หลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรงในไทยเมื่อปลายปีที่แล้ว ทำให้ Toshiba ตัดสินใจย้ายสายการผลิตฮาร์ดดิสก์ที่อยู่ในไทยทั้งหมดไปที่ฟิลิปปินส์แทน พร้อมทั้งขายโรงงานผลิตฮาร์ดดิสก์ที่อยู่ในไทยทั้งหมดให้กับ Western Digital โดยมีการประกาศอย่างเป็นทางการจาก Toshiba เมื่อวานนี้และคาดว่าจะดำเนินการเสร็จสิ้นในปลายเดือนมีนาคม รายละเอียดในสัญญาคือ Western Digital จะต้องให้เครื่องมือและเทคโนโลยีในการผลิตฮาร์ดดิสก์ขนาด 3.5" (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ได้มาจากการซื้อ Hitachi GST ที่มีมูลค่ารวม 4,300 ล้านเหรียญสหรัฐของ Western Digital เมื่อปีที่แล้ว) กับ Toshiba
Seagate และ Western Digital เตรียมจะปรับลดระยะเวลาการรับประกันสินค้าของตน โดย Seagate จะรับประกันฮาร์ดดิสก์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและวางตักส่วนใหญ่เพียง 1 ปี และส่วนที่เหลือจะรับประกันเพียง 3 ปี จากที่เคยเป็น 5 ปี นับแต่ตั้งวันที่ 31 ธันวาคม 2554 เป็นต้นไป
สำหรับ Western Digital จะลดระยะเวลาการรับประกันสำหรับสินค้า 3 กลุ่ม — Caviar Blue, Caviar Green, และ Scorpio Blue — จาก 3 ปี เหลือเพียง 2ปี นับจากวันที่ 2 มกราคมเป็นต้นไป ส่วนสินค้าอื่น ๆ จะไม่ได้รับผลกระทบนี้ครับ
รายงานล่าสุดของสถานะการณ์น้ำท่วมของไทยที่บางปะอิน ทาง Western Digital ระบุว่าเริ่มเดินเครื่องแล้วหลังจากโรงงานจมน้ำตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยโรงงานที่บางปะอินนั้นมีการสูบน้ำจนแห้งมาตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายนที่ผ่าน และซ่อมแซมเสร็จในวันที่ 26 เดินเครื่องได้วันที่ 30 ที่ผ่านมา
เครื่องจักรที่จมน้ำไปนั้นทาง Western Digital ได้ย้ายเครื่องไปตรวจสอบ, ล้าง, และกู้สภาพ โดยน่าจะนำกลับมาใช้ได้ช่วงเดือนมีนาคมปีหน้า ส่วนที่โรงงานนวนครนั้นยังคงจมน้ำอยู่ ทางนิคมอุตสาหกรรมคาดว่าจะใช้เวลาอีก 10 วันในการสูบน้ำออกและเริ่มกระบวนการกู้โรงงานในแบบเดียวกัน
กระบวนการทั้งหมดคาดว่าจะทำให้ฮาร์ดดิสก์ขาดตลาดไป 50 ถึง 60 ล้านชุด จนถึงไตรมาสที่สองของปี 2012
ซีอีโอของ Western Digital ออกเตือนผู้ลงทุนว่าผลกระทบของน้ำท่วมในไทยนั้นกระทบต่อ Western Digital มากกว่าผู้ผลิตรายอื่นๆ โดยส่งผลกระทบต่อกระแสเงินสดของบริษัท 375 ล้านถึง 475 ล้านดอลลาร์ ไม่นับค่าเสียหายแบบครั้งเดียว เช่น ค่าซ่อมแซมและค่าเปลี่ยนเครื่องจักร
Western Digital ระบุว่าบริษัทยังมีสต็อกสินค้าให้พอผ่านเดือนธันวาคมนี้ไปได้ "อย่างจำกัด" แต่ปัญหาหนักคือปีหน้า โดยบริษัทจะต้องแก้ปัญหาต่อไปโดยตอนนี้เตรียมโยกสายการผลิตไปยังโรงงานในมาเลเซียและฟิลิปปินส์
ส่วนราคานั้น ผลกระทบในประเทศไทยจะทำให้ต้นทุนด้านลอจิสติกส์สูงขึ้น การสั่งสินค้าจำนวนมากๆ เพื่อให้ได้ราคาถูกจะทำไม่ได้เช่นเดิม ส่งผลให้ราคารวมสูงขึ้น
