หลังจากสัปดาห์นี้มีข่าวว่าฮาร์ดดิสก์หลายรุ่นถูกเปลี่ยนเทคโนโลยีการอ่านเขียนจาก CMR แบบเดิมๆ กลายเป็น SMR ที่ต้นทุนถูกกว่า ล่าสุดทาง Western Digital ก็ออกมาเปิดเผยข้อมูลว่าดิสก์รุ่นใดเป็น SMR บ้าง
ตารางรายชื่อรุ่นของ Western Digital แสดงให้เห็นว่าบริษัทใช้ SMR กับฮาร์ดดิสก์ความจุขนาดกลาง โดยในดิสก์ 3.5 นิ้วความจุ 8TB ขึ้นไปนั้นยังคงเป็น CMR ทั้งหมด โดยรายชื่อที่เปิดออกมามีเฉพาะกลุ่มตลาดคอนซูมเมอร์ที่ซื้อปลีก ได้แก่ WD Red, WD Red Pro, WD Blue, WD Black, และ WD Purple ตระกูลที่ไม่มี SMR เลยคือ WD Red Pro และ WD Purple
ผู้ใช้ฮาร์ดดิสก์เริ่มรายงานถึงดิสก์ล็อตใหม่ๆ เช่น WD RED, Seagate Barracuda, หรือ Toshiba ที่รหัสใหม่ๆ กลับเป็นดิสก์ที่ใช้เทคโนโลยี SMR (shingled magnetic recording) ที่ประสิทธิภาพต่ำกว่าดิสก์แบบเดิมๆ มาก ทำให้ประสิทธิภาพรวมต่ำลง จนบางคนพบว่าระบบ storage array ตัดดิสก์ออกจากระบบ
Western Digital ประกาศความพร้อมในการผลิตฮาร์ดดิสก์ Ultrastar DC HC550 ความจุ 18TB และ Ultrastar DC HC650 ความจุ 20TB โดยจะเริ่มส่งมอบให้กับลูกค้าบางรายภายในสิ้นปีนี้
ตอนนี้สายการผลิตฮาร์ดดิสก์ระดับองค์กรของ Western Digital ประกอบไปด้วย
Nikkei Asian Review อ้างแหล่งข่าวภายในของบริษัท Infineon Technologies สองคน ระบุว่าบริษัทได้หยุดส่งชิปให้หัวเว่ยตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากคำสั่งประธานาธิบดีทรัมป์สั่งแบนหัวเว่ยและบริษัทในเครือ
ตัว Infineon เองเป็นบริษัทเยอรมัน อย่างไรก็ดีคำสั่งของทรัมป์มีผลกระทบ เพราะ Infineon ใช้เทคโนโลยีสหรัฐฯ ในสัดส่วนที่สูงจนมีผลบังคับ หากไม่ทำตามก็อาจถูกแบนแบบเดียวกับที่หัวเว่ยถูกแบนเพราะข้อกล่าวหาว่าขายเทคโนโลยีสหรัฐฯ ให้อิหร่าน
Western Digital บริษัทด้านสื่อการเก็บข้อมูลชื่อดัง ประกาศเปิดตัว Blue SSD รุ่นใหม่ในวันนี้ มีรหัสรุ่นว่า SN500
ของสำคัญได้แก่ การขยับขึ้นไปใช้ NVMe ที่เป็น interface เชื่อมต่อและรับส่งข้อมูลสำหรับ SSD สมัยใหม่ ทำให้ส่งข้อมูลได้เร็วกว่าเดิมถึง 3 เท่า จากมาตรฐานการเชื่อมต่อของ SATA ผลิตโดยใช้เทคโนโลยี 3D NAND สามารถทำความเร็วในการอ่านได้สูงสุด 1,700 MB ต่อวินาที และเขียน 1,450 MB ต่อวินาที (สำหรับโมเดลที่ความจุ 500 GB) ในขณะที่ยังกินพลังงานเพียง 2.7 วัตต์เท่านั้น
