เดือน ก.ค. 2020 ที่ผ่านมา Uber ประกาศซื้อกิจการคู่แข่งเดลิเวอรีในสหรัฐ Postmates ล่าสุด The New York Times รายงานว่า Uber ปลดพนักงาน Postmates ออก 185 คน คิดเป็น 15% มีผู้บริหารหลายคนโดนด้วย ไม่เว้นแม้แต่ซีอีโอ Bastian Lehmann ซึ่งโฆษก Uber ยืนยันแล้วว่าจะมีการปลดคนจริง
Uber ประกาศปิดดีลซื้อ Postmates แอปคู่แข่งดิลิเวอรี่อย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งทำให้ทั้งสองบริษัทรวมกันกลายเป็นแพลตฟอร์มดิลิเวอรี่ใหญ่อันดับสองของสหรัฐฯ รองจาก Doordash โดยดีลนี้มีมูลค่า 2.65 พันล้านดอลลาร์
ในแถลงการณ์ Uber ระบุว่าจะยังคงใช้แบรนด์ Postmates แยกจาก Uber ในมุมของแบรนด์ทางฝั่งผู้บริโภค ในขณะที่ฝั่ง backend จะอินทิเกรตเข้ากับแพลตฟอร์ม Uber Eats ซึ่งทั้งสองจะผนึกกำลังกันเป็นบริษัทเพื่อการดิลิเวอรี่ทั้งอาหาร, สินค้าอุปโภคบริโภค, สินค้าจำเป็น และสินค้าอื่น ๆ
ตรงตามข่าวลือก่อนหน้านี้ วันนี้ Uber ประกาศซื้อกิจการคู่แข่งเดลิเวอรีในสหรัฐ Postmates ในราคาประมาณ 2.65 พันล้านดอลลาร์ ด้วยวิธีการแลกหุ้นทั้งหมด
Uber ระบุว่าถึงแม้ Postmates เป็นคู่แข่งกับ Uber Eats ในสหรัฐอเมริกา แต่ก็เน้นคนละตลาดกัน ทั้งในแง่พื้นที่ให้บริการที่แตกต่างกัน และความถนัดของ Postmates ที่เน้นร้านอาหารขนาดเล็ก-กลาง
ตอนนี้บอร์ดของทั้งสองบริษัทเห็นชอบการซื้อกิจการแล้ว และหลังการควบกิจการเสร็จสิ้นในช่วงไตรมาส 1 ปี 2021 Uber จะยังคงบริการแอพ Postmates แยกต่างหากต่อไป ไม่นำมาผนวกรวมกับ Uber Eats
The New York Times รายงานข่าววงในว่า Uber กำลังเจรจาซื้อบริการส่งอาหารคู่แข่ง Postmates หลังจากพลาดดีลการซื้อ Grubhub ไปก่อนหน้านี้
สหรัฐอเมริกามีบริการส่งอาหารเดลิเวอรีรายใหญ่ 4 รายคือ Uber Eats, Grubhub, Postmates, DoorDash ซึ่งการควบรวมกันจะช่วยให้สภาพการแข่งขันที่ดุเดือด (จนขาดทุนหนัก) ลดลงไป
การขายกิจการของ Grubhub ให้กับ Just Eat Takeaway ของยุโรปเป็นตัวอย่างของการควบรวมกิจการเพื่อแก้ปัญหาทางการเงินของ Grubhub ส่วนกรณีของ Postmates ย่อมช่วยเรื่องสถานะทางการเงินของบริษัท ที่เคยมีข่าวเมื่อปีที่แล้วว่าคุยกับ DoorDash และ Grubhub เรื่องการควบกิจการเช่นกัน
รัฐแคลิฟอร์เนียเพิ่งจะผ่านกฎหมาย AB5 ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดให้บริษัทที่ทำงานใน gig economy ต้องให้สวัสดิการกับพนักงานเหมือนพนักงานประจำ ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจของบริษัทในกลุ่มนี้อย่างเลี่ยงไม่ได้
ล่าสุด Uber และ Postmates ได้ยื่นฟ้องเพื่อหยุดการออกกฎหมายฉบับนี้แล้ว (พร้อมกับพนักงานใน gig economy สองคน) โดยยืนยันว่ากฎหมายนี้ฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญของสหรัฐและของรัฐโดยการปฏิเสธการการันตีของการปกป้องความเท่าเทียมกัน โดยยืนยันว่าเป็นกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมเนื่องจากเน้นพุ่งเป้าไปที่ gig economy
Ford จับมือ Postmates สตาร์ทอัพด้านจัดส่งสินค้า ทำโครงการทดลองนำรถอัตโนมัติเข้ามาบริการส่งสินค้าถึงมือผู้บริโภค โดย Ford ระบุว่าตลอดทั้งปีนี้จะดำเนินการโครงการนำร่องเพื่อสำรวจว่าเทคโนโลยีการขับขี่ด้วยตนเอง สามารถเปลี่ยนประสบการณ์การจัดส่งสินค้าให้ผู้บริโภคได้อย่างไร และสร้างโอกาสให้ร้านค้าเล็กได้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ด้วย
