใหม่ ซึ่งเปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2018 เพื่อให้เกมสามารถเข้าถึงได้กับทุกคน โดยเพิ่มการรองรับอุปกรณ์เสริมใหม่ผ่านการเชื่อมต่อด้วยพอร์ต USB
นอกจากนี้ไมโครซอฟท์ยังเปิดตัว Proteus Controller ซึ่งออกแบบโดยทีม Xbox ร่วมกับทีม Byowave มีชิ้นส่วนซึ่งสามารถถอดประกอบสลับชิ้นส่วนให้รองรับความต้องการ รวมถึงข้อจำกัดในการเข้าถึงของแต่ละคน ใช้งานได้ทั้งกับ Xbox และพีซี โดย Byowave บอกว่าสามารถปรับแต่งได้นับ 100 ล้านรูปแบบ (รวมกับสี LED)
แอปเปิลประกาศเพิ่มคุณสมบัติช่วยเหลือการเข้าถึง (Accessibility) ทั้ง Eye Tracking หรือการติดตามด้วยดวงตา, Music Haptics ช่วยให้เพลงเข้าถึงได้มากขึ้น และ Vocal Shortcuts สร้างทางลัดด้วยเสียงพูด รายละเอียดทั้งหมดดังนี้
กูเกิลประกาศฟีเจอร์ใหม่สำหรับผู้ใช้ Android ทั้งหมด 9 รายการ ซึ่งเป็นการประกาศในงาน MWC โดยมีทั้งฟีเจอร์ช่วยเหลือการเข้าถึง ไปจนถึงฟีเจอร์ที่เชื่อมต่อกับ Spotify ดังนี้
กูเกิลออกคลิปโฆษณามือถือตระกูล Pixel ที่จะฉายในการถ่ายทอดสดการแข่งขัน Super Bowl ปี 2024 (ข่าวโฆษณาของปี 2023)
โฆษณาเวอร์ชันปี 2024 ชื่อว่า Javier in Frame เป็นเรื่องของชายตาบอดที่มองแทบไม่เห็น แต่พยายามบันทึกสิ่งต่างๆ ในชีวิตด้วยการถ่ายภาพจากกล้องมือถือ ซึ่ง Pixel มีฟีเจอร์ Guided Frame ดูภาพที่กล้องมองเห็น แล้วใช้ AI ช่วยบอกว่าเป็นอะไร (เช่น วัตถุ อาหาร หน้าคน) และบอกให้ขยับกล้องไปทางไหนเพื่อให้ถ่ายภาพได้ดีขึ้น
แอปเปิลประกาศอัพเดตฟีเจอร์ในแอป Apple Podcasts มีผลตั้งแต่ iOS 17.4 เป็นต้นไป โดยเพื่อรองรับการเข้าถึงการใช้งานสำหรับทุกคน (Accessibility) แอปสามารถถอดเนื้อหารายการออกมาเป็นข้อความไว้อ่านแทนการฟังได้ (Transcript) หรือครีเอเตอร์จะอัปโหลดข้อความเองก็ทำได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตามระบบถอดข้อความนี้มีข้อจำกัดหลายอย่าง แอปเปิลบอกว่าเมื่อคอนเทนต์ใหม่ถูกอัปโหลด การถอดข้อความจะใช้เวลาระยะหนึ่ง หากครีเอเตอร์ต้องการให้มีข้อความออกมาพร้อมกันด้วย ควรอัปโหลดไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย 24 ชั่วโมง และระบบอาจให้ผลลัพธ์ที่ไม่ถูกต้อง ถ้าเนื้อหาเป็นการสนทนาหลายคนหรือมีเพลงแทรกอยู่ ส่วนคอนเทนต์เก่าระบบจะทยอยถอดเนื้อหาให้เรื่อย ๆ
ในงาน CES 2024 มีผลิตภัณฑ์หนึ่งที่เปิดตัวในงานและได้รับความสนใจคือ MouthPad ที่ผู้ใช้งานสามารถใช้ลิ้นควบคุมทัชแพดที่อยู่บนเพดานปากได้ จึงมีประโยชน์ในการเข้าถึงสำหรับผู้พิการที่ไม่สามารถใช้งานเมาส์ด้วยมือได้
ตัว MouthPad มีลักษณะคล้ายกับรีเทนเนอร์ มีส่วนพื้นที่เป็นทัชแพด มีแบตเตอรีในตัว และเชื่อมต่อสัญญาณบลูทูธ ตัวผิววัสดุใช้เรซินเกรดเดียวกับที่ใช้ในงานทันตกรรม ผู้ผลิตระบุว่าจึงมีความปลอดภัยในการใช้งาน ส่วนแบตเตอรีผลิตโดยบริษัท Varta ที่ผลิตแบตเตอรีเกรดที่ใช้ในชิ้นส่วนฝังในร่างกาย อยู่ได้นาน 5 ชั่วโมงต่อการชาร์จ น้ำหนักรวม 7.5 กรัม เฉพาะส่วนทัชแพดหนาประมาณ 5 มิลลิเมตร
ไมโครซอฟท์เพิ่มความสามารถให้กับ PowerPoint เวอร์ชันบนเว็บ รองรับการใส่วิดีโอที่มีคำบรรยายประกอบหรือ Closed Captions แล้ว โดยผู้ใช้งานต้องอัปโหลดไฟล์แคปชั่นฟอร์แมต WebVTT เอง
