เมื่อต้นปีนี้ โซนี่ถอนตัวจากธุรกิจร้านขายอีบุ๊กในอเมริกาและยุโรป โดยโอนย้ายลูกค้าเครื่องอ่านอีบุ๊ก Sony Reader ให้กับ Kobo แทน
ล่าสุดโซนี่ให้ข้อมูลกับ BBC ว่าจะถอนตัวจากธุรกิจเครื่องอ่านอีบุ๊กด้วย โดยบริษัทไม่มีแผนการออกเครื่องอ่านอีบุ๊กตระกูล Sony Reader รุ่นใหม่อีกต่อไปแล้ว ทำให้เครื่องอ่านรุ่น PRS-T3 ถือเป็นรุ่นสุดท้าย และจะวางขายสินค้าจนกว่าของจะหมดสต๊อก
ส่วนตลาดญี่ปุ่นนั้นโซนี่จะยังทำตลาดต่อไปทั้งฮาร์ดแวร์และร้านขายอีบุ๊ก Sony Reader Store ครับ
ที่มา - BBC
ต่อเนื่องจากข่าวเดิมที่โซนี่จะถอนตัวจากธุรกิจร้านขายอีบุ๊กในอเมริกา วันนี้โซนี่เริ่มส่งอีเมลฉบับแรกไปถึงลูกค้าที่มีบัญชีอยู่ใน Sony Store อเมริกาและแคนาดาที่อธิบายขั้นตอนการถ่ายโอนลูกค้าไปยัง Kobo แล้วครับ
ใจความหลักมีเพียงแค่ย่อหน้าเดียวคือ หลังจากนี้ลูกค้าแต่ละคนจะได้รับอีเมลเพื่อดำเนินการถ่ายโอนบรรดาหนังสือที่ซื้อใน Sony Store มาเข้าสู่บัญชี Kobo ถ้ามีเครดิตอยู่ก็จะได้รับการโอนไปด้วย ส่วนอุปกรณ์ Sony Reader สามารถใช้งานร่วมกับ Kobo Store ได้
ถ้ายังจำกันได้ ก่อนหน้านี้ Sony เคยหยิบเครื่องอ่านอีบุ๊กหน้าจอขนาด 13.3" ที่มาพร้อมกับปากกามาให้ดูกัน แต่ตอนนั้นยังไม่บอกทั้งราคา และวันขาย ตอนนี้มีข้อมูลเพิ่มเติมออกมาแล้วครับ
แม้จะยังไม่รู้ว่าสรุปแล้ว Sony จะเรียกอุปกรณ์ชิ้นนี้ว่าอะไร แต่วันวางขายก็ออกมาแล้วเป็นวันที่ 3ธันวาคม ด้วยราคาเปิดตัวที่ 100,000 เยน (ประมาณ 32,000 บาท)
ฟีเจอร์เด่นๆ ของเครื่องอ่านอีบุ๊กตัวนี้คือหน้าจอขนาด 13.3" ความละเอียด 1600x1200 พิกเซล ใหญ่พอกับกระดาษ A4 แต่บางเพียง 6.8 มม. และเบาเพียง 358 กรัมเท่านั้น ตัวหน้าจอรองรับการสัมผัสด้วยระบบเหนี่ยวนำไฟฟ้าด้วยการทำงานคู่กับสไตลัสที่มาด้วยกัน สามารถเขียนได้ราวกับกระดาษจริงๆ ด้วยผิวสัมผัสแบบสาก และใช้ฟิล์มแทนกระจกทำให้ปากกาไม่ดูลอยจากหน้าจอ
แม้ว่าโซนี่จะเป็นผู้บุกเบิกวงการอีบุ๊กมาตั้งแต่เริ่ม แต่ช่วงหลังมานี้ก็ถูกกระแสของ Amazon กลืนไปเสียสิ้น แต่ก็ยังไม่เลิกล้มความพยายาม ล่าสุดออกมาโชว์เครื่องอ่านอีบุ๊กรุ่นต้นแบบตัวใหม่ที่ใช้หน้าจอขนาดใหญ่ถึง 13.3" (น่าจะใหญ่ที่สุดในไลน์อีบุ๊กของโซนี่แล้วด้วย)
เครื่องอ่านอีบุ๊กรุ่นต้นแบบดังกล่าวนอกจากจะใช้หน้าจอ 13.3" บนความละเอียด 1200x1600 พิกเซล (ซึ่งใกล้เคียงกับกระดาษ A4) แล้วยังมาพร้อมกับหน้าจอสัมผัสแบบเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าสำหรับใช้งานร่วมกับสไตลัสที่ติดมาด้วยกัน