มีรายงานว่าขณะนี้สายการผลิตฮาร์ดดิสก์ของผู้ผลิตหลักทั้ง 4 รายอย่าง Western Digital, Seagate, Hitachi และ Toshiba กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักเนื่องจากปัญหาน้ำท่วมในประเทศไทย หลายโรงงานต้องหยุดการผลิตชั่วคราว ส่วนโรงงานที่ยังผลิตได้ก็ประสบปัญหาการตัดกระแสไฟฟ้าและเส้นทางขนส่งที่ตัดขาด ตลอดจนโรงงานซัพพลายเออร์ก็ล้วนหยุดสายการผลิตเช่นกัน ทั้งนี้ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ทุกรายต่างพยายามสต็อกสินค้าคงคลังไว้ให้มากที่สุด เนื่องจากไตรมาสสุดท้ายของปีเป็นช่วงที่มียอดขายสูงสุด
ช่วงต้นปีนี้ ยักษ์ใหญ่ของวงการ์ฮาร์ดดิสก์ทั้ง Seagate และ Western Digital ต่างควบกิจการผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์รายเล็กเข้ามา ย้อนข่าวเก่า
การควบกิจการทั้งสองกรณีทำให้ Seagate และ Western Digital กลายเป็นผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์รายใหญ่มากของตลาด (40% และ 50% ตามลำดับ) แต่เรื่องก็ไม่ง่ายขนาดนั้น เพราะคณะกรรมการยุโรปกำลังเข้าสอบสวนการซื้อกิจการทั้งสองกรณี ว่าเข้าข่ายผูกขาดตลาดหรือไม่
วงการสื่อเก็บข้อมูลถึงคราวสะเทือนอีกครั้ง เมื่อยักษ์ใหญ่อย่าง Western Digital เข้าซื้อกิจการ Hitachi GST (ย่อมาจาก Hitachi Global Storage Technologies) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Hitachi ที่ผลิตฮาร์ดดิสก์ (ซึ่งเคยเป็นฝ่ายฮาร์ดดิสก์ของ IBM มาอีกทีหนึ่ง)
การเข้าซื้อครั้งนี้มีมูลค่า 4.25 พันล้านดอลลาร์ แบ่งเป็นเงินสด 3.5 พันล้านดอลลาร์ ที่เหลือเป็นหุ้นของ Western Digital
หลังจากก่อนหน้านี้ Seagate บริษัทผลิตฮาร์ดดิสก์ได้รับข้อเสนอจากกลุ่มนักลงทุน TPG Capital ขอซื้อกิจการ โดยข้อเสนอมีมูลค่าราว 7.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ล่าสุด Seagate ได้ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าวแล้ว โดยให้เหตุผลว่าข้อเสนอนี้ไม่น่าสนใจสำหรับบริษัทและผู้ถือหุ้นปัจจุบัน
ช่วงหลังๆ นี้เครื่องเล่นไฟล์ HD คงจะได้รับความนิยมกันมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เครื่องเล่นรุ่นยอดนิยมราคาประหยัดก็มักจะไม่มีฮาร์ดดิสก์ในตัวแต่ให้ต่อกับ USB กันเองขณะที่เครื่องเล่นที่มีฮาร์ดดิสก์ในตัวก็มักจะมีราคาแพง แต่เราอาจจะมีความหวังใหม่กับเจ้า WD Elements Play ของ Western Digital
WD Elements Play มีฮาร์ดดิสก์ในตัวสองขนาดคือ 1TB และ 2TB ติดตั้งมาในตัว พร้อมๆ กับการรองรับอุปกรณ์ภายนอกผ่าน USB จุดน่าสนใจที่สุดของมันคงเป็นเรื่องราคาเพราะสินค้าในตระกูล Elements นั้นมักจะเป็นรุ่นประหยัด แต่ในตอนนี้ยังไม่มีการยืนยันราคาจากทาง Western Digital แต่อย่างใด
หลังจากเบียดกันอยู่นาน Western Digital ก็ขึ้นแท่นอันดับหนึ่งของวงการได้เป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี โดยไตรมาสแรกของปีนี้ Western Digital ทำยอดขายได้ 51.1 ล้านชุด มีส่วนแบ่งตลาด 31.3% ขณะที่ Seagate ทำได้ 50.3 ล้านชุด อยู่ที่ 30.9%
ส่วนแบ่งของแบรนด์อื่นๆ ที่เหลือได้แก่ Hitachi 17.6%, Toshiba/Fujitsu 10.7%, และ Samsung 9.5%
ผมยังจำได้แม่นว่าคำขวัญของ Western Digital นั้นคือ "Put Your Life On It" ไม่รู้ว่ามีใครฝากชีิวิตไว้กับฮาร์ดดิสก์จริงๆ กันมั๊ย?