ไมโครซอฟท์บอกว่าฟีเจอร์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการเข้าถึงสำหรับทุกคน (Accessibility) แต่ก็รองรับกรณีคนดูอยู่ในพื้นที่ซึ่งไม่สามารถเปิดเสียงได้ ก็ใช้การอ่านคำบรรยายแทน
ขั้นตอนการอัปโหลดวิดีโอแบบใส่แคปชั่น ทำได้โดยอัปโหลดวิดีโอก่อน Insert > Video > Insert Video จากนั้นจึงอัปโหลดไฟล์แคปชั่น Video > Insert Captions ที่ต้องการ
Google ออกฟีเจอร์ Accessibility ใหม่ ๆ ช่วยผู้พิการหลายรายการให้กับ Google Maps ใน Android, iOS และแพลตฟอร์มอื่น ๆ โดยมีบางฟีเจอร์ที่ถูกปล่อยออกมาแล้ว และมีบางฟีเจอร์จะปล่อยภายในปีนี้
โซนี่ร่วมกับ Logitech เปิดตัว Logitech G Adaptive Gaming Kit for Access controller ชุดอุปกรณ์เสริมสำหรับ Access Controller จอย PS5 สำหรับคนพิการ ที่โซนี่เปิดตัวมาก่อนหน้านี้
โซนี่บอกว่าจอย Access Controller พัฒนาขึ้นมาโดยครอบคลุมการใช้งานของผู้เล่นจำนวนมาก แต่ยังมีผู้เล่นอีกบางส่วนที่มีความต้องการพิเศษ จึงร่วมมือกับ Logitech พัฒนาชิ้นส่วนเพิ่มเติมให้ปรับแต่ง Access Controller ได้มากขึ้น
ชุด Logitech G Adaptive Gaming Kit ราคา 79.99 ดอลลาร์ ประกอบด้วย
กูเกิลออก Android Feature Drop ประจำไตรมาส รอบเดือนกันยายน 2023 มีของใหม่ที่สำคัญคือ วิดเจ็ต Assistant At a Glance ปรับหน้าตาใหม่ โดยกูเกิลบอกว่าใช้พลัง AI ช่วยแจ้งเตือนข้อมูลสำคัญๆ ได้แม่นยำขึ้น เช่น สภาพอากาศ การเดินทาง เหตุการณ์สำคัญๆ
วิดเจ็ต At a Glance อันเดิมปล่อยออกมาพร้อม Android 12 แล้วไม่เคยถูกอัพเดตอีกเลย เวอร์ชันใหม่ปรับหน้าตาเป็นธีม Material You โดยสามารถใช้ได้กับ Android 9 ขึ้นไป ผมลองกับเครื่องตัวเองก็พบว่าได้เวอร์ชันใหม่แล้วเช่นกัน
โซนี่ประกาศวางขาย Access Controller จอยสำหรับคนพิการในการเล่น PS5 ที่ก่อนหน้านี้เปิดตัวในโค้ดเนม Project Leonard เริ่มขาย 6 ธันวาคม 2023 ในราคาชุดละ 89.99 ดอลลาร์ เริ่มเปิดพรีออเดอร์ตั้งแต่ปลายเดือนนี้
จอย Access Controller พัฒนาขึ้นบนแนวคิดว่าผู้เล่นแต่ละคนมีข้อจำกัดร่างกายไม่เท่ากัน ต้องการวิธีควบคุมต่างกัน จึงเปิดให้ปรับแต่งปุ่มได้เองอย่างอิสระ มีก้านโยกทิศทาง 3 แบบ, ปุ่มกดมีหลายระดับความสูง, เลือกแมปปุ่มเองได้, ตั้งค่ากดปุ่มเดียวเท่ากับ 2 อินพุตพร้อมกันได้, ตั้งค่าปิดบางปุ่มเพื่อป้องกันการกดไปโดนแบบไม่ตั้งใจ และมีช่อง 3.5mm สำหรับเสียบอุปกรณ์เสริมของคนพิการให้ถึง 4 ช่อง
Samsung Electronics ประกาศเพิ่มโหมด SeeColors สำหรับคนตาบอดสี (Color Vision Deficiency) ในทีวีและจอภาพรุ่นปี 2023 จากเดิมที่เป็นแค่แอป
โหมด SeeColors จะสามารถเลือกพรีเซ็ตสีได้ 9 แบบที่เหมาะกับผู้ใช้ เพื่อแยกสีบนจอภาพตามประเภทและระดับอาการตาบอดสี
นอกจากทีวีและจอภาพรุ่นปี 2023 แล้ว จอภาพรุ่นก่อนหน้าอย่าง Neo QLED, QLED, OLED, Smart Monitor และ G95SC Gaming monitor ก็จะมีโหมด SeeColors ด้วยเช่นกัน สำหรับผู้ที่ซื้อรุ่น 2023 ไปแล้ว จะมีการอัปเดตซอฟต์แวร์ให้ใช้โหมดนี้ได้ในเมนู Accessibility