แม้ว่าจะหน้าจอจะใหญ่ระดับเดียวกับโน้ตบุ๊ก แต่น้ำหนักของเจ้าเครื่องรุ่นนี้กลับเบาเพียง 358 กรัม แถมยังบางเพียง 6.8 มม. เท่านั้น ตัวแบตเตอรี่เองก็จุใช้ได้ สามารถใช้งานได้ยาวนานถึง 3 สัปดาห์ถ้าหากปิด Wi-Fi
โซนี่เองบุกเบิกตลาดเครื่องอ่านอีบุ๊กมานาน แต่ช่วงหลังโดน Kindle/Nook แย่งความสนใจไปเกือบหมด ล่าสุดโซนี่ออกมาเปิดตัวร้านขายอีบุ๊ก Reader Store เวอร์ชันเว็บ จากเดิมที่มีเฉพาะบนแพลตฟอร์มของโซนี่เองเท่านั้น
อีบุ๊กของโซนี่จะติด DRM โดยใช้เทคโนโลยีของ Adobe ดังนั้นซื้อมาแล้วสามารถนำไปอ่านบนอุปกรณ์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ของโซนี่ได้ด้วย (แต่ต้องรองรับ Adobe DRM ด้วยนะครับ)
นอกจากนี้โซนี่ยังอัพเดตแอพ Reader by Sony เวอร์ชันแอนดรอยด์ใหม่ ปรับหน้าตาให้สวยงามขึ้น รองรับการอ่านแนวนอน และปรับเสถียรภาพของแอพให้ดีขึ้น
โซนี่เริ่มลดราคา Sony Reader Wi-Fi เครื่องอ่านอีบุ๊กจอสัมผัสของตัวเอง จากเดิม 149.99 ดอลลาร์ ลงมาเหลือ 129.99 ดอลลาร์
ที่งาน IFA อีกเช่นกัน โซนี่เปิดตัวเครื่องอ่านอีบุ๊กรุ่นใหม่ Sony Reader Wi-Fi (รหัสรุ่น PRS-T1) ใช้หน้าจอ E Ink Pearl ทัชสกรีนขนาด 6”
โซนี่เคยออกเครื่องอ่านอีบุ๊กที่เป็น E Ink ทัชสกรีน 6" มาก่อนแล้ว แต่รุ่นนี้เพิ่ม Wi-Fi เข้ามา (ซื้ออีบุ๊กจากร้านของโซนี่ได้เลยถ้าต่อเน็ตผ่าน Wi-Fi ได้) และมีจุดขายที่น้ำหนักเบาเพียง 168 กรัม ซึ่งโซนี่โฆษณาว่าเป็นเครื่องอ่านขนาด 6" ที่เบาที่สุดในโลก (Kindle 3 Wi-Fi หนัก 241 กรัม)
จากกรณี แอปเปิลปรับนโยบายใหม่ ปฏิเสธแอพจาก Sony Reader ไม่ให้เข้า App Store โฆษกของแอปเปิลได้ชี้แจงกับเว็บไซต์ AllThingsD ว่า แอปเปิลไม่ได้เปลี่ยนเงื่อนไขของการนำแอพเข้า App Store แต่อย่างใด เพราะเงื่อนไขเขียนไว้แต่แรกแล้วว่า "ถ้าแอพเปิดให้ผู้ใช้ซื้อหนังสือจากแหล่งอื่นได้ จะต้องซื้อหนังสือผ่านระบบ In App Purchase API ของแอปเปิลได้ด้วย" ซึ่งแน่นอนว่าโดนแอปเปิลหัก 30%
"ความเข้มงวด" ของแอปเปิลกลับมาเป็นข่าวอีกครั้งหลังเงียบหายไปนาน หนังสือพิมพ์ The New York Times ลงข่าวว่าแอปเปิลปฏิเสธไม่ให้แอพ Sony Reader (ข่าวเก่า) เข้าไปขายใน App Store ด้วยเหตุว่า Sony Reader ขายหนังสือผ่านระบบร้านค้าอื่นที่ไม่ใช่ของแอปเปิล
