บทความโดย ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ภายหลังการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่แข่งขันประมูลกันอย่างเข้มข้น หลายคนสงสัยว่าราคาชนะประมูลในระดับแปดหมื่นล้านบาทนั้นจะทำให้อัตราค่าบริการ 4G แพงขึ้นหรือไม่ และทำไมก่อนเปิดประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz บางค่ายก็โฆษณาบริการ 4G แล้ว สิ่งที่โฆษณานั้น ตกลงเป็น 4G แท้หรือ 4G เทียม
หนึ่งวันก่อนการประมูล เกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นเมื่อสหภาพฯ กสท โทรคมนาคม ยื่นฟ้อง กสทช. ขอระงับการประมูลคลื่น 1800 MHz กับศาลปกครองกลาง และในวันเดียวกันตุลาการศาลได้ลงมติรับคำร้องไว้พิจารณา แต่ไม่ออกคำสั่งคุ้มครอง ทำให้ในวันที่ 11-12 พฤศจิกายน มีการจัดการประมูลคลื่นตามปกติ และก็ได้ผู้ชนะอย่างเป็นทางการเรียบร้อย
วันนี้ (18 พฤศจิกายน) ดีแทคจัดงานแถลงข่าวพิเศษ เพื่อประกาศแผนขยายเครือข่ายเร่งด่วนหลังจากการประมูลคลื่น 1800 MHz ที่เพิ่งจะจบลงไป โดยดีแทคเผยว่าจะขยายเครือข่าย 4G 1800 MHz เพิ่ม 1800 สถานีฐาน ใน 18 วัน (นับจากวันประมูล) โดยหวังว่าลูกค้าจะได้รับประสบการณ์ในการใช้งานที่ดีขึ้นภายในสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้
ทั้งนี้ดีแทคยังเผยแผนงานในอนาคต พร้อมตอกย้ำความเชื่อมั่นด้วยการประกาศแผนการนำคลื่น 1800 MHz อีก 20 MHz (ที่ติดกับของ AIS) ออกมาให้บริการเพิ่มเติม โดยปัจจุบันได้เริ่มคุยแผนงานกับ กสท โทรคมนาคม ไปบางส่วนแล้ว และคาดว่าน่าจะได้รับคำตอบในเร็วๆ นี้
จากข่าว บอร์ดทีโอทีเลือก "เอไอเอส" เป็นพันธมิตรร่วมทำ 3G 2100 MHz ระยะเวลา 10 ปี ล่าสุดมีความคืบหน้าออกมาจากฝั่งเอไอเอสแล้ว
โดยทางเอไอเอสเปิดเผยกับหนังสือพิมพ์ The Nation ว่า บริษัทฯ เตรียมเดินทางไปลงนามบันทึกความเข้าใจหรือ MoU กับทีโอทีในวันที่ 15 ธันวาคมนี้ ก่อนที่จะเดินทางไปร่วมประมูลคลื่น 900 MHz ที่สำนักงาน กสทช. ในวันเดียวกัน
หลังผ่านการประมูลไปสามวัน วันนี้คณะกรรมการ กทค. ได้รับรองผลการประมูลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทำให้ บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมูนิเคชัน จำกัด และ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด เป็นผู้ชนะอย่างเป็นทางการ
โดยในวันพรุ่งนี้ สำนักงาน กสทช. จะส่งหนังสือรับรองผลประมูลไปแจ้งต่อผู้ชนะการประมูล เพื่อให้เตรียมการเข้ามาจ่ายเงินค่าประมูลงวดแรก 50% (20,493 ล้านบาท) ภายใน 90 วันนับจากนี้ (สิ้นสุด 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559)
