ไมโครซอฟท์ยืนยันข่าวการหยุดผลิตและวางขายคอนโซลยุคปัจจุบัน 2 รุ่นย่อยคือ Xbox One X และ Xbox One S All-Digital Edition รุ่นไร้ช่องใส่แผ่นดิสก์ แต่ยังคงผลิตและวางขาย Xbox One S รุ่นปกติอยู่
ตอนนี้รายการสินค้า Xbox One X และ Xbox One S All-Digital Edition บนหน้าเว็บของไมโครซอฟท์ขึ้นว่า "sold out" เรียบร้อยแล้ว แต่คนที่อยากได้จริงๆ อาจยังซื้อจากร้านค้าอื่นที่ยังมีของได้อยู่
หลังจากไมโครซอฟท์เปิดทดสอบบริการเกมสตรีมมิ่ง Project xCloud มาได้สักพักใหญ่ๆ โดยยังไม่คิดค่าบริการลักษณะเดียวกับคู่แข่งอย่าง Google Stadia ก็มีคนคาดกันว่าไมโครซอฟท์น่าจะผนวก xCloud เข้ามากับบริการเกมแบบเหมาจ่ายรายเดือน (แต่ไม่สตรีมมิ่ง) คือ Xbox Game Pass ด้วย
วันนี้ไมโครซอฟท์ประกาศยืนยันเรื่องนี้ โดยบอกว่าสมาชิก Xbox Game Pass Ultimate รุ่นท็อปสุด ที่จ่ายเงินเดือนละ 14.99 ดอลลาร์ ได้เล่นเกมแบบเหมาจ่ายทั้งบน Xbox One และพีซี (ถ้าเอาแพ็กเกจปกติเฉพาะคอนโซลเดือนละ 9.99 ดอลลาร์) จะได้ใช้บริการ xCloud ฟรีโดยไม่ต้องจ่ายเพิ่ม
Phil Spencer หัวหน้าทีม Xbox และรองประธานฝ่ายเกมมิ่งของ Microsoft ให้สัมภาษณ์กับ Gamesindustry.biz ถึงเรื่องที่ Mixer แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งของ Microsoft ต้องปิดตัวลงภายในเดือนนี้ ว่าเป็นเรื่องน่าผิดหวัง แต่ไม่เสียใจที่ได้ทำ Mixer เพราะตัดสินใจทำโดยอิงจากข้อมูลที่ดีที่สุดในตอนนั้น ทุ่มพลังกับมันเต็มที่ และสิ่งสำคัญในวงการเกม คือต้องไม่กลัวความล้มเหลว
ตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นมา Microsoft ซื้อสตูดิโอพัฒนาเกมไปแล้ว 7 แห่งเพื่อควบรวมเป็น Xbox Game Studios ประกอบด้วย Compulsion Games, Double Fine, InXile, Ninja Theory, Obsidian Entertainment, Playground Games และ Undead Labs และล่าสุด Phil Spencer รองประธานด้านเกมมิ่งของ Microsoft และหัวหน้าทีม Xbox ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ gameindustry.biz ว่า Xbox Game Studios ยังไม่มีแผนที่จะหยุดซื้อสตูดิโอพัฒนาเกมแต่อย่างใด
ในข่าวเดิมระบุว่าผู้สนใจซื้อมีทั้ง EA, Activision Blizzard, Take Two ล่าสุดมีชื่อของไมโครซอฟท์โผล่มาเพิ่มอีกราย
ข่าวไมโครซอฟท์สนใจซื้อ WBIE คงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจนัก เพราะช่วงหลัง Xbox Games Studio เร่งขยายตัวอย่างหนัก และตอนนี้มีสตูดิโอเกมในสังกัดมากถึง 15 แห่งแล้ว ถ้าซื้อ WBIE จริงก็จะได้สตูดิโอในสังกัดมาถึง 10 แห่ง เช่น Avalanche, Monolith, NetherRealm, Rocksteady
