ทีมนักวิจัยจาก Newcastle University และ Centre for Behaviour and Evolution & Institute of Neuroscience ในอังกฤษได้ทำการวิจัยพฤติกรรมของคน โดยพบว่าการตกแต่งติดลูกตาให้กล่องรับเงินบริจาคนั้นมีผลต่อความรู้สึกของคน ทำให้คนมีแนวโน้มยอมจ่ายเงินเพื่อบริจาคมากขึ้น 48% เมื่อคิดเป็นจำนวนเงินเทียบกับจำนวนคนที่ผ่านจุดรับบริจาค
ทีมวิจัยใช้เวลา 11 สัปดาห์เพื่อทำการทดลองนี้ โดยนำถังสำหรับใส่เงินบริจาคไปวางไว้ซูเปอร์มาเก็ตบริเวณจุดคิดเงิน 6 จุด โดยถังทั้ง 6 ใบนั้นมีสัญลักษณ์ของซูเปอร์มาเก็ต พร้อมทั้งรูปภาพและข้อความอธิบายวัตถุประสงค์ของการใช้เงินบริจาค ทว่าครึ่งหนึ่งของถังรับเงินบริจาคเหล่านั้นได้รับการตกแต่งติด "ลูกตา" ให้กับมันด้วย โดยนักวิจัยได้ใช้ชิ้นส่วนลูกตาที่เอาไว้ใช้สำหรับงานทำตัวการ์ตูนหรือตุ๊กตา และใช้กระดาษกาวติด "ลูกตา" ที่ว่านี้เข้ากับด้านบนของถัง
เจ้าหน้าที่ฝ่ายไอทีกับผู้ใช้ในองค์กรคงมีปัญหากันบ่อยๆ เมื่อผู้ใช้ไม่ได้ระมัดระวังตัวเองกับความปลอดภัยต่างๆ หรือหาทางข้ามมาตรการที่องค์กรวางไว้อยู่เรื่อยๆ แต่รายงานใหม่ของ NIST ระบุว่าปัญหานี้อาจจะไม่ใช่ปัญหาของตัวผู้ใช้เองแต่เป็นระบบที่ออกแบบไม่ได้คำนึงถึงผู้ใช้
รายงาน "Security Fatigue" เป็นการสำรวจผู้ใช้ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ใช้งาน 40 คน คนละ 45-60 นาที โดยสอบถามถึงการใช้งานระบบความปลอดภัย ตั้งแต่ไอคอน เครื่องมือ และคำศัพท์ต่างๆ ที่ผู้ใช้ต้องเจอ และวิเคราะห์ว่าอะไรเป็นสาเหตุทำให้ผู้ใช้เหนื่อยล้ากับความมั่นคงปลอดภัย และผลเมื่อผู้ใช้เหนื่อยล้ากับระบบขึ้นมา
หลายๆ คนอาจจะรู้จักกระแสของการกินคลีน ซึ่งก็คือการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพและผ่านกระบวนการ (process) ให้น้อยที่สุด ซึ่งถ้าหากปฏิบัติจนมากเกินไป อาจทำให้มีอาการทางจิตที่เรียกว่า orthorexia ซึ่งก็คือการควบคุมการกินอาหารมากเกินไปจนมีผลต่อสุขภาพ (malnutrition) ซึ่งกำลังเป็นปัญหาในสังคมตะวันตก โดยนักวิชาการและจิตแพทย์บางส่วน ระบุว่าสื่อสังคมออนไลน์ (social media) มีผลที่ทำให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้
เว็บไซต์ Healthcare IT News ซึ่งเป็นเว็บข่าวด้านการแพทย์และเทคโนโลยี ระบุว่างานวิจัยชิ้นล่าสุดของคณะแพทย์จาก Harvard Medical School ที่ตีพิมพ์ลงวารสาร Journal of the American Medical Informatics Association (JAMIA) เผยให้เห็นว่าการเก็บข้อมูลผู้ป่วยจากเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Medical Record: EMR) ในกรณีของผู้ป่วยจิตเวช มีการเก็บข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ข้อมูลจาก EMR เหล่านั้นไม่สามารถใช้วิเคราะห์และรักษาผู้ป่วยที่มีโรคทางจิตได้อย่างแม่นยำ
ช่วงวันสองวันนี้ ผู้ใช้ Facebook น่าจะได้ใช้งานปุ่มไลค์แบบใหม่หรือที่เรียกว่า Reactions กันบ้างแล้ว แต่หลายคนอาจสงสัยว่า "อารมณ์ความรู้สึก" ที่ Facebook มีให้เลือกทั้งหมด 6 แบบ (like, love, haha, wow, sad, angry) ถูกคัดเลือกมาอย่างไร
Wired มีบทสัมภาษณ์ Julie Zhuo หัวหน้าทีมออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นคนรับผิดชอบ Reactions เธอเล่าว่า Mark Zuckerberg เป็นคนผลักดันเรื่องนี้ด้วยตัวเอง เขาบอกว่าผู้ใช้อยากได้อะไรที่มากกว่าปุ่มไลค์มานานแล้ว และที่ผ่านมาผู้ใช้เลือกใช้การโพสต์สติ๊กเกอร์หรือข้อความสั้นๆ ในคอมเมนต์เพื่อแสดงอารมณ์ความรู้สึกแทน แต่ในยุคอุปกรณ์พกพา การพิมพ์ข้อความผ่านมือถือนั้นยากลำบากขึ้น Facebook จึงต้องหาทางเลือกที่ง่ายกว่านั้น ซึ่งทางออกชัดเจนว่าใช้ emoji นั่นเอง
