รวมข่าว Twitter (X) มีอะไรอัปเดตใหม่บ้าง
NetBlocks องค์กรด้านสิทธิดิจิทัล รายงานข้อมูลว่าตั้งแต่เย็นวันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ ตามเวลาในประเทศไทย ประเทศตุรกีได้บล็อกการเข้าถึง Twitter ของอินเทอร์เน็ตในประเทศ ในระหว่างที่ประชาชนพยายามเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ผ่าน Twitter หลังเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ โดยล่าสุดตัวเลขผู้เสียชีวิตมีมากกว่า 17,000 คน
ทางการตุรกีไม่ได้ให้เหตุผลของการบล็อก Twitter แต่ข้อมูลจาก NetBlocks บอกว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ภาวะฉุกเฉิน รัฐบาลตุรกีมักจะจำกัดการเข้าถึงโซเชียลมีเดีย เพื่อลดการเผยแพร่ภาพเหตุการณ์รุนแรง ตลอดจนป้องกันปัญหาการเผยแพร่ข่าวเท็จ
Twitter ประกาศขยายความยาวสูงสุดของทวีตจากเดิม 280 ตัวอักษร เป็น 4,000 ตัวอักษร อย่างไรก็ตามไม่ใช่ทุกคนจะได้สิทธินั้น เพราะต้องเป็นลูกค้าแบบเสียเงินรายเดือน Twitter Blue ด้วย และเบื้องต้น Twitter เพิ่มฟีเจอร์นี้ให้เฉพาะลูกค้าในอเมริกาก่อน
ทั้งนี้การแสดงทวีตที่มีข้อความยาวในไทม์ไลน์ จะถูกตัดที่ 280 ตัวอักษร และเพิ่มคำว่า Show More เพื่อให้คลิกแสดงข้อความทั้งหมดต่อ ฉะนั้นทวีตที่ยาวก็จะแสดงผลจนกินพื้นที่ไทม์ไลน์
ลูกค้า Twitter Blue ที่สามารถทวีตได้ 4,000 ตัวอักษรตอนนี้ จะสามารถพิมพ์แบบยาวได้ทั้งทวีตปกติ เมนชัน และ Quote แต่ยังไม่สามารถ Draft หรือ Schedule บนเว็บได้
แนวทางหนึ่งที่ Elon Musk ซีอีโอ Twitter พูดมาตลอด คือต้องการหารายได้จากบริการ subscription Twitter Blue ให้มากขึ้น แต่ก็ไม่มีตัวเลขชัดเจนว่าถึงตอนนี้มีคนยอมจ่ายเงินเล่น Twitter โดยสมัครใช้ Twitter Blue แค่ไหน
The Information อ้างเอกสารภายในของ Twitter ระบุตัวเลขช่วงกลางเดือนมกราคม มีผู้สมัครใช้ Twitter Blue เฉพาะในอเมริกาประมาณ 180,000 คน เอกสารอีกส่วนบอกว่า มีผู้สมัครใช้งานในอเมริกา 62% ของทั้งหมด แปลว่ามีผู้สมัครใช้รวมทั่วโลก 290,000 คน โดยประมาณ
Twitter อัพเดตการทำงานมีผลทั้งแอปบน iOS และ Android โดยจะจดจำว่าผู้ใช้งานเปิดแถบไหนเป็นแถบสุดท้ายก่อนปิดแอป ระหว่าง For You กับ Following จากเดิมที่จะเริ่มที่ For You เสมอ แม้เป็นอัพเดตเล็ก ๆ แต่ช่วยให้ผู้ใช้งานที่ต้องการใช้แถบ Following น่าจะพอใจมากขึ้น
ฟีเจอร์นี้ Elon Musk ซีอีโอ Twitter เคยบอกไว้เมื่อปลายเดือนที่แล้วว่าจะมาอัพเดตเร็ว ๆ นี้
ทั้งนี้การจดจำตำแหน่งไม่มีผล หากแถบสุดท้ายที่เปิดดูคือ List โดยจะกลับมาที่ For You เหมือนเดิม
ที่มา: The Verge
Elon Musk ยังคงพยายามหาเร่งหาเงินให้กับ Twitter เป็นการด่วน ล่าสุด The Information รายงานข้อมูลวงในว่า Twitter กำลังพิจารณาเก็บเงินองค์กรหรือแบรนด์ที่ต้องการรักษาติ๊กถูกสีทอง (ยืนยันว่าเป็นแอคเคาท์ Official) เดือนละ 1,000 เหรียญ หรือราว 33,000 บาท