Ford ระบุด้วยว่า เราคาดหวังว่าจะสามารถปรับใช้เทคโนโลยีรถอัตโนมัติในได้ดีเพื่อให้ลูกค้าได้สินค้ารวดเร็ว และช่วยส่งเสริมร้านค้าท้องถิ่น
อย่างไรก็ตามทั้งสองบริษัทยังไม่ระบุว่าจะเริ่มทดลองระบบที่เมืองใดก่อน
สตาร์ทอัพสายเดลิเวอรีเจ้าอื่นอย่าง Drizly และ Minibar มีบริการส่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ก่อนแล้ว แต่ Postmates ต้องการไปไกลกว่านั้น นอกจากจะเพิ่มบริการส่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยังการันตีด้วยว่าจะจัดส่งในเวลาไม่ถึง 25 นาที
Postmates ให้บริการส่งอาหารในสหรัฐฯ จับมือกับร้านค้าปลีกกว่า 7,000 ร้าน แต่ระบบการันตีความรวดเร็วส่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่เกิน 25 นาทียังจำกัดอยู่ในพื้นที่ซานฟรานซิสโกและลอสแองเจลิสเท่านั้น
ก่อนหน้านี้มีข่าวหุ่นยนต์ติดล้อรับส่งอาหารของ Starship ร่วมมือกับ Postmates ในการให้บริการแล้ว ไม่รู้ว่าคราวนี้เจ้าหุ่นยนต์จะได้ทำหน้าที่ส่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือไม่
หุ่นยนต์ส่งสินค้าของบริษัท Starship สตาร์ทอัพทำหุ่นยนต์โดยเฉพาะ เริ่มให้บริการส่งอาหารในลอนดอนไปเมื่อปีที่แล้ว โดยจับมือกับพาร์ทเนอร์เว็บไซต์ส่งอาหารคือ JustEat
ล่าสุด Starship กำลังเตรียมให้บริการในสหรัฐฯ เนื่องจากได้พาร์ทเนอร์มาเพิ่มคือ DoorDash และ Postmates (ผู้ให้บริการส่งอาหารในสหรัฐทั้งคู่)
ในขั้นแรก Starship จะทดลองให้หุ่นยนต์ลองทำงานในพื้นที่เมือง Redwood City รัฐแคลิฟอร์เนีย และกรุงวอชิงตันดีซีก่อน (พื้นที่ให้บริการของ DoorDash และ Postmates ตามลำดับ)
ประเด็นค่าจ้าง-ค่าแรงของคนขับอูเบอร์ควรจะได้เท่าไร และสถานะคนขับอยู่ตรงไหนระหว่างทำงานชั่วคราวหรือพนักงานก็ยังไม่ชัดเจน สตาร์ทอัพอีกแห่งที่เจอปัญหาแบบนี้เช่นกันคือ Postmates บริการส่งอาหาร เพิ่งถูกศาลตัดสินให้จ่ายค่าคอมมิชชั่นคนขับกว่า 3,000 คน ย้อนหลัง 2 ปี
เรื่องราวเริ่มต้นจากการบาดเจ็บระหว่างส่งอาหารของคนขับ Postmates คนหนึ่ง และเมื่อกรมแรงงานวอชิงตัน (Washington’s Department of Labor & Industries) มาตรวจสอบ ก็พบว่าทางบริษัทไม่เคยจ่ายค่าคอมมิชชั่น ค่าชดเชยจากการขนส่งสินค้าให้กับคนทำงานเหล่านี้เลย โดยบริษัทให้เหตุผลว่าเพราะพวกเขาเป็น "คนทำงานอิสระ" ไม่ใช่พนักงาน
Postmates บริการส่งอาหารแนว sharing economy ของฝั่ง San Francisco ที่การันตีความไวภายในหนึ่งชั่วโมง ได้จ้าง Qatalyst Partners ธนาคารและที่ปรึกษาด้านการลงทุนให้ช่วยดูแลบริษัทให้สามารถระดมทุนเพิ่มเติม หรือเพื่อขายกิจการนี้ให้นักลงทุนรายอื่น
ข่าวระบุว่าสถาบันการเงินรายนี้ได้เสนอขาย Postmates ให้บริษัทขนาดใหญ่แล้วหลายราย แต่ไม่ระบุว่าขายหรือเสนอใครให้มาร่วมลงทุนแล้วบ้าง แต่เมื่อดูสภาพตลาดบริษัทที่ใหญ่กว่า Postmates ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันก็มีเพียง GrubHub, Amazon และ Uber ทว่า Google ก็มีหน่วยธุรกิจแนวนี้แต่ไม่ได้จับตลาดส่งอาหาร