Paytm ผู้ให้บริการจ่ายเงินดิจิทัลรายใหญ่ในอินเดีย ประกาศทำข้อตกลงขายหุ้น 5.4% ที่ถือใน PayPay แพลตฟอร์มจ่ายเงินดิจิทัลในญี่ปุ่นให้กับ SoftBank คิดเป็นมูลค่า 23,640 ล้านรูปี หรือประมาณ 9,500 ล้านบาท คาดว่าการซื้อขายจะเสร็จสิ้นในเดือนนี้
การขายหุ้นของ PayPay ส่วนนี้ออกมา เป็นไปตามกลยุทธ์การขายสินทรัพย์ที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักของ Paytm ออกไป และเพิ่มสินทรัพย์ที่เป็นเงินสดให้บริษัท ก่อนหน้านี้บริษัทก็ขายธุรกิจขายบัตรชมคอนเสิร์ต-กีฬาให้ Zomato แพลตฟอร์มเดลิเวอรีในอินเดีย
Paytm บอกว่าบริษัทยังคงความร่วมมือสนับสนุนด้านผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีของ PayPay ในญี่ปุ่นต่อไปในอนาคต
CNBC รายงานการซื้อหุ้น OpenAI เพิ่มเติมของ SoftBank เป็นมูลค่ารวมประมาณ 1,500 ล้านดอลลาร์ ผ่านการให้ข้อเสนอกับพนักงาน OpenAI นำหุ้นบริษัทที่ได้รับจัดสรรมาขายเพื่อเปลี่ยนเป็นเงินสด โดยพนักงานมีเวลาตัดสินใจถึงวันที่ 24 ธันวาคมนี้
ปัจจุบัน SoftBank ลงทุนใน OpenAI อยู่แล้วเป็นมูลค่า 500 ล้านดอลลาร์ ผ่านการเพิ่มทุนรอบล่าสุดเมื่อเดือนตุลาคม
SoftBank รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสเดือนกันยายน 2024 รายได้รวม 1.768 ล้านล้านเยน และมีกำไรสุทธิ 1.227 ล้านล้านเยน ซึ่งอัตรากำไรสุทธิที่สูงนั้นเป็นผลจากการบันทึกผลตอบแทนของบริษัทที่ไปลงทุน ซึ่ง SoftBank บันทึกกำไรส่วนนี้ถึง 2.01 ล้านล้านเยน ส่วนใหญ่มาจากราคาหุ้นของ T-Mobile และ Alibaba ที่ปรับเพิ่มขึ้น
ในงาน NVIDIA AI Summit Japan วันนี้ ระหว่างการแถลงข่าว มีช่วงที่ Jensen Huang ซีอีโอ NVIDIA และ Masayoshi Son ซีอีโอ SoftBank ได้คุยกัน แต่ช่วงหนึ่ง Jensen ก็ระบุว่า Masayoshi นั้นเป็นบริษัทที่อยู่กับผู้ชนะเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการขายซอฟต์แวร์ไมโครซอฟท์ในญี่ปุ่น, การลงทุนใน Aliababa พร้อมกับย้ำให้ผู้ฟังว่า SoftBank เคยเป็นผู้ถือหุ้น NVIDIA ที่ใหญ่ที่สุด (แต่ขายไปแล้ว) จังหวะแซวนี้ถึงกับทำให้ Masayoshi ลงไปซบไหล่ Jensen
SoftBank เคยถือหุ้น NVIDIA ถึง 4.9% แต่ขายไปเมื่อปี 2019 ในราคาเพียง 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มูลค่าปัจจุบันอยู่ที่ 178,000 ล้านดอลลาร์ เทียบกับเงินที่ SoftBank ขาดทุนจากการลงทุน WeWork 14,000 ล้านดอลลาร์
ที่งาน NVIDIA AI Summit Japan วันนี้ Masayoshi Son ซีอีโอ SoftBank และ Jensen Huang ซีอีโอ NVIDIA ประกาศว่าทาง SoftBank จะซื้อ NVIDIA DGX SuperPOD ที่ใช้ชิป Blackwell ตัวแรกโลก หลังจากรันแล้วจะกลายเป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์สำหรับประมวลผลปัญญาประดิษฐ์ที่แรงที่สุดในญี่ปุ่น
