Ola แพลตฟอร์มเรียกรถแท็กซี่แบบออนดีมานด์จากอินเดีย เตรียมถอนการดำเนินธุรกิจนอกประเทศอินเดียทั้งหมด ได้แก่ สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ภายในสิ้นเดือนนี้ ซึ่งประเทศนี้เหล่านี้ Ola ได้เข้าไปทำตลาดมาตั้งแต่ปี 2018
โฆษกของ Ola ยืนยันแผนถอนธุรกิจนอกประเทศอินเดีย โดยบอกว่าอนาคตของรถยนต์จากนี้รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งส่งผลให้บริการแอปเรียกรถมีโอกาสเติบโตอีกมหาศาลในอินเดีย บริษัทจึงตัดสินใจโฟกัสที่ตลาดอินเดียอย่างเดียว และปิดธุรกิจในต่างประเทศที่ดำเนินงานในปัจจุบันทั้งหมด
CNBC รายงานว่า Ola สตาร์ทอัพบริการเรียกรถแท็กซี่ของอินเดีย เตรียมยื่นไฟลิ่งเพื่อนำบริษัทเข้าจดทะเบียนซื้อขายที่ตลาดหุ้นในประเทศ โดยคาดมีการขายหุ้นเพิ่มทุนมูลค่าราว 1,000 ล้านดอลลาร์
Ola มีผู้ถือหุ้นรายสำคัญคือกลุ่ม SoftBank ซึ่งในปีนี้มีหลายบริษัทที่ SoftBank ลงทุน ได้ exit เข้าตลาดหุ้น นอกจากในอินเดียแล้ว Ola ยังมีการดำเนินงานในอังกฤษ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
ในปีนี้สตาร์ทอัพรายใหญ่ในอินเดียหลายราย ต่างมีแผนนำบริษัทไอพีโอเข้าตลาดหุ้น โดย Zomato แอปส่งอาหารรายใหญ่ ได้เข้าตลาดหุ้นไปแล้ว ส่วนบริการจ่ายเงินผ่านมือถือ Paytm กำลังยื่นไฟลิ่ง และ Flipkart อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ ก็มีข่าวว่าเตรียมไอพีโอเช่นกัน
อินเดียประกาศแนวทางในการกำกับดูแลแอปเรียกรถโดยสารแบบ ride-hailing ซึ่งในอินเดียมีผู้ให้บริการรายใหญ่คือ Ola และ Uber ซึ่งข้อกำหนดที่ออกมามีทั้งส่วนการควบคุมค่าโดยสาร และเพิ่มการดูแลสภาพแวดล้อมทำงาน
ข้อกำหนดระบุว่าผู้ให้บริการแอปประเภทดังกล่าวทุกรายไม่จำกัดแค่ Ola หรือ Uber สามารถหักเงินค่าธรรมเนียมจากค่าโดยสารสูงสุด 20% เท่ากับว่าคนขับรถจะได้เงินอย่างน้อย 80% ในกรณีความต้องการรถโดยสารมีสูง สามารถกำหนดค่าโดยเพิ่ม (surge price) ได้ไม่เกิน 1.5 เท่า ของราคาปกติ ในทางกลับกันการลดราคาค่าโดยสารก็ทำได้ต่ำที่สุด 50% ของราคาปกติ และค่าปรับกรณียกเลิกการเดินทางสูงสุด 10% ของค่าโดยสาร แต่ไม่เกิน 100 รูปี
อินเดียออกกฎควบคุมบริการเรียกรถผ่านแอป โดยข้อกำหนดใหม่นี้ครอบคลุมบริการเรียกรถในหลายมิติ ตั้งแต่การคิดค่าคอมมิชชั่น, การคิดค่าโดยสารแบบ surge pricing และการจำกัดการทำงานต่อวัน