ตอนนี้เราเห็นข้อมูลของ Xbox Series X กันมาเกือบหมดแล้ว (ยกเว้นราคา) แต่ทุกคนก็คาดกันว่า ไมโครซอฟท์จะออก Xbox รุ่นถูกที่เรียกชื่อกันเล่นๆ ว่า Xbox Series S หรือโค้ดเนม Lockhart ที่มีข่าวอยู่เรื่อยๆ (ไมโครซอฟท์ไม่เคยยอมรับหรือปฏิเสธข่าวนี้ตรงๆ)
ล่าสุดมีคนไปพบการอ้างอิงชื่อ Lockhart ในเอกสารของ Microsoft Game Development Kit (GDK) ของไมโครซอฟท์สำหรับพัฒนาเกมบน Xbox โดยชื่อ Lockhart เป็นหนึ่งใน profile mode ที่ใช้รันเกม (เอกสารเป็นเวอร์ชันเดือนมิถุนายน 2020)
ในเอกสารของระบุว่าเกมที่สร้างด้วย GDK สามารถรันทดสอบกับคอนโซลได้ 3 โหมดคือ
ไมโครซอฟท์ได้ปล่อยอัพเดตเพื่อปรับปรุงและเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ให้กับ Xbox Game Bar แอพที่ช่วยให้เกมเมอร์เข้าถึงฟังก์ชั่นเสริมที่ Windows 10 มีให้ใช้งานขณะกำลังเล่นเกมผ่านการกดคีย์ลัด Windows + G
การปรับปรุงและของใหม่ของอัพเดตประจำเดือนมิถุนายนซึ่งเป็นอัพเดตเวอร์ชันล่าสุด มีดังนี้
วิสัยทัศน์ต่อวงการเกมของ Xbox ในระยะหลังค่อนข้างสะท้อนออกมาจากท่าทีและนโยบายต่าง ๆ ของไมโครซอฟท์ ว่าต้องการให้เกมและแพลตฟอร์ม Xbox ของตัวเองสามารถเข้าถึงและเล่นได้จากทุกที่ อย่างการออกคลาวด์เกมมิ่งอย่าง xCloud และ Xbox Game Pass ที่เล่นได้ทั้งบนคอนโซล พีซีหรือแม้แต่อุปกรณ์เคลื่อนที่ และมักใส่เกมใหม่ ๆ เข้าไปให้ตั้งแต่ day-1 ด้วย
วิธีคิดนี้ได้รับการยืนยันโดย Phil Spencer หัวหน้าฝ่าย Xbox ที่ให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร WIRED ว่าไมโครซอฟท์มองว่าการเล่นเกมในอนาคตว่าจะไม่ได้ถูกจำกัดให้อยู่แต่บนคอนโซลอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะต้องเล่นบนอุปกรณ์ไหนและเมื่อไหร่ก็ได้ เหมือนกับการที่เราดู Netflix จากอุปกรณ์ไหนก็ได้
ไมโครซอฟท์เผยรายละเอียดของ Xbox Series X เพิ่มเติม ว่าจะเป็นเกมคอนโซลตัวแรกที่มีเกมให้เล่นเป็น "หลายพันเกม" (thousands of games) ในวันเปิดตัว
เหตุผลเพราะ Xbox Series X จะรองรับเกมเก่าจาก Xbox สามรุ่นก่อนหน้าคือ Xbox รุ่นแรก, Xbox 360, Xbox One นั่นเอง
ไมโครซอฟท์เริ่มโครงการ Xbox 360 Backwards Compatibility บน Xbox One มาตั้งแต่ปี 2015 แล้วตามด้วย Xbox รุ่นแรกบน Xbox One ในปี 2017 และยุติโครงการในปี 2019 รวมแล้วมีเกมเก่าประมาณ 600 เกม บวกกับเกมเก่าของ Xbox One อีกจำนวนมาก
Phil Spencer หัวหน้าทีม Xbox และรองประธานบริหารด้านเกมมิ่งของ Microsoft ให้สัมภาษณ์กับ Business Insider ว่าเกมที่มีกำหนดวางจำหน่ายปีหน้า จะได้รับผลกระทบจาก COVID-19 มากกว่า