ก่อนหน้านี้แอปเปิลปล่อยให้แอพ Kindle ที่มีลักษณะการขายหนังสือแบบเดียวกัน ให้ขึ้น App Store แบบไม่มีปัญหาอะไร แต่เมื่อแอปเปิลปรับเปลี่ยนนโยบายภายในใหม่ บังคับว่าการขายเนื้อหาภายในแอพต้องผ่านระบบของแอปเปิลเท่านั้น และห้ามผู้ใช้ดาวน์โหลดเนื้อหาที่ซื้อจากที่อื่นผ่านแอพบน iPhone ด้วย ทำให้แอพ Sony Reader ไม่ผ่านเกณฑ์ดังกล่าว
จากที่มีข่าว โซนี่ออกโปรแกรม Sony Reader บน iPhone/Android ซึ่งเดิมมีกำหนดออกเดือนธันวาคม แม้จะช้ากว่ากำหนดไปบ้าง แต่ตอนนี้แอพ Sony Reader อยู่บน Android Market เรียบร้อยแล้ว (ลิงก์บน AppBrain)
การทำงานของมันก็เหมือนกับ Kindle App แทบทุกประการครับ คือเป็นทางเลือกให้เจ้าของ Sony Reader สามารถอ่านหนังสือบนอุปกรณ์พกพาอื่นๆ ได้
ตัวแทนของโซนี่บอกกับ Engadget ว่ารุ่นบน iPhone กำลังรออนุมัติจากแอปเปิลอยู่ สำหรับรุ่น Android ต้องใช้ 2.2 ขึ้นไป ซึ่งเว็บไซต์ The Digital Reader ก็แซวว่ามือถือของโซนี่เองยัง 2.1 อยู่เลย
Sony Reader เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ไม่กี่ตัวของโซนี่ ที่ทำตลาดในต่างประเทศก่อนญี่ปุ่น และมันจะเริ่มวางขายในญี่ปุ่นวันที่ 10 ธันวาคมนี้
จริงๆ แล้ว โซนี่เริ่มวางขายเครื่องอ่านอีบุ๊ก LIBRIe ครั้งแรกในญี่ปุ่นเมื่อปี 2004 แต่ไม่ประสบความสำเร็จ โดยหยุดขาย LIBRIe ในปี 2007 ส่วนเครื่องอ่านตระกูล Reader ซึ่งพัฒนาโดยโซนี่อเมริกา เริ่มขายเมื่อปี 2006
ในญี่ปุ่น โซนี่จะขาย Reader Pocket Edition (5") และ Touch Edition (6") ยังไม่มีข้อมูลว่าจะขายรุ่นท็อป Daily Edition (7") หรือไม่ โซนี่วางเป้า 300,000 เครื่องในปีแรก และ 1 ล้านเครื่องในปีที่สอง
ที่มา - Wall Street Journal
แม้จะบุกเข้ามาในตลาดเครื่องอ่านอีบุ๊กก่อนเพื่อน แต่ยักษ์ใหญ่อย่างโซนี่ต้องกลายเป็นผู้ตาม เมื่อออกโปรแกรม Reader บนมือถือ ในลักษณะเดียวกับโปรแกรม Kindle ของ Amazon
โปรแกรม Sony Reader for Mobile สามารถอ่านหนังสือที่เราซื้อจากร้าน Reader Store ของโซนี่ได้จากมือถือ (รองรับ iPhone และ Android) รวมถึงซื้อหนังสือและแชร์โน้ตได้จากมือถือเลย ตัวโปรแกรมจะออกเดือนธันวาคม ระหว่างนี้ดูรูปตามลิงก์ไปก่อน
ที่มา - Android Community
เริ่มมีความเป็นไปได้ที่เครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบรนด์ Sony Reader จะเปลี่ยนมาใช้ Android (ตามอย่าง NOOK)