นายมนต์ชัย หนูสง รักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้เผยว่า มติที่ประชุมคณะกรรมการทีโอที ได้มีการลงมติเลือกให้ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส เป็นพันธมิตรร่วมทำเครือข่าย 3G 2100 MHz รูปแบบใหม่ โดยมีระยะเวลาในการดำเนินการ 10 ปี และทีโอทีคาดว่าจะมีรายได้จากสัญญานี้เบื้องต้นที่ 3,000 ล้านบาทต่อปี
การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800MHz ของ กสทช. ในช่วง 2 วันที่ผ่านมา มีผลลัพธ์ที่เหนือความคาดหมายทั้งในแง่ตัวเลขเงินที่ประมูล และความยืดเยื้อยาวนานของการประมูลที่กินเวลารวมเกือบ 2 วันเต็ม
คำถามที่หลายคนสงสัยคือคลื่น 1800MHz มีอะไรน่าสนใจ จนบรรดาโอเปอเรเตอร์ต้องต่อสู้กันดุเดือดถึงเพียงนี้ อันนี้เป็นบทวิเคราะห์ขั้นต้นแบบด่วนๆ หลังประกาศผลประมูลครับ (ข้อมูลอาจไม่ครบถ้วนนัก และวิเคราะห์ด้วยยอดรวมการประมูลของแต่ละบริษัทเท่านั้น ไม่ได้สนใจจังหวะการประมูลแต่ละขั้นตอนนะครับ)
กินเวลากว่า 33 ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลา 10.00 น. ของวันที่ 11 พฤศจิกายน จนถึงตอนนี้ การประมูลคลื่น 1800 MHz จบลงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยราคาสุดท้ายพร้อมผู้ชนะมีดังต่อไปนี้ครับ
ส่วนราคาของผู้ที่ไม่ชนะการประมูลมีดังต่อไปนี้
การประมูลคลื่น 1800MHz วันที่สองยังไม่ได้ข้อยุติ ส่งผลให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ตัดสินใจหยุดพักการประมูลตั้งแต่เวลา 17.30 น. ของวันนี้ (12 พฤศจิกายน) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประมูลได้พักผ่อน และจะกลับมาประมูลต่อวันพรุ่งนี้ (13 พฤศจิกายน) เวลา 10.00 น.
ผู้เข้าร่วมประมูลแต่ละบริษัทจะพักค้างคืนในสำนักงาน กสทช. โดยแยกห้องพักกันชัดเจน และมีเจ้าหน้าที่สำนักงาน กสทช. คอยดูแลไม่ให้แต่ละบริษัทติดต่อกันได้ ในกรณีผู้ร่วมประมูลที่ต้องการสิ่งของ เช่น เสื้อผ้าหรือยา จากที่บ้าน สามารถแจ้งทางเจ้าหน้าที่ให้ติดต่อแทนได้
ส่วนราคาประมูลล่าสุด ณ เวลาที่เขียนข่าว (17:20 น.) นับเป็นรอบที่ 79 คลื่นชุดที่หนึ่ง 37,802 ล้านบาท และคลื่นชุดที่สอง 38,598 ล้านบาท
เมื่อช่วงเช้าของวันนี้ (12 พฤศจิกายน) คุณฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ได้ออกมาเปิดเผยว่า หลังจากเสร็จสิ้นการประมูลคลื่น 1800 MHz แล้ว คณะกรรมการ กทค. จะเรียกประชุมด่วนเพื่อเตรียมการประมูลคลื่น 900 MHz ใหม่ทั้งหมด หลังจากที่เมื่อคืนวานนี้ต้องลงมติเร่งด่วนให้ประมูลกันแบบต่อเนื่องจนกว่าจะได้ผู้ชนะ แทนการเข้ามาประมูลใหม่ในเวลา 9.00 น. ของวันนี้