เมื่อปลายปี 2017 บริษัท Western Digital (WD) ประกาศเตรียมใช้ชิป RISC-V ในสินค้าทั้งหมด รวมกว่า 2,000 ล้านชิปต่อปี ตอนนี้การประกาศก็เริ่มเห็นผลแล้ว เมื่อบริษัทเปิดซอร์ส SweRV พิมพ์เขียวสำหรับสร้างชิป RISC-V
SweRV เป็นซีพียู 32 บิต สำหรับงาน IoT, ใช้เป็นหน่วยประมวลผลส่วนงานปลอดภัยสูง, หรือการควบคุมอุตสาหกรรม สำหรับทาง WD เองจะใช้ SweRV เป็นชิปควบคุมสตอเรจแบบแฟลช และ SSD
SweRV มีสถาปัตยกรรมไม่ซับซ้อนนัก โดยเป็น 2-way superscalar โหลดคำสั่งพร้อมกันสองคำสั่ง และ pipeline ภายในมี 9 ชั้น สามารถนำไปผลิตจริงด้วยเทคโนโลยี 28 นาโนเมตร และรันได้สัญญาณนาฬิกาสูงสุด 1.8GHz
Western Digital ผู้ผลิตสตอเรจเปิดตัว SSD รุ่นใหม่ในไลน์ WD Black ชื่อรุ่น Black SN750 ที่มากับสปีดตามโฆษณาที่ 3,470MB/s สำหรับการเล่นเกมโดยเฉพาะ
ตัว SSD เป็นแบบการ์ดเสียบบนสล็อต M.2 2280 มีชิปด้านเดียว ทำงานบนบัส PCI-E Gen 3 x4 ความจุสูงสุด 2TB แปะมาพร้อมฮีตซิงค์ระบายความร้อนที่ร่วมดีไซน์กับ EKWB แบรนด์ชุดระบายความร้อนด้วยน้ำชื่อดังรายหนึ่ง (ส่วนตัวมองว่าสวยดี, มีแบบไม่มีฮีตซิงค์ขายด้วย)
WB Black SN750 มีตั้งแต่ความจุ 250GB ไล่ระดับขึ้นไปถึง 2TB ความเร็วอ่านสูงสุดอยู่ที่ 3,470MB/s ตามโฆษณา ส่วนความเร็วเขียนอยู่ที่ 1,600-3,000MB/s แล้วแต่รุ่น ราคาเริ่มต้นที่ 79.99 เหรียญสหรัฐ ถึง 499.99 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2,540 บาท ถึง 15,870 บาท)
ที่มา - WD
Western Digital ไทย เปิดตัว SanDisk Extreme Portable SSD แบบพกพาสำหรับกลุ่มคนที่ชอบถ่ายรูปและกลุ่มคอนเทนต์ ครีเอเตอร์โดยเฉพาะ ใช้ได้ทั้งพีซีและโน้ตบุ๊ก มีความจุให้เลือก 4 แบบ ได้แก่ 256GB, 512GB, 1TB และ 2TB
SanDisk Extreme Portable SSD มีความเร็วในการอ่านสูงสุด 550 MB/s, พอร์ต USB-C, กันน้ำกระเด็นหรือน้ำหกใส่ และกันฝุ่นมาตรฐาน IP55, ทนทานต่อแรงกระแทกเมื่อตกจากที่สูงระดับ 2 เมตรได้ พร้อมรับประกัน 3 ปี
Western Digital เปิดตัวสตอเรจตระกูล Ultrastar DC ME200 (ME ย่อมาจาก Memory Extension) ระบุว่าเป็น SSD แบบ NVMe ที่ความเร็วอยู่ในระดับใกล้เคียง DRAM
ME20 มี 3 ขนาด ได้แก่ 1TiB, 2TiB, และ 4TiB แม้จะเป็น SSD แต่ตัวสตอเรจก็ไม่รับประกันว่าข้อมูลจะกลับมาได้ครบหลังบูตเครื่อง (เป็นหน่วยความจำ volatile) การใช้อินเทอร์เฟซแบบ NVMe ทำให้สามารถติดตั้งบนเซิร์ฟเวอร์ทั่วไปได้ ไม่จำเป็นต้องเปลืองสล็อต DIMM ของแรม