ทาง SoftBank ไม่ได้ประกาศเจาะจงว่าจะนำเครื่องนี้ไปทำอะไรบ้าง แต่บริษัทในกลุ่มมีจำนวนมากที่ทำงานด้านปัญญาประดิษฐ์อยู่ เช่น SB Intuitions กำลังพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ LLM ภาษาญี่ปุ่น
นอกจาก SoftBank แล้ว บริษัทญี่ปุ่นหลายรายก็ออกมาประกาศติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ NVIDIA กันเพิ่มเติมรองรับความต้องการด้านปัญญาประดิษฐ์ เช่น
มีรายงานจาก The Information เปิดเผยผู้ลงทุนอีกรายในการเพิ่มทุนรอบใหม่ของ OpenAI ที่ซีเอฟโอคาดว่าจะประกาศได้ในสัปดาห์นี้นั่นคือ SoftBank โดยคาดว่าจะร่วมลงทุนเป็นเงิน 500 ล้านดอลลาร์
ก่อนหน้านี้มีรายงานจำนวนเงินรวมจากนักลงทุนที่ OpenAI จะได้รับในรอบนี้อยู่ที่ราว 6,500 ล้านดอลลาร์ บนมูลค่ากิจการ 1.5 แสนล้านดอลลาร์ แต่ OpenAI อาจต้องปรับโครงสร้างองค์กรให้รองรับระบบส่วนแบ่งกำไรเพื่อนักลงทุนด้วย
SoftBank และ OpenAI ไม่ได้ออกมาให้ความเห็นต่อรายงานข่าวนี้
Financial Times รายงานว่า SoftBank เคยหารือกับอินเทล ในการพัฒนาชิปประมวลผลสำหรับปัญญาประดิษฐ์หรือ AI แต่สุดท้ายการเจรจาไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากอินเทลไม่สามารถทำตามเงื่อนไขของ SoftBank ได้
แหล่งข่าวระบุว่า SoftBank เป็นฝ่ายที่ขอยกเลิกแผนดังกล่าว โดยบอกว่าอินเทลไม่สามารถรองรับความต้องการจำนวนชิปที่ SoftBank ต้องการ ตลอดจนความเร็วในการส่งมอบได้ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนที่อินเทลจะประกาศปลดพนักงาน 15%
รายงานบอกว่า SoftBank ยังคงแสดงความต้องการพาร์ตเนอร์ในการผลิตชิป AI โดยตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการเจรจากับ TSMC ทั้งนี้อินเทลและ SoftBank ยังไม่ได้ออกมาแสดงความเห็นต่อข่าวดังกล่าว
SoftBank Group ซื้อกิจการ Graphcore บริษัทผู้ผลิตชิปเร่งความเร็วปัญญาประดิษฐ์สัญชาติอังกฤษ โดยไม่เปิดเผยมูลค่า
Graphcore ก่อตั้งในปี 2016 โดย Nigel Toon และ Simon Knowles สองคู่หูที่เคยก่อตั้งบริษัท Icera ผลิตชิปโมเด็ม 3G ซึ่งขายกิจการให้ NVIDIA ในปี 2011
ชิปของ Graphcore เรียกว่า Intelligence Processing Unit (IPU) เป็นชิปสำหรับประมวลผลแบบขนาน ประกอบด้วยชิปย่อยๆ จำนวนมากเพื่อให้ประมวลผล machine learning ได้ดี ในช่วงที่ผ่านมา มี Microsoft Azure นำชิปของ Graphcore ไปใช้งาน แต่ Graphcore กลับไม่ประสบความสำเร็จนักในยุค AI บูม (ยิ่งเมื่อเทียบกับผลประกอบการของ NVIDIA ที่ถือเป็นคู่แข่งโดยตรง) จนต้องหาทางออกด้วยการขายกิจการ