นอกจากนี้หากแบรนด์หรือองค์กรต้องการเปิดแอคเคาท์ในเครือแยก (affilaite account) และต้องการติ๊กถูกสีทองเช่นกัน ต้องจ่ายเพิ่มบัญชีละ 50 เหรียญต่อเดือน (ราว 1,700 บาท) ซึ่งเรื่องนี้ได้รับการยืนยันจาก screenshot ที่ Twitter ส่งหาแบรนด์และโพสต์โดย Matt Navarra นักวิเคราะห์ธุรกิจโซเชียลมีเดีย
Elon Musk ให้ข้อมูลผ่านบัญชี Twitter ของเขา หลังจากที่ Twitter ประกาศเตรียมยกเลิกให้บริการ API แบบฟรี มีผลตั้งแต่ 9 กุมภาพันธ์ เป็นต้นไป ซึ่งมีนักพัฒนาจำนวนหนึ่งไม่เห็นด้วย เพราะจะกระทบกับบอตที่บริการทวีตเนื้อหาเป็นประโยชน์
โดย Musk บอกว่า หลังได้รับความเห็นจำนวนหนึ่ง Twitter ตัดสินใจเปิดให้ใช้งาน API ฟรี แบบจำกัดฟีเจอร์ สามารถโพสต์ทวีตได้เท่านั้น (write-only) เฉพาะกับบอตที่ให้คอนเทนต์ที่ดี
Twitter อัพเดตข้อมูลในหน้า Help Center ระบุว่าฟีเจอร์ CoTweets ที่ผู้ใช้งานสามารถทวีตข้อความเดียวกัน แล้วให้แสดงผลได้ใน 2 บัญชี พร้อมระบุว่าเป็นการร่วมกันทวีต จะปิดการทำงานมีผลทันที
ทั้งนี้ CoTweets ยังมีสถานะเป็นฟีเจอร์ทดสอบ จำกัดกลุ่มผู้ใช้งาน แต่ได้รับความสนใจเพราะมีลักษณะคล้ายกับ Instagram ที่แบรนด์จะทำร่วมกับอินฟลูเอนเซอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในฟีเจอร์ที่เปิดตัวก่อนที่ Elon Musk จะมาซื้อกิจการ Twitter
Twitter บอกว่าการปิดฟีเจอร์นี้ มีผลกับทวีตที่เดิมเป็น CoTweets ด้วย โดยจะเปลี่ยนมาแสดงผลแบบปกติ คือทวีตโดยบัญชีเดียว
มีรายงานว่า Twitter ได้ยื่นขอใบอนุญาตเพื่อให้บริการเป็นแพลตฟอร์ม สำหรับจ่ายเงินในอเมริกา โดยระบุว่า Esther Crawford ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์ของ Twitter กำลังอยู่ในขั้นตอนจัดการโครงสร้างพื้นฐานของบริการจ่ายเงินตัวนี้ เพื่อให้ Twitter เป็นแอปที่รวมทุกอย่างเข้ามาจบในแอปเดียว หรือที่เรียกกันว่า Super App
ตั้งแต่ Elon Musk ซื้อกิจการ Twitter แนวทางหนึ่งที่เขาพูดอยู่หลายครั้ง คือการสร้างแหล่งรายได้ใหม่ให้กับแพลตฟอร์ม และการเป็น Super App ก็เป็นหัวข้อที่ Musk เคยพูดถึง โดยให้รองรับทุกธุรกรรมในชีวิตประจำวัน รวมทั้งการจ่ายเงิน และโอนเงินระหว่างผู้ใช้
Tapbots บริษัทผู้พัฒนา Tweetbot ไคลเอนต์ Twitter ยอดนิยมตัวหนึ่ง ประกาศการปิดตัวของแอป หลังจาก Twitter ได้อัพเดตข้อตกลงการใช้งาน API สำหรับนักพัฒนา ที่ห้ามไม่ให้สร้างแอปไคลเอนต์
Tapbots บอกว่าผู้ใช้งานที่ได้ผลกระทบจากประกาศดังกล่าวมีระดับหลายแสนคน ตัวแอป Tweetbot ให้บริการมามากกว่า 10 ปี ทีมนักพัฒนาขอบคุณสำหรับการสนับสนุนและข้อเสนอแนะที่มีมาโดยตลอด
Elon Musk ซีอีโอ Twitter เปิดเผยฟีเจอร์ใหม่ ๆ ในบริการ รวมทั้งฟีเจอร์ที่อยู่ในแผนงานอนาคต โดยฟีเจอร์แรกคือการสร้างแถบที่ 3 เพิ่มจาก For You กับ Following แต่การเพิ่มแถบมีขั้นตอนเล็กน้อย โดยต้องไปที่ List ที่เราต้องการจากหน้าโปรไฟล์ และกดไอคอน Pin จะทำให้ List นั้น มาเป็นแถบที่ 3 ในหน้าหลัก (ดูตัวอย่างด้านล่าง)