WD ได้เปิดตัวชิป SSD รุ่น Black 3D NVMe ซึ่งเป็นชิปหน่วยความจำประสิทธิภาพสูงที่ตั้งใจจะเจาะกลุ่มเกมเมอร์และผู้ทำงานสายกราฟิค ที่ต้องการความเร็วในการอ่านและเขียนโดยเฉพาะ โดยความโดดเด่นของ SSD รุ่นนี้ตามที่ WD บอกตอนเปิดตัวคือใช้สถาปัตยกรรม NVMe และคอนโทรลเลอร์ใหม่ ถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับ 3D NAND ช่วยลดปัญหาคอขวดแบบเดิมๆ
รุ่นที่ผมรีวิวคือรุ่น 500GB (WDS500T2X0C) ความเร็วการอ่านสูงสุด 3,400MB/s, ความเร็วการเขียนสูงสุด 2,500MB/s, 410,000 random-read IOPs เป็นพอร์ท M.2 เชื่อมต่อผ่าน PCIe 3.0 แบบ 4 เลนส์
สวัสดีครับ พอดีผมได้มีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมของทาง Overclockzone ที่จัดร่วมกับ Synology และ WD ทำการสอนการใช้งาน NAS ในด้านต่างๆ เลยอยากจะมาแบ่งปันความประทับใจที่ได้ใช้งานเจ้า Synology DS218+ ซึ่งเป็น NAS ของทาง Synology จากไต้หวัน ที่มีชื่อเสียงเลื่องลือมายาวนานหลายสิบปีครับ
Western Digital เตรียมปิดโรงงานผลิต HDD ในเมืองเปอตาลิงจายา (Petaling Jaya) ที่อยู่ใกล้กับกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซียในปีหน้า หลังยอดขายและความต้องการของตลาดตก
โฆษกของ Western Digital ยอมรับว่าตลาดหน่วยความจำกำลังอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านจาก HDD ไปสู่ SSD และชิป NAND แฟลชที่เริ่มแพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม Western Digital ยังคงมีโรงงานเหลืออีกหลายแห่งในมาเลเซีย อาทิ โรงงานผลิตสารตั้งต้นสำหรับผลิตฮาร์ดไดร์ฟในเมืองกูชิงและยะโฮร์ รวมถึงโรงงานผลิตและทดสอบ SSD ในปีนัง
ส่วนในไทย Western Digital มีโรงงานในบางปะอินและปราจีนบุรี
ที่มา - The Register
Western Digital ประเทศไทยเปิดตัว Black 3D NVMe SSD สำหรับกลุ่มเกมเมอร์และทำงานสายกราฟิคโดยเฉพาะ อินเทอร์เฟสเป็น M.2 เชื่อมต่อผ่าน PCIe 3.0 แบบ 4 เลน โดยมีวางจำหน่ายครบทั้ง 3 รุ่น 3 ความจุได้แก่
นักวิจัยพบช่องโหว่ของ NAS รุ่น My Cloud EX2 ของ Western Digital หากมี HTTP Request ผ่านพอร์ท 9000 ตัว NAS จะแชร์ไฟล์บนเครื่องให้ทั้งหมดโดยไม่สน permission ไม่ว่าตัว EX2 จะอยู่บนเน็ตเวิร์คปิดหรือเปิดออกสู่สาธารณะก็ตาม
