ตอนนี้นักพัฒนาสาย Ubuntu กำลังประชุมระดมสมองเพื่อ Ubuntu 12.10 ที่งาน Ubuntu Developer Summit (UDS-Q) ข้อมูลที่น่าสนใจมีดังนี้
Ubuntu 12.10 จะออกรุ่นจริงในเดือนตุลาคมปีนี้
เดลล์นั้นมีท่าทีสนับสนุน Ubuntu เสมอมาแม้จะเริ่มถอนตัวไปในยุคหลัง แต่ล่าสุดความพยายามที่จะทำให้ Ubuntu เข้ากับเครื่องของเดลล์ได้ก็กลับมาอีกครั้งในโครงการ Sputnik ที่เป็น Ubuntu 12.04 รุ่นพิเศษที่ทำให้เข้ากับเครื่อง Dell XPS13 ได้ครบถ้วนเท่าที่เป็นไปได้
นอกจากจะเป็นเรื่องไดรเวอร์ที่ให้มาครบ (บางส่วนยังมีปัญหาอยู่) แล้วเครื่องรุ่นนี้จะออกชุดซอฟต์แวร์สำหรับนักพัฒนาโดยให้เลือกได้ว่าจะพัฒนาด้วยอะไรบ้าง เริ่มต้นจะมีชุดพัฒนา Ruby, Android, และ JavaScript
Ubuntu รุ่นหน้า 12.10 ที่เพิ่งได้โค้ดเนม Quantal Quetzal เข้าสู่กระบวนการพัฒนาเรียบร้อยแล้ว
แผนการพัฒนาของรุ่นนี้จะถูกเสนอในงานประชุม Ubuntu Developer Summit (UDS-Q) สัปดาห์หน้า แต่ในเบื้องต้น ทีมพัฒนาของ Ubuntu ได้ข้อตกลงดังนี้
เมื่อวันที่ 26 เมษายนที่ผ่านมา Ubuntu 12.04 ตัวจริงก็ได้ถูกปล่อยออกมาแล้ว วันนี้ผมขอมารีวิวสิ่งที่มีมาใหม่ใน Ubuntu 12.10 ตัวนี้ครับ
สิ่งที่เป็นจุดชูโรงของ Ubuntu รุ่นนี้คือ HUD และการปรับแต่งระบบอีกบางส่วน มาดูกันเลยครับ
โดยรวมแล้ว ลักษณะของ desktop เมื่อเปิดเครื่องมาครั้งแรกจะเป็นแบบนี้
(แอบเพิ่ม shortcut ด้านซ้ายไปแล้ว)
หลังจากให้แฟน ๆ Ubuntu ได้สัมผัสกับ Ubuntu 12.04 Precise Pangolin (อย่าสับสนกับ Quantal Quetzal) รุ่นเบต้าไปสักระยะใหญ่ ๆ วันนี้ก็ถึงกำหนดปล่อยเวอร์ชั่น LTS หรือ Long Term Support มาให้แฟน ๆ Ubuntu ได้ใช้ให้หายคิดถึงเสียที
ทิ้งหลังการประกาศกำหนดการพัฒนา Ubuntu 12.10 เพียงไม่กี่วัน Mark Shuttleworth ก็จัดการรวบรัดตั้งชื่อให้กับ Ubuntu เวอร์ชันที่ออกเดือนตุลาคมปีนี้แล้ว และตามธรรมเนียมรอบนี้ก็ถึงคิวของตัวอักษร Q
ชื่อทางการของ Ubuntu 12.10 อันสุดเจ๋ง (ในความคิดของ Mark Shuttleworth) ก็คือ Quantal Quetzal
Quetzal เป็นชื่อนกเขตร้อนสีสันสวยงามในวงศ์นกขุนแผน (Trogonidae) ชื่อเรียกนี้หมายความถึงนกในจีนัส Pharomachrus และ Euptilotis ถิ่นอาศัยอยู่ในเขต Neotropical (เขตร้อนของทวีปอเมริกา)
