เว็บไซต์ Boy Genius Report รายงานว่า เมื่อวันพุธที่ผ่านมาธนาคาร Danske Bank ได้เผยว่าโนเกียเตรียมที่จะขายกิจการในส่วนของแผนกสมาร์ทโฟนให้กับไมโครซอฟท์ ในช่วงครึ่งปีแรกของปีหน้านี้ ซึ่งในวันที่มีข่าวลือออกมา Danske ได้เผยว่าหุ้นของโนเกียกลับโตขึ้นอย่างรวดเร็วถึง 3%
และแล้ว Hi5 อดีตเครือข่ายสังคมออนไลน์ยอดนิยมในอดีตอันไม่ไกลนัก ก็มีอันต้องขายกิจการให้เครือข่ายสังคมอีกรายหนึ่งคือ Tagged ด้วยมูลค่าไม่เปิดเผย
กูเกิลประกาศเข้าซื้อกิจการบริษัท Cleversense ซึ่งทำธุรกิจด้านประมวลผลข้อมูลโดยอิงกับสถานที่และบริบท ผลงานของบริษัทนี้คือแอพ Alfred ที่ช่วยแนะนำร้านอาหารในบริเวณใกล้เคียงตามความต้องการของเรา (ดูวิดีโอประกอบ)
Alfred เป็นแอพบน iPhone และ Android ตามข่าวไม่ระบุว่าแอพจะถูกพัฒนาต่อหรือไม่ แต่ทีมของ Cleversense จะไปร่วมงานกับส่วน Google Local สำหรับข้อมูลด้านสถานที่ต่อไป
มูลค่าของการซื้อกิจการก็ไม่เปิดเผยครับ
ที่มา - TechCRunch
Gowalla ได้ประกาศวันนี้ผ่านบล็อกว่า Facebook ได้เข้าซื้อกิจการไปเรียบร้อยแล้ว หลังจากที่มีข่าวลือก่อนหน้านี้ โดยการซื้อครั้งนี้ไม่ใช่การซื้อที่ตัวบริการ Gowalla แต่เป็นการซื้อทีมงานนักพัฒนาทั้งหมด ซึ่งจากนี้ทีมงานจะย้ายไปทำงานกับ Facebook เพื่อร่วมพั
CNNMoney รายงานข่าวที่ยังไม่ยืนยันอย่างเป็นทางการว่า Facebook เข้าซื้อบริษัทเช็คอิน Gowalla เรียบร้อยแล้ว โดยทีมงานเกือบทั้งหมดจะย้ายไปที่สำนักงานใหญ่ของ Facebook ที่พาโลอัลโต และจะได้ร่วมทีมพัฒนาฟีเจอร์ Timeline
ดีลใหญ่ของปีนี้อย่าง การควบรวมกิจการโทรคมนาคมระหว่าง AT&T และ T-Mobile ที่ราคากว่า 39 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐจากบริษัทแม่ Deutsche Telekom ประเทศเยอร์มนี เป็นอันต้องสิ้นสุดลงแล้ว
แต่ก่อนอ่านข่าวนี้... ขอให้ย้อนอ่านข่าวเก่าที่กระทรวงยุติธรรม และ FCC (กสทช. ของสหรัฐฯ) ออกมาเบรคพร้อมแสดงความเห็นว่า ไม่ปลื้มก่อนนะครับ
ข่าวใหญ่ของวงการโทรคมนาคมในปีนี้คือ AT&T บรรลุข้อตกลงซื้อ T-Mobile USA จากบริษัทแม่ Deutsch Telekom ในเยอรมนี ด้วยมูลค่า 39 พันล้านดอลลาร์
ความคืบหน้าจากการที่กูเกิลประกาศซื้อกิจการฝ่ายโทรศัพท์มือถือของ Motorola หรือ Motorola Mobility เพื่อประโยชน์จากคลังสิทธิบัตรกว่า 17,000 ใบไปเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา วันนี้กลุ่มผู้ถือหุ้นหลักของ Motorola Mobility กว่า 99% ตกลงใจร่วมกันออกเสียงเห็นด้วยกับเรื่องนี้ โดยให้ความเห็นหลักว่าอยากจะเห็นการพัฒนาที่ก้าวกระโดดจากกูเกิล ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นผลดีกับพนักงาน ผู้ใช้งาน และพันธมิตรด้วย
