บริษัท NVIDIA ประกาศเข้าซื้อ Icera ซึ่งเป็นบริษัทผลิตชิพสำหรับโทรศัพท์มือถือด้วยเงินสดมูลค่า 367 ล้านเหรียญสหรัฐ เหมือนเป็นสัญญาณบอกว่า NVIDIA พร้อมจะเข้ารบกับ Qualcomm และ Intel ในสมรภูมิชิพสำหรับโทรศัพท์ smartphone แล้ว
หลายคนคงรู้จักเกมควบคุมเครื่องบินลงจอด Flight Control ซึ่งได้รับความนิยมบนมือถือหลายแพลตฟอร์ม (แม้จะโดน Angry Birds บดบังรัศมีในฐานะเกมมือถือที่ดังที่สุดไปก็ตาม)
วันนี้บริษัท Firemint ต้นสังกัด โดนยักษ์ใหญ่แห่งวงการเกมอย่าง EA ซื้อกิจการไปเรียบร้อยแล้ว เหตุผลก็คงชัดเจนในตัวว่า EA ต้องการรุกตลาดเกมมือถือนั่นเอง
Firemint สร้างชื่อมาจากเกม Flight Control แต่จริงๆ แล้วบริษัทเปิดมาตั้งแต่ปี 1999 และรับงานพัฒนาเกมมือถือให้ EA มาหลายเกมแล้ว
ก่อนหน้านี้ไม่นาน EA เพิ่งซื้อบริษัท Mobile Post Production ซึ่งเชี่ยวชาญการพอร์ตและการทำ localization ของเกมมือถือไปเช่นกัน
บริษัทเนื้อหอมอย่าง TweetDeck ที่เคยเป็นข่าวว่าโดน UberSocial และ Twitter Inc. แย่งกันขอซื้อ ดูท่าจะลงเอยกับ Twitter Inc. แล้ว
เว็บไซต์ TechCrunch ได้อ้างแหล่งข่าววงในว่า Twitter Inc. เจรจาซื้อ TweetDeck เสร็จเรียบร้อย และจะประกาศอย่างเป็นทางการในเร็วๆ นี้ ตามข่าวบอกว่ามูลค่าของ TweetDeck อยู่ที่ 40-50 ล้านดอลลาร์ โดยจ่ายเป็นทั้งเงินสดและหุ้นของ Twitter
บริษัทที่เหลืออยู่ในตอนนี้ก็ Seesmic สินะ
ที่มา - TechCrunch
ตามที่ประกาศไปแล้วเมื่อปลายปีก่อนว่าบริษัท Attachmate จะเข้าซื้อ Novell เมื่อวานนี้ (27 เม.ย.) การซื้อกิจการเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โดย Novell (รหัสหลักทรัพย์ NOVL) จะถูกถอนชื่อออกจากตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐ
Attachmate เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจด้าน terminal server เน้นลูกค้าองค์กร ถึงแม้ชื่อจะไม่ค่อยดังแต่ก็ทำธุรกิจมา 30 ปีแล้ว การซื้อกิจการ Novell ครั้งนี้มีมูลค่า 2.2 พันล้านดอลลาร์
ตัวบริษัท Novell จะยังบริหารงานต่อไปใต้แบรนด์เดิม ส่วน SUSE จะถูกแยกออกมาเป็นบริษัทลูกอีกแห่ง ใต้การบริหารของ Attachmate Group ทั้งคู่
The Wall Street Journal รายงานว่าซัมซุงมีแผนจะขายธุรกิจฮาร์ดดิสก์ออกไปเพื่อนำเงินสดไปลงทุนในธุรกิจกลุ่มอื่น โดยซัมซุงเล็งขายธุรกิจส่วนนี้ออกไปในมูลค่า 1.5 พันล้านดอลลาร์ แต่ดีลอาจจบลงที่มูลค่าไม่เกิน 1 พันล้านดอลลาร์ โดยซีเกทน่าจะเป็นผู้ซื้อกิจการส่วนนี้ไปจากซัมซุง