สาเหตุหลักมาจากเกมที่มีกำหนดออกปีหน้า จะติดขัดในขั้นตอนการทำโมแคป (Motion Capture) รวมทั้งงานลงเสียงพากย์ และการทำเพลงประกอบโดยใช้วงซิมโฟนี่ ซึ่งต้องใช้คนจำนวนมาก และใช้พื้นที่สตูดิโอในการทำงาน ที่ต้องหยุดลงโดยสิ้นเชิงในช่วงนี้ (ส่วนเกมที่มีกำหนดออกปีนี้ อาจเสร็จสิ้นขั้นตอนเหล่านี้ไปหมดแล้ว)
ไมโครซอฟท์ปล่อยคลิป Xbox 20/20 โชว์เกมเพลย์ของเกมบน Xbox Series X เป็นครั้งแรก มีเกมทั้งหมด 13 เกม โดยทั้งหมดเป็นเกมของบริษัทอื่นที่ไม่ใช่ไมโครซอฟท์
เกมที่เคยเปิดตัวมาก่อนแล้วมี 2 เกมคือ Assassin's Creed: Valhalla ที่รอบนี้มาโชว์เกมเพลย์ และ Yakuza: Like a Dragon ที่ก่อนหน้านี้ขายเฉพาะบน PS4 (รอบนี้มาทั้ง Xbox One และ Xbox Series X) ส่วนที่เหลืออีก 11 เกมเป็นเกมใหม่ที่เปิดตัวเป็นครั้งแรก
ไมโครซอฟท์ประกาศรายชื่อเกมใหม่ของบริการเหมาจ่ายรายเดือน Xbox Game Pass ที่เพิ่งประกาศยอดสมาชิกครบ 10 ล้านคน มีเกมเด่นเพิ่มเข้ามาคือ Red Dead Redemption 2
การเพิ่มเข้ามาของเกมใหญ่ระดับ RDR2 สะท้อนยุทธศาสตร์ของไมโครซอฟท์ ที่พยายามดึงเกมดังๆ มาเป็นจุดขายให้ Xbox Game Pass (แม้จะไม่ถึงขั้นเปิดให้เล่น Day 1 พร้อมเกมวางขายก็ตาม) อย่างไรก็ตาม เกมบน Xbox Game Pass มีสับเปลี่ยนไปตลอด และในรอบเดียวกันนี้ เกมร่วมค่ายคือ Grand Theft Auto V ก็หลุดออกจากรายชื่อเกมไปซะแล้ว
ส่วนเกมอื่นๆ ที่เพิ่มเข้ามาในรอบเดียวกันคือ DayZ, Final Fantasy IX, Fractured Minds รวมถึงเกม Streets of Rage 4 และ Moving Out ที่เพิ่งเพิ่มเข้ามาก่อนหน้านี้
ไมโครซอฟท์ออกมาประกาศเป้าหมายว่าต้องการวางขาย Xbox Seriex X และ Halo Infinite ช่วงปลายปี 2020 ตามกำหนดเดิม แม้นักวิเคราะห์บางรายมองว่า Xbox Series X และ PS5 อาจต้องเลื่อนจากปัญหา COVID-19
เนื่องจากปีนี้ไมโครซอฟท์ไม่สามารถจัดงานอีเวนต์เพื่อโชว์ Xbox Series X ได้ บริษัทจึงประกาศปล่อยคลิปซีรีส์ Xbox 20/20 เพื่ออัพเดตความคืบหน้าของ Xbox Series X เป็นประจำทุกเดือน เริ่มต้นครั้งแรกคือคืนนี้ 7 พ.ค. ตามเวลาสหรัฐ โดยจะโชว์คลิปเกมเพลย์ของ Xbox Series X เป็นครั้งแรกด้วย (คลิปทีเซอร์ที่ออกมาเป็นโลโก้ของ Xbox Series X ตอนบูตเครื่อง)
ไมโครซอฟท์เปิดเผยว่า Xbox Game Pass บริการเหมาจ่ายรายเดือนเพื่อเล่นเกม มีผู้ใช้งานหลัก 10 ล้านคนแล้ว
Xbox Game Pass เปิดตัวในปี 2017 สำหรับลูกค้า Xbox One โดยคิดราคาเดือนละ 9.99 ดอลลาร์ต่อเดือน จากนั้นในปี 2019 ก็ออก Xbox Game Pass for PC ในราคาเท่ากัน (ถ้าสมัครทั้งสองแพลตฟอร์ม ลดเหลือ 14.99 ดอลลาร์)
