KBTG สร้างปรากฏการณ์ใหม่อีกครั้งด้วยการเปิดตัว Eatable บริการสั่งอาหารรูปแบบใหม่ ตอบโจทย์ทั้งกินที่ร้านและเดลิเวอรี่ ช่วยให้ร้านอาหารปรับตัวได้ในยุคหลังโควิด และให้ลูกค้ารู้สึกมั่นใจในความปลอดภัยถ้าจะกลับมากินที่ร้านอีกครั้ง
หลังจากเปิดตัว Eatable ก็สร้างความฮือฮาในวงกว้าง เพราะ Eatable มีจุดเด่นหลายอย่างที่อาจเป็นทางออกของร้านอาหารในยุคนี้ ไม่ว่าจะเป็นระบบสั่งอาหารผ่านการสแกน QR Code ลดต้นทุนจ้างพนักงานร้าน ลดความผิดพลาดในการสั่งอาหาร ลดโอกาสสัมผัสเชื้อโรค, และยังรองรับการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ที่กลายเป็นทางเลือกใหม่ของผู้บริโภค
ในขณะเดียวกันก็เกิดความสงสัยด้วยว่า เพราะอะไร KBTG บริษัทพัฒนาเทคโนโลยีของธนาคารกสิกรไทย ถึงหันมาพัฒนาแพลตฟอร์มร้านอาหารที่ดูไม่เกี่ยวข้องกับบริการธนาคารโดยตรง
KBTG เปิดตัว Eatable แพลตฟอร์มสำหรับการจัดการร้านอาหารที่รองรับทั้งการทานในร้าน, การสั่งนำกลับบ้าน, หรือการสั่งแบบเดลิเวอรี่ ทำให้กระบวนการสั่งทั้งหมดเป็นระบบออนไลน์
Eatable เป็นบริการบนเว็บที่เปิดให้ร้านอาหารลงทะเบียนสร้างเมนูสำหรับร้านอาหารได้หลายภาษา ผู้มาทานอาหารสามารถสแกน QR ที่ร้านดูเมนูแล้วสั่งอาหาร และหากมาพร้อมกันหลายคนก็ยังสามารถแชร์รายการสั่งอาหารให้สั่งร่วมกันได้ รวมถึงการกดเรียกพนักงานจากในแอป
ในกรณีที่ลูกค้าต้องการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ Eatable จะเปิดให้ร้านค้าสามารถรับออเดอร์จากลูกค้าโดยตรงและเลือกใช้บริการส่งอาหารอื่นๆ เรียกว่า Express Link
เวลานัดทานข้าวกับเพื่อนกลุ่มใหญ่ ๆ แล้วต้องหาคนจัดการหลังทานเสร็จ เพื่อหารเงินค่าข้าว คิดเงินรายหัว พิจารณาว่าใครจ่ายเท่าไหร่ ใครกินมากกินน้อย จนบางครั้งเครื่องคิดเลขอาจไม่พอใช้ หลายคนต้องหันไปพึ่ง Excel เพื่อแก้ปัญหานี้ไปเลย
ปัญหานี้กำลังจะหมดไปด้วยขุนทอง (KhunThong) แชทบอทจาก KBTG ใน LINE ที่ช่วยเป็นเหรัญญิกให้คนทั้งกลุ่ม ทำได้ทั้งหารค่าข้าวแบบหารเท่าและหารไม่เท่า เช็คให้ว่าใครยังไม่จ่าย แล้วคอยตามทวงให้เสร็จสรรพ
ใครที่กังวลเรื่องความเป็นส่วนตัว ตัวแชทบอทการันตีว่าไม่อ่านแชท ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ส่วนบุคคล (PDPA) และเป็นบริการที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยธนาคารแห่งประเทศไทย
KBTG บริษัทเทคโนโลยีในเครือธนาคารกสิกรไทย จัดงานเปิดตัว 6 เทคโนโลยีที่ช่วยให้คนสามารถปรับสู่วิถีชีวิตใหม่หรือ New Normal เน้นลดการสัมผัสระหว่างมือและอุปกรณ์ หรือ Contactless Technology