และแล้วก็เข้าสู่วันประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ชุดแรกอย่างเป็นทางการ โดยตั้งแต่เช้า คณะกรรมการ กสทช. ได้ให้การต้อนรับตัวแทนของผู้เข้าประมูล ซึ่งก็คือ เอไอเอส, ดีแทค, ทรู และ แจสโมบาย ด้วยความยินดี ก่อนจะเริ่มจับฉลากลำดับการเรียกเข้าห้องประมูล และให้ตัวแทนขึ้นมาจับฉลาก Username/Password ที่ใช้ในการประมูลอีกครั้ง
เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ได้ออกมายืนยันถึงแผนการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 15 ธันวาคม แม้ว่าสหภาพฯ ทีโอที จะออกมายื่นฟ้อง และร้องเรียนขอความเป็นธรรม แต่ตนก็ยังยืนยันว่าแผนการประมูลควรเป็นไปตามแผนเดิม และถ้าหากใครเข้ามาขัดขวางก็จะถือว่ามีความผิดตามกฎหมายทันที
ถึงแม้ว่ายังไม่มีความคืบหน้าจากบอร์ดของทีโอทีว่าจะฟ้องหรือไม่ฟ้อง แต่เมื่อเวลา 15.30 น. ของวันที่ 4 พฤศจิกายน สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) นำโดย นายพงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี รองประธานสหภาพฯ ทีโอที ได้เข้ายื่นฟ้อง กสทช. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. พร้อมพวกรวม 24 คน ต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้ศาลชี้ขาดสิทธิ์การถือครองคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ที่ กสทช. จะนำออกประมูลในเดือนธันวาคม
เมื่อช่วงเช้าของวันนี้ (3 พ.ย.) สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้เดินทางไปยังทำเนียบรัฐบาลเพื่อดำเนินการยื่นหนังสือร้องเรียนถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่านศูนย์บริการประชาชน ทำเนียบรัฐบาล เพื่อร้องเรียนให้นายกรัฐมนตรี ออกมาพิจารณาถึงความเสียหายที่เกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 11 พฤศจิกายน และวันที่ 15 ธันวาคมที่จะถึงนี้
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ลงมติเลื่อนการประมูลคลื่น 900MHz จากเดิม 12 พฤศจิกายน 2558 กลับไปเป็น 15 ธันวาคม 2558 ตามกำหนดการแรกสุด ด้วยเหตุผลว่าโดนวิจารณ์ถึงการจัดประมูลที่ติดกับคลื่น 1800MHz ในวันที่ 11 พฤศจิกายน จนอาจส่งผลต่อการเคาะราคาประมูลของผู้รับใบอนุญาตทั้ง 4 รายที่ประมูลคลื่นทั้ง 2 ช่วงความถี่ได้
กสทช. ระบุว่าการเลื่อนการประมูลคลื่น 900MHz ออกไปอีกประมาณ 1 เดือน จะไม่ส่งผลต่อการเปิดบริการ 4G บนคลื่น 900MHz มากนัก และยังอยู่ในกรอบเวลาเดิมที่เคยกำหนดไว้ตั้งแต่แรกด้วย ส่วนคลื่น 1800MHz จะยังเดินหน้าประมูลวันที่ 11 พฤศจิกายนตามกำหนดเดิม
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์ กสทช.