นักวิจัยระบุว่าช่องโหว่นี้เป็นช่องโหว่ดีฟอลต์ของตัว EX2 จากฟีเจอร์แชร์ไฟล์ DLNA ผ่านโปรโตคอล UPnP ที่ถูกเปิดเมื่อเปิดเครื่อง ขณะที่โฆษก WD ระบุในทางตรงกันข้ามว่าช่องโหว่นี้สามารถเข้าถึงได้เฉพาะในวงเน็ตเวิร์คเดียวกันเท่านั้น และแนะนำให้ผู้ที่ไม่ต้องการใช้ DLNA ให้ปิดฟีเจอร์นี้เสีย หรือตั้งพาสเวิร์ดในโฟลเดอร์ที่แชร์ผ่านเครือข่าย
WD เปิดตัว Black 3D NVMe SSD เป็นที่เก็บข้อมูลที่ออกแบบมาให้ใช้งานร่วมกับกราฟิกและวิดีโอ 4K และ Ultra HD ได้เป็นอย่างดี เน้นจับกลุ่มตลาดเกมเมอร์และกลุ่มผู้ใช้งานผลิตวิดีโอที่ต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลประสิทธิภาพสูง มีความจุ 3 แบบให้เลือกคือ 250GB, 500GB และ 1TB โดยแต่ละรุ่นมีความเร็วการอ่านเขียนต่างกันคร่าว ๆ ดังนี้
Western Digital เปิดตัวการ์ดใหม่ในแบรนด์ SanDisk คือ Extreme 400GB A2 microSDXC โดยชูจุดขายเป็น microSD ที่ไวที่สุดของ microSD มาตรฐาน UHS-I
การ์ดใหม่จาก WD นี้มีความเร็วสูงสุดในการอ่านข้อมูลอยู่ที่ 160MB/s และความเร็วสูงสุดในการเขียนอยู่ที่ 90MB/s ซึ่งเร็วกว่า Extreme microSD UHS-I รุ่นปัจจุบันถึง 50% โดยการ์ดใหม่นี้มีเรตติ้งอยู่ที่ UHS Speed Class 3 (U3) และ Video Speed Class 30 (V30) ซึ่งสามารถอัดวิดีโอ 4K UHD ได้ต่อเนื่อง และยังรองรับมาตรฐาน A2 ที่ช่วยให้การเปิดและโหลดแอพเร็วยิ่งขึ้น
Western Digital เปิดตัวฮาร์ดดิสก์ระดับองค์กรความจุขนาดกลางที่ 4TB, 6TB เพื่อตอบโจทย์งานบางประเภทที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ความจุเยอะๆ ส่วนรุ่น 8TB จะเปิดตัวเพิ่มเติมภายในไตรมาสนี้
โซลูชันขนาด 4TB และ 6TB จะเป็นรุ่น Ultrastar 7K6 ความเร็วจานหมุน 7200rpm อินเทอร์เฟส SATA 6GB/s และ SAS 12GB/s บัฟเฟอร์เพิ่มขึ้นเป็น 256MB เร็วขึ้นกว่ารุ่น 7K6000 อยู่ 12% ส่วน 8TB จะเป็นรุ่น Ultrastar 7K8 จะมีรายละเอียด อายุใช้งานเฉลี่ย 2 ล้านชม
โซลูชันฮาร์ดดิสก์ทั้ง 3 ความจุจะเริ่มผลิตและวางจำหน่ายภายในไตรมาส 2 นี้
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์, The Register
Toshiba และ Western Digital มีเรื่องโต้เถียงและฟ้องร้องกันมาสักพักในกรณีที่ Toshiba ตัดสินใจขายธุรกิจผลิตชิพหน่วยความจำ Toshiba Memory ออกไปให้กลุ่มทุน Bain Capital เพื่อนำเงินมาแก้ปัญหาหนี้สินของบริษัท ตอนนี้ทั้งสองบริษัทได้ประกาศยุติการฟ้องร้องกันแล้ว
