ถ้าจำกันได้ เมื่อกลางเดือนที่แล้ว สหภาพฯ ทีโอที ยื่นฟ้องกสทช. ต่อศาลปกครอง โดยขอให้ศาลปกครองชี้สิทธิ์ขาดว่าใครมีสิทธิ์ถือครองคลื่นกันแน่ ล่าสุดศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่ร้บฟ้องในคดีนี้เรียบร้อย
เหตุผลของศาลก็เป็นอย่างที่หลายๆ ท่านได้คาดเดากันไว้ คือ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เป็นเพียงแค่นิติสัมพันธ์กับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เท่านั้น และสหภาพฯ เองก็ไม่ใช่ผู้เสียหายในเรื่องนี้โดยตรง จึงทำให้ไม่มีสิทธิ์ในการยื่นฟ้องร้องในเรื่องนี้ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ศาลจึงลงความเห็นในการปัดตกและจำหน่ายคดีนี้ออกไป
เนื่องจาก การประมูลคลื่นความถี่ 900MHz ที่จะทำการประมูลในวันที่ 15 ธันวาคม 2558 นี้ และทาง กสทช. ประกาศให้ใช้งานได้ถึงวันที่ 22 ธันวาคม 2558
ทาง TOT3G จึงออกประกาศให้ลูกค้า GSM900 โอนย้ายเบอร์ก่อน 22 ธันวาคม 2558 เพื่อป้องกันการปิดเบอร์นั่นเองครับ
จากข่าว บอร์ดทีโอทีเลือก "เอไอเอส" เป็นพันธมิตรร่วมทำ 3G 2100 MHz ระยะเวลา 10 ปี ล่าสุดมีความคืบหน้าออกมาจากฝั่งเอไอเอสแล้ว
โดยทางเอไอเอสเปิดเผยกับหนังสือพิมพ์ The Nation ว่า บริษัทฯ เตรียมเดินทางไปลงนามบันทึกความเข้าใจหรือ MoU กับทีโอทีในวันที่ 15 ธันวาคมนี้ ก่อนที่จะเดินทางไปร่วมประมูลคลื่น 900 MHz ที่สำนักงาน กสทช. ในวันเดียวกัน
นายมนต์ชัย หนูสง รักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้เผยว่า มติที่ประชุมคณะกรรมการทีโอที ได้มีการลงมติเลือกให้ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส เป็นพันธมิตรร่วมทำเครือข่าย 3G 2100 MHz รูปแบบใหม่ โดยมีระยะเวลาในการดำเนินการ 10 ปี และทีโอทีคาดว่าจะมีรายได้จากสัญญานี้เบื้องต้นที่ 3,000 ล้านบาทต่อปี
เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ได้ออกมายืนยันถึงแผนการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 15 ธันวาคม แม้ว่าสหภาพฯ ทีโอที จะออกมายื่นฟ้อง และร้องเรียนขอความเป็นธรรม แต่ตนก็ยังยืนยันว่าแผนการประมูลควรเป็นไปตามแผนเดิม และถ้าหากใครเข้ามาขัดขวางก็จะถือว่ามีความผิดตามกฎหมายทันที
ถึงแม้ว่ายังไม่มีความคืบหน้าจากบอร์ดของทีโอทีว่าจะฟ้องหรือไม่ฟ้อง แต่เมื่อเวลา 15.30 น. ของวันที่ 4 พฤศจิกายน สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) นำโดย นายพงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี รองประธานสหภาพฯ ทีโอที ได้เข้ายื่นฟ้อง กสทช. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. พร้อมพวกรวม 24 คน ต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้ศาลชี้ขาดสิทธิ์การถือครองคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ที่ กสทช. จะนำออกประมูลในเดือนธันวาคม