Musk ยังบอกว่าในอัพเดตถัดไปของ Twitter แอปจะจดจำว่าผู้ใช้งานอยู่ในตำแหน่งสุดท้ายที่แถบไหน เมื่อกลับเข้ามาอีกครั้งก็เริ่มที่แถบนั้นต่อ จากเดิมจะไปที่ For You เสมอ
Twitter อัพเดตข้อตกลงการใช้งานสำหรับนักพัฒนา (Developer Agreement) มีผลตั้งแต่ 19 มกราคม 2023 ซึ่งกระทบกับไคลเอนต์ 3rd Party ของ Twitter โดยตรง
โดยข้อกำหนดการใช้งาน Twitter API ใหม่นั้น ระบุชัดเจนว่า นักพัฒนาไม่สามารถสร้างไคลเอนต์ Twitter สำหรับใช้งานแบบเดียวกับแอป Twitter ได้ จึงกระทบกับบรรดาแอป 3rd Party ทั้ง Tweetbot หรือ Twitterific ไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป
Twitter ออกแพ็คเกจใหม่รายปีสำหรับผู้สมัครใช้งาน subscription Twitter Blue โดยสามารถเลือกจ่ายล่วงหน้าเพื่อใช้งาน 12 เดือน ในราคาที่ให้ส่วนลดลงไปอีก จากเดิมเดือนละ 8 ดอลลาร์ สำหรับผู้ใช้ในอเมริกา หรือคิดเป็น 96 ดอลลาร์ สำหรับ 12 เดือน ลดราคาเหลือ 84 ดอลลาร์
ราคานี้เป็นราคาสำหรับการสมัครผ่านเว็บเท่านั้น กรณีสมัครผ่านแอป iOS จะมีเฉพาะรายเดือน ซึ่ง Twitter ก็บวกราคาเพิ่มเพื่อชดเชยส่วนแบ่งที่ต้องการจ่ายให้แอปเปิลเป็น 11 ดอลลาร์ต่อเดือน
ปัจจุบัน Twitter มีสถานะเป็นบริษัทนอกตลาดหุ้น หลังการซื้อกิจการของ Elon Musk ทำให้ไม่ต้องรายงานตัวเลขผลประกอบการต่อสาธารณะ อย่างไรก็ตามมีรายงานจาก The Information เกี่ยวกับตัวเลขผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ผ่านมา
สำนักข่าว BBC รายงานว่าผู้นำของรัฐบาลตาลีบันในอัฟกานิสถานอย่างน้อย 2 ราย และผู้สนับสนุนอีกอย่างน้อย 4 ราย ได้เครื่องหมายถูก Twitter Blue มาต่อท้ายบัญชีแล้ว ซึ่งฟีเจอร์ของ Twitter Blue ในปัจจุบันเอื้อให้ข้อความของผู้ใช้ Blue เห็นเด่นชัดมากขึ้น ตัวอย่างคือ UI ใหม่แบบแท็บที่มีส่วนของผู้ใช้ Blue แยกเฉพาะ
ทั้งนี้ไม่มีข้อมูลว่ากลุ่มผู้นำตาลีบันได้ Blue มาได้อย่างไร เพราะ Blue ยังขายเฉพาะในบางประเทศเท่านั้น และนโยบายของ Twitter เองพยายามทำเครื่องหมายถูกสีเทา สำหรับบุคคลและหน่วยงานของภาครัฐ จึงเป็นไปได้ว่าเป็นการจ่ายเงิน 8 ดอลลาร์ซื้อตามปกติ และ Twitter ไม่มีระบบตรวจสอบ
ในที่สุด Twitter ก็ออกมาชี้แจงแล้ว หลังเกิดปัญหาไคลเอนต์ Twitter 3rd Party เช่น Tweetbot, Twitterific ไม่สามารถใช้งานได้ โดยชี้แจงผ่านบัญชี Twitter Dev ระบุว่า Twitter ได้เริ่มบังคับใช้ข้อกำหนดการใช้งาน API ที่มีมานานแล้ว จึงส่งผลให้แอปบางตัวไม่สามารถใช้งานได้
ถึงแม้การชี้แจงดังกล่าวจะยังคลุมเครือว่าข้อกำหนดที่แอป 3rd Pary ละเมิดคืออะไร แต่ถือเป็นการออกมาอธิบายเป็นทางการครั้งแรกต่อปัญหาที่เกิดขึ้น
หนังสือพิมพ์ Financial Times รายงานข้อมูลจากแหล่งข่าวใกล้ชิดว่า ดีล Elon Musk ซื้อบริษัท Twitter มูลค่า 44 พันล้านดอลลาร์ ที่มีสัดส่วนเงินกู้ถึง 13 พันล้านดอลลาร์จากธนาคารหลายแห่ง ทำให้บริษัทมีภาระหนี้สูงถึง 1.5 พันล้านดอลลาร์ต่อปี และกำหนดการจ่ายดอกเบี้ยงวดแรกอาจเป็นช่วงสิ้นเดือนมกราคมนี้ (ยังไม่แน่ชัดว่างวดแรกต้องจ่ายเท่าไร)