ออกมาแล้วสำหรับกำหนดการปล่อยของ Ubuntu 12.10 ที่มีโค้ดเนมสั้นๆ ว่า "Q" โดยทาง Canonical ได้เขียนตารางเอาไว้อย่างละเอียดใน Ubuntu wiki ทั้งนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากกำหนดการอยู่ในสถานะแบบร่างเท่านั้น
ในกำหนดการจะไม่มีเวอร์ชัน Release Candidate เช่นเคย คือหลังจากเวอร์ชัน Alpha และ Beta แล้วจะเข้าสู่รุ่นเต็มเลย มีกำหนดการดังนี้ครับ
ทีมงาน Ubuntu กำลังพิจารณากันว่าสุดท้ายแล้ว Ubuntu 12.04 Precise Pangolin ที่จะออกช่วงปลายเดือนนี้ จะใช้สถาปัตยกรรมแบบไหนเป็นหลักระหว่าง 32 หรือ 64 บิต (ข่าวเก่าเรื่องแผนการของ 12.04)
Mark Shuttleworth ประกาศว่าเอชพีได้ตัดสินใจรองรับ Ubuntu บนเครื่อง Proliant แล้ว โดยการใช้ Ubuntu จะไม่ทำให้ลูกค้าเสียซัพพอร์ตไป
การซัพพอร์ตตัวซอฟต์แวร์จะเป็นหน้าที่ของ Canonical ต่อไป และเซิร์ฟเวอร์เอชพีจะยังไม่มีการติดตั้ง Ubuntu มาให้แต่อย่างใด
ก้าวนี้อาจจะเป็นก้าวแรกของการก้าวเข้ามาในตลาดองค์กรของ Canonical ที่ตามรอยรุ่นพี่อย่าง Redhat แต่จะสำเร็จหรือไม่อาจจะต้องอาศัยความพยายามมากกว่าการรองรับแต่ไม่ได้ช่วยขายเช่นนี้
ที่มา - ExtremeTech
ทีมงานออกแบบของบริษัท Canonical เผยข้อมูลการสลับหน้าต่างแบบใหม่ที่เรียกว่า "Spread" ซึ่งคาดว่ามันจะเริ่มใช้ใน Ubuntu รุ่นหน้า 12.10
แนวคิดของ Spread จะคล้ายๆ กับ Expose ของ Mac OS X แต่ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว หลักการเบื้องต้นจะเหมือนกันคือ Spread จะแสดงภาพพรีวิวของหน้าต่างที่เปิดอยู่เรียงกันอย่างเป็นระเบียบ ความสามารถได้แก่
Ubuntu 12.04 เดินทางมาถึงรุ่น Beta 2 ซึ่งจะเป็นรุ่นสุดท้ายก่อนออกตัวจริงปลายเดือนเมษายน ของใหม่ได้แก่
Ubuntu 12.04 ออกรุ่น Beta 1 มาให้ทดสอบแล้ว ของใหม่ที่สำคัญในรุ่นนี้คือ เปลี่ยนเมนูบาร์เป็น HUD ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่ถูกวิจารณ์มาก (ต้องลองกันเองว่าสุดท้ายจะดีแค่ไหน)
จากข่าวก่อนหน้านี้ Canonical เปิดตัว Ubuntu for Android ที่มือถือสามารถรันระบบปฏิบัติการได้ 2 ตัวพร้อมกัน
หลายคนอาจนึกภาพไม่ออก ตอนนี้มีวิดีโอออกมาแล้วครับ จากวิดีโอจะเห็นว่าโหมด Ubuntu สามารถรันแอพจาก Android ได้ด้วย และแชร์ข้อมูลระหว่างกันได้ เช่น สมุดที่อยู่ ภาพถ่าย ไฟล์เพลง
ที่มา - OMG Ubuntu