ความน่าสนใจคือ ทั้ง 6 เทคโนโลยี ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การทำธุรกรรมการเงินเท่านั้น แต่รวมไปถึงการดำรงชีวิตทั่วไปอย่างการซื้อเครื่องดื่ม, การเข้าออกสำนักงาน, การใช้งานล็อกเกอร์เก็บของที่สามารถทำได้โดยไม่ต้องใช้มือกดหรือสัมผัสอุปกรณ์ใดๆ
KBTG ผู้พัฒนาเทคโนโลยีในเครือธนาคารกสิกรไทย เปิดตัวเทคโนโลยีใหม่เน้นลดการสัมผัสระหว่างมือและอุปกรณ์ หรือ Contactless Technology ที่น่าสนใจคือระบบ Face Check-in เทคโนโลยีการสแกนตรวจสอบใบหน้าที่สามารถระบุตัวตน แม้สวมหน้ากากอนามัยอยู่ เน้นไปที่การใช้งานในการเข้าออกคอนโดที่พักอาศัย, เข้าตึกสำนักงาน ลดการใช้นิ้วสแกนเข้าหรือใช้คีย์การ์ด
ช่วงนี้แวดวงธนาคารบ้านเรามีความเคลื่อนไหวน่าสนใจ โดยเฉพาะฝั่งงานด้านดิจิทัล-นวัตกรรม ล่าสุดธนาคารกสิกรไทยเพิ่งประกาศตั้งบริษัทลูกอีก 2 แห่งคือ KAITAI Technology ที่ประเทศจีน และ KASIKORN X ที่เน้นสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ นอกเหนือจากที่กลุ่มบริษัท KBTG ทำอยู่
Blognone มีโอกาสพูดคุยกับ “คุณกระทิง” เรืองโรจน์ พูนผล ประธานของ KASIKORN Business- Technology Group หรือ KBTG ที่ประกาศตัวว่าจะไปนั่งเป็นประธานของ KAITAI Technology ในประเทศจีนด้วยอีกตำแหน่งหนึ่ง ถึงความจำเป็นของธนาคารกสิกรไทยในการตั้งบริษัทใหม่เพิ่มอีก
KBTG จัดงาน Internal Hackathon แข่งขันเฟ้นหามือดีเฉพาะคนในองค์กรครั้งใหญ่ครั้งแรก เพื่อส่งเสริม “Open Innovation Culture” ให้พนักงานจากทุกแผนกทั้งองค์กรได้มีร่วมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมให้แก่ธนาคาร ทาง Blognone มีโอกาสได้เข้าร่วมสังเกตการณ์ และพบว่าแม้จะเป็นการแข่งขันภายใน ความตื่นเต้นของการแข่งขันไม่แพ้ hackathon ภายนอก ที่สำคัญยังได้ไอเดียสดใหม่ จากคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่ในระยะหลังมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ใน KBTG
งานในครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้คอนเซปต์ Eat your own dog food, Eat your own APIs เปิดโอกาสให้พนักงานมีอิสระในการสร้าง Innovation โดยอาศัยเทคโนโลยีที่ทางธนาคารได้มีการพัฒนาภายใน (Deep Tech อาทิ Facial Recognition และ OCR) ผ่านรูปแบบ API Platform และในขณะเดียวกันก็เป็นการทดสอบเทคโนโลยีกันในองค์กร เพื่อสร้างความมั่นใจก่อนนำออกไปใช้จริง
รัฐบาลไทยร่วมมือกับภาคเอกชนกว่า 40 หน่วยงาน เปิดตัวแอปพลิเคชั่น TAGTHAi (ทักทาย) แพลตฟอร์มรวมข้อมูลและบริการท่องเที่ยวในไทยไว้ในแอปเดียว ดูข้อมูลท่องเที่ยว จองเที่ยวบิน และวางแผนการท่องเที่ยวได้ การันตีคุณภาพของแอปโดยทีม KBTG ผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาแอปพลิเคชั่นขึ้นมา