The Wall Street Journal รายงานว่า Brian Roberts ผู้บริหาร Comcast ซึ่งเป็นเจ้าของ NBCUniversal ที่มีบริการวิดีโอสตรีมมิ่ง Peacock กำลังพิจารณาร่วมมือกับ ViacomCBS หรืออาจซื้อกิจการ Roku เพื่อเสริมบริการสตรีมมิ่งให้แข็งแกร่งมากขึ้น
บริการสตรีมมิ่ง Peacock เริ่มให้บริการในอเมริกาตั้งแต่กลางปีที่แล้ว มีจำนวนผู้สมัครใช้งาน 42 ล้านคน แต่มีผู้ใช้งานที่เสียเงินน้อยกว่า 10 ล้านคน ซึ่งเป็นตัวเลขที่น้อยเมื่อเทียบกับคู่แข่งสตรีมมิ่งรายใหญ่ในตลาดอย่าง Netflix หรือ Disney+ ทั้งนี้ตัวแทนของ Comcast, ViacomCBS และ Roku ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นต่อข่าวดังกล่าว
คดีเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ที่ YouTube ถูก Viacom ฟ้องนั้นอยู่ระหว่างกระบวนการชั้นศาลมานานถึง 7 ปี วันนี้คดียุติแล้วเพราะกูเกิลกับ Viacom เจรจาหาทางออกกันลงตัวในที่สุด
หลังจากกูเกิลออก Google TV เราก็เห็นข่าวว่าสถานีต่างๆ ปิดกั้นไม่ให้ Google TV เล่นวิดีโอบนเว็บไซต์ของตัวเองได้ โดยเริ่มจาก ABC, NBC และ CBS ตามด้วย FOX และ Hulu
ล่าสุดบริษัท Viacom ซึ่งเป็นเจ้าของเคเบิลทีวีรายใหญ่ของสหรัฐ ก็ปิดกั้นไม่ให้ดูช่อง Comedy Central, MTV, VH1 และ Nickelodeon ผ่าน Google TV แล้ว (Viacom มีคดีเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์กับ YouTube อยู่ก่อนแล้วด้วย)
จากนี้ไปก็เป็นหน้าที่ของกูเกิลแล้ว ที่จะต้องไล่เจรจากับบริษัทสื่อเหล่านี้ เพื่อยกเลิกการบล็อค Google TV
เกมดนตรีที่เคยบูมอีกครั้งเมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมา ภายใต้การนำของ Guitar Hero และ Rock Band กลับหมดความนิยมลงอย่างรวดเร็ว และมียอดขายดิ่งลงเหว
ในปี 2008 เกมดนตรีมียอดขายรวมเกือบ 1.6 พันล้านดอลลาร์ ตัวเลขนี้ลดลงเหลือประมาณ 870 ล้านดอลลาร์ในปี 2009 และในปีนี้มียอดขายประมาณ 400 ล้านดอลลาร์เท่านั้น นักวิเคราะห์มองว่าตลาดเกมดนตรีเริ่มอิ่มตัวแล้ว ทำให้ยอดขายแผ่นเกมลดลง และบางส่วนเปลี่ยนไปทำเงินจากการขายเนื้อหาในเกม (DLC) แทน
ในรายงานผลประกอบการไตรมาสสอง ของกูเกิลปีนี้ Patrick Pichette CFO ของกูเกิลได้เปิดเผยว่ามีการใช้จ่ายเงินถึงหนึ่งร้อยล้านดอลลาร์ในการสู้คดีที่ Viacom เรียกค่าเสียหายหนึ่งพันล้านดอลลาร์ในกรณีที่กูเกิลเพิกเฉยต่อการละเมิดลิขสิทธิ์บน YouTube
แม้กูเกิลจะชนะคดีนี้ไปแล้ว แต่ทาง Viacom ก็กำลังจะยื่นอุทธรณ์ ดังนั้นค่าใช่จ่ายของกูเกิลในคดีนี้อาจจะไม่จบที่หนึ่งร้อยล้านดอลลาร์
น่าสนใจว่าถ้ากูเกิลจ่ายค่าทนายไปหนึ่งร้อยล้านดอลลาร์ แล้วทาง Viacom จ่ายไปเท่าไหร่ ?
ที่มา - TechCrunch
หลังจากเป็นคดียืดเยื้อมาตั้งแต่ปี 2007 การสู้รบทางกฏหมายระหว่างยักษ์ใหญ่แห่งอินเทอร์เน็ตและยักษ์แห่งวงการสื่อก็จบยกแรก เมื่อผู้พิพากษา Louis Stanton สั่งยกฟ้องการเรียกค่าเสียหายจากกูเกิลมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์
คำพิพากษาได้อ้างถึงพฤติกรรมหลายอย่างของกูเกิลที่ทำให้การที่กูเกิลตระหนักว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์บน YouTube นั้นไม่เพียงพอต่อการเอาผิดจากกูเกิล เช่น เมื่อ Viacom แจ้งว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์วีดีโอกว่า 100,000 ไฟล์ เกือบทั้งหมดก็ถูกลบออกจากระบบภายในเวลาเพียง 24 ชั่วโมง
กูเกิลระบุว่านี่เป็นชัยชนะของผู้ให้บริการทุกคน ว่าจะได้รับการคุ้มครองในฐานะผู้ให้บริการตามกฏหมายสหรัฐฯ ส่วนทาง Viacom นั้นก็บอกว่าบริษัทจะยื่นอุทธรณ์เร็วๆ นี้
สามปีหลังจาก Viacom ฟ้องกูเกิลฐานละเมิดลิขสิทธิ์วีดีโอผ่านทาง YouTube เป็นเงิน 1 พันล้านดอลลาร์เมื่อปี 2007 เมื่อสำนวนได้รับการเปิดเผยออกมาสู่สาธารณะ กูเกิลก็เดินหน้า "แฉ" ทันที
ชื่อ Viacom นั้นอาจจะไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก แต่ Viacom คือเจ้าของบริษัท Paramount Pictures และช่องเคเบิลอื่นๆ เช่น MTV และ VH1
กูเกิลระบุว่า Viacom นั้นจ้างตัวแทนไม่ต่ำกว่า 18 บริษัทเพื่อโพสวีดีโอลงบน YouTube บ่อยครั้งที่อีกฝ่ายของ Viacom เองมาแจ้งให้ YouTube เอาวีดีโอนั้นออกจากเว็บ และจบลงด้วยการที่ฝ่ายที่โพสมาขอให้ YouTube เอาวีดีโอขึ้นอีกครั้ง รวมทั้งวีดีโอบางอันในคำฟ้องเอง
Viacom เจ้าของช่องโทรทัศน์ MTV ยื่นฟ้อง YouTube เรียกค่าเสียหายจำนวน 1 พันล้านดอลลาร์ (เทียบค่าเงินตอนนี้ ก็ประมาณ 3.3 หมื่นล้านบาท) โดยข้อหาที่ Viacom เอามาเล่นงานคือบอกว่า YouTube มีคลิปที่ละเมิดสิทธิ์ของ Viacom จำนวน 160,000 คลิป และมีผู้เข้าชมมากกว่า 1.5 พันล้านครั้ง
กฎหมายลิขสิทธิ์ของอเมริกา อนุญาตให้เรียกร้องค่าเสียหายได้ตั้งแต่ 750 ถึง 150,000 ดอลลาร์ต่อการถูกละเมิด 1 ครั้ง
ที่มา - Mashable, TechCrunch