บอร์ด กสทช. ประกาศมีมติขอประเมินผลกระทบการควบรวมกิจการของ True-dtac เพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงสร้างการรวมธุรกิจของบริษัทใหม่ ผลกระทบต่อการแข่งขันในตลาด การถือครองคลื่นความถี่ การลดอัตราค่าบริการ และการส่งเสริม MVNO อย่างเป็นรูปธรรม ก่อนจะลงมติต่อไปและยืนยันว่าจะพยายามไม่ให้ยืดเยื้อ
Unity บริษัทเอนจินเกมชื่อดัง ประกาศควบกิจการกับ ironSource แพลตฟอร์มการหารายได้ผ่านโฆษณาของแอพมือถือ โดยใช้วิธีแลกหุ้นทั้งหมด
ironSource เป็นบริษัทจากอิสราเอล แต่ขายหุ้นอยู่ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก บริการของ ironSource มีสำหรับบริษัทผู้พัฒนาแอพมือถือ ที่ต้องการระบบวิเคราะห์การใช้งาน เพิ่มจำนวนผู้ใช้เข้าแอพ และหารายได้ (monetization) ผ่านการโฆษณา โดย ironSource เป็นทั้งเครือข่ายโฆษณา (ad network) เองและดึงโฆษณาจากเครือข่ายอื่นๆ มาแสดงผลในแอพด้วย
ดีลนี้ใช้วิธีควบรวมและแลกหุ้น โดยผู้ถือหุ้น Unity จะมีสัดส่วนหุ้น 73.5% ในบริษัทใหม่ ส่วน ironSource ถือ 26.5% บริษัทคาดว่ากระบวนการควบรวมจะเสร็จสิ้นในไตรมาส 4 ของปีนี้
อุตสาหกรรมวิดีโอเกมอาจเข้าสู่การควบรวมกิจการมากขึ้นอีก ล่าสุดมีรายงานว่า EA หรือ Electronic Arts ได้เริ่มเจรจากับบริษัทรายใหญ่หลายแห่ง เพื่อขายกิจการให้หรือควบรวมกิจการ โดยบริษัทที่ระบุชื่อคือ NBCUniversal นอกจากนี้ยังมีข่าวว่า EA ก็เจรจากับอีกหลายบริษัทรวมทั้ง Disney, Apple และ Amazon
รายงานระบุว่าช่วงหลายปีที่ผ่านมา บริษัทสื่อขนาดใหญ่มีความสนใจจะเข้าสู่ธุรกิจวิดีโอเกม จึงทำให้เกิดการเจรจาซื้อ-ขายกิจการ พอเกิดดีลไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard ก็ยิ่งกระตุ้นให้การเจรจาเกิดมากขึ้น
ดีลใหญ่ของวงการสื่อสหรัฐเมื่อปี 2021 คือ WarnerMedia ควบรวมกับ Discovery กลายเป็นบริษัทใหม่ชื่อ Warner Bros. Discovery (ตัวย่อ WBD) เสร็จสิ้นอย่างเป็นทางการแล้ว
ทรูคอร์ปอเรชั่น หรือ ทรู แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่ามติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2565 ซึ่งจัดขึ้นในวันนี้ 4 เมษายน 2565 ได้อนุมัติให้มีการควบบริษัทกับ โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค โดยมีคะแนนเสียงเห็นด้วยคิดเป็น 99.3713%
ขั้นตอนถัดไปคือการจัดสรรหุ้นในบริษัทร่วมทุนใหม่ที่จัดตั้งขึ้น ซิทริน โกลบอล และให้บริษัทใหม่เป็นผู้ดำเนินการเกลี่ยและปัดเศษหุ้น ตามขั้นตอนการควบบริษัทให้แล้วเสร็จ
ในวันนี้ดีแทคก็จัดประชุมผู้ถือหุ้น และที่ประชุมมีมติอนุมัติการควบรวมกิจการกับทรูเช่นกัน
ที่มา: ทรู
บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค ประกาศว่า ผู้ถือหุ้นบริษัทอนุมัติข้อเสนอควบรวมกิจการกับทรู ถือเป็นก้าวสำคัญในการก่อตั้งบริษัท เทคโนโลยี-โทรคมนาคม นำเสนอบริการใหม่ให้ลูกค้า
ทั้งนี้ หลังจากการอนุมัติจากผู้ถือหุ้น การควบควมกิจการต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบ และแจ้งเจ้าหนี้ หน่วยงานกำกับดูแล เช่น สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.