เมื่อช่วงเช้าของวันนี้ (3 พ.ย.) สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้เดินทางไปยังทำเนียบรัฐบาลเพื่อดำเนินการยื่นหนังสือร้องเรียนถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่านศูนย์บริการประชาชน ทำเนียบรัฐบาล เพื่อร้องเรียนให้นายกรัฐมนตรี ออกมาพิจารณาถึงความเสียหายที่เกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 11 พฤศจิกายน และวันที่ 15 ธันวาคมที่จะถึงนี้
เมื่อวันที่ 29 ตุลาคมที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการ กทค. (กสทช. ด้านโทรคมนาคม) ได้ลงมติอนุมัติให้ทีโอที นำคลื่น 2300 MHz จำนวน 60 MHz มาทำการปรับปรุงเพื่อเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ บนเทคโนโลยี LTE ได้จนถึงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2568 ตามระยะเวลาของใบอนุญาตประกอบการเดิม
จากกรณีที่บอร์ดทีโอทีเตรียมยื่นฟ้อง กสทช. เพื่อทวงสิทธิ์ในการบริหารคลื่น 900 MHz กลับมาจากการนำออกไปประมูล ในการประชุมบอร์ดทีโอทีครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ยังไม่ได้ผลสรุปเกี่ยวกับคำฟ้องที่จะยื่นฟ้องในเร็วๆ นี้ โดยบอร์ดคาดว่าจะมีการสรุปผลอีกครั้งในวันที่ 30 ตุลาคม (13 วันก่อนการประมูล)
จริงๆ ข่าวนี้มาก่อนข่าวแสดงจุดยืนของทีโอที (เพราะเป็นข่าวเดียวกันกับข่าวประกาศผู้ยื่นซองเข้าประมูลคลื่น 1800 MHz) เลยนำเอามาเสนอในอีกมุมของกรณีพิพาทในเรื่องนี้ครับ
คุณฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เผยว่า จากกรณีพิพาทเรื่องที่ สหภาพฯ ทีโอที ต้องการล้มประมูลเพื่อเอาสิทธิ์การถือครองคลื่นความถี่ 900 MHz กลับมาเป็นของทีโอทีนั้น กสทช. ขอยืนยันว่าจะดำเนินการเปิดประมูลคลื่น 900 MHz ต่อไปตามแผนงานที่ได้วางไว้ ซึ่งถ้าไม่มีคำสั่งจาก คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ ศาลปกครอง ก็จะไม่หยุดดำเนินการในเรื่องนี้
กรณีพิพาทเรื่องคลื่น 900 MHz ของเอไอเอสที่หมดสัมปทานเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 30 กันยายนที่ผ่านมา ถ้าทราบกันดีเรื่องนี้มีความคืบหน้าจากทั้งฝั่ง กสทช. ที่ต้องการเดินหน้าเปิดประมูล และฝั่งสหภาพฯ ทีโอทีต้องการนำคลื่นกลับมาให้บริการด้วยตัวเอง และแสดงทีท่าว่าต้องการล้มประมูลในรอบนี้ ความคืบหน้าล่าสุดของเรื่องนี้ คือเมื่อช่วงเช้า ทีโอที ได้จัดประชุมนัดพิเศษเพื่อแสดงจุดยืนในเรื่องนี้อย่างชัดเจนแล้ว
เว็บหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (และไม่ค่อยเกี่ยวข้อง) กับนโยบาย Single Gateway ยังคงถูกชาวเน็ตเข้าไปดูจนล่มเองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหลังจากมีการนัดรวมพลเพื่อต่อต้าน Single Gateway โดยเริ่มตั้งแต่เวลาสี่ทุ่มที่ผ่านมา ก็มีเว็บไซต์กว่า 6 เว็บล่มไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเว็บที่ 6 ก็คือเว็บของ TOT เอง (http://www.tot.co.th)