หนี้ 13 พันล้านดอลลาร์เป็นภาระหนี้ของตัวบริษัท Twitter โดยตรง ซึ่งสถานการณ์รายได้ของบริษัทที่ลดลงอย่างมาก ทำให้บริษัทอยู่ในภาวะตัดสินใจยากว่าจะเอาตัวรอดจากการจ่ายหนี้อย่างไร
ต่อจากข่าว ไคลเอนต์ Twitter 3rd Party เช่น Twitterific, Tweetbot มีปัญหา ใช้งานไม่ได้ ตอนนี้ยังไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆ จากบริษัท Twitter หรือแม้แต่ Elon Musk เอง
อย่างไรก็ตาม เว็บไซต์ข่าว The Information อ้างว่าได้เห็นข้อความ Slack ภายใน Twitter ที่บอกว่านี่เป็น "ความตั้งใจ" (intentional) ที่จะบล็อคไคลเอนต์ตัวอื่นๆ นอกบริษัท เพื่อบีบให้ผู้ใช้ต้องย้ายไปใช้ไคลเอนต์อย่างเป็นทางการเท่านั้น แต่ยังไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมว่าเป็นไอเดียของ Elon Musk ด้วยหรือไม่
ที่มา - The Information
Twitter มีปัญหาอีกแล้ว แต่คราวนี้เกิดขึ้นกับแอปไคลเอนต์ 3rd Party บางแอป พบปัญหาไม่สามารถใช้งาน โดยแอปที่มีรายงานว่าเจอปัญหาคือ Twitterific และ Tweetbot ขณะที่บางแอปพบปัญหาบางส่วนเช่น Fenix
แอปเหล่านี้ต้องเชื่อมต่อกับ Twitter ผ่าน API โดยข้อความที่แสดงระบุว่ามีปัญหาในการขอยืนยันการเชื่อมต่อ โดยบัญชีของทั้ง Tweetbot และ Twitterific ต่างบอกเหมือนกัน ว่าได้ติดต่อไปที่ Twitter แล้ว แต่ยังไม่ได้รับการตอบกลับถึงปัญหาดังกล่าว
บัญชีทางการของ Twitter, Twitter Support หรือ Elon Musk ก็ยังไม่ได้พูดถึงปัญหาดังกล่าว
ที่มา: The Verge
สองผู้ร่วมก่อตั้ง Twitter คือ Evan Williams และ Biz Stone เปิดบัญชี Mastodon แล้ว (ไล่เลี่ยกับ Medium ซึ่งเป็นบริษัทของทั้งสองคน เปิดเซิร์ฟเวอร์ Mastodon ของตัวเองชื่อ me.dm) โดย Stone โพสต์ว่าประสบการณ์ใช้งาน Twitter ช่วงหลังของเขาไม่ดีนัก เขาจึงมาลอง Mastodon ดูว่าเป็นอย่างไร
ส่วน Williams ให้สัมภาษณ์ว่าเขาสนับสนุนแนวคิดที่เปิดกว้าง เครือข่ายที่กระจายศูนย์ ซึ่งจะช่วยให้เกิดนวัตกรรมในยุคที่แพลตฟอร์มขนาดใหญ่มีอำนาจมากเกินไป เขาบอกว่าตอนนี้เราอยู่ในช่วงเวลาพิเศษที่ผู้คนกำลังมองหาทางเลือกใหม่ๆ
บัญชีของ Stone อยู่บน me.dm แล้ว ส่วน Williams ยังเป็นบัญชีบน mastodon.social และยังไม่ได้เปิดบน me.dm
พนักงานของ Twitter ที่สิงคโปร์ (ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก) ได้รับคำสั่งให้เคลียร์โต๊ะทำงานที่ตึก CapitaGreen และย้ายไปนั่งทำงานที่บ้านโดยไม่มีคำอธิบายใดๆ ทำให้เกิดการคาดเดาว่า Twitter จะปิดสำนักงานสาขาสิงคโปร์ ตามแนวทางการไม่จ่ายค่าเช่าของ Elon Musk
เว็บไซต์ Business Insider ยังรายงานว่าสำนักงานสาขาในประเทศอื่นๆ อีกจำนวนมาก เช่น ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ เม็กซิโก ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ อินเดีย จะถูกปิดในลักษณะเดียวกัน และให้พนักงานไปทำงานแบบรีโมทแทน