บริษัท Canonical ผู้ผลิต Ubuntu ประกาศโครงการใหม่ Ubuntu for Android แล้ว โดยหลักแล้วมันคือ Ubuntu รุ่น ARM ที่ออกแบบมาเพื่อรันคู่ไปกับ Android โดยมันไม่ใช่เพียงแค่ระบบดูอัลบูตแบบเดิมๆ แต่ระบบเดสก์ทอปของ Ubuntu จะรันไปพร้อมๆ กับ Android ได้ในเวลาเดียวกัน
เรื่องที่น่าสนใจมากคือฟีเจอร์ของ Ubuntu for Android นี้จะกลืนเป็นเนื้อเดียวกับโทรศัพท์ เช่นเมื่อสายเข้าก็จะมีการแจ้งเตือนขึ้นมา รวมถึงความสามารถในการรันแอพพลิเคชั่นของ Android บนเดสก์ทอป ข้อได้เปรียบของการใช้เดสก์ทอปนอกจากเรื่องของหน้าจอที่มีขนาดใหญ่แล้ว ยังได้โปรแกรมเต็มๆ อย่าง Chromium, VLC, PiTiVi, และ Shotwell เป็นต้น
แน่นอนว่าการเปิดตัว OS X 10.8 จะต้องดึงความสนใจจากหลายๆ คนได้ และนอกจากชื่อใหม่แล้วก็มีคุณสมบัติใหม่ๆ ที่มาเป็นตัวชูโรงคล้ายกับ iPhone 4S ที่มี Siri ในกรณีของ OS X รุ่นล่าสุดนี้ก็มีตัวชูโรงเช่น iCloud, Messages, Notification Center ฯลฯ
แต่คงเป็นที่ทราบกันดีว่าไม่ใช่แอปเปิลเท่านั้นที่สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ เพราะ Ubuntu ก็เป็นอีกระบบปฏิบัติการหนึ่งที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ มาให้ลองใช้และลองชมอยู่เสมอ วันนี้ทาง OMG! Ubuntu ได้เรียบเรียงสามฟีเจอร์ที่มีอยู่แล้วใน Ubuntu มาให้ชมกัน และผมขอสรุปเป็นหัวข้อดังนี้ครับ
หลายๆ ท่านคงพออนุมานได้ว่า Ubuntu น่าจะเป็นดิสโทรที่มีการปรับเปลี่ยนมากเป็นอันดับต้นๆ ในการอัพเดตแต่ละเวอร์ชัน และหลังจากทีมออกแบบของ Canonical เปิดรับธีมเสียงล็อกอินใหม่สำหรับ Ubuntu 12.04 จากบุคคลทั่วไป ในที่สุดทีมก็ได้คัดเสียงที่เข้ารอบล่าสุดมาสี่ตัวเลือกด้วยกัน
และตอนนี้ทีมออกแบบต้องการผลสำรวจว่าเสียงแบบใดจะเหมาะกับผู้ใช้งานมากที่สุด โดยการสำรวจจะใช้วิธีเลือกตัวเลือกตามความรู้สึกรวมถึงขอความเห็น หลังจากนี้ทางทีมจะคัดเลือกมาเพียงหนึ่งแบบและปรับแต่งให้เข้ากับการใช้งานต่อไป ซึ่งจะนำไปใช้จริงใน Ubuntu 12.04 อย่างแน่นอน
หลังจากเพิ่งเป็นข่าวไปไม่นานว่าจะเลิกใช้เมนูบาร์แล้วเปลี่ยนมาเป็น HUD แทน ล่าสุด Unity ได้มีฟังก์ชันใหม่ที่เรียกว่า Locally Integrated Menus หรือ LIM โดยจะปรับจากเมนูบาร์แบบเก่ากลายเป็น drop-down menu และมีเมนูย่อยๆ ลงไปอีก โดยบริเวณในการเรียกเมนูจะอยู่ที่พาเนลด้านบนในด้านหน้าของส่วนแสดงชื่อแอพพลิเคชัน ถ้านึกไม่ออกสามารถชมภาพได้ท