ถ้าหากดีลนี้เป็นตามข่าว จะทำให้ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์รายใหญ่ในตลาดเหลือเพียงแค่ 3 รายคือ โตชิบา ซีเกท และ Western Digital (ที่เพิ่งซื้อฮิตาชิไป) โดยจะมีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 10%, 40% และ 50% ตามลำดับ
ปัจจุบันซัมซุงมีส่วนแบ่งการตลาดในธุรกิจฮาร์ดดิสก์ประมาณ 11% และยังเป็นส่วนธุรกิจที่ขาดทุนของซัมซุง
ข่าวนี้ต่อจาก กูเกิลซื้อบริษัทซอฟต์แวร์ขายตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ITA Software ซึ่งสร้างประเด็นให้เว็บไซต์จองตั๋วเครื่องบินหลายแห่งที่ใช้ซอฟต์แวร์ของ ITA รวมตัวกันประท้วง เพราะกลัวโดนกูเกิลกีดกันไม่ให้ใช้ซอฟต์แวร์ ITA อีกต่อไป
สถานการณ์ล่าสุดคือกระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้ทำข้อตกลงกับกูเกิล โดยอนุมัติให้กูเกิลซื้อกิจการ ITA ได้ แต่มีเงื่อนไขว่าลูกค้าเดิมของ ITA จะต้องได้ใช้ซอฟต์แวร์ต่อไป ซึ่งกูเกิลก็ได้ตอบสนองเงื่อนไขนี้โดยการันตีว่าลูกค้าเดิมของ ITA จะได้ใช้ซอฟต์แวร์ไปถึงปี 2016
ในโอกาสเดียวกัน กูเกิลก็ประกาศชัดเจนว่าจะรวมทีมของ ITA เข้ามาเพื่อสร้าง "exciting new flight search tools" ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
Texas Instrument หรือที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่า TI ประกาศเข้าซื้อกิจการผู้ผลิตชิปคู่แข่ง National Semiconductor คิดเป็นมูลค่า 6.5 พันล้านดอลลาร์
ทั้งสองบริษัทเป็นผู้ผลิตชิปคอมพิวเตอร์ที่อยู่มายาวนาน TI เชี่ยวชาญการผลิตชิปที่ใช้ในอุปกรณ์ไร้สาย ส่วน National Semiconductor เชี่ยวชาญชิปแอนะล็อก การควบกิจการครั้งนี้จะทำให้ TI มีผลิตภัณฑ์ในมือครบเครื่องมากขึ้น และ National Semiconductor ยังมีโรงงานผลิตชิปในสหรัฐอีกหลายแห่งที่ TI ใช้ประโยชน์ได้มาก
เป็นข่าวการควบกิจการระหว่างบริษัทลูกของ EMC ด้วยกันครับ เมื่อยักษ์แห่งวงการ virtualization อย่าง VMware ประกาศดูดกิจการ (จะเรียกว่าซื้อก็คงไม่ได้) บริษัท Mozy ซึ่งเป็นลูกของ EMC เหมือนกัน
Mozy เป็นบริษัทสำรองข้อมูลออนไลน์ (ลักษณะเดียวกับ Dropbox) ปัจจุบันมีลูกค้าอยู่ 1 ล้านราย และลูกค้าส่วนมากเป็นบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก ทีมงานเดิมของ Mozy จะกลายเป็นพนักงานของ VMware และเทคโนโลยีหลายๆ อย่างของ Mozy จะถูกใช้ในผลิตภัณฑ์ของ VMware ต่อไป ส่วนบริการสำรองข้อมูลของ Mozy ก็ยังอยู่เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