The New York Times รายงานว่าเมื่อเดือนธันวาคม Elon Musk ซีอีโอ Twitter ได้เสนอแผนสร้างรายได้ใหม่ โดยให้สร้างระบบประมูล Username ออนไลน์ ซึ่งจะดึงดูดผู้สนใจใช้ชื่อที่มีความต้องการสูง อย่างไรก็ตามไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าแผนงานดังกล่าวยังดำเนินงานอยู่หรือไม่ และชื่อแบบใดที่จะนำมาให้ประมูล
ปัจจุบันข้อกำหนดการใช้งาน Twitter ระบุว่าห้ามทำการซื้อ-ขาย Username แต่กระบวนการซื้อขายก็มีอยู่จริง การที่ Twitter จะสร้างระบบประมูลขึ้นมาเองก็ทำให้เป็นโอกาสสร้างรายได้นั่นเอง
ก่อนหน้านี้ Telegram ก็เพิ่งประกาศระบบประมูล Username โดยทำงานอยู่บนบล็อกเชน TON ที่ผู้ก่อตั้งเป็นผู้สนับสนุนอยู่
เดิมที Twitter มีวิธีการเรียงข้อความใน timeline 2 แบบคือ เรียงตามลำดับเวลา (Latest) และเรียงตามอัลกอริทึมแนะนำเนื้อหา (Home) ซึ่งผู้ใช้สามารถสลับไปมาได้ตามต้องการด้วยปุ่มรูปประกายดาวที่มุมขวาบน
ล่าสุด Twitter เปลี่ยนชื่อแท็บทั้งสองเป็น Following และ For You ตามลำดับ และเปลี่ยน UI จากปุ่มกดสลับ มาเป็นแท็บให้เห็นชัดๆ เหมือนแอพโซเชียลอื่นๆ (เช่น TikTok) และรองรับการนำ List มาแสดงในแท็บด้วย นอกจากนี้ยังเปลี่ยนมาเรียง timeline ตามอัลกอริทึมเป็นค่าดีฟอลต์ (เหมือนกับ Facebook)
การเปลี่ยนแปลงนี้เริ่มมีผลใน Twitter เวอร์ชัน iOS ก่อนเป็นอย่างแรก และเป็นส่วนหนึ่งของแผนการยกเครื่อง UI ที่จะตามมาอีกหลายอย่าง
Bloomberg รายงานข่าวว่า Twitter ยังปลดพนักงานออกอีกต่อเนื่อง โดยมีพนักงานอย่างน้อยสิบกว่าคนจากสำนักงานในสิงคโปร์และไอร์แลนด์ ถูกปลดออกเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา
พนักงานระดับสูงที่มีชื่อในข่าวคือ Nur Azhar Bin Ayob หัวหน้าฝ่ายนโยบายเนื้อหา (site integrity) ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และ Analuisa Dominguez หัวหน้าฝ่ายนโยบายรายได้ (revenue policy) นอกจากนี้ทีมที่ดูแลเรื่องข่าวปลอม และเนื้อหากลั่นแกล้ง สร้างความเกลียดชัง ที่เคยโดนปลดมาก่อนแล้ว ก็ถูกปลดเพิ่มอีก
Ella Irwin หัวหน้าฝ่าย Trust & Safety ยอมรับว่ามีการปลดจริง บอกว่าเป็นการปรับโครงสร้างทีมใหม่ และบอกว่าจะเพิ่มพนักงานฝ่ายรับคำร้องเรียน (appeal department) ให้มากขึ้นกว่าเดิม
แอปพลิเคชันโซเชียลมีเดีย Mastodon เผยตัวเลขผู้ใช้ลดลงกว่า 30% และยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องหลังจากมีผู้ใช้เพิ่มขึ้นสูงสุดเพราะผู้ใช้ย้ายมาจาก Twitter หลังมีประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Elon Musk โดยในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนนี้มีผู้ใช้ราว 1.8 ล้านรายขณะที่ในเดือนธันวาคมปีที่แล้วมีผู้ใช้กว่า 2.5 ล้านคน