หลังจากเป็นคดียืดเยื้อมาตั้งแต่ปี 2007 การสู้รบทางกฏหมายระหว่างยักษ์ใหญ่แห่งอินเทอร์เน็ตและยักษ์แห่งวงการสื่อก็จบยกแรก เมื่อผู้พิพากษา Louis Stanton สั่งยกฟ้องการเรียกค่าเสียหายจากกูเกิลมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์
คำพิพากษาได้อ้างถึงพฤติกรรมหลายอย่างของกูเกิลที่ทำให้การที่กูเกิลตระหนักว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์บน YouTube นั้นไม่เพียงพอต่อการเอาผิดจากกูเกิล เช่น เมื่อ Viacom แจ้งว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์วีดีโอกว่า 100,000 ไฟล์ เกือบทั้งหมดก็ถูกลบออกจากระบบภายในเวลาเพียง 24 ชั่วโมง
กูเกิลระบุว่านี่เป็นชัยชนะของผู้ให้บริการทุกคน ว่าจะได้รับการคุ้มครองในฐานะผู้ให้บริการตามกฏหมายสหรัฐฯ ส่วนทาง Viacom นั้นก็บอกว่าบริษัทจะยื่นอุทธรณ์เร็วๆ นี้
เมื่อต้นปีที่ผ่านมากูเกิลได้เปิดเผยว่า Viacom นั้นได้โพสวีดีโอบางส่วนด้วยตัวเองหรือผ่านบริษัทนายหน้า
ที่มา - USA Today
Comments
กรณีคุ้มครองลิขสิทธิ์ส่วนตัวผมว่ายังมีช่องโหว่อยู่เยอะเกิน
คือดูแลแต่เจ้าของ แต่ไม่ได้คุ้มครองกรณีเจ้าของเหลี่ยมจัดเท่าที่ควร
ยกตัวอย่างกรณีสิทธิบัตรจดส่วนยิบย่อยได้ซักตัวก็กินกันยาวๆ ชวนให้คิดว่ามันถูกต้องจริงรึเปล่า - -'
คิดจะฟ้องกูเกิลเหรอ?
แรงอะ 55+
อ่านท้ายข่าว แล้วนึกถึงตำรวจประเทศสารขัณฐ์กับร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ = =
Achievement Unlocked: Being a Blognone's Writer
+1
ระลอกใหม่ประจำปี กำลังจะเริ่มขึ้นอีกแล้ว
WE ARE THE 99%