ต่อเนื่องจากข่าวเบอร์สองซื้อเบอร์สี่ AT&T บรรลุข้อตกลงซื้อ T-Mobile USA มูลค่า 39 พันล้านดอลลาร์ โอเปอเรเตอร์เบอร์สามของสหรัฐอย่าง Sprint ซึ่งจะกลายเป็น "ผู้ประกอบการรายเล็ก" ทันทีถ้าการซื้อกิจการเสร็จสิ้น ได้ออกมาคัดค้านแล้ว
ในแถลงการณ์ของ Sprint ได้กระตุ้นให้หน่วยงานภาครัฐของสหรัฐขัดขวางการซื้อกิจการครั้งนี้ โดยให้เหตุผลว่าจะลดการแข่งขันในตลาด และเกิดผลเสียต่อผู้บริโภคในภาพรวม Sprint ยังได้อ้างถึงกิจการโทรศัพท์พื้นฐานของสหรัฐในอดีตที่เคยถูกผูกขาดโดย AT&T (ในทางนิตินัยแล้วเป็นคนละบริษัทกับ AT&T ในปัจจุบัน) ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่อตลาด จนศาลสหรัฐต้องสั่งแยกบริษัท AT&T เป็นบริษัทย่อยๆ จำนวน 7 บริษัทในยุค 80s
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา Facebook ได้ประกาศเข้าซื้อกิจการ Snaptu ด้วยมูลค่าประมาณ 60-70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายหลังจาก Snaptu ได้เพิ่มคุณสมบัติการเข้าถึง Facebook ในแอปพลิเคชั่นของตัวเองในช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งทาง Facebook ได้ตกลงเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับทาง Snaptu เพื่อเพิ่มคุณสมบัติดังกล่าว ลงบนโทรศัพท์มือถือพื้นฐานทั่วไป (feature phones) ก่อนหน้านี้
โดยหลังจากการเข้าซื้อกิจการแล้ว ทีมงานของ Snaptu จะเข้าไปพัฒนาแอปพลิเคชั่น Facebook ที่เน้นไปยังโทรศัพท์มือถือพื้นฐานทั่วไปซึ่งจะมีผลทำให้ Facebook สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้งาน ที่ใช้โทรศัพท์มือถือทั่วไปที่ยังมีอยู่จำนวนมากในขณะนี้
วงการสื่อเก็บข้อมูลถึงคราวสะเทือนอีกครั้ง เมื่อยักษ์ใหญ่อย่าง Western Digital เข้าซื้อกิจการ Hitachi GST (ย่อมาจาก Hitachi Global Storage Technologies) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Hitachi ที่ผลิตฮาร์ดดิสก์ (ซึ่งเคยเป็นฝ่ายฮาร์ดดิสก์ของ IBM มาอีกทีหนึ่ง)
การเข้าซื้อครั้งนี้มีมูลค่า 4.25 พันล้านดอลลาร์ แบ่งเป็นเงินสด 3.5 พันล้านดอลลาร์ ที่เหลือเป็นหุ้นของ Western Digital
Disney เข้าซื้อกิจการบริษัท Rocketpack ซึ่งมีผลิตภัณฑ์คือ Rocket Engine เครื่องมือสร้างเกมด้วย HTML5 ล้วนๆ
Rocket Engine ใช้เพียง JavaScript และ CSS นอกจากนั้นตัว Rocket Engine ยังมาพร้อมกับโปรแกรมสร้างเกมผ่านเบราว์เซอร์ เกมที่สร้างขึ้นมาสามารถทำงานได้บนทุกอุปกรณ์ที่มีเบราว์เซอร์ ตั้งแต่ netbook ยัน iPhone ดูวิดีโอได้ที่ท้ายข่าวครับ
ที่มา TechCrunch