กทค. เลื่อนวันประมูลคลื่น 900 MHz เป็นกรอบเวลาเดิม 15 ธ.ค. 2558
หลังจากประกาศแผนการใช้คลื่น และประกาศเปิดตัวมาได้ระยะหนึ่ง ในวันนี้ดีแทคได้จัดงานแถลงข่าวการเปิดใช้เครือข่าย 4G บนคลื่นความถี่ 1800 MHz อย่างเป็นทางการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยรหัสเครือข่ายคือ 52018 เป็นของ DTAC 2G เดิม และเทคโนโลยียังเป็นเพียง LTE CAT3 ครับ (คุณประเทศระบุว่าทดลองทำด้วย CAT4 แล้ว แต่ยังติดที่ดีแทคยังใช้ความสามารถยังไม่เต็มที่ เลยปล่อยเป็น CAT3 ก่อนครับ)
เมื่อวันที่ 29 ตุลาคมที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการ กทค. (กสทช. ด้านโทรคมนาคม) ได้ลงมติอนุมัติให้ทีโอที นำคลื่น 2300 MHz จำนวน 60 MHz มาทำการปรับปรุงเพื่อเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ บนเทคโนโลยี LTE ได้จนถึงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2568 ตามระยะเวลาของใบอนุญาตประกอบการเดิม
The New York Times รายงานข้อมูลว่าวงการทหารและข่าวกรองของสหรัฐ มีประเด็นกังวลว่ารัสเซียอาจส่งเรือดำน้ำไปตัดสายเคเบิลในมหาสมุทร ส่งผลให้อินเทอร์เน็ตในสหรัฐไม่สามารถเชื่อมต่อกับประเทศอื่นได้
แหล่งข่าวของ The New York Times ระบุว่าพบกิจกรรมของเรือดำน้ำรัสเซียเพิ่มขึ้นในจุดที่มีสายเคเบิลอยู่ ความถี่ของเรือดำน้ำถือว่าใกล้เคียงกับสมัยสงครามเย็น สิ่งที่หน่วยงานความมั่นคงของสหรัฐกลัวคือสายเคเบิลจะถูกตัดในจุดที่น้ำลึกมาก ซึ่งซ่อมแซมได้ยากกว่าจุดที่น้ำตื้น
ปัญหาเรื่องเคเบิลใต้น้ำไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ในสมัยสงครามเย็น ประเด็นที่กลัวกันคือการดักฟังข้อมูลฝ่ายตรงข้ามจากสายเคเบิล แต่ปัจจุบันกลายเป็นประเด็นเรื่องสาธารณูปโภคด้านการสื่อสารที่อาจถูกทำลายแทน
So-net Entertainment ได้เปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 10 Gbps ในชื่อว่า Nuro ที่ญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา
สำหรับตอนนี้เริ่มเปิดให้บริการใน 2 จังหวัด ได้แก่ Tokyo และ บางพื้นที่ของ Kanagawa
ส่วนความเร็วในการดาวน์โหลดอยู่ที่ 10 Gbps และความเร็วในการอัพโหลดอยู่ที่ 2.5 Gbps โดยมีค่าแรกเข้า จ่ายครั้งเดียว 3,000 เยน (ประมาณ 877 บาท) ส่วนค่าใช้จ่ายต่อเดือนนั้นอยู่ที่ 9,800 เยน (ประมาณ 2,867 บาท) และมีแผนขยายการให้บริการในอนาคต ไปยังพื้นที่ส่วนขยายของ Tokyo และอีก 6 จังหวัด
จากกรณีที่บอร์ดทีโอทีเตรียมยื่นฟ้อง กสทช. เพื่อทวงสิทธิ์ในการบริหารคลื่น 900 MHz กลับมาจากการนำออกไปประมูล ในการประชุมบอร์ดทีโอทีครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ยังไม่ได้ผลสรุปเกี่ยวกับคำฟ้องที่จะยื่นฟ้องในเร็วๆ นี้ โดยบอร์ดคาดว่าจะมีการสรุปผลอีกครั้งในวันที่ 30 ตุลาคม (13 วันก่อนการประมูล)
วันนี้ (22 ต.ค. 2558) กสทช. เปิดรับเอกสารเข้าร่วมการประมูลคลื่น 900MHz โดยต้องวางหลักประกันการประมูลเป็นเช็คเงินสด 644 ล้านบาท หลังปิดรับเอกสารเวลา 16.30 น. สรุปแล้วมีผู้ยื่นเอกสารเพื่อเข้าร่วมการประมูล 4 ราย ได้แก่
บริษัททั้ง 4 รายเป็นบริษัทเดียวกับที่ยื่นเอกสารเข้าประมูลคลื่น 1800MHz ก่อนหน้านี้ คาดว่าคลื่น 900MHz จะจัดประมูลจริงในวันที่ 12 พฤศจิกายน หลังจากการประมูลคลื่น 1800MHz หนึ่งวัน
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์ กสทช.
หลังจากเปิดทดสอบมาตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ในวันนี้ดีแทคได้เปิดให้บริการ VoLTE (และ ViLTE) อย่างเป็นทางการเรียบร้อยแล้ว โดยผู้ที่ถือ Samsung Galaxy S6, Samsung Galaxy S6 edge และ Eagle X สามารถใช้บริการได้ทันทีโดยการกด *444*41# เพื่อเปิดใช้งานด้วยตนเอง
ในส่วนของค่าบริการทั้ง VoLTE และ ViLTE จะยึดจากนาทีหรือวินาที ของค่าโทรตามแพ็คเกจปกติที่ผู้ใช้ได้สมัครไว้ โดยไม่หักจากส่วน data ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ทำให้หมดกังวลไปได้เลยว่าจำนวน data จะหมดเร็วขึ้น
การดำเนินงานเกี่ยวกับคลื่น 900 MHz จากทางฝั่ง กสทช. ยังคงมีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหลังจากที่เปิดให้เอกชนที่สนใจเข้ามารับซองประมูลตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน (ซึ่งเข้ามาเอาแล้ว 6 บริษัท) และทิ้งท้ายว่าจะนำเรื่องวันประมูลไปหารือในที่ประชุม กทค. อีกครั้งเพื่อให้ได้วันที่เร็วขึ้น ซึ่งวันนี้ก็มีการลงมติในเรื่องนี้เป็นที่เรียบร้อย
โดยที่ประชุมกทค. วันนี้ ได้มีมติให้เลื่อนวันประมูลคลื่น 900 MHz จากเดิมคือวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เข้ามาเร็วขึ้นเป็นวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 โดยเปิดประมูลต่อจากการประมูลคลื่น 1800 MHz ทันที
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคมที่ผ่านมา นายอรรถชัย วุฒพันธ์ ได้เข้าร้องเรียนต่อศูนย์ดำรงธรรม ตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ให้ช่วยตรวจสอบค่าบริการโทรศัพท์ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 ของบริษัท เรียลมูฟ จำกัด (เครือข่าย TrueMove H) ที่สูงผิดปกติถึง 53,166.16 บาท ซึ่งประกอบไปด้วยค่าบริการรายเดือน 199 บาท ค่าบริการรายเดือนส่วนอื่น 100 บาท และค่าบริการส่วนเกินที่สูงผิดปกติถึง 49,200 บาท ซึ่งค่าบริการในส่วนนี้ เป็นค่าบริการที่ถูกเรียกเก็บจากการโหวตผู้เข้าแข่งขันในรายการ True Academy Fantasia ปี 12 ของช่อง True4U จำนวน 123 ครั้ง
จริงๆ ข่าวนี้มาก่อนข่าวแสดงจุดยืนของทีโอที (เพราะเป็นข่าวเดียวกันกับข่าวประกาศผู้ยื่นซองเข้าประมูลคลื่น 1800 MHz) เลยนำเอามาเสนอในอีกมุมของกรณีพิพาทในเรื่องนี้ครับ
คุณฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เผยว่า จากกรณีพิพาทเรื่องที่ สหภาพฯ ทีโอที ต้องการล้มประมูลเพื่อเอาสิทธิ์การถือครองคลื่นความถี่ 900 MHz กลับมาเป็นของทีโอทีนั้น กสทช. ขอยืนยันว่าจะดำเนินการเปิดประมูลคลื่น 900 MHz ต่อไปตามแผนงานที่ได้วางไว้ ซึ่งถ้าไม่มีคำสั่งจาก คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ ศาลปกครอง ก็จะไม่หยุดดำเนินการในเรื่องนี้