ที่มา - Fudzilla
Western Digital เปิดตัวฮาร์ดดิสก์ขนาดใหญ่ขึ้นสำหรับคอมพิวเตอร์แล็ปท็อป ในรุ่น Scorpio Blue ที่สองขนาดคือ 1 TB และ 750 GB ซึ่งเชื่อมต่อได้แบบ SATA2 (3Gbps) มาพร้อมคุณสมบัติคือบัฟเฟอร์ 8Mb ความเร็วรอบ 5,200 rpm ซึ่งช้ากว่าปกติที่หมุนอยู่ที่ 5,400 การเพิ่มนี้ทำให้ความจุสูงสุดของฮาร์ดดิสก์ 2.5 นิ้วไล่ตามขนาดสูงสุด 3.5 นิ้วที่ 2 TB เข้ามาอีก
จุดที่ยังต้องคำนึงคือฮาร์ดดิสก์ทั้งสองรุ่นจะมาพร้อมความหนากว่าเดิม 3 มิลลิเมตร (เดิม 9.5 เพิ่มเป็น 12.5) ทำให้อาจใช้ไม่ได้กับสล็อตบางขนาด ราคาขายที่ตั้งไว้อยู่ที่ $190 (6,500 บาท) สำหรับ 750 GB และ $250 (8,500 บาท) สำหรับขนาด 1 TB
ที่มา: CNET
โลกทั้งโลกคงเริ่มเห็นทางตันของฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุนอยู่ไกลๆ กันบ้างแล้วจากการเข้ามามีบทบาทของ SSD มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในเน็ตบุ๊กและเซิร์ฟเวอร์ บริษัทผลิตฮาร์ดดิสก์อย่าง Western Digital จึงต้องหาทางออกให้ตัวเองเอาไว้ด้วยการซื้อกิจการ SiliconSystems เข้ามาเป็นแผนกของตัวเองด้วยราคา 65 ล้านดอลลาร์
การเข้าซื้อเป็นการซื้อแบบจ่ายเงินสด ทำให้บริษัท SiliconSystems กลายเป็น WD Solid-State Storage Business Unit ในทันที
สินค้าจากแผนกใหม่นี้จะมุ่งเน้นลูกค้าในระดับองค์กร งานทางการแพทย์และการทหารเป็นหลัก (คงเพราะมันแพง...)
ผมว่าอีกไม่นานสงครามราคาคงเริ่มเกิดกัน
Western Digital เปิดตัวฮาร์ดดิสก์ที่ก้าวขึ้นไปยังความจุอีกขีดขั้นหนึ่ง ด้วยรุ่น Caviar Green ขนาด 3.5 นิ้ว มาพร้อมความจุ 2TB โดยมาพร้อมความสามารถในการปรับความเร็วรอบการหมุน ระหว่าง 7200rpm กับ5400rpm เพื่อการประหยัดพลังงาน รายละเอียดเพิ่มเติมก็มีอินเตอร์เฟซแบบ SATA 3.0Gb/s และแคช 32Mb
หากย้อนกลับไป ความจุฮาร์ดดิสก์ที่ก้าวสู่เขตเทอราไบต์นั้นเริ่มต้นที่ ฮิตาชิกับ1TB ตามด้วย ซีเกทกับ1.5TB
ราคาขายตามแหล่งข่าวคือ 377.80 ดอลล่าร์ออสเตรเลีย หรือประมาณ 8700บาท
บริษัท Fujitsu ยอมรับว่ากำลังอยู่ในช่วงเจรจาเพื่อขายธุรกิจส่วนการผลิตฮาร์ดดิสก์ โดยอาจจะขายให้กับ Western Digital เนื่องจากบริษัทประสบปัญหาจากการไม่ทำกำไรในธุรกิจส่วนนี้ ซึ่งรวมแล้วคิดเป็นมูลค่ากว่าร้อยล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตามทาง Western Digital ยังไม่ได้ออกมาแสดงความเห็นใดๆขณะนี้
นอกจากนี้ Fujitsu เองก็ยังเตรียมขายธุรกิจฮาร์ดแวร์อีกตัวคือ Fujitsu Siemens Computers ในส่วนที่ทำการจัดจำหน่ายคอมพิวเตอร์ค้าปลีก โดยมีตลาดหลักอยู่ที่ยุโรป โดยคาดหมายว่า Lenovo จะเป็นผู้เข้ามาซื้อกิจการนี้ไป แต่เช่นเดียวกัน Lenovo ยังไม่ออกมาแสดงความเห็นใดๆขณะนี้
Western Digital กำลังพัฒนาฮาร์ดดิสก์ความเร็ว 20,000 รอบต่อนาที เนื่องจากโดนแรงกดดันจากเทคโนโลยี SSD ที่กำลังได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ
นักวิเคราะห์คาดว่า SSD น่าจะถูกลงถึงระดับที่ใช้งานกันแพร่หลายภายใน 12-18 เดือนข้างหน้า ดังนั้นผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์อย่าง Western Digital จึงต้องรีบพัฒนาเทคโนโลยีเก็บข้อมูลที่ทัดเทียมกัน โดยอาศัยขนาดและราคาของฮาร์ดดิสก์ที่ดีกว่า แล้วเพิ่มด้านความเร็วในการอ่าน-เขียนข้อมูลขึ้นไปอีก
รายละเอียดของฮาร์ดดิสก์ 20,000 RPM ที่มีในตอนนี้คือ หน้าตาเหมือนไดรฟ์ VelociRaptor ที่ขายอยู่ในปัจจุบัน มีทั้งแบบ 2.5 และ 3.5 นิ้ว ที่น่าสนใจที่สุดคงเป็นตัวไดรฟ์จะเงียบมาก แม้ว่าหมุนด้วยความเร็วสูงก็ตาม กำหนดเปิดตัวและวางขายยังไม่ระบุครับ