Beluga โปรแกรมสนทนาแบบกลุ่มที่ประกาศว่าตัวเองเป็น "BBM for iPhone and Android!" ถูกยักษ์อย่าง Facebook เข้าซื้อกิจการแล้ว
ทีมงาน Beluga ประกาศว่าการขายกิจการครั้งนี้ไม่มีผลต่อตัวบริการ Beluga และจะยังให้บริการต่อไป ส่วน Facebook บอกจะเผยแผนการต่อ Beluga ในอีกไม่ช้า
การซื้อกิจการรอบนี้ยิ่งทำให้ข่าวลือ Facebook Phone หนักแน่นขึ้น และเราอาจเห็นระบบแชทบนมือถือที่แปะตรา Facebook กันในเร็วๆ นี้
ที่มา - TechCrunch, Beluga
วันนี้ขอเสนอข่าวควบรวมกิจการในประเทศบ้าง โดยบริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFEC ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยวันนี้ว่าบริษัทได้อนุมัติเข้าซื้อกิจการบริษัท เมกัส จำกัด และบริษัท นอร์ธเทอร์นสตาร์ซอฟต์แวร์ จำกัด (NTS) โดยใช้วงเงินรวมไม่เกิน 842 ล้านบาท MFEC ชี้แจงเหตุผลว่าการเข้าซื้อกิจการนี้จะทำให้บริษัทมีความหลากหลาย ขยายฐานลูกค้าและครอบคลุมในทุกกลุ่มธุรกิจมากขึ้น
เมื่อเช้าวันนี้ทางกลุ่มทรูได้ลงนามข้อตกลงกับทางกสท โทรคมนาคม ทำให้เป็นผู้มีสิทธิให้บริการ 3G ได้ทั่วประเทศในความถี่ 850MHz โดยภายใต้สัญญานี้ทางทรูจะดูแลเครือข่ายภาคกลาง 25 จังหวัดของกลุ่มฮัทชิสันเดิมทั้งหมด ส่วนเครือข่ายในจังหวัดอื่นๆ นั้นทางกสท จะเช่าอุปกรณ์จากทางทรูมาติดตั้งแล้วเปิดแชร์เครือข่ายระหว่างกันแบบ MVNO ข้ามพื้นที่กันเองทำให้ทั้งทรูและกสท. สามารถให้บริการทั่วประเทศได้
หลังการเซ็นสัญญานี้ตัวแปรสำคัญคือกลุ่มพนักงานของกสท. เองดูจะแตกเสียงเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือสหภาพฯ ที่สนับสนุนการเซ็นสัญญาครั้งนี้ แต่พนักงานอีกกลุ่มหนึ่งก็มาแสดงความเห็นคัดค้านและชี้ว่าการเซ็นสัญญาน่าจะผิดระเบียบหลายอย่าง
กูเกิลซื้อกิจการบริษัท SayNow ซึ่งทำธุรกิจด้าน voice mail บนมือถือและ social network ต่างๆ
SayNow เปิดกิจการมาตั้งแต่ปี 2005 ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์หลายอย่าง และฐานผู้ใช้กว่า 15 ล้านคน ในประกาศของ SayNow ระบุชัดเจนว่าจะรวมทีมเข้ากับ Google Voice แต่ยังไม่เปิดเผยโครงการว่าจะทำอะไรบ้าง
ที่มา - SayNow, TechCrunch
กูเกิลซื้อบริษัทอีกแล้ว รอบนี้เป็นบริษัท eBook Technologies (ETI) ซึ่งโฆษกของกูเกิลบอกว่าซื้อมาเพื่อเสริมทัพด้านการอ่านบนแท็บเล็ต เครื่องอ่านอีบุ๊ก และอุปกรณ์พกพาอื่นๆ แต่ก็ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดมากกว่านี้