จากข่าวก่อนหน้านี้ ความนิยม Ubuntu ร่วง Linux Mint กลายเป็นดิสโทรยอดนิยม ซึ่งกระบวนการวัด "ความนิยม" อาจไม่สะท้อนสภาพความเป็นจริงเท่าไรนัก เพราะวัดข้อมูลจากคนเข้าหน้าเว็บของดิสโทรแต่ละตัวบนเว็บ DistroWatch เท่านั้น
บริษัท Canonical ประกาศดิสโทรพิเศษสำหรับตลาดองค์กร ในชื่อ Ubuntu Business Desktop Remix
อย่างไรก็ตาม Business Desktop Remix ไม่ได้เป็นดิสโทรใหม่ แต่เป็นการ remix หรือปรับแพกเกจของ Ubuntu เดิม (อิงอยู่บน 11.10) ให้มีแพกเกจของซอฟต์แวร์ที่จำเป็นในภาคธุรกิจ อย่างเช่น Flash, OpenJDK, VMware View และตัดแพกเกจด้านความบันเทิง เกม เครื่องมือพัฒนาซอฟต์แวร์ โซเชียลเน็ตเวิร์ค ฯลฯ ออกไปจากดิสโทร
Canonical อธิบายว่าแพกเกจทุกอย่างที่อยู่ใน Ubuntu Business Desktop สามารถดาวน์โหลดได้จาก Software Centre ทำให้มันมีสถานะเป็นแค่ "Remix" เท่านั้น ไม่ได้แยกเป็นดิสโทรใหม่เหมือนกับที่ Red Hat ทำกับ RHEL
ทีมพัฒนา Ubuntu ได้ตัดสินใจตัดฟีเจอร์ dodge ออกจาก Unity Launcher ในเวอร์ชัน 12.04 ทั้งจากการเป็นรูปแบบตั้งต้น และจากการเป็นตัวเลือกด้วย
dodge เป็นพฤติกรรมของ Launcher ที่ซ่อนตัวเองเมื่อมีหน้าต่างอื่นเข้ามาซ้อนทับหรือเปิดเต็มหน้าจอ (คนละอันกับ auto-hide ที่ยังคงมีอยู่)
Mark Shuttleworth อธิบายใน mailing list ว่า ผลการทดสอบจากผู้ใช้แสดงให้เห็นว่า วิธี dodge นั้นสร้างความสับสน แม้ว่าเขาจะชอบไอเดียนี้ในตอนแรกก็ตาม
พฤติกรรมตั้งต้นของ Launcher จะเปลี่ยนเป็นแบบไม่มีการซ่อน (not hide) แทน และตัวเลือก dodge ก็จะถูกนำออกจาก CompizConfig Settings Manager ด้วย เพื่อรักษาขนาดของโค้ดให้กระช้บ
Canonical ประกาศหยุดให้การสนับสนุน "เป็นตัวเงิน" แก่โครงการ Kubuntu แล้ว
kubuntu เป็นโครงการพี่น้องของ Ubuntu แต่เลือกใช้ KDE แทน GNOME ซึ่งที่ผ่านมาบริษัท Canonical สนับสนุนโครงการนี้โดยจ่ายเงินเดือนให้ Jonathan Riddell นักพัฒนาหลักของโครงการนี้เป็นเวลา 7 ปีแล้ว
อย่างไรก็ตาม Jonathan Riddell เพิ่งโพสต์ผ่านเมลกลุ่มของ Kubuntu ว่า Canonical หยุดให้เงินสนับสนุนตัวเขาแล้ว เนื่องจาก Kubuntu ไม่ประสบความสำเร็จในเชิงธุรกิจเหมือนกับ Ubuntu
โครงการ Kubuntu จะยังอยู่ต่อไป เพียงแต่ Canonical จะสนับสนุนเซิร์ฟเวอร์และทรัพยากรอื่นๆ แทน (เช่นเดียวกับ Xubuntu หรือ Lubuntu ในปัจจุบัน) ดังนั้นถ้าแฟนๆ อยากใช้ก็ต้องช่วยกันทำเอง