วันนี้ (30 กันยายน 2558) ถือเป็นวันสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่น 900MHz ระหว่าง AIS กับ TOT หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ Cellular 900, GSM 900, GSM Advance, AIS 2G เดิม (ไม่ใช่ AIS 3G คลื่น 2100MHz)
การเปลี่ยนแปลงนี้มีผลในทางกฎหมายเป็นหลัก หลังจากวันนี้ไป เสาสัญญาณและอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงลูกค้าจะโอนกลับไปยัง TOT และให้บริการต่อไปตามปกติ ส่วนคลื่น 900MHz จะกลับไปยัง กสทช. เพื่อจะประมูลใหม่ในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้ (ปัจจุบันลูกค้า AIS ส่วนใหญ่ใช้ AIS 3G แล้ว ก็จะไม่ได้รับผลกระทบจากการหมดอายุสัมปทานครั้งนี้)
การประมูลคลื่นยังไม่ทันจะเริ่ม แต่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) นำโดย นายอนุชิต ธูปเหลือง ยังคงเดินหน้าคัดค้านการประมูลคลื่น 900 MHz ที่จะเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนนี้อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเรื่องนี้ก็ใกล้เข้าสู่กระบวนการทางชั้นศาลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
วันนี้ทางเอไอเอสได้ออกประกาศสำคัญหนึ่งเรื่อง คือประกาศสิ้นสุดการให้บริการเครือข่าย AIS 2G (GSM Advance และ 1-2-Call 2G) บนคลื่นความถี่ 900 MHz ซึ่งจะหมดอายุตามสัญญาสัมปทานกับทีโอทีในวันที่ 30 กันยายนนี้ มีผลทำให้เอไอเอสต้องสิ้นสุดการให้บริการเครือข่ายตามวันดังกล่าว
กระบวนการถัดไปถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด หลังจากวันที่ 30 กันยายน ผู้ใช้บริการจะมีเวลาย้ายออกจาก AIS 2G ไปเครือข่ายอื่นหรืออัพเกรดเป็น AIS 3G 2100 ในระยะเวลา 30 วันนับจากวันที่สิ้นสุดการให้บริการ ก่อนที่คลื่น 900 MHz จะถูกส่งกลับ กสทช. เพื่อนำไปประมูลใหม่ในเดือนพฤศจิกายนนี้
เกิดเรื่องวุ่นกลางงานประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อร่างหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ที่จัดโดย กสทช. เมื่อช่วงเช้าของวันนี้ เมื่อสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้เข้ายื่นหนังสือคัดค้านการประชาพิจารณ์ต่อคณะกรรมการ กสทช. พร้อมส่งหนังสือชี้แจงต่อผู้เข้าประชุมถึงสิ่งที่ สหภาพฯ ได้กระทำไปในวันนี้
สหภาพฯ ชี้ว่า กสทช. ไม่มีสิทธิ์ที่จะนำคลื่น 900 MHz ออกประมูล เนื่องจากว่า กสทช. ไม่มีสิทธิ์ในการยึดคลื่นคืนจากทีโอทีหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานกับเอไอเอส (ที่จะหมดลงในเดือนกันยายนนี้) และทีโอทีควรมีสิทธิ์ในการใช้งานคลื่นหลังจากรับสัมปทานคืนต่อจนถึงปี พ.ศ. 2568 ตามอายุของใบอนุญาตประกอบการที่ทีโอทีถืออยู่