SoftBank ประกาศตั้งบริษัทร่วมทุน (Joint Venture) กับ Tempus AI บริษัทพัฒนาเครื่องมืออ่านข้อมูลผลการตรวจสุขภาพด้วย AI เพื่อดำเนินธุรกิจด้านเทคโนโลยีสุขภาพในประเทศญี่ปุ่น
ในข้อตกลงของการตั้งบริษัทร่วมทุน SoftBank และ Tempus AI จะลงทุนฝ่ายละ 15,000 ล้านเยน จัดตั้งบริษัท SB TEMPUS นำเทคโนโลยีสุขภาพและ AI ที่ Tempus AI ให้บริการอยู่แล้วในสหรัฐอเมริกา ขยายมายังลูกค้าในประเทศญี่ปุ่น
มีรายงานว่า Oyo สตาร์ทอัปโรงแรมราคาประหยัดของอินเดีย ได้ปิดดีลเพิ่มทุนรอบล่าสุด รับเงินประมาณ 100-125 ล้านดอลลาร์ ที่มูลค่ากิจการ 2,500 ล้านดอลลาร์ ซึ่งลดลงจากที่เคยได้มูลค่าถึง 10,000 ล้านดอลลาร์ ในปี 2019
ที่ปรึกษาทางการเงินของ Oyo บอกว่า มูลค่าที่ลดลงของ Oyo นั้นสมเหตุสมผลมากขึ้น เพราะลดลงมาจากมูลค่าเดิมราว 70% ขณะเดียวกันธุรกิจก็เริ่มทำกำไรได้แล้ว ตามแผนนั้นคาดว่าจะนำ Oyo เข้าตลาดหุ้นได้ภายใน 18-24 เดือนข้างหน้า
มีกรณีของการนำ AI มาใช้สำหรับการทำงานที่น่าสนใจ โดย SoftBank บริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของญี่ปุ่น เปิดเผยว่ากำลังพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มี AI ช่วยประมวลผลเบื้องหลัง มาใช้ปรับระดับอารมณ์เสียงของลูกค้าที่ติดต่อเข้ามายังศูนย์บริการลูกค้าหรือคอลเซนเตอร์
การทำงานของซอฟต์แวร์นี้จะปรับอารมณ์น้ำเสียงของลูกค้าที่โทรศัพท์ติดต่อเข้ามาให้นุ่มนวลลง หากลูกค้ามีน้ำเสียงที่โมโหหรือเกรี้ยวกราด ซึ่งช่วยให้ฝ่ายบริการลูกค้าสามารถสนทนาสื่อสารโดยไม่มีแรงกดดัน และช่วยด้านสุขภาพจิตของพนักงานด้วย
SoftBank จะเริ่มทดสอบเทคโนโลยีทั้งภายในบริษัทและกับลูกค้าภายนอกภายในปีหน้า และคาดว่าจะนำโซลูชันไปขายให้องค์กรอื่นภายในต้นปี 2026
SoftBank รายงานผลประกอบการของไตรมาสเดือนมีนาคม 2024 มีรายได้รวม 1.75 ล้านล้านเยน และมีกำไรสุทธิ 2.31 แสนล้านเยน ซึ่งเป็นกำไรไตรมาสที่สองติดต่อกัน โดยมีปัจจัยบวกจากผลตอบแทนของการลงทุนในบริษัทโดยตรงของ SoftBank ซึ่งมากกว่าส่วนขาดทุนจากกองทุน Vision Fund
พอร์ตการลงทุนของ SoftBank ในไตรมาสล่าสุด เป็นไปตามกลยุทธ์ที่บริษัทประกาศตั้งแต่ปีที่แล้วคือย้ายจาก Alibaba ไปสู่ AI โดยล่าสุดบริษัทมีหุ้น Alibaba ระดับ 0.00% ของพอร์ตการลงทุนรวม โดยเป็น Arm 47% และสัดส่วนประเทศของบริษัทที่ลงทุนก็ปรับจากจีน 52% เหลือ 6% โดยส่วนที่เพิ่มขึ้นมาแทนก็คือยุโรปซึ่งเป็นภูมิภาคของ Arm นั่นเอง
มีรายงานจาก Nikkei Asia ว่า Arm จะตั้งแผนกใหม่ภายในบริษัท เพื่อพัฒนาชิปสำหรับ AI โดยเฉพาะ คาดว่าต้นแบบแรกจะออกมาในต้นปี 2025 และเริ่มเข้าสู่การผลิตกับโรงงานพาร์ตเนอร์ซึ่งคาดว่าเป็น TSMC ในปลายปี 2025