หลายครั้งเวลาเราเล่นเกมแนว RPG (Role-playing game) สิ่งที่เรามักจะพบก็คือการที่ตัวเราในฐานะผู้เล่น มักเก็บประสบการณ์และมีพลังมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ในโลกของความเป็นจริงแล้ว คนเรากลับแก่ขึ้นและหมดกำลังวังชาเมื่อแก่ลง จนในที่สุดก็ต้องตายไป ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่สวนทางอย่างยิ่ง และในหลายกรณีผู้ป่วยทางจิตบางประเภท เช่น โรควิตกกังวล ไบโพลาร์ ซึมเศร้าอย่างหนัก ก็มักจะคิดเรื่องความตายอยู่เสมอและไม่สามารถจัดการกับมันได้
เกือบทศวรรษที่ผ่านมา เราเห็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะเฟซบุ๊ก ที่ทุกวันนี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราๆ ท่านๆ ไปเสียแล้ว โดยเว็บไซต์ The Next Web ได้นำเอามุมมองและทฤษฎีทางจิตวิทยามาอธิบายการเสพติดของผู้ใช้นี้ ผมเห็นว่าน่าสนใจจึงเอามาแบ่งปันกันครับ
The Next Web อธิบายว่าเฟซบุ๊กได้กลายเป็น "ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์" ในลักษณะเดียวกับที่ร้านสะดวกซื้อเป็น เพียงแต่ไม่ใช่ในเชิงกายภาพ แต่เป็นความต้องการทางด้านจิตใจหรือจิตใต้สำนึกของเรา โดยความต้องการเหล่านี้ถูกแบ่งเป็นข้อๆ ดังนี้
- การสร้าง"ความเชื่อมั่นและความภาคภูมิใจในตัวเอง (Self-esteem)"
เมื่อเราๆ ท่านๆ สนใจอยากซื้อสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ต สิ่งแรกๆ ที่คนมักจะทำกันก็คือมองหาความเห็นหรือรีวิวของลูกค้าที่เคยซื้อหรือกำลังใช้สินค้าตัวนั้น และความเห็นที่คนส่วนใหญ่ให้น้ำหนักมากที่สุดก็คือความเห็นที่ได้รับการโหวตเยอะๆ เพราะเราเชื่อว่ามันผ่านการรับรองจากคนจำนวนมาก ดังนั้นมันจึงน่าเชื่อถือ
แต่ทีมวิจัยที่นำโดย Sinan Aral แห่ง Massachusetts Institute of Technology สงสัยว่าจำนวนโหวตของความเห็นน่าเชื่อถือจริงหรือไม่ มันปราศจากการชี้นำจริงหรือเปล่า พวกเขาต้องการที่จะพิสูจน์ด้วยการทดลองอย่างเป็นวิทยาศาสตร์
ในมุมมองของคนทั่วไป เว็บไซต์ Social Network เช่น Facebook, Twitter ฯลฯ สร้างขึ้นมาเพื่อให้มนุษย์สร้างสังคมบนโลกอินเตอร์เน็ตได้อย่างกว้างขวางและสะดวกสบาย แต่พักหลังๆ งานวิจัยหลายชิ้นก็เผยผลการศึกษาที่ระบุถึงผลกระทบในแง่ลบของเว็บไซต์เหล่านี้ เช่น คนใช้ Facebook กับอาการหลงตัวเองมีความสัมพันธ์กัน, หรือ คนใช้ Facebook มากๆ มีความสุขและความพึงพอใจในชีวิตน้อย เป็นต้น
ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนว่า ข่าวนี้เป็นเพียงแค่ความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ และมาจากหนังสือพิมพ์นะครับ
หนังสือพิมพ์ The Telegraph ของอังกฤษได้รายงานว่า Dr. Tracy Alloway จาก University of Stirling ในสกอตแลนด์ ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาที่เชี่ยวชาญด้านความจำระดับใช้งาน (Working Memory -- เป็นความจำระยะสั้นชนิดหนึ่ง) ได้กล่าวปาฐกถาเรื่องเกี่ยวกับงานวิจัยของเธอ ที่ศึกษาเกี่ยวกับการฝึกเด็กที่เรียนช้าให้มีความจำระดับใช้งานที่ดีขึ้น และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ คือเด็กที่ผ่านการอบรมนั้นมีไอคิวที่ดีกว่า, มีความสามารถในการอ่านดีกว่า และได้คะแนนจากการทดสอบด้านคณิตศาสตร์ดีกว่า
อ่านข่าว เด็กฉลาดมีเพศสัมพันธ์น้อย ทำให้นึกถึงงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่เคยอ่าน เกี่ยวกับอิทธิพลของคำชมที่มีต่อเด็ก
เด็กที่ได้รับคำชมอย่างสม่ำเสมอว่าเป็นเด็กฉลาด โดยที่ผู้ใหญ่คาดว่าจะช่วยเสริมความเคารพตัวเอง และมีความมั่นใจในการเรียนรู้ให้เก่งขึ้น ๆ นั้น งานวิจัยจากทีมมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย กลับพบผลตรงกันข้าม โดยเฉพาะเด็กที่เป็นหัวกะทิ จะกลัวความล้มเหลวจนปฏิเสธการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่ตัวเองรู้สึกว่าจะทำได้ไม่เท่ามาตรฐานของตัวเอง อีกทั้งมีแนวโน้มจะดูถูกการลงแรงอีกด้วย