ฝ่ายกูเกิลก็ได้บอกมาว่าการซื้อกิจการในครั้งนี้ จะยังคงเก็บ Motorola Mobility เอาไว้เป็นบริษัทลูก (เหมือน YouTube ที่เป็นบริษัทลูก แต่วิสัยทัศน์ในการดำเนินงานไม่เหมือนกัน) ซึ่งกระบวนการควบรวมในครั้งนี้จะสิ้นสุดภายในสิ้นปีนี้ หรือต้นปี 2012
มีข่าวการซื้อกิจการของกูเกิลออกมาไล่เลี่ยกัน 2 ข่าว ยุบรวมกันเพื่อไม่ให้เปลืองที่นะครับ
บริษัทแรกคือ Katango ซึ่งสร้างซอฟต์แวร์บน iPhone ที่ช่วยจัดรายการเพื่อนบน Facebook ให้อัตโนมัติ (ทำนองเดียวกับ Smart List ที่ Facebook เพิ่งเปิดตัวออกมา) ทีมงาน Katango จะถูกรวมเข้ากับทีมของ Google+ และเราคงได้เห็นฟีเจอร์ช่วยจัดการ circle ในไม่ช้า - ReadWriteWeb
เว็บไซต์ The Atlantic รายงานข่าวว่าบริษัท Yap ซึ่งทำธุรกิจด้านซอฟต์แวร์สั่งงานด้วยเสียง และช่วยถอดเสียงจากวอยซ์เมลเป็นข้อความ ถูกซื้อกิจการโดยบริษัทลึกลับชื่อ Dion Acquisition Sub ตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา
บังเอิญว่า Dion Acquisition Sub มีที่อยู่จดทะเบียนเป็นที่เดียวกับสำนักงานของ Amazon ที่เมืองซีแอตเทิลในสหรัฐ จึงมีความเป็นไปได้อย่างสูงว่า Amazon เข้าซื้อ Yap อย่างเงียบๆ เพื่อสะสมขุมกำลังด้านการสั่งงานด้วยเสียงไว้ต่อกรกับ Siri ของแอปเปิลนั่นเอง
Amazon ไม่ให้ข้อมูลใดๆ ในเรื่องนี้
บริษัท Rakuten ยักษ์ใหญ่ด้านอีคอมเมิร์ซของประเทศญี่ปุ่น (เพิ่งซื้อกิจการ Tarad.com ไปเมื่อไม่นานนี้) ประกาศการซื้อกิจการบริษัทอีบุ๊ก Kobo คิดเป็นมูลค่า 315 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
Kobo ถือเป็นบริษัทที่ทำเครื่องอ่านอีบุ๊ก-แพลตฟอร์มการจัดจำหน่ายอีบุ๊กอีกแห่งหนึ่ง ถึงแม้จะโด่งดังสู้รายใหญ่อย่าง Amazon และ Barnes & Noble ไม่ได้ แต่ก็มีฐานลูกค้าอยู่พอสมควร (Kobo ยังเป็นพันธมิตรกับร้านหนังสือ Borders ที่ไม่มีแพลตฟอร์มอีบุ๊กของตัวเอง เพียงแต่ Borders ล้มละลายไปแล้ว)
จุดอ่อนอย่างหนึ่งของ Apple คือการขาดบริการออนไลน์หลายๆ อย่างไป ต้องพึ่งพาบริการจาก Google คู่แข่งคนสำคัญมาตลอด Apple เองก็รู้ตัวเรื่องนี้ดี และพยายามเปิดบริการออนไลน์อย่าง iCloud หรือมีความคิดที่จะพัฒนาแผนที่เอง และตอนนี้ Apple ก็มีบริษัทแผนที่อยู่ในอาณัติเพิ่มอีก 1 แล้วครับ