การตั้งฝ่ายใหม่ย่อมมาพร้อมต้นทุนในการวิจัยและพัฒนา ซึ่งรายงานบอกว่า Arm จะออกค่าใช้จ่ายเองก่อน โดยมี SoftBank ผู้ถือหุ้นใหญ่ใน Arm ให้เงินทุนสนับสนุนระดับหลายแสนล้านเยน จนกระทั่งการผลิตชิป AI นี้ เข้าสู่สายการผลิตหลักและมีรายได้ชัดเจน SoftBank มีแผนจะให้ Arm แยกส่วนธุรกิจนี้ออกมาเป็นอีกบริษัทในเครือ SoftBank ต่อไป
Choi Sooyeon ซีอีโอ Naver บริษัทอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ในเกาหลีใต้ เปิดเผยในการแถลงผลประกอบการประจำไตรมาส ว่าบริษัทกำลังพิจารณาว่าจะลดสัดส่วนการถือหุ้นหรือขายหุ้นทั้งหมดใน LY Corp บริษัทโฮลดิ้งที่เป็นเจ้าของ LINE และ Yahoo Japan หรือไม่
มีรายงานว่า Masayoshi Son ผู้ก่อตั้ง SoftBank กำลังพิจารณาตั้งกองทุนมูลค่าถึง 1 แสนล้านดอลลาร์ เพื่อโฟกัสการลงทุนในบริษัทเกี่ยวกับอุตสาหกรรมชิปโดยเฉพาะ เป้าหมายคือให้มีบริษัทที่สามารถแข่งขันด้านชิป AI กับ NVIDIA ตลอดจนซัพพลายเชนที่เกี่ยวข้อง
โครงการตั้งกองทุนดังกล่าวมีโค้ดเนมภายในว่า Izanagi เบื้องต้น SoftBank จะลงเงินเอง 3 หมื่นล้านดอลลาร์ และรับเงินจากนักลงทุนภายนอกอีก 7 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งตอนนี้ที่กำลังเจรจาคือกลุ่มทุนจากตะวันออกกลาง
ปัจจุบัน SoftBank เป็นผู้ถือหุ้นหลักในบริษัทออกแบบชิป Arm ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างดีจากการไอพีโอเข้าตลาดหุ้น
SoftBank รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสเดือนธันวาคม 2023 พลิกกลับมามีกำไรเป็นครั้งแรก หลังจากขาดทุนติดต่อกันมาหลายไตรมาส โดยมีกำไรสุทธิ 9.5 แสนล้านเยน จากรายได้รวม 1.77 ล้านล้านเยน
กำไรของ SoftBank ในไตรมาสนี้ส่วนใหญ่มาจากผลกำไรของกองทุน Vision Fund ซึ่งมีกำไร 6.0 แสนล้านเยน นอกจากนี้ยังบันทึกกำไรจาก Arm ที่ไอพีโอเข้าตลาดหุ้นในเดือนกันยายน และราคาหุ้นก็ปรับเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด
Brainbees Solutions บริษัทแม่ของ FirstCry แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่เน้นสินค้าแม่และเด็กรายใหญ่ที่สุดในอินเดีย ยื่นเอกสารเตรียมไอพีโอเข้าตลาดหุ้นในอินเดียแล้ว โดยต้องการขายหุ้นเพิ่มทุนราว 218 ล้านดอลลาร์ ที่มูลค่ากิจการ 4 พันล้านดอลลาร์
FirstCry มีผู้ลงทุนรายสำคัญทั้ง SoftBank, NewQuest และ TPG ซึ่งนักลงทุนกลุ่มนี้ระบุว่าจะขายหุ้นบางส่วนออกมาผ่านขั้นตอนไอพีโอด้วยเช่นกัน