บริษัท ETI มีคนรู้จักน้อยมาก แต่เว็บไซต์ TechCrunch ก็ขุดประวัติของ ETI ว่ามีผลิตภัณฑ์ด้านอีบุ๊กหลายอย่าง ตั้งแต่เครื่องอ่าน ซอฟต์แวร์ ไปจนถึงระบบการจัดจำหน่าย (distribution) คาดว่าสิ่งที่กูเกิลต้องการจะเป็นอย่างสุดท้าย
ที่มา - TechCrunch
ยักษ์ใหญ่แห่งวงการโทรศัพท์ออนไลน์ Skype เข้าซื้อกิจการ Qik ผู้นำในตลาด VoIP และ video call บนมือถือ มูลค่าไม่เปิดเผยแต่มีข่าววงในบอกว่าประมาณ 100-150 ล้านดอลลาร์
Qik เริ่มกิจการในปี 2006 ปัจจุบันรองรับมือถือมากกว่า 200 รุ่น ในปี 2010 บริษัทเติบโตสูงมาก (จากผู้ใช้ 6 แสนเพิ่มเป็น 5 ล้าน) Skype ให้เหตุผลว่าต้องการซื้อ Qik มาเสริมทัพด้านการสนทนาด้วยวิดีโอ และต้องการเทคโนโลยี Smart Streaming ของ Qik ที่ปรับแต่งให้เหมาะกับเครือข่ายไร้สาย
ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลว่า Skype จะยังเก็บแบรนด์ Qik เอาไว้หรือว่าเปลี่ยนชื่อเป็น Skype ให้หมด
บริษัท social gaming รายใหญ่ของโลก Zynga ประกาศการซื้อบริษัท Flock ผู้ผลิต social browser ที่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไรนัก
ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดของข้อตกลงซื้อกิจการ แต่มีข่าววงในระบุว่ากูเกิลและทวิตเตอร์ก็ร่วมเสนอราคาซื้อ Flock ด้วย คาดว่าจุดประสงค์สำคัญในการซื้ออยู่ที่บุคคลากรของ Flock มากกว่าตัวเบราว์เซอร์
ที่มา - TechCrunch
อัพเดต ข่าวเป็นทางการมาแล้วครับ Flock
หนังสือพิมพ์ The New York Times รายงานข่าววงในว่า Qualcomm ใกล้บรรลุข้อตกลงเข้าซื้อกิจการ Atheros คิดเป็นมูลค่า 3.5 พันล้านดอลลาร์ ข่าวอย่างเป็นทางการน่าจะประกาศในอีกไม่กี่วันนี้
การซื้อกิจการรอบนี้มีมูลค่ามากที่สุดเท่าที่ Qualcomm เคยซื้อมา Qualcomm นั้นทำเงินได้มหาศาลจากการผลิตชิปสำหรับมือถือ การซื้อ Atheros เข้ามาจะช่วยให้ Qualcomm รุกเข้าตลาดพีซีและโน้ตบุ๊กได้มากขึ้น (และแน่นอนว่าจะเริ่มท้าทายอินเทลในตลาดชิปเซ็ตด้วย)
ที่มา - The New York Times
About.me เป็นบริการสำหรับสร้างหน้าแสดงข้อมูลส่วนตัว คล้ายๆ นามบัตรบนโลกออนไลน์ โดยผู้ใช้จะได้ URL ของตนเองเป็น About.me/Username ซึ่งได้มีการเปิดบริการอย่างไม่เป็นทางการมาแล้วเมื่อช่วงต้นปี
ล่าสุดเมื่อวันที่ 16 ธันวาคมที่ผ่านมาได้มีการเปิดตัว About.me อย่างเป็นทางการ และ 4 วันให้หลังก็โดน AOL เข้าซื้อกิจการไปเรียบร้อย ด้วยมูลค่าประมาณ 25 ล้านดอลลาร์ ซึ่งคาดว่า AOL จะนำ About.me ไปรวมกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของตนเช่น AIM, AOL Mail เป็นต้น
