VMware ได้ประกาศปิดดีลการเข้าซื้อ Pivotal แล้วอย่างเป็นทางการ หลังจากที่ประกาศเข้าซื้อด้วยมูลค่า 2.7 พันล้านดอลลาร์เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
การเข้าซื้อ Pivotal เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของ VMware ที่กำลังทยอยเปลี่ยนผ่านตัวเองในยุค virtualization มาเป็นมัลติคลาวด์และคอนเทนเนอร์ ซึ่งการจะเป็นได้นั้น VMware จะต้องมีเครื่องมือสำหรับจัดการโครงสร้างพื้นฐานไม่ว่าจะอยู่บนคลาวด์เจ้าใดก็ตาม
Pivotal เป็นบริษัทเดิมในเครือ VMware ซึ่งแยกออกมาแล้วราว 7 ปี โดยซอฟต์แวร์ในเครือของ Pivotal ที่นิยมใช้กันก็มี Spring, Cloud Foundry รวมถึงช่วงหลังทางบริษัทได้ขยายมาทำ Kubernetes ในชื่อว่า Pivotal Container Service ด้วย
ไมโครซอฟท์ประกาศความร่วมมือกับ Pivotal (ปัจจุบันอยู่ระหว่างการควบรวมกิจการเข้ากับ VMware) เปิดตัว Azure Spring Cloud บริการคลาวด์ที่ออกแบบมาสำหรับแอพพลิเคชันที่เขียนด้วย Spring Framework โดยเฉพาะ
ช่วงหลังโครงการ Spring ปรับตัวเข้ากับยุคคลาวด์ โดยแยกโครงการย่อย Spring Cloud เพื่อพัฒนาตัวเชื่อมต่อกับซอฟต์แวร์คลาวด์รุ่นใหม่ๆ เช่น Kubernetes, Zookeeper และการรันบนคลาวด์ยอดนิยม เช่น AWS, Azure, GCP, Alibaba Cloud
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว VMware ประกาศเจรจาซื้อ Pivotal ซึ่งเคยเป็นบริษัทในเครือเดียวกับ VMware มาก่อน
วันนี้การเจรจาบรรลุผลแล้ว โดย VMware จะซื้อหุ้นของ Pivotal จากผู้ถือหุ้นรายย่อย และใช้วิธีแลกหุ้นของ VMware กับหุ้นของ Pivotal ที่เป็นของ Dell Technologies (ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ VMware เหมือนกัน แปลว่า Dell Technologies จะได้ถือหุ้นใน VMware มากขึ้น แลกกับการที่ Pivotal กลายเป็นบริษัทลูกของ VMware อย่างสมบูรณ์) กระบวนการทั้งหมดทำให้มูลค่าของ Pivotal อยู่ที่ 2.7 พันล้านดอลลาร์
ซอฟต์แวร์ในเครือของ Pivotal ได้แก่ Cloud Foundry, Spring, Greenplum และภายหลังก็ขยายมาทำ Kubernetes ด้วยอีกอย่าง
VMware ประกาศเจรจากับบริษัทซอฟต์แวร์ Pivotal เพื่อขอซื้อหุ้นทั้งหมด
ข่าวการซื้อกิจการครั้งนี้ถือเป็นสายสัมพันธ์เครือญาติของบริษัทในสังกัด Dell Technologies ด้วยกันเอง เพราะ Pivotal เป็นบริษัทที่แยกตัวออกมาจาก EMC (ชื่อในตอนนั้น) และ VMware (ซึ่งถือหุ้นใหญ่โดย EMC) ในปี 2012 โดยซีอีโอคนแรกของ Pivotal คือ Paul Maritz อดีตซีอีโอของ VMware (ปัจจุบัน Maritz ยังเป็นประธานของ Pivotal แต่ไม่ได้เป็นซีอีโอแล้ว)
Pivotal บริษัทด้านแพลตฟอร์มคลาวด์ ได้นำหุ้นบริษัทเข้าซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กไปแล้วเมื่อคืน ตามที่มีรายงานก่อนหน้านี้ ตัวย่อในการซื้อขายคือ PVTL โดยราคาหุ้นวันแรกปิดที่ 15.40 ดอลลาร์ต่อหุ้น เพิ่มขึ้นจากราคาไอพีโอ 15 ดอลลาร์ เล็กน้อย หรือประมาณ 5%