เนื้อความของข้อกำหนดใหม่นี้เริ่มตั้งแต่การคิดค่าคอมมิชชั่น กฎใหม่กำหนดให้บริษัทหักค่าคอมมิชชั่นจากผู้ขับรถได้สูงสุดเพียง 20% ของค่าโดยสารเท่านั้น (เท่ากับคนขับจะต้องได้รับขั้นต่ำ 80%) และกำหนดว่าบริษัทจะต้องจัดหาประกันให้ครอบคลุมรวมถึงต้องจำกัดการทำงานไม่ให้คนขับขับรถเกิน 12 ชั่วโมงต่อวันด้วย ส่วนการคิดค่าบริการในช่วงคนใช้บริการจำนวนมากหรือ surcharge กำหนดให้คิดได้สูงสุด 1.5 เท่าของค่าโดยสารปกติเท่านั้น
Transport for London หรือ TfL หน่วยงานผู้ดูแลการคมนาคมในกรุงลอนดอน สั่งแบน Ola บริการเรียกรถจากอินเดีย เนื่องจากข้อกังวัลด้านความปลอดภัย พบมีเที่ยวรถที่ขับโดยคนขับที่ไม่มีอนุญาตถึง 1,000 เที่ยว และ Ola ก็ไม่ยอมรายงานเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม Ola ก็จะยื่นขออุทธรณ์ต่อไป และยังมีเวลา 21 วันที่ยังสามารถให้บริการในลอนดอนได้
เซ่นพิษเศรษฐกิจจากโรคระบาดอีกราย Ola บริการเรียกรถในอินเดีย ประกาศผ่านอีเมลภายในระบุว่า บริษัทจะปลดพนักงาน 1,400 ราย คิดเป็น 35% ของพนักงานทั้งหมดในบริษัท
Bhavish Aggarwal ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอ Ola ระบุในอีเมลด้วยว่า รายได้บริษัทหายไปถึง 95% ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาที่มีมาตรการล็อกดาวน์ คนไม่ออกไปใช้ชีวิตข้างนอก ด้านโฆษก Ola บอกว่าพนักงานที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่เป็นฝ่าย food operations และทั้งหมดปฏิบัติการอยู่ในอินเดีย
พนักงานที่ถูกปลดออกจากงานจะได้รับเงินเดือนสามเดือน ประกันสุขภาพครอบคลุมบุพการี การสนับสนุนทางด้านสุขภาพกายและจิตใจไปจนถึงสิ้นปี
Ola บริษัทเรียกรถผ่านแอปจากอินเดียเตรียมบุกตลาดกรุงลอนดอนเร็ว ๆ นี้แล้ว หลังจากที่ทางบริษัทได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการในเมืองจาก Transport for London
Ola ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า ตอนนี้ทางบริษัทได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ให้บริการ PHV จาก TfL แล้ว และเตรียมจะให้บริการในเดือนกันยายนนี้
การขยายสู่ตลาดโลกถือเป็นการปรับเปลี่ยนครั้งสำคัญของ Ola เพราะในช่วงต้นนั้นบริษัทจะโฟกัสที่ตลาดบ้านเกิดก่อน (ลักษณะเดียวกับ Lyft) ในขณะที่คู่แข่งอย่าง Uber ใช้เงินจำนวนมหาศาลขยายตลาดไปทั่วโลก
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า ตอนนี้รัฐบาลอินเดียกำลังวางแผนเพิ่มการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า โดยจะออกคำสั่งให้บริษัทเรียกรถอย่าง Uber หรือ Ola ซึ่งมีรถยนต์ให้บริการบนแพลตฟอร์มกว่าแสนคันในประเทศว่าต้องมีรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ 40% ของฟลีตทั้งหมดภายในเดือนเมษายน 2026