พล.อ.สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ ประธานกรรมการ ทีโอที เปิดเผยว่า นายธันวา เลาหศิริวงศ์ ได้ยื่นหนังสือขอลาออกจากตำแหน่งรักษาการแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่ มีผลตั้งแต่ 1 มีนาคมเป็นต้นไป ซึ่งคุณธันวาได้เข้ามารับตำแหน่งนี้ตั้งแต่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยอธิบายสาเหตุที่ขอลาออกว่ามีภารกิจมาก และไม่สามารถทุ่มเทเวลาได้
ในระหว่างสรรหาซีอีโอคนใหม่นี้ บอร์ดทีโอทีจึงแต่งตั้งนายมนต์ชัย หนูสง รองซีอีโอสายพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ ขึ้นทำหน้าที่แทนชั่วคราว
แก้ไขข่าวตามข้อมูลเพิ่มเติมในความเห็นด้านล่างครับ เนื่องจากมติ ครม.ดังกล่าวเป็นมติเมื่อวันที่ 2 ธันวาคมที่ผ่านมาโดยเป็นการเห็นชอบ "หลักการ" ในการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของทาง ทีโอที และ กสท โทรคมนาคม เพื่อให้เป็นไปตามแผนการที่ คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) เสนอเพื่อให้ทั้งสององค์กรจัดแบ่งหมวดหมู่ธุรกิจภายในองค์กร และศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมว่ามีหน่วยธุรกิจใดทับซ้อนกัน เพื่อพิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินงานของทั้งสองบริษัทครับ
โดย ครม.ยังมีมติเพิ่มเติมให้ทั้งสองบริษัทดังกล่าวหาทางลดค่าใช้จ่ายลงให้ได้อีกร้อยละ 10 ด้วย ทั้งนี้ผลการศึกษาว่าจะยุบรวมหน่วยธุรกิจไหนหรือไม่ อย่างไร ต้องรอการสรุปจากบริษัทที่ปรึกษาอีกครั้งในภายหลังครับ
เมื่อวานนี้ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ (ครูหยุย) ตั้งกระทู้ถามประเด็นของกสทช. ที่มีการใช้เงินจำนวนมากในการเดินทางไปต่างประเทศและการตั้งที่ปรึกษา โดยเสนอให้ยุบกสทช. และนำกสท และทีโอทีมารวมกันแล้วทำงานแทน เพราะงานที่เป็นรายได้ของกสทช. นี้เคยเป็นงานของทั้งสองบริษัทมาก่อน
นายธันวา เลาหศิริวงศ์ กรรมการและรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ให้สัมภาษณ์ว่า TOT กำลังเร่งเจรจากับบริษัทโทรคมนาคมหลายรายทั้งบริษัทไทยและต่างชาติ เพื่อคัดเลือกพันธมิตรธุรกิจอย่างเร่งด่วน
TOT แบ่งกลุ่มธุรกิจออกเป็น 6 กลุ่มคือ กลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน กลุ่มเสาโทรคมนาคม กลุ่มโทรศัพท์เคลื่อนที่ กลุ่มโทรศัพท์พื้นฐานและอินเตอร์เน็ต กลุ่มบริการด้านไอทีและบริการคลาวด์ โดยจะเปิดรับทุกข้อเสนอ และคัดเลือกข้อเสนอที่ดีที่สุดต่อไป
บริษัทไทยที่มีข่าวว่ากำลังเจรจากับ TOT ได้แก่ AIS, dtac, True, Samart, Loxley, TT&T ส่วนบริษัทจากต่างชาติได้แก่ Telstra (ออสเตรเลีย), SK Telecom (เกาหลีใต้), British Telecom (อังกฤษ) และบริษัทไม่ระบุชื่อจากประเทศจีน