บริษัท C3 คือบริษัทสร้างเอนจินแผนที่สามมิติ มันใช้การสแกนมุมสูงจากเครื่องบินเพื่อเก็บข้อมูลรูปร่างความลึกของพื้นที่ หลังจากนั้นจึงนำมาคำนวณแยกประเภทว่า ส่วนไหนเป็นตึก ถนน หรือพื้นที่โล่งๆ อธิบายเองยังไงก็คงไม่เห็นภาพ เข้ามาดูวิดีโอความเจ๋งของมันในข่าวดีเลยกว่าครับ
จากที่มีข่าวมาก่อนหน้า วันนี้ Sony ประกาศว่าจะเข้าซื้อหุ้นในกิจการร่วมทุน Sony Ericsson ในส่วนที่เป็นถือหุ้นโดย Ericsson 50% ทั้งหมด ทำให้ Sony เป็นเจ้าของส่วนธุรกิจโทรศัพท์มือถือนี้อย่างสมบูรณ์ รายละเอียของดีลนี้คือ Sony จะจ่ายเงินให้ Ericsson มูลค่า 1.05 พันล้านยูโร หรือประมาณ 1.47 พันล้านดอลลาร์
ครั้งที่แล้วแค่เจรจา แต่วันนี้ฝ่าย Ericsson ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า Sony ได้เข้าซื้อหุ้นที่เหลืออยู่ทั้งหมดของ Sony Ericsson ที่เป็นส่วนของ Ericsson ไปเรียบร้อยแล้วเมื่อเช้านี้ ด้วยจำนวนเงินทั้งหมด 1.05 พันล้านยูโร ทั้งนี้ Sony จะทำการรวบกิจการระหว่างแท็บเล็ต, มือถือ, โน้ตบุ๊ค และเครื่องเล่นเกมเข้าเป็นตระกูลเดียวกัน อีกทั้ง Sony ยังมีสิทธิ์ที่จะได้ครอบครองสิทธิบัตรจำนวน 5 ใบของ Ericsson Mobile ไว้ด้วย
Salesforce.com ได้เข้าซื้อกิจการ Assistly ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์สนับสนุนลูกค้า (customer support) แล้ว
Assistly ให้บริการซอฟต์แวร์สนับสนุนลูกค้า ที่เน้นการเข้าถึงบริการและตอบสนองลูกค้าได้หลายช่องทาง อาทิ social media (Facebook/Twitter), โทรศัพท์, อีเมล และระบบ help center ที่มีไว้บริการตามเว็บไซต์ของลูกค้าที่ใช้บริการ Assistly
Swype ผู้พัฒนาคีย์บอร์ดแบบนิ้วลากบนมือถือ ขายกิจการให้กับบริษัท Nuance Communications มูลค่าประมาณ 102.5 ล้านดอลลาร์
ผู้อ่าน Blognone คงรู้จัก Swype กันดีอยู่แล้ว ส่วน Nuance ชื่อบริษัทอาจจะไม่ดังนัก แต่เป็นเจ้าของวิธีป้อนข้อมูลแบบ T9 บนมือถือ และซอฟต์แวร์สั่งงานด้วยเสียงแบรนด์ Dragon ที่ทำตลาดมายาวนาน
Mike McSherry ซีอีโอของ Swype ให้สัมภาษณ์กับ TechCrunch ว่าการขายกิจการครั้งนี้จะทำให้เทคโนโลยีการป้อนข้อมูล (input method) ของ Nuance/Swype รวมตัวกันเพื่อเป็นเจ้าแห่งการป้อนข้อมูลบนอุปกรณ์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นตู้เย็นหรือรถยนต์
Sony Ericsson เป็นบริษัทร่วมทุนของ Sony จากญี่ปุ่น และ Ericsson จากสวีเดน (สัดส่วน 50:50) เริ่มกิจการมาตั้งแต่ปี 2001 แต่วันนี้ผ่านมาสิบปี มีข่าวว่า Sony เตรียมเสนอซื้อหุ้นส่วนของ Ericsson แล้ว