ภายใต้แผนการผลักดันนี้ รัฐบาลจะให้บริษัทรายงานความคืบหน้าอยู่เป็นระยะ ๆ โดยแผนจะเป็นขั้น ๆ คือ 2.5% ในปี 2021, 5% ในปี 2022 และ 10% ในปี 2023
อินเดียนั้นต้องการผลักดันรถยนต์ไฟฟ้าอย่างจริงจัง เพราะปัจจุบันยอดขายรถยนต์ไฟฟ้ายังนับว่าน้อยมาก โดยยอดทั้งปีนับจนถึงเดือนมีนาคมที่ผ่านมามีรถยนต์ไฟฟ้าขายได้เพียง 3,600 คันเท่านั้น ในขณะที่รถยนต์ใช้น้ำมันขายได้ถึง 3.3 ล้านคัน
จากการที่ Uber ตัดสินใจขายกิจการเพื่อถอนตัวออกจากหลายพื้นที่ตั้งแต่ จีน รัสเซีย และล่าสุดคือภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยขายให้ Grab ก็เกิดคำถามว่า Uber จะถอนตัวจากที่ไหนอีกหรือไม่ ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่าตลาดที่มีโอกาสสูงก็คือ อินเดีย ซึ่งที่นั่นมีแอพอย่าง Ola เป็นคู่แข่งหลัก
ในอินเดีย Uber ให้บริการแล้วใน 30 เมือง มีส่วนแบ่งการตลาดราว 35% ขณะที่ Ola แอพคู่แข่ง ให้บริการใน 110 เมือง และมีส่วนแบ่ง 45% นอกจากนี้ Ola ยังมีบริการเงินดิจิทัลชื่อ Ola Money ซึ่งทำให้มีจุดแข็งเหนือว่า Uber (อันนี้ฟังดูคุ้นๆ)
Ola บริษัทเรียกรถเตรียมขยายพรมแดนการให้บริการออกนอกประเทศอินเดียเป็นครั้งแรก โดยคราวนี้เจาะไปยังตลาดออสเตรเลีย ที่เป็นพื้นที่ทองคำของ Uber
Ola ระบุว่าตั้งแต่ก่อตั้งและเปิดให้บริการในอินเดียมาตั้งแต่ปี 2011 บริษัทมีจำนวนผู้ใช้บริการ 125 ล้านราย และมีผู้ลงทุนอย่าง Didi และ SoftBank เข้ามาลงทุนด้วย และแผนการเปิดบริการในเมืองอื่นของปีนี้จะมุ่งไปที่ ซิดนีย์ เมลเบิร์น และเพิร์ธในออสเตรเลีย
ขณะเดียวกันในออสเตรเลียมี Uber ให้บริการอยู่ก่อนแล้วถึง 20 เมือง และมี Taxify ผู้ให้บริการเรียกรถจากเอสโตเนีย ไปเปิดบริการที่ออสเตรเลียประมาณ 2 เดือนที่ผ่านมา
Ola ผู้ให้บริการร่วมเดินทางคู่แข่ง Uber จากอินเดีย ได้เริ่มให้บริการแชร์จักรยานแล้ว ในชื่อว่า Ola Pedal ซึ่งตอนนี้ยังคงให้บริการในวงจำกัด โดยอยู่ในพื้นที่วิทยาเขตบางแห่งของมหาวิทยาลัยในอินเดีย อย่างเช่น IIT Kanpur
ไอเดียของบริการแชร์จักรยาน (ซึ่งจริง ๆ น่าจะเป็นบริการเช่ามากกว่า ลักษณะเดียวกับ Mobike (รีวิวบน Blognone)) คือเพื่อตอบโจทย์การเดินทางในระยะที่เดินลำบากแต่ใกล้เกินไปที่จะใช้รถยนต์ วิธีใช้งานเพียงแค่เปิดแอพ Ola และสแกนโค้ดสั่งเปิดใช้งานจักรยาน เมื่อใช้งานจักรยานเสร็จก็เอาไปจอดไว้ที่ไหนก็ได้ตามเขตที่กำหนดไว้ จากนั้นก็สั่งล็อกจักรยาน โดยจักรยานทั้งหมดของ Ola ที่นำมาให้บริการผ่านแพลตฟอร์มนี้ผลิตในอินเดีย