ผลิตภัณฑ์หลักของ Pivotal คือแพลตฟอร์มสำหรับพัฒนาแอพพลิเคชันบนคลาวด์ Pivotal Cloud Foundry นอกจากนี้ยังมีบริการวางแผนเชิงกลยุทธ์ Pivotal Labs ด้วย ซึ่งรายได้ของบริษัทมาจากสองส่วนนี้ใกล้เคียงกัน
Pivotal บริษัทด้านแพลตฟอร์มคลาวด์ที่แยกตัวออกมาจาก Dell EMC และ VMware ยื่นเอกสารจดทะเบียนเพื่อเตรียมขายหุ้น IPO ในตลาดหลักทรัพย์แล้ว
Pivotal บริษัทด้าน Big Data ที่เป็นบริษัทลูกของ EMC (EMC ถือหุ้นบางส่วน) ประกาศรับเงินลงทุนรอบ Series C จำนวน 253 ล้านดอลลาร์ จาก Ford Motor และ Microsoft
Pivotal แยกตัวจาก EMC มาเป็นอีกบริษัทในปี 2013 (แต่ EMC ยังถือหุ้นใหญ่) ก่อนหน้านี้ Pivotal รับเงินลงทุนจากบริษัทใหญ่ๆ หลายราย เช่น GE, VMware และ Ford (เท่ากับว่า Ford ลงเงินซ้ำอีกรอบ) ลูกค้าส่วนใหญ่ของ Pivotal เป็นองค์กรเอกชนรายใหญ่ บริษัทระบุว่ามีรายได้ในไตรมาสแรกของปี 2016 ที่ 83 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 56% จากปีก่อน
หลังจาก Dell ควบกิจการกับ EMC เสร็จ คาดกันว่า Dell จะแยก Pivotal ออกเป็นบริษัทอิสระที่ขายหุ้น IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์
ไมโครซอฟท์ประกาศรองรับ Cloud Foundry บนแพลตฟอร์มคลาวด์ Azure อย่างเป็นทางการ (general availability) หลังเริ่มทดสอบรุ่นเบต้ามาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม
Cloud Foundry เป็นเทคโนโลยีคลาวด์แบบ PaaS โอเพนซอร์สที่ริเริ่มโดย VMware และภายหลังตั้งมูลนิธิมาดูแล เพื่อไม่ให้ผูกกับบริษัทใดบริษัทหนึ่งเกินไป ตัวของ Cloud Foundry ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทใหญ่อย่าง IBM และ HP
Pivotal บริษัทลูกของ EMC ด้านการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) ประกาศเปิดซอร์สซอฟต์แวร์สามตัวสำคัญในปีนี้ ได้แก่ GemFire, HAWQ, และ GreenplumDB
ซอร์สโค้ดทั้งหมดยังไม่ได้เปิดออกมาตอนนี้ โดยแผนของ Pivotal คือจะส่งโค้ด HAWQ และ GreenplumDB ให้กับ Apache Foundation ส่วน GemFire จะส่งให้กับชุมชนที่ดูแล PostgreSQL ต่อไป
แนวทางนี้ทำให้ Pivotal Big Data Suite มีซอฟต์แวร์หลักๆ ภายในเป็นโอเพนซอร์สเป็นส่วนใหญ่
EMC ถือเป็นบริษัทใหญ่อีกแห่งในโลกไอทีองค์กร ถึงแม้ว่าแบรนด์อาจไม่ดังเท่ากับ IBM, HP, Dell, Oracle เพราะ EMC ไม่ได้ขายฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์เหมือนบริษัทข้างต้น แต่ในแง่สินค้าอื่นๆ ก็ถือว่าครบครัน ตั้งแต่สตอเรจที่เป็นรากเหง้าของบริษัทตั้งแต่แรก รวมถึงบริษัทในเครืออย่าง VMware, RSA และบริษัทใหญ่น้อยอีกมากที่ถูก EMC ไล่ซื้อกิจการในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ล่าสุดในงาน EMC World 2014 ช่วงกลางปีนี้ EMC ประกาศวิสัยทัศน์ใหม่ชื่อ EMC Federation หรือการสร้าง "สมาพันธ์" ของบริษัทและแบรนด์ในเครือทั้งหมด แยกกันทำตลาดไอทีในแต่ละส่วน เพื่อรองรับโครงสร้างพื้นฐานทางไอทียุคหน้าที่กำลังเปลี่ยนแปลง