ทีโอทีรายงานผลการดำเนินงานครึ่งปีแรก 2557 โดยมีรายได้รวม 22,611 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 1,300 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันในปีก่อนที่มีกำไรราว 11,000 ล้านบาท โดยมีสาเหตุสำคัญคือการขาดรายได้ค่าสัมปทานโทรศัพท์มือถือจากเอไอเอส
ทีโอทีจะปรับแผนมาโฟกัสการให้บริการ 3G ให้มากขึ้น (ข่าวก่อนหน้า) ซึ่งทีโอทีมีรายได้ส่วนนี้ในครึ่งปีแรกเพียง 93 ล้านบาท จากเงินลงทุนถึง 16,000 ล้านบาท นอกจากนี้บริษัทก็จะรักษาส่วนแบ่งการตลาดของบริการบรอดแบนด์ที่มีการแข่งขันสูงด้วย
สองรัฐวิสาหกิจ คือ TOT และ CAT เสนอกสทช. เพื่อหาทางรอดจากภาวะขาดทุนในตอนนี้ โดยข้อเสนอนี้เสนอไปยังกสทช. แต่ยังไม่ได้รับอนุมัติเพราะต้องหารือกับ คสช. เสียก่อน
ข้อเสนอของ TOT ได้แก่
ข้อเสนอของทาง CAT นั้นมีเพียงข้อเดียว คือขอใช้คลื่น 1800 MHz ความกว้าง 25 MHz ต่อไป เพื่อให้บริการลูกค้าที่รับโอนมาจากการหมดสัญญาสัมปทานได้ต่อไป ส่วนตัวรายได้จากสัมปทานนั้นทาง CAT ยอมรับและต้องปรับตัวหารายได้
จากข่าวเก่า (แฮกเกอร์เข้าโจมตีเราเตอร์กว่า 300,000 เครื่อง) ตอนนี้ปัญหาดังกล่าวเริ่มส่งผลจนมีผู้ใช้ออกมารายงานปัญหานี้แล้วครับ
โดยผู้ใช้ 'จอมยุทธเฮง' และ 'สมาชิกหมายเลข 1301045' ในเว็บไซต์พันทิปได้ออกมารายงานปัญหาการเข้าเว็บไซต์ชื่อดังบางเว็บแล้วจะพบหน้าจอแจ้งเตือนว่า Flash Player เป็นรุ่นเก่า พร้อมเข้าหน้าเว็บให้ดาวน์โหลดตัวติดตั้ง Flash Player (ปลอม) โดยเมื่อตรวจสอบการตั้งค่าเราเตอร์แล้วพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงให้ใช้ DNS ที่หมายเลข IP 199.223.212.99 และเมื่อแก้ไขกลับแล้ว ก็โดนแก้ไขอีกเป็นหมายเลข IP 74.82.207.26
จากข่าวเก่าของคุณ magnamonkun ในประเด็นที่ TOT จะเลิกทำตลาด 3G วันนี้ผมได้รับการติดต่อจากฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ TOT นะครับ ว่าข่าวนี้เป็นข่าวที่คลาดเคลื่อน โดยจะมีการแถลงข่าวความชัดเจนในประเด็นต่างๆ อีกครั้งในวันจันทร์นี้ แต่ประเด็นที่ตอบคำถามมาแล้วระหว่างการพูดคุยกัน คือ
NOTE: ข่าวนี้ได้รับการติดต่อจาก TOT ว่าคลาดเคลื่อนนะครับ - lew
หลังจากที่เปิดให้บริการมานานกว่า 5 ปี ล่าสุดเมื่อช่วงเช้าวันนี้ คุณยงยุทธ วัฒนสินธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ของทีโอที ได้ตัดสินใจเลิกทำตลาด TOT 3G อย่างเป็นทางการแล้ว หลังจากที่มีการเปิดเผยรายได้โดยรวมของทีโอทีในปีที่แล้ว ซึ่งถือว่ากำไรของบริษัทลดฮวบจากเดิมลงไปถึง 62%
โดยแผนสำรองที่คุณยงยุทธเตรียมไว้ก็คือ ในเร็วๆ นี้ ทีโอทีจะมีแผนธุรกิจร่วมกับ AWN (AIS) เข้ามา นั่นก็คือการใช้งานคลื่น 2100 MHz ร่วมกัน ซึ่งทั้งทีโอทีและเอไอเอส มีคลื่นความถี่เท่ากัน คือ 15 MHz และเมื่อรวมกันจริงๆ จะเท่ากับว่า AIS จะมีคลื่น 2100 MHz สูงถึง 30 MHz เลยทีเดียว