กระบวนการควบรวมกิจการนี้คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ในระหว่างนี้ ลูกค้าของ ดีแทค จะไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ โดยลูกค้าคงยังสามารถซื้อสินค้า และบริการได้ปกติ
บริการสตรีมมิ่งสองตัวคือ HBO Max และ Discovery+ ประกาศควบรวมกันเป็นบริการเดียวในอนาคต
เหตุผลเป็นเพราะบริษัทแม่ของทั้งสองกำลังจะควบรวมกัน นั่นคือ WarnerMedia (แม่ของ HBO) และ Discovery Inc. (แม่ของ Discovery+) เป็นบริษัทใหม่ชื่อ Warner Bros. Discovery ซึ่งกระบวนการจะเสร็จสิ้นในช่วงกลางปี 2022 นี้
เมื่อปีที่แล้ว เราเห็นกลุ่มทุน Symphony Technology Group (STG) เข้าซื้อบริษัทความปลอดภัย 2 แห่งคือ FireEye และ McAfee Enterprise พร้อมประกาศว่าจะควบรวมทั้งสองบริษัทเข้าด้วยกัน
มติที่ประชุมคณะกรรมการ บริษัท ทรู คอร์ปปอเรชั่น จำกัด อนุมัติให้ "ศึกษาความเป็นไปได้" ของการควบรวมระหว่าง True กับ dtac โดยมีรายละเอียดดังนี้
ช่าวใหญ่ในวงการคอนเทนต์ช่วงที่ผ่านมาคือ WarnerMedia บริษัทสื่อในเครือ AT&T ควบรวมกับบริษัทสื่อ Discovery, Inc. กลายเป็นบริษัทสื่อบันเทิงยักษ์ใหญ่ของโลก ล่าสุดได้ชื่อบริษัทใหม่แล้วด้วย เป็น Warner Bros. Discovery
David Zaslav ซีอีโอของ Discovery และจะเป็นซีอีโอของ Warner Bros. Discovery ด้วย กล่าวในแถลงการณ์ว่า ชื่อใหม่นี้ เป็นการแทนตัวตนของ WarnerMedia และ Discovery, Inc. ได้เป็นอย่างดี
จากข่าวลือเมื่อคืนนี้ ตอนนี้ข่าวเป็นทางการมาแล้วคือ WarnerMedia บริษัทสื่อในเครือ AT&T จะควบรวมกับบริษัทสื่อ Discovery, Inc. กลายเป็นบริษัทสื่อบันเทิงยักษ์ใหญ่ของโลก
WarnerMedia เป็นบริษัทแม่ของสตูดิโอแบรนด์ Warner Bros. ทั้งหมด, ช่องบันเทิง HBO/Cinemax, Cartoon Network, CNN, Turner Network และหนังสือการ์ตูน DC Comics เป็นต้น
ส่วน Discovery, Inc. เป็นเจ้าของช่องแบรนด์ Discovery ทั้งหมด, Animal Planet, Food Network และช่องกีฬาแบรนด์ Eurosport
Z Holdings บริษัทโฮลดิ้งเจ้าของ Yahoo! Japan และ LINE Corporation แถลงควบรวมกิจการเสร็จสมบูรณ์แล้วในวันนี้ หลังจากประกาศดีลนี้เมื่อช่วงปลายปี 2019
ผลจากการควบรวมนี้ทำให้บริษัทใหม่ Z Holdings มีบริการบนอินเทอร์เน็ตมากกว่า 200 บริการ มีจำนวนผู้ใช้งานรวมมากกว่า 300 ล้านคน และขึ้นมาเป็นบริษัทอินเทอร์เน็ตรายใหญ่แห่งหนึ่งของญี่ปุ่น
ธุรกิจหลักของ Yahoo! Japan และ LINE ทั้งบริการเสิร์ช, เว็บพอร์ทัล, โฆษณา และแอปแชต จะยังคงให้บริการต่อไปตามเดิม โดยเพิ่มการโฟกัสใน 4 ธุรกิจใหม่ได้แก่
วันนี้ 7 มกราคม 2564 รัฐวิสาหกิจด้านโทรคมนาคม 2 รายคือ TOT และ CAT ควบรวมกันเป็นบริษัทใหม่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (National Telecom Public Company Limited ตัวย่อ NT) ตามที่ประกาศไว้