SoftBank ประกาศเข้าลงทุนใน Cubic Telecom สตาร์ทอัพผู้พัฒนาโซลูชันเครือข่ายแบบ software-defined เพื่อเชื่อมต่อรถยนต์ และยานพาหนะอื่น เข้ากับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ โดยจะถือหุ้น Cubic Telecom จำนวน 51.0% ด้วยเงินลงทุนประมาณ 473 ล้านยูโร คิดเป็นมูลค่ากิจการประเมินมากกว่า 900 ล้านยูโร
ผลจากดีลนี้ทำให้ Cubic Telecom มีสถานะเป็นบริษัทในเครือของ SoftBank โดยซีอีโอ Barry Napier จะยังอยู่ในตำแหน่งต่อไป แต่มีผู้บริหารจาก SoftBank เข้าร่วมเป็นกรรมการบอร์ดบริษัท
SoftBank รายงานผลการดำเนินงานประจำไตรมาสเดือนกันยายน 2023 ขาดทุนสุทธิ 7.89 แสนล้านเยน เป็นตัวเลขขาดทุนที่มากขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้านี้ที่ขาดทุน 3.16 แสนล้านเยน ส่วนไตรมาสเดียวกันในปีก่อนมีกำไรจากการขายหุ้น Alibaba
เฉพาะส่วนกองทุน Vision Funds ขาดทุน 2.59 แสนล้านเยน ซึ่งภาพใหญ่มาจากผลตอบแทนการลงทุนในกลุ่มเทคโนโลยีที่ลดลงในช่วงที่ผ่านมา และต้องบันทึกขาดทุนใน WeWork ที่บริษัทเพิ่งแจ้งขอล้มละลายกิจการไป 2.34 แสนล้านเยน อย่างไรก็ตาม SoftBank เพิ่งนำบริษัทใหญ่เข้าตลาดหุ้นสำเร็จนั่นคือ Arm ที่ไอพีโอไปเมื่อเดือนกันยายน
PayPay แอปวอลเลตจ่ายเงินของญี่ปุ่น ที่มี SoftBank เป็นเจ้าของผ่าน LY Corporation บริษัทซึ่งรวมกิจการระหว่าง LINE กับ Yahoo Japan ประกาศหลักไมล์สำคัญเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีจำนวนผู้ลงทะเบียนใช้งานมากกว่า 60 ล้านบัญชี หลังจากให้บริการมา 5 ปี
PayPay บอกว่าด้วยจำนวน 60 ล้านบัญชี ทำให้ PayPay เป็นแอปวอลเลตที่มีผู้ใช้งานเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรในญี่ปุ่น และคิดเป็น 2 ใน 3 ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนในประเทศ
Masamichi Yasuda ซีโอโอของ PayPay เผยว่าบริษัทมีแผนไอพีโอเข้าตลาดหุ้น และเตรียมเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานส่วนที่มีโอกาสอีกประมาณ 30 ล้านบัญชี ผ่านความร่วมมือกับ LINE
Arm บริษัทผู้ออกแบบชิป ที่ปัจจุบันมี SoftBank ถือหุ้นใหญ่ นำบริษัทเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แนสแดคแล้วเมื่อคืนนี้ ด้วยตัวย่อในการซื้อขาย ARM โดยราคาหุ้นวันแรกปรับเพิ่มขึ้นเกือบ 25% จากราคาไอพีโอที่ 51 ดอลลาร์ต่อหุ้น ปิดการซื้อขายที่ 63.59 ดอลลาร์ต่อหุ้น มูลค่ากิจการเพิ่มเป็น 6.52 หมื่นล้านดอลลาร์
Jason Child ซีเอฟโอ Arm ให้สัมภาษณ์ว่าบริษัทจะโฟกัสที่การเติบโต จากค่าธรรมเนียมส่วนแบ่งในการออกแบบชิป และเพิ่มจำนวนผลิตภัณฑ์การออกแบบให้กับลูกค้า ที่น่าสนใจคือรายได้ส่วนค่าธรรมเนียมนี้ครึ่งหนึ่งมาจากชิปที่ Arm ออกแบบตั้งแต่ช่วงปี 1990-2012