ทางหนังสือพิมพ์ Wall Street Journal รายงานข่าวว่า Sony เจรจาซื้อหุ้นเกือบสำเร็จแล้ว มูลค่าการซื้อกิจการจะอยู่ระหว่าง 1.3-1.7 พันล้านดอลลาร์ ส่วนชื่อแบรนด์จะยังเป็น Sony Ericsson เหมือนเดิม หรือจะเปลี่ยนมาใช้แบรนด์ Sony ทั้งหมด อันนี้ยังไม่มีข้อมูล
ในข่าวยังบอกว่าการเจรจาครั้งนี้ Sony ยังจะได้สิทธิบัตรด้านมือถือจาก Ericsson ด้วย
ชะตากรรมของยาฮูคงเริ่มชัดเจนแล้วว่า จะจบลงด้วยการขายบริษัท (เหลือแต่จะขายให้ใครเท่านั้น)
บริษัทที่ออกมาประกาศตัวว่าอยากซื้อคือ Alibaba ของจีน แต่ก็อาจมีความเป็นไปได้ไม่เยอะเพราะปัญหาเรื่องทุนต่างชาติ
ยักษ์สีฟ้า IBM ประกาศข่าวซื้อกิจการบริษัท Q1 Labs ซึ่งทำซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัย โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันมาช่วยประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยขององค์กร
ในโอกาสเดียวกันนี้ IBM ก็ประกาศตั้งฝ่ายธุรกิจด้านความปลอดภัย (IBM Security Systems) โดยรวมผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องมาไว้ด้วยกัน และมอบหมายให้ Brendan Hannigan ซีอีโอของ Q1 Labs เป็นหัวหน้า
ซอฟต์แวร์ของ IBM ที่จะเข้ามาอยู่ใต้ IBM Security Systems ได้แก่ Tivoli, Rational, i2 และซอฟต์แวร์อื่นๆ รวม 10 แบรนด์ นอกจากนี้ยังมีศูนย์วิจัย ศูนย์ปฏิบัติการด้านความปลอดภัยของ IBM อีกหลายแห่ง
ที่มา - IBM
ข่าวดักอายุอีกแล้วครับ บริษัทเพลงออนไลน์รุ่นเก๋า 2 รายซื้อกิจการกันเอง หวังต่อสู้กับบริษัทเพลงหน้าใหม่ๆ ที่รุกตลาดเข้ามาเรื่อยๆ
Rhapsody เป็นบริการเพลงออนไลน์แบบเหมาจ่ายรายเดือน (เดือนละ 10 ดอลลาร์ฟังไม่จำกัด) เปิดบริการมาตั้งแต่ปี 1999 ในชื่อ Listen.com แล้วโดนบริษัท RealNetworks ซื้อกิจการในปี 2003 ภายหลังก็แยกตัวออกมาเป็นบริษัทอิสระเมื่อปี 2010 นี้เอง
ส่วน Napster นั้นถือเป็น "ตำนาน" ของเพลงออนไลน์แบบ P2P (ถ้าใครดูหนังเรื่อง The Social Network คงจำคาแรกเตอร์ของ Sean Parker ได้ คนนี้คือหนึ่งในผู้ก่อตั้ง) บริษัทผ่านการล้มละลายและขายแบรนด์เปลี่ยนมือมาหลายครั้ง เจ้าของรายล่าสุดคือ Best Buy ก่อนจะขายให้กับ Rhapsody ในรอบนี้
HP ประกาศว่าเป็นเจ้าของหุ้นใหญ่ในบริษัท Autonomy ผู้สร้างซอฟต์แวร์สำหรับระบบคอมพิวเตอร์สำนักงานแล้ว
สถานการณ์อันย่ำแย่ของยาฮูในช่วงหลัง ทำให้การควบ-ขายกิจการกับบริษัทอื่นมีโอกาสสูงมาก คำถามอยู่ที่ว่า "บริษัทอื่น" คือใครกันแน่