ในแง่การให้บริการ TOT และ CAT ยังคงเดิมไปก่อน แต่ในแง่นิติบุคคล การออกหนังสือราชการ ที่อยู่ทางกฎหมาย ได้เปลี่ยนเป็นบริษัทใหม่เรียบร้อยแล้ว
ตอนนี้บริษัทใหม่ NT ยังไม่มีโลโก้อย่างเป็นทางการ (มีแต่โลโก้ชั่วคราว) แต่มีเว็บไซต์ NTPLC.co.th และ เพจ Facebook NTPLC เผื่อใครสนใจติดตาม
Huya และ DouYu สองเว็บให้บริการสตรีมมิ่งเกมในจีน ประกาศบรรลุข้อตกลงเพื่อควบรวมกิจการกัน โดยในขั้นตอนควบรวมนั้น Huya จะเป็นฝ่ายเข้าซื้อหุ้นทั้งหมดของ DouYu ด้วยวิธีการแลกเป็นหุ้น โดยทั้งสองบริษัทต่างมีการซื้อขายอยู่ในตลาดหุ้นอเมริกา
ดีลควบรวมนี้เป็นข้อเสนอมาจาก Tencent ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในทั้งสองบริษัท โดย Tencent ถือหุ้นใน Huya ครึ่งหนึ่ง และ DouYu ประมาณ 1 ใน 3 ภายหลังการควบรวมซีอีโอของทั้งสองบริษัทจะเป็นซีอีโอร่วมในบริษัทใหม่
ข้อมูลจาก MobTech ระบุว่าภายหลังการควบรวม จะทำให้บริษัทใหม่นี้มีส่วนแบ่งการตลาดในบริการสตรีมมิ่งเกมของจีนมากกว่า 80%
ช่วงต้นปีมีข่าวลือว่า Grab และ Gojek เจรจากันเพื่อควบรวมกิจการก่อนที่ทั้งสองแบรนด์จะออกมาปฏิเสธอย่างเป็นทางการ โดย SoftBank มีท่าทีไม่เห็นด้วยกับการควบรวม ทว่าล่าสุด Financial Times รายงานการเจรจาถูกนำกลับมาขึ้นโต๊ะอีกครั้งแล้วและ SoftBank ก็เป็นหนึ่งในคนที่ผลักดันเรื่องนี้อีกครั้ง
eBay ประกาศบรรลุข้อตกลงในการขายธุรกิจโฆษณาแบบคลาสสิฟายด์ ให้กับ Adevinta โดยจะได้ผลตอบแทนเป็นเงินสด 2,500 ล้านดอลลาร์ และหุ้นของ Adevinta อีก 44% คิดเป็นมูลค่าดีลราว 9,200 ล้านดอลลาร์
Adevinta เป็นบริษัทด้านการทำคลาสสิฟายด์แบบออนไลน์ที่ดำเนินงานอยู่ใน 15 ประเทศ ขณะที่ธุรกิจคลาสสิฟายด์ของ eBay ก็ดำเนินงานใน 13 ประเทศ ภายใต้แบรนด์ต่าง ๆ รวม 12 แบรนด์ หลังการควบรวมนี้ทำให้ eBay จะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดใน Adevinta ขณะเดียวกันก็จะเป็นบริษัทด้านคลาสสิฟายด์ออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ดำเนินงานใน 20 ประเทศ
มีรายงานจาก The Information เผยว่าผู้บริหารของ Grab แอปให้บริการเรียกรถโดยสารรายใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และผู้บริหารจาก Gojek แอปประเภทเดียวกันที่เป็นผู้นำในตลาดอินโดนีเซีย และกำลังขยายตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นกัน ได้มีการเจรจาเพื่อหาแนวทางควบรวมกิจการกัน แต่การเจรจายังไม่คืบหน้าเนื่องจากทั้งสองฝ่ายยังหาข้อสรุปเรื่องการถือหุ้นหลังควบรวมไม่ได้