มีคนตาดีไปค้นเจอว่า ไมโครซอฟท์ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า Series X แบบเงียบๆ เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2020 ที่ผ่านมา โดยชนิดของสินค้าครอบคลุมวิดีโอเกม รวมถึงเสื้อผ้า แก้วน้ำ ของที่ระลึกต่างๆ ด้วย
สถานะของเครื่องหมายการค้ายังเพิ่งเข้ามาในระบบ ยังไม่ผ่านการตรวจสอบจากสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐ แต่ก็เผยให้เห็นโลโก้ของ Xbox Series X ที่เขียนคำว่า Series ในแนวตั้ง และตัวอักษร X มีช่องว่างตรงกลางด้วย
ที่มา - USPTO, Reddit, Windows Central
เมื่อต้นเดือนเมษายน ไมโครซอฟท์ได้ประกาศทดสอบอัพเดตใหม่บน Xbox Game Bar แอพที่ช่วยให้เกมเมอร์เข้าถึงฟังก์ชั่นเสริมที่ Windows 10 มีให้ใช้งานขณะกำลังเล่นเกมผ่านการกดคีย์ลัด Windows + G
ในปัจจุบันฟังก์ชั่นต่างๆ ภายใน Xbox Game Bar ถูกแบ่งออกเป็นหน้าต่างย่อยที่เรียกว่า widget ให้ผู้ใช้เลือกเปิด/ปิดได้ตามต้องการ ซึ่งแต่ก่อนไมโครซอฟท์จะเพิ่ม widget ใหม่ผ่านการอัพเดตตัวแอพ Xbox Game Bar โดยตรง (ตัวอย่างเช่น Performance widget, Achievement widget, Spotify widget)
การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดที่สุดของ Xbox Series X คือการดีไซน์ฮาร์ดแวร์คอนโซลใหม่เป็นแนวตั้ง ด้วยเหตุผลเรื่องการระบายความร้อนเป็นสำคัญ
เรื่องนี้ Chris Kujawski หัวหน้าทีมออกแบบฮาร์ดแวร์ของ Xbox ให้สัมภาษณ์กับเซคชั่น Digital Foundry ในเครือ Eurogamer ไว้ค่อนข้างละเอียดเมื่อต้นเดือนนี้
แนวทางออกแบบของ Xbox Series X ชัดเจนว่าทุกอย่างพัฒนาขึ้นบนหลักการว่า จีพียูต้องแรงขึ้น 2 เท่าเป็น 12 teraflops โดยที่รักษาระดับเสียงดังเท่ากับ Xbox One X ให้ได้ เมื่อเจอข้อจำกัดขนาดนี้ สิ่งที่ต้องเปลี่ยนคือดีไซน์ของตัวคอนโซลจากแนวนอนเป็นแนวตั้ง
ไมโครซอฟท์ยังเดินหน้าขยายบริการคลาวด์เกมมิ่ง Project xCloud ต่อไป (ปัจจุบันยังมีสถานะเป็นพรีวิว) โดยจะเปิดในยุโรปตะวันตก 11 ประเทศ
การขยายพื้นที่บริการ xCloud มายังยุโรป ทำให้ xCloud ทัดเทียมกับ Google Stadia ที่ให้บริการใน 14 ประเทศ (อเมริกาเหนือและยุโรป) โดย Stadia เป็นบริการแบบคิดเงินแล้ว แต่ xCloud ยังเปิดให้เล่นฟรีอยู่
ไมโครซอฟท์ยังอธิบายว่าจะทยอยเปิดให้ผู้เล่นเข้ามาลองใช้งาน xCloud ทีละนิด เพื่อป้องกันปัญหาทราฟฟิกมากจนเกินควรในช่วงนี้ด้วย
ตอนนี้เรารู้สเปกของ Xbox Series X อย่างละเอียดกันแล้ว ข้อมูลสำคัญที่เหลืออยู่คงมีแค่วันวางขายและราคา
เว็บเกม IGN ลองประเมินต้นทุนฮาร์ดแวร์ของ Xbox Series X จากชิ้นส่วนที่เปิดเผยออกมา เทียบเคียงกับราคาฮาร์ดแวร์ใกล้เคียงกันในตลาด พบว่าต้นทุนโดยรวมพุ่งทะลุเกิน 1,000 ดอลลาร์ไปแล้ว (แค่ซีพียูราว 300 ดอลลาร์, จีพียู 400 ดอลลาร์ ยังไม่รวมค่าเมนบอร์ด พาวเวอร์ซัพพลาย และชิ้นส่วนอื่นๆ)