เว็บไซต์ Business Insider รายงานข้อมูลวงในจากทีม MSN ของไมโครซอฟท์ว่าคนใน MSN กำลังคุยกันเป็นการภายในว่าควรซื้อยาฮูหรือไม่
แหล่งข่าวรายนี้บอกว่า ยาฮูน่าสนใจมากกว่า AOL เยอะ ถึงแม้จะมีคนพูดกันเยอะว่า AOL อาจจะแยกบริษัทบางส่วนออกมาขายก็ตาม แต่เขาบอกว่า AOL ช้ำไปหมดแล้ว ไม่น่าสนใจเท่ายาฮู ที่ยังเข้มแข็งในตลาดสื่อออนไลน์ของสหรัฐ
ถ้ายังจำกันได้ ไมโครซอฟท์เคยเสนอซื้อยาฮูเมื่อปี 2008 แต่สุดท้ายก็ล้มเหลว ถ้ารอบนี้ซื้อได้จริงก็คงได้ในราคาที่ถูกกว่าเดิมมาก
เจ้าพ่อแห่งชิปสื่อสาร Broadcom ประกาศเข้าซื้อกิจการบริษัท NetLogic Microsystems Inc. ซึ่งทำชิปด้านเครือข่าย คิดเป็นมูลค่า 3.7 พันล้านดอลลาร์
ชื่อของ NetLogic ไม่คุ้นหูคนทั่วไปเท่าไรนัก แต่บริษัทก็อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ผลงานหลักคือหน่วยประมวลผลสำหรับอุปกรณ์เครือข่ายหลายชนิด, หน่วยประมวลผลสำหรับอุปกรณ์ฝังตัว, อุปกรณ์ด้านไฟเบอร์ออปติกส์ เป็นต้น การซื้อกิจการครั้งนี้ชัดเจนว่าเป็นการเสริมทัพผลิตภัณฑ์ของ Broadcom นั่นเอง
ผู้ถือหุ้นของ NetLogic จะได้รับเงินหุ้นละ 50 ดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่าราคาปิดตลาด 57% คาดว่าการควบกิจการจะเสร็จสมบูรณ์ในครึ่งแรกของปี 2012
หลังการปลด Carol Bartz คำถามที่ทุกคนถามถึงก็คือ Yahoo! จะเป็นอย่างไรต่อไป ซึ่งผู้บริหารของบริษัทก็ยังไม่มีคำตอบให้
แต่ตอนนี้มีข่าววงในหลุดออกมาว่า Tim Armstrong ซีอีโอของ AOL กำลังคุยกับ Allen & Co. บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินของ Yahoo! ถึงความเป็นไปได้ในการควบกิจการระหว่างสองบริษัท
ตามข่าวบอกว่า Armstrong เคยคิดเรื่องการรวมบริษัทมารอบหนึ่งแล้ว แต่ Carol Bartz ไม่เห็นด้วย ซึ่งตอนนี้เธอลงจากตำแหน่งไปแล้ว ทำให้ Armstrong เริ่มกลับมาคิดเรื่องนี้ใหม่อีกครั้ง
มูลค่าบริษัทตามราคาหุ้นของ AOL อยู่ที่ 1.6 พันล้านดอลลาร์ ส่วน Yahoo! คือ 18.2 พันล้านดอลลาร์
พอมีข่าวนี้ออกมา ก็โดนวิจารณ์ว่า "บริษัทที่อยู่ในช่วงขาลงสองรายรวมกัน ไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นหรอก"
Skype ประกาศวันนี้ว่าได้เข้าซื้อกิจการ GroupMe ซึ่งเป็นบริการส่งข้อความแบบกลุ่มแล้ว ทาง Skype บอกว่าการซื้อ GroupMe นี้จะช่วยเสริมให้ Skype มีความสมบูรณ์แบบมากขึ้นทั้งการสื่อสารด้วยเสียง ภาพ และตัวหนังสือ ตลอดจนถึงการแบ่งปันข้อมูลพิกัดและรูปภาพ โดยมีการประเมินว่า Skype จ่ายเงินราว 85 ล้านดอลลาร์ในดีลนี้