ตัวแทนของทั้งสองบริษัทออกมาปฏิเสธข่าวดังกล่าว โดย Gojek บอกว่าไม่มีแผนการควบรวมใด ๆ และข่าวที่รายงานก็ไม่ถูกต้อง ขณะที่ Grab ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นกับข่าวนี้
T-Mobile โอเปอเรเตอร์อันดับ 3 ในอเมริกา ซึ่งมีแผนควบรวมกิจการกับเบอร์ 4 Sprint โดยได้อนุมัติจากรัฐบาลสหรัฐฯ แล้วไปเมื่อหลายเดือนก่อน หลังจากที่เจรจากันมายาวนาน ทำให้ผู้ให้บริการมือถือในอเมริการายหลักเหลือเพียง 3 ราย จากเดิม 4 ราย จึงน่าจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในตลาดโทรคมนาคมที่นั่น
ล่าสุดมีการเปิดเผยเอกสารภายในของ T-Mobile ซึ่งเป็นเอกสารตั้งแต่ปี 2015 ก่อนเกิดการควบรวมกิจการกับ Sprint เอกสารชุดนี้จัดทำโดยบริษัทที่ปรึกษาเพื่อนำเสนอต่อบอร์ดบริหารของ T-Mobile และ Deutsche Telekom บริษัทแม่ของ T-Mobile ทำให้เห็นทิศทางและยุทธศาสตร์ที่ T-Mobile ประเมินตั้งแต่ตอนนั้น
Naver บริษัทแม่ของ LINE และ Z Holdings บริษัทโฮลดิ้งเจ้าของ Yahoo! Japan ในเครือ SoftBank ประกาศบันทึกข้อตกลงอย่างเป็นทางการ เพื่อควบรวมกิจการระหว่าง LINE กับ Yahoo! Japan ตามที่เคยประกาศไปก่อนหน้านี้
ทั้งนี้ทั้งสองบริษัทคาดว่าการควบรวมจะแล้วเสร็จในเดือนตุลาคมปีหน้า โดยทั้งสองบริษัทต่างต้องได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นในเดือนมีนาคมก่อน
ข้อตกลงดังกล่าวระบุว่า Z Holdings และ Naver จะทำการซื้อหุ้น LINE จากผู้ถือหุ้นเดิมทั้งหมด เพื่อนำบริษัทออกจากตลาดหุ้น แล้วตั้งบริษัทร่วมทุนใหม่เพื่อถือหุ้น Z Holdings ที่เป็นเจ้าของ Yahoo! Japan และ LINE ฝ่ายละ 50%
SoftBank บริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของญี่ปุ่น ประกาศวันนี้ว่ามีแผนจะควบรวมกิจการ Yahoo! Japan ที่เป็นเจ้าของปัจจุบัน กับ LINE Corp. ผู้ให้บริการแอปสนทนารายใหญ่ของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นไปตามข่าวลือที่ออกมาสัปดาห์ที่แล้ว
ตามแผนการควบรวมนั้น Z Holdings บริษัทลูกของ SoftBank ที่เป็นเจ้าของ Yahoo! Japan จะเป็นฝ่ายซื้อกิจการ LINE จากนั้น SoftBank กับ Naver บริษัทอินเทอร์เน็ตที่เป็นผู้ก่อตั้ง LINE จะตั้งบริษัทร่วมทุนใหม่ขึ้นมาเพื่อเป็นเจ้าของ Z Holdings อีกที โดยถือหุ้นรายละ 50% ดีลทั้งหมดคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2020
Telenor กลุ่มบริษัทโทรคมนาคมจากนอร์เวย์ และ Axiata กลุ่มบริษัทโทรคมนาคมจากมาเลเซีย ประกาศบรรลุข้อตกลงเพื่อควบรวมกิจการธุรกิจในทวีปเอเชียร่วมกัน โดยจะจัดตั้งบริษัทใหม่ชื่อ MergeCo ซึ่ง Telenor จะถือหุ้น 56.5% และ Axiata ถือหุ้น 43.5%