ที่น่าสนใจอีกก็คือทีมงานเดิมของ About.me ใช้เงินลงทุนในการสร้างเพียง 425,000 ดอลลาร์เท่านั้น
ที่มา - Mashable
กูเกิลเข้าซื้อบริษัท ZetaWire จากแคนาดาอย่างเงียบๆ บริษัทนี้ไม่มีชื่อเสียงมากนัก (เป็นแนวทางปฏิบัติของบริษัทเปิดใหม่ที่ต้องการซุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ก่อนเปิดตัว) แต่จากข้อมูลในสิทธิบัตรระบุว่า ZetaWire เชี่ยวชาญการจ่ายเงินผ่านมือถือ กระเป๋าเงินบนมือถือ และการโฆษณาบนมือถือ
คาดว่าบริษัท ZetaWire มีพนักงานน้อยมากประมาณ 2-4 คน และมูลค่าเงินที่ซื้อคงไม่มาก แต่กูเกิลจะได้ผู้เชี่ยวชาญด้าน NFC เข้ามาเสริมทัพ Android ตามที่เราเห็นใน Nexus S มาก่อนแล้ว
ที่มา - The 451 Group, TechCrunch
Salesforce.com ประกาศเข้าซื้อบริษัท Heroku (อ่านว่า "เฮอ-โอ-คู") ซึ่งให้บริการกลุ่มเมฆสำหรับแอพพลิเคชันที่เขียนด้วย Ruby
Heroku บอกว่าปัจจุบันให้บริการ PaaS (platform as a service) ให้กับแอพพลิเคชันมากกว่า 100,000 ตัว
ช่วงหลังนี้ Salesforce.com กำลังขายแนวคิด "Cloud 2" ซึ่งเน้น social network และ collaboration มากขึ้น ตัวอย่างบริการแบบ Cloud 2 ได้แก่ Chatter ซึ่งเป็นโปรแกรมสื่อสารภายในองค์กรที่พัฒนาโดย Salesforce.com เอง (อ่านรายละเอียดเรื่อง Cloud 2 ได้จาก Bangkok Post)
แม้จะยังซื้อ Groupon ไม่สำเร็จ แต่วันนี้กูเกิลประกาศการซื้อกิจการ 2 บริษัทรวด
บริษัทแรกชื่อ Widevine ให้บริการเผยแพร่วิดีโอออนไลน์แก่บริษัทขนาดใหญ่อื่นๆ บริษัทนี้มีเทคโนโลยีด้าน DRM (ดูภาพประกอบ) และการปรับปรุงวิดีโอให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ปลายทาง กูเกิลสัญญาว่าจะดูแลลูกค้าเดิม (และลูกค้าใหม่) ของ Widevine อย่างดี แต่ก็บอกว่าจะนำเทคโนโลยีของ Widevine ไปใช้ต่อ
AllThingsD อ้างแหล่งข่าวใกล้ชิดว่าการตกลงระหว่างกูเกิลและ Groupon นั้นจบลงแล้ว โดยทั้งสองบริษัทไม่สามารถเจรจาซื้อขายกิจการกันได้
ที่น่าสนใจคือมูลค่าที่แท้จริงของ Groupon นั้นสูงกว่าที่เราคิดมาก โดย Groupon มีรายได้ถึง 2 พันล้านดอลลาร์ต่อปี แม้รายได้ครึ่งหนึ่งจะต้องจ่ายคืนให้กับร้านค้าก็ตาม แต่หากเป็นเงินเข้าประเป๋าปีละพันล้านดอลลาร์ Groupon ก็น่าจะเป็นบริษัทที่ทำกำไรได้ดีเยี่ยมอีกบริษัท
แหล่งข่าวเดียวกันระบุว่า Groupon อาจจะเดินหน้าเข้าตลาดหุ้นด้วยตัวเอง อย่างไรก็ดี การตัดสินใจนี้ยังไม่ชัดเจนจนถึงปี 2011
โมเดลการขายบัตรส่วนลดเริ่มได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ จนแม้แต่ในบ้านเราเองก็เริ่มเห็นกันหลายต่อหลายเจ้าแล้วเหมือนกัน