Ola บริการแชร์รถในอินเดียเผยระดมทุนเพิ่มจาก SoftBank และ Tencent อีก 1.1 พันล้านดอลลาร์ Ola ระบุว่ากำลังเจรจากับนักลงทุนรายอื่น หวังว่าจะทำให้มีเงินทุนเพิ่มอีก 1 พันล้านดอลลาร์
"เราตื่นเต้นมากที่ได้ Tencent Holdings เข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรใหม่ เพื่อสร้างความคล่องตัวให้กับชาวอินเดียนับพันล้านคน" Bhavish Aggarwal ผู้ร่วมก่อตั้ง Ola และซีอีโอกล่าว
Aggarwal บอกเพิ่มเติมว่า เงินระดมทุนรอบนี้จะลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ต่อไป เน้น AI และ machine learning เพื่อขับเคลื่อนระบบของบริษัท รวมถึงขยายการตลาดเพื่อดึงดูดคนขับใหม่ๆ ให้เข้ามาขับมากขึ้น
ประเทศอินเดียมีระบบยืนยันตัวตนประชาชนในชื่อเรียกว่า Aadhaar เป็นการยืนยันตัวตนผ่านส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น ม่านตา ลายนิ้วมือ เป็นต้น แม้ระบบดังกล่าวจะถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องความเป็นส่วนตัวมาก แต่มีแหล่งข่าววงในระบุว่าสตาร์ทอัพที่ทำธุรกิจในอินเดียเจ้าใหญ่ เช่น Airbnb, Uber และ Ola ก็เตรียมนำระบบนี้มายืนยันตัวผู้ให้บริการบนแพลตฟอร์มด้วย
Uber และ Ola บริการแชร์รถ กำลังพิจารณาใช้ Aadhaar มาตรวจสอบและยืนยันตัวตนของคนขับรถ ในขณะที่ Airbnb ก็กำลังมองหาระบบยืนยันตัวตนมาใช้กับเจ้าของห้องเช่า แหล่งข่าวที่ให้ข้อมูลเป็นบุคคลในสามบริษัทดังกล่าว พวกเขาไม่เปิดเผยตัวตนเพราะยังไม่มีข้อมูลที่เป็นทางการออกมาจากบริษัท
Ola ผู้ให้บริการเรียกรถคู่แข่งของ Uber ในอินเดียประกาศเปิดตัว Ola Play ฟีเจอร์ควบคุมแอร์ ระบบความบันเทิงและอื่นๆ บนรถยนต์ผ่านแอพ โดยทาง Ola ได้จับมือกับ Apple Music และ Sony Picture India ในการนี้ด้วย
ระบบ in-car entertainment ของ Ola จะให้อารมณ์เดียวกับระบบความบันเทิงบนเครื่องบิน (in-flight entertainment) ที่ผู้โดยสารสามารถเลือกและควบคุมสื่อได้ตามต้องการ ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งยุทธศาสตร์ของ Ola ในการสร้างความแตกต่างและดึงลูกค้าจาก Uber
ปัจจุบัน Ola ถูกประเมิณมูลค่าไว้อยู่ที่ราว 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ มีแท็กซี่ในสังกัดกว่า 5.5 แสนคันในกว่า 100 เมืองทั่วอินเดีย
ที่มา - Factor Daily
เมื่อวันพุธที่ผ่านมาเกิดเรื่องใหญ่ในเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย เมื่อกลุ่มผู้ขับสามล้อเครื่อง (rickshaw หน้าตาคล้ายตุ๊กตุ๊กบ้านเรา) เกือบแสนคน รวมตัวหยุดงานประท้วงต่อต้านรถรับจ้างผ่านแอพพลิเคชั่นต่างๆ เช่น Uber และ Ola และเรียกร้องให้รัฐบาลออกกฎหมายควบคุมรถรับจ้างเหล่านี้