Arm ประกาศราคาเสนอขายหุ้นไอพีโอ ตามที่บริษัทยื่นไฟลิ่งก่อนหน้านี้ โดยเสนอขายในอเมริกาแบบหุ้น American Depositary Shares (ADS) จำนวน 95.5 ล้านหุ้น คิดเป็น 9.4% ของหุ้นทั้งหมด ในช่วงราคา 47-51 ดอลลาร์ต่อหุ้น ขึ้นอยู่กับปริมาณคำสั่งซื้อ
ที่ราคาดังกล่าว Arm จะได้เงินเพิ่มทุนจากการเสนอขายราว 4.49-4.87 พันล้านดอลลาร์ ส่วนมูลค่ากิจการจะอยู่ราว 5.0-5.2 หมื่นล้านดอลลาร์ ทั้งนี้หุ้นส่วนที่เหลือจะยังถือโดย SoftBank
ด้วยมูลค่ากิจการดังกล่าว Arm จะเป็นไอพีโอที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของปีนี้ หลังจากบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ต่างชะลอการไอพีโอหุ้นในปี 2022 จากผลกระทบต่อเนื่องของโควิด 19
Arm บริษัทออกแบบชิปที่ตอนนี้มี SoftBank เป็นเจ้าของ ยื่นเอกสารไฟลิ่ง เพื่อนำหุ้นซื้อขายในตลาดแนสแดคแล้ว โดยจะใช้ตัวย่อในการซื้อขาย ARM
SoftBank เคยขาย Arm ให้กับ NVIDIA ด้วยมูลค่าราว 4 หมื่นล้านดอลลาร์ แต่ดีลดังกล่าวถูกหน่วยงานกำกับดูแลคัดค้าน ทำให้ดีลถูกยกเลิก SoftBank จึงนำ Arm มาเข้าตลาดหุ้นแทนนั่นเอง
มีรายงานว่า SoftBank ได้ซื้อหุ้น Arm ส่วนที่กองทุน Vision Fund ซึ่งเป็นแผนกการลงทุนของ SoftBank ทั้งหมดคืน คิดเป็น 25% ของหุ้น Arm รวมกับส่วนที่ SoftBank ถือโดยตรง 75% ทำให้ตอนนี้ SoftBank เป็นผู้ถือหุ้น Arm ทั้งหมดรายเดียวแล้ว โดยมูลค่ากิจการของ Arm ที่ SoftBank ซื้อหุ้นคืนนั้นอยู่ที่ 64,000 ล้านดอลลาร์
เมื่อ SoftBank ซื้อหุ้น Arm คืนมาแล้ว ขั้นตอนถัดไปคือการขายหุ้น Arm บางส่วนในตลาดหุ้นนิวยอร์ก ตามแผนไอพีโอก่อนหน้านี้ คาดว่าการนำบริษัทซื้อขายอาจเกิดขึ้นเร็วที่สุดในวันจันทร์นี้ โดยไม่มีการกำหนดราคาเริ่มต้น แต่ก็คาดว่า Arm จะเป็นไอพีโอบริษัทที่มีมูลค่ากิจการตามราคาหุ้น ที่ขนาดใหญ่ที่สุดของปีนี้
SoftBank รายงานผลประกอบการของไตรมาสเดือนมิถุนายน 2023 มีรายได้รวม 1.558 ล้านล้านเยน และขาดทุนสุทธิลดลงเหลือ 3.16 แสนล้านเยน โดยมีไฮไลท์สำคัญคือกองทุน SoftBank Vision Fund มีมูลค่าการลงทุนสุทธิเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรก หลังจากมูลค่าลดลงติดต่อกันมา 6 ไตรมาส โดยเพิ่มขึ้นประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์
Yoshimitsu Goto ซีเอฟโอ SoftBank ให้ข้อมูลว่าบริษัทมีการลงทุนผ่านกองทุน Vision Fund ในไตรมาสที่ผ่านมาเพิ่ม 1.8 พันล้านดอลลาร์ หลังจากชะลอการลงทุนโดยลงทุนระดับ 500 ล้านดอลลาร์ ต่อเนื่องมาหลายไตรมาส โดยการลงทุนจะเน้นไปที่กลุ่ม AI ในรูปแบบการลงทุนแบบตั้งรับมากกว่าเชิงรุก