อินเทลแจกฟอนต์สำหรับเขียนโค้ด Intel One Mono เป็นฟอนต์แบบ monospace ความกว้างเท่ากันทุกตัวอักษร เน้นความอ่านง่าย สบายตา ช่วยลดการล้าของสายตาโปรแกรมเมอร์
ฟอนต์ตัวนี้อินเทลจ้างบริษัทออกแบบฟอนต์ Frere-Jones Type พัฒนาขึ้น โดยมีจุดประสงค์จับกลุ่มนักพัฒนาที่มีข้อจำกัดทางสายตา (low-vision) และผ่านการรับฟังความเห็นจากนักพัฒนากลุ่มนี้ในช่วงทดสอบแล้ว ฟอนต์ยังมีแต่ตัวอักษรภาษาละติน มี 4 น้ำหนักคือ Light, Regular, Medium, Bold ทั้งตัวปกติและตัวเอียง รองรับฟีเจอร์ของ OpenType หลายอย่างด้วย
ตัวฟอนต์เป็นโอเพนซอร์สทั้งหมด ดาวน์โหลดได้จาก GitHub
กูเกิลประกาศฟีเจอร์ด้านการเข้าถึงของคนพิการ ในวัน Global Accessibility Awareness Day (GAAD) เมื่อวานนี้ 18 พฤษกาคม
ฟีเจอร์เด่นคือการใช้ AI ช่วยดูภาพแล้วบรรยายออกมาเป็นข้อความเสียงให้คนตาบอดฟัง ตัวอย่างที่นำมาโชว์เป็นรูปหมา ที่คนตาบอดสามารถถามได้ว่าหมาอารมณ์เป็นอย่างไร ดูร่าเริงหรือไม่ และ AI ตอบได้ว่าหมาดูร่าเริง โมเดลตัวนี้พัฒนาโดย Google DeepMind และจะนำไปทดลองร่วมกับสถาบันคนตาบอด Royal National Institute of Blind People (RNIB) ของอังกฤษต่อไป
แอปเปิลประกาศอัพเดตคุณสมบัติใหม่ของซอฟต์แวร์ช่วยเหลือการเข้าถึง (Accessibility) ให้กับผู้ใช้งานที่มีข้อจำกัดในการรับรู้ มองเห็น ได้ยิน หรือเคลื่อนไหว ซึ่งแอปเปิลบอกว่าเป็นสิ่งที่บริษัทให้ความสำคัญ และพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตลอด
เครื่องมือช่วยเหลือใหม่ที่เพิ่มมาที่แอปเปิลครั้งนี้ มีดังนี้
Firefox ออกเวอร์ชัน 113 มีของใหม่หลายอย่าง ดังนี้
กูเกิลออก Android 14 Beta 1 หลังออกรุ่น Developer Preview มาแล้วสองรุ่น โดยมีของใหม่ดังนี้
สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์คัดค้านการบังคับปิด Accessibility Mode ระหว่างการใช้งาน K-Mobile Banking PLUS ของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
ในแถลงการณ์ระบุว่าการปิด Accessibility Mode ของระบบปฏิบัติการ Android ส่งผลกระทบอย่างมากต่อกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นคนตาบอด เพราะไม่สามารถทำธุรกรรมของธนาคารผ่านสมาร์ทโฟนได้เลย จำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากผู้มีสายตาปกติ ซึ่งเกิดความเสี่ยงกับบัญชีของคนตาบอด จึงขอให้ธนาคารแก้ไขให้คนตาบอดสามารถใช้งาน K PLUS ได้โดยเร็วที่สุด และจัดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างธนาคารกับสมาคมฯ
ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง แบงค์ชาติระบุธนาคารป้องกันสิทธิ์ Accessiblity ในแอนดรอยด์ไม่ควรกระทบผู้ใช้ทั่วไป
Be My Eyes แอปช่วยเหลือสำหรับผู้มีปัญหาด้านการมองเห็น ซึ่งใช้การวิดีโอคอลขอความช่วยเหลือจากอาสาสมัคร ประกาศเพิ่มความสามารถใหม่โดยใช้โมเดล GPT-4 ของ OpenAI ที่เพิ่งเปิดตัวไป
ฟีเจอร์ใหม่ที่เพิ่มมาด้วยความสามารถของ AI นี้ เรียกชื่อว่า Virtual Volunteer มีเป้าหมายให้ทำงานได้ในระดับเดียวกับอาสาสมัคร โดยสามารถให้รายละเอียดของภาพที่เห็น พร้อมคำแนะนำเพิ่มเติมที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งเป็นความสามารถใหม่เพิ่มเติมของ GPT-4