Western Digital (WD) ประกาศในงาน RISC-V Workshop ปีนี้ว่าบริษัทแสดงความตั้งใจว่าเปลี่ยนซีพียูที่ใช้งานในสินค้าของบริษัทไปยัง RISC-V ทั้งหมด
ตอนนี้ WD ใช้ซีพียูในสินค้าของบริษัทปีละพันล้านชุด และคาดว่าเมื่อย้ายไป RISC-V สมบูรณ์ จะใช้ซีพียูสถาปัตยกรรม RISC-V ถึงปีละสองพันล้านชุด โดยกระบวนการปรับไปใช้ RISC-V จะค่อยเป็นค่อยไป และการประกาศนี้ไม่ได้ระบุกรอบเวลาไว้
เหตุผลของการย้ายไปใช้ RISC-V คือความสามารถในการปรับแต่งซีพียูได้มากกว่า โดย WD ต้องการปรับแต่งซีพียูเพื่อการประมวลผลเพื่อประมวลผลข้อมูลใกล้กับข้อมูลให้มากที่สุด โดย WD เพิ่งลงทุนใน Esperanto Technologies ผู้พัฒนาชิปประมวลผลบนสถาปัตยกรรม RISC-V
HGST (ที่ตอนนี้อยู่ในเครือ Western Digital แล้ว) เปิดตัวฮาร์ดดิสก์ Hs14 ความจุ 14TB สำหรับศูนย์ข้อมูลที่ต้องการเก็บข้อมูลจำนวนมาก
ในตัวฮาร์ดดิสก์อัดฮีเลียมเอาไว้ โดยใช้ชื่อการค้าว่า HelioSeal ตัวดิสก์ใช้เทคโนโลยี shingled magnetic recording (SMR) รุ่นที่สอง อายุการใช้งานเฉลี่ย 2.5 ล้านชั่วโมง
ทาง HGST ยังไม่ได้แจ้งราคา และตอนนี้ตัวดิสก์ยังส่งมอบให้กับผู้ผลิตจำนวนหนึ่งเท่านั้น แม้ว่าราคาต่อความจุอาจจะแพงกว่ารุ่นที่ความจุต่ำกว่า แต่ทาง HGST ระบุว่าเมื่อคำนวณพื้นที่ศูนย์ข้อมูล, การใช้พลังงานต่อความจุ, ระบบหล่อเย็น, และค่าบำรุงรักษาแล้ว Hs14 ก็ยังคุ้มค่าอยู่
สิ้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา Western Digital ได้เปิดตัว SSD รุ่นใหม่สองตัวภายใต้ยี่ห้อ SanDisk และ WD เอง (WD ได้ซื้อกิจการ SanDisk ไปเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว) และทาง WD ได้ส่ง SSD ทั้งสองตัวนี้มาให้รีวิวครับ
หากจะให้พูดสั้นๆ ก็ต้องบอกว่า SSD ทั้งสองตัวนี้ต่างกันแค่ “สติกเกอร์ที่แปะอยู่” และ “บรรจุภัณฑ์” เท่านั้น ทั้งสเปก, ราคา และการรับประกันก็เหมือนกันทั้งหมด เรียกได้ว่าศรัทธายี่ห้อไหนก็หยิบอันนั้นได้เลย โดยผมได้รับรุ่นความจุขนาด 1TB แบบ SATA มาทดสอบนะครับ
ช่วงนี้ Western Digital มีความเคลื่อนไหวเรื่องซื้อกิจการอย่างคึกคัก หลังจากซื้อบริษัทคลาวด์ Upthere ก็ตามมาด้วยการประกาศซื้อ Tegile Systems บริษัทด้านสตอเรจแบบแฟลชสำหรับตลาดองค์กร
Tegile ก่อตั้งเมื่อปี 2012 มีจุดเด่นที่ผลิตภัณฑ์สตอเรจแบบ persistent memory ที่แบ่งระดับของสตอเรจตามการใช้งาน (มีทั้งแบบหน่วยความจำ แฟลช และฮาร์ดดิสก์) สินค้าของบริษัทใช้แบรนด์ IntelliFlash ทำตลาด โดยมีทั้งแบบแฟลชล้วน, แบบ NVMe ที่เน้นประสิทธิภาพสูงสุด และแบบไฮบริดที่เน้นราคาคุ้มค่า ปัจจุบันบริษัทมีลูกค้าอยู่ประมาณ 1,700 ราย