สาเหตุก็เพราะโซนี่ประกาศรับสมัครงานตำแหน่ง "Senior Staff Software Engineer (Android) – Digital Reader Business Division at Sony Electronics" ซึ่งต้องการคนที่มีความสามารถด้าน "Programming experience with Google Android SDK"
ปัจจุบัน Sony Reader ใช้ระบบปฏิบัติการลินุกซ์แบบฝังตัวจาก MontaVista
ที่มา - SlashGear, Talk Android
หลังจาก Amazon ออก Kindle รุ่นที่สาม ซึ่งมีเวอร์ชัน Wi-Fi ที่ขายเพียง 139 ดอลลาร์ ถูกที่สุดในท้องตลาด (และยังรวมถึง NOOK ที่หั่นราคาเหลือ 149 ดอลลาร์ก่อนหน้าไม่นาน)
ทาง Phil Lubell รองประธานฝ่าย e-book ของโซนี่ก็ให้สัมภาษณ์ว่า "โซนี่ไม่ต้องการแข่งขันในตลาดราคา แต่ต้องการคงคุณภาพและการออกแบบซึ่งเป็นจุดขายของเราเอาไว้" เขายังบอกว่าเครื่องอ่านของโซนี่ยังมีฟีเจอร์ที่คู่แข่งไม่มี อย่างการยืมหนังสือกัน (ซึ่ง NOOK มีแล้ว) และจอสัมผัสแบบเต็มจอเพียงรายเดียวในตลาด (NOOK ทำได้แค่จอล่าง)
ผมเห็นโซนี่ออกมาพูดลักษณะนี้ทีไร ผลิตภัณฑ์ตัวนั้นมันต้องเจ๊งอยู่เรื่อยไปทุกที
หลังจากที่ Barnes & Noble เริ่มต้นสงครามราคา eBook Reader (ที่เรารอคอยกันมานาน) ด้วยการลดราคา NOOK ลง (ตามข่าว Barnes & Noble หั่นราคา NOOK ลงเหลือ 149 ดอลลาร์) จนทำให้ Amazon ต้องยอม หั่นราคา Kindle 2 Global เหลือ 189 ดอลลาร์ และ ตัดราคา Kindle DX ลงอีก 110 ดอลลาร์ ตอนนี้ผู้ชิงชัยสุดท้าย (หรือเปล่า) อย่าง Sony ก็ได้เข้าร่วมสงครามราคาครั้งนี้เร
สงครามหนังสือพิมพ์-นิตยสารบนเครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เริ่มร้อนแรงขึ้น เมื่อโซนี่ประกาศว่า เจ้าของ Sony Reader สามารถซื้อหนังสือพิมพ์และนิตยสารชื่อดังของสหรัฐได้เช่นกัน
ก่อนหน้านี้ใน Reader Store มีหนังสือพิมพ์และนิตยสารชื่อดังประมาณ 5-6 หัว แต่ตอนนี้ขยายเป็น 20 และกำลังจะตามมาอีกไม่น้อย รายชื่อหนังสือดูได้ด้านใน
โซนี่เปิดตัวเครื่องอ่าน e-book ตัวใหม่ในแบรนด์ Sony Reader ชื่อว่า Daily Edition หน้าจอ 7 นิ้ว ฟีเจอร์เทียบเท่า Kindle ของอเมซอน
หลังจากที่ทางโซนี่ได้ทำตลาดเครื่องอ่าน eBooks โดยใช้เทคโยโลยี eInk มาแล้ว สามตัวตอนนี้ทางโซนี่ได้เปิดตัวเครืองอ่าน eBooks รุ่นใหม่อีกสองตัว คือ
PRS-600 Touch
หน้าจอ 6 นิ้ว ระบบสัมผัส
มี Oxford American English Dictionary ในตัว
ราคา 299 US$
PRS-300 Pocket edition
หน้าจอ 5 นิ้ว
ราคา 199 US$