ฟีเจอร์ "Notes" ของ Ubuntu One เป็นฟีเจอร์ที่ช่วยให้เราสามารถซิงค์บันทึกที่เราจดไว้ได้ผ่านบริการของ Ubuntu One sync ซึ่งเราสามารถเพิ่ม, อ่าน, แก้ไขบันทึกได้ผ่านโปรแกรมจดบันทึก เช่น Tomboy หรือ ผ่านจากหน้า web interface ของ Ubuntu One โดยตรง
แต่หลังจากวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2012 เป็นต้นไป ฟีเจอร์ Notes ใน web interface ของ Ubuntu One จะถูกถอดออก เนื่องจากทีมดูแลของ Ubuntu One ยังมีงานที่ต้องทำในปี 2012 อีกเยอะ จึงเห็นว่าคงจะไม่มีแรงและเวลาพอในการดูแลและปรับปรุง Notes เวอร์ชันเว็บให้ดีขึ้นได้
Mark Shuttleworth ออกมาเผยแผนการล่าสุดของ Ubuntu 12.04 LTS ที่จะตัด "เมนูบาร์" ที่เราคุ้นเคยกันมานานนับสิบปีออกไป
Ubuntu รุ่นก่อนๆ หน้านี้เปลี่ยนมาใช้ระบบ Global Menu หรือเมนูบาร์อยู่ด้านบนสุดของหน้าจอตลอดเวลา (แบบเดียวกับ Mac OS X) แต่นั่นเป็นเพียง "ขั้นแรก" ของแผนการปฏิรูประบบเดสก์ท็อปของ Ubuntu เท่านั้น เพราะในรุ่น 12.04 LTS เมนูบาร์อันนี้จะถูกนำออกไปเสียแล้ว
สิ่งที่เข้ามาแทนมีชื่อเรียกว่า HUD หรือ head-up display ซึ่งจะเป็น dialog ที่โผล่ขึ้นมาเวลาเราพิมพ์ข้อความใดๆ บนหน้าจอ โดย dialog นี้จะแสดงเมนูที่เกี่ยวข้องกับตัวอักษรที่เราพิมพ์ลงไป (อธิบายเป็นข้อความยาก แต่ดูภาพประกอบน่าจะเข้าใจกันทุกคน)
Jane Silber ซีอีโอหญิงของ Canonical ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ TechWorld ของออสเตรเลียในหลายประเด็น ที่น่าสนใจที่สุดคงเป็นแผนการของ Ubuntu เกี่ยวกับแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟน
จากที่มีข่าวแพลมออกมาล่วงหน้าระยะหนึ่ง ที่งาน CES 2012 บริษัท Canonical ก็เปิดตัว Ubuntu TV เป็นที่เรียบร้อย
หน้าตาของ Ubuntu TV ช่วยเฉลยให้เรารู้ว่าความตั้งใจของ Unity คืออะไรกันแน่ เพราะมันยกอินเทอร์เฟซ Dash และ Unity มาเลย ส่วนความสามารถก็เหมือนพวก media center ทั่วๆ ไปคือเล่นหนัง รายการทีวี และบันทึกรายการทีวี (DVR) ได้
ฟีเจอร์อื่นๆ ที่เพิ่มเข้ามาคือเชื่อมต่อกับแอพมือถือ (iOS, Android) และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ติดตั้ง Ubuntu ได้, เรียกไฟล์จาก Ubuntu One และลงแอพจาก Ubuntu Software Center