IGN ระบุว่าไมโครซอฟท์สั่งซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก ย่อมได้ราคาต้นทุนถูกกว่า และการใช้ชิ้นส่วนคัสตอมก็ช่วยลดต้นทุนของสิ่งที่ไม่จำเป็นไปได้มาก แต่จากต้นทุนที่แพงขนาดนี้ การตั้งราคาที่ 600 ดอลลาร์ก็เริ่มเป็นไปได้แล้ว ถือว่าท้าทายเมื่อกำแพงราคาของคอนโซลอยู่ที่ 399-499 ดอลลาร์เท่านั้น (คอนโซลที่เปิดตัวแพงที่สุดคือ PS3 ที่ 599 ดอลลาร์)
หลังจากทยอยปล่อยข้อมูลตรงนั้นนิดตรงนี้หน่อยมานาน ในที่สุดไมโครซอฟท์เผยสเปกละเอียดของ Xbox Series X อย่างเป็นทางการ
ต่อยอดอีกสักเล็กน้อยจากบทความ Cloud Gaming แพลตฟอร์มเกมยุคหน้าที่อาจทำให้ไมโครซอฟท์กลับมาครองตลาดเกม โดยใจความสำคัญของบทความดังกล่าวคือการชี้ว่าในยุค Cloud Gaming ที่น่าจะเป็นยุคหลังคอนโซลรุ่นถัดไป ไมโครซอฟท์มีภาษีในอุตสาหกรรมเกมดีกว่าโซนีที่ครองตลาดอยู่ตอนนี้และ Stadia ที่เป็นผู้เปิดศักราช Cloud Gaming
ปี 2019 ที่ผ่านมาอาจเป็นหมุดหมายสำคัญของวงการเกม จากการเปิดตัวแพลตฟอร์มการให้บริการเกมผ่านคลาวด์ Stadia ของกูเกิลและ Project xCloud ของไมโครซอฟท์ ในเวลาไล่เลี่ยกัน
อันที่จริงแนวคิดของ Stadia หรือ xCloud ไม่ใช่ของใหม่ เพราะโซนี่่เองก็มีบริการลักษณะเดียวกันมาสักพักแล้ว แต่การมาถึงของ Stadia และ xCloud สร้างแรงกระเพื่อมในวงการเกมและทำให้ Cloud Gaming ถูกพูดถึงมากขึ้นมาก
หากมองในระยะยาวที่ Cloud Gaming อาจกลายเป็นแพลตฟอร์มเล่นเกมในยุคหลังคอนโซล กลับเป็นไมโครซอฟท์ที่มีความได้เปรียบที่สุดในตอนนี้
บทความนี้จะพาไปสำรวจสถานการณ์ Cloud Gaming พร้อมกับการมองอนาคตว่าทำไมไมโครซอฟท์ถึงกุมความได้เปรียบเอาไว้ตั้งแต่วันนี้แล้ว
Phil Spencer หัวหน้าทีม Xbox ที่รับผิดชอบงานด้านเกมมิ่งทั้งหมดของไมโครซอฟท์ ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ไอทีแห่งใหม่ Protocol พยากรณ์วงการเกมปี 2020
ประเด็นที่น่าสนใจคือ Phil Spencer มองว่า โซนี่และนินเทนโดไม่ใช่คู่แข่งสำคัญของไมโครซอฟท์อีกต่อไปแล้ว เหตุเพราะทั้งสองบริษัทไม่มีคลาวด์ระดับโลกแบบเดียวกับ Azure ซึ่งไมโครซอฟท์มองว่าคู่แข่งที่น่ากลัวในอนาคตจะกลายเป็นกูเกิลและอเมซอนแทน
ไมโครซอฟท์เปิดโครงการ Xbox Bug Bounty โดยจะเน้นไปที่ช่องโหว่บนเครือข่ายและบริการของ Xbox Live โดยเงินรางวัลจะจ่ายให้ตามความรุนแรงของช่องโหว่ตั้งแต่ 500 เหรียญไปจนถึงสูงสุดอย่างช่องโหว่รันโค้ดทางไกลระดับร้ายแรงที่ 20,000 เหรียญ
ไมโครซอฟท์ระบุไว้ด้วยว่าช่องโหว่หรือปัญหาที่ไม่เข้าข่ายรับเงินรางวัล