ผลของการควบรวมนี้จะทำให้ MergeCo กลายเป็นกลุ่มบริษัทโทรคมนาคมขนาดใหญ่ของโลกและของทวีปเอเชีย มีการให้บริการโทรคมนาคมใน 9 ประเทศ ครอบคลุมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ ได้แก่ ไทย, มาเลเซีย, บังกลาเทศ, ปากีสถาน, เมียนมาร์, กัมพูชา, เนปาล, ศรีลังกา และอินโดนีเซีย มีฐานลูกค้ารวม 300 ล้านราย และมีสถานีฐาน 60,000 จุด
ทั้งนี้ Telenor มีธุรกิจโทรคมนาคมในไทยคือ ดีแทค ซึ่ง Telenor ถือหุ้นทางตรง 42.62%
มีรายงานว่า Amazon กำลังเจรจาเพื่อควบรวมส่วนธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศจีน ซึ่งหลายคนอาจไม่ทราบว่า Amazon ก็มีธุรกิจที่นั่น กับ Kaola เว็บอีคอมเมิร์ซจำหน่ายสินค้านำเข้าจากต่างประเทศในเครือ NetEase ของจีน
Kaola เปิดให้บริการในปี 2015 และเป็นอีคอมเมิร์ซจำหน่ายสินค้านำเข้าจากต่างประเทศในจีนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และใหญ่กว่าส่วนสินค้านำเข้าทั้ง Tmall ของ Alibaba และ JD Worldwide ของ JD.com
นักวิเคราะห์มองว่าดีลนี้ถือว่าได้ประโยชน์ร่วม เพราะ Kaola ก็จะได้ประโยชน์จากการจัดหาสินค้าต่างประเทศมาจำหน่ายมากขึ้นผ่านหุ้นส่วนอย่าง Amazon
ข่าวน่าสนใจของวงการไอทีในวันนี้คือ การควบรวมกันระหว่าง Cloudera และ Hortonworks สองบริษัทที่ทำธุรกิจซอฟต์แวร์ Hadoop ส่งผลให้บริษัทใหม่ (ซึ่งจะใช้ชื่อว่า Cloudera) กลายเป็นบริษัท Hadoop รายใหญ่ของโลก
ถ้าดูเผินๆ การควบกิจการครั้งนี้อาจเป็นเรื่องปกติทั่วไปในโลกธุรกิจ แต่แท้จริงแล้ว Cloudera และ Hortonworks เรียกได้ว่าเป็น "แฝดท้องเดียวกัน" ที่พรากจากกันมานาน และกลับมารวมกันอีกครั้ง
Cloudera และ Hortonworks สองบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลขนาดใหญ่บน Hadoop ประกาศควบรวมกิจการกัน โดยบริษัทใหม่คาดมีมูลค่ากิจการราว 5,200 ล้านดอลลาร์
รายละเอียดในการควบรวมนั้นระบุว่า เป็นการรวมกิจการเข้าด้วยกัน (ไม่ใช่ใครซื้อกิจการใคร) โดยผู้ถือหุ้น Cloudera เดิม จะถือหุ้น 60% ในบริษัทใหม่ ส่วนที่เหลือเป็นของ Hortonworks นอกจากนี้ Tom Reilly ซีอีโอ Cloudea จะเป็นซีอีโอของบริษัทใหม่ ส่วน Rob Bearden ซีอีโอ Hortonworks จะย้ายไปเป็นกรรมการบอร์ด
LINE Games แผนกย่อยของ LINE ประกาศควบรวมกิจการกับบริษัทผู้ผลิตเกมของเกาหลี NextFloor Corporation โดยตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาชื่อ LINE Games ซึ่งการรวมกิจการนี้จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารงานมากขึ้น
NextFloor เป็นผู้พัฒนาเกมบนมือถือ ซึ่งมีเกมยอดนิยมหลายเกมในเกาหลีและต่างประเทศ อาทิ Dragon Flight และ Destiny Child
LINE Games บอกว่าเมื่อมีการควบรวมกันในธุรกิจการพัฒนาเกมแล้ว แผนถัดไปคือการผลิตเกมที่เน้นออกสู่ตลาดต่างประเทศให้มากขึ้น และออกเกมใหม่ ๆ ที่ไม่จำกัดว่าต้องอยู่บนแพลตฟอร์มสมาร์ทโฟน โดยอาจนำลง Nintendo Switch เป็นต้น