ด้านผู้นำการประท้วง Shashank Rao ระบุว่า รัฐบาลล้มเหลวในการควบคุมบรรดารถรับจ้างผ่านแอพที่ทำลายธุรกิจรถตุ๊กๆ ที่มีมานาน นอกจากนี้พวกเขายังไม่ทำตามกฎกติกาใดๆ เราจึงต้องออกมาประท้วงเพราะไม่มีทางเลือกอื่น และจะทำการประท้วงกดดันต่อไป
ส่วนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการประท้วง ทางหน่วยงานขนส่งได้จัดรถบัสราว 27 คันวิ่งทั่วเมืองรองรับผู้ต้องการเดินทางไปมา
Uber และ Ola สองผู้ให้บริการแอพเรียกรถแท็กซี่ของอินเดีย ถูกสั่งให้ระงับการบริการในรัฐกรณาฏกะ ทางตอนใต้ของอินเดีย จนกว่าจะได้รับใบอนุญาตผู้ให้บริการแท็กซี่จากหน่วยงานด้านคมนาคมของมลรัฐ
มาตรฐานและข้อเรียกร้องของรัฐกรณาฏกะต่อการออกใบอนุญาต คือต้องยกเลิกการขึ้นราคาในช่วงที่มีความต้องการใช้บริการสูง (Surge Pricing) การติดมิเตอร์บนรถยนต์ให้เหมือนกับรถแท้กซี่ทั่วไป รวมถึงการมีรถที่ให้บริการไม่ต่ำกว่า 100 คัน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกฎระเบียบมาตรฐานสำหรับผู้ให้บริการแท็กซี่ภายในรัฐ โดยทาง Uber และ Ola ได้ยื่นเรื่องเพื่อขอรับใบอนุญาต แต่ทว่าถูกปฏิเสธ เนื่องจากไม่ผ่านมาตรฐานด้านความปลอดภัยและการไม่ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องข้างต้น
Ola บริษัทบริการรถแท็กซี่ที่ใหญ่ทีสุดในอินเดีย มีรถในสังกัดกว่า 1 แสนคัน และให้บริการกว่า 67 เมือง เป็นคู่แข่งที่น่าจับตามองของ Uber
ปีที่แล้ว Ola สร้างความท้าทายต่อ Uber มากขึ้นอีก ด้วยการเปิดบริการ delivery อาหาร และวัตถุดิบต่างๆ ในนาม Ola café และ Ola Store อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 9 มีนาคมที่ผ่านมา บริษัทกลับแถลงปิดบริการส่วนนี้ผ่านทางเว็บไซต์แล้ว
ราวกับดิ อเวนเจอร์ส เมื่อมีข่าวว่าแอพให้บริการรถยนต์โดยสารอย่าง Lyft จากสหรัฐฯ, Ola จากอินเดีย, Didi Kuaidi จากจีน และ GrabTaxi จากกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลงนามร่วมกันว่าจะร่วมใช้กลยุทธ์และเทคโนโลยี ที่จะทำให้ผู้ใช้แต่ละรายใช้แอพของตัวเอง เรียกรถของอีกค่ายเมื่ออยู่ต่างถิ่นได้ โดยเริ่มตั้งแต่ไตรมาสแรกปี 2016 นี้เลย
โดยกลุ่มแอพทั้งสี่เจ้าระบุว่า แต่ละแอพจะแชร์เส้นทาง แผนที่ และการคิดราคาค่าโดยสารผ่าน API ที่ปลอดภัยหากันและกัน โดยยังคงการเป็นเอกเทศในการให้บริการแต่ละประเทศซึ่งมีสภาพตลาดไม่เหมือนกัน ยังไม่มีแผนที่ควบรวมหมด ที่ดีลนี้เกิดขึ้นได้เพราะแอพแต่ละรายมีผู้ลงทุนรายเดียวกัน หนึ่งในนั้นคือ Didi Kuaidi ที่นับเป็นพี่ใหญ่ ลงเงินให้กับแอพทั้งสาม