Tegile จะถูกผนวกเข้าในส่วนของ Western Digital Data Center Systems (DCS) ที่ทำตลาดศูนย์ข้อมูลองค์กร
Western Digital เปิดตัวหน่วยความจำแบบ 3D NAND SSD ที่มีการจัดเรียงแผ่นชิป NAND ใหม่ ช่วยทำลายข้อจำกัดของหน่วยความจำแบบ 2D NAND โดยการวางแผ่น 3D NAND ของ WD จะเป็นแบบ 64 เลเยอร์ มาใน 2 แบรนด์คือ WD Blue และ SanDisk Ultra
ด้านสเปคทั้ง WD Blue และ SanDisk มีสเปคใกล้เคียงกันคือใช้อินเทอร์เฟสแบบ SATA III 6GB/s โดย WD Blue มีตัวเลือกเป็น M.2 มาให้ด้วย อัตราการอ่านเขียนอยู่ที่ 560/530 MB/s ส่วนอัตราการอ่านเขียนแบบสุ่มอยู่ที่ 95K/84K ยกเว้นรุ่นความจุ 250GB ที่ความเร็วอ่านเขียนอยู่ที่ 550/525 MB/s และอัตราการเขียนสุ่มจะอยู่ที่ 81K
ราคาทั้งสองรุ่นจะเท่ากันในแต่ละความจุดังนี้
Western Digital ได้ประกาศเข้าซื้อบริษัทผู้ให้บริการด้านคลาวด์ Upthere โดยไม่มีการเปิดเผยมูลค่า โดยทีมงานของ Upthere และเทคโนโลยีของบริษัทจะรวมเข้ากับหน่วยธุรกิจ Client Solution ของ Western Digital เพื่อช่วยปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ลูกค้า
Upthere นั้นเป็นบริการซึ่งก่อตั้งโดยสามผู้ก่อตั้ง ได้แก่ Bertrand Serlet อดีตรองประธานอาวุโสฝ่ายวิศวกรรมซอฟต์แวร์ซึ่งมีส่วนรับผิดชอบของ Mac OS X ทุกรุ่นตั้งแต่รุ่นแรกสุดจนถึง Snow Leopard รวมถึงสร้างโปรเจคที่ภายหลังได้กลายมาเป็น iOS, Alex Kushnir ซึ่งเคยทำงานที่ MongoDB และเป็นผู้ก่อตั้งของบริษัทจัดการไฟล์ที่เน้นด้านธนาคารอย่าง Kazeon (ขายให้ EMC ไปแล้ว) และ Roger Bodamer ซึ่งอดีตเคยทำงานอยู่ที่ Oracle, Apple และบริษัทไอทีหลายแห่ง
หลังจากควบรวมกิจการ SSD ไปอยู่ในอาณัติตนเองพักใหญ่ ล่าสุด Western Digital เปิดตัวไดรฟ์ SSD แบบพกพาในชื่อ My Passport SSD ขนาดเท่ากลักไม้ขีดไฟ ใช้ภาษาดีไซน์แบบเดียวกับฮาร์ดดิสก์พกพา My Passport ที่มีหลายสี หัวต่อเป็น USB-C ที่สเปคความเร็ว USB3.0/3.1 กับความเร็วการโอนถ่ายที่ 515MB/s พร้อมอะแดปเตอร์กลับไปใช้กับ USB-A ได้ตามปกติ
ความจุมีให้เลือกตั้งแต่ 256, 512GB และ 1TB รองรับการเข้ารหัส 256 บิต ในราคา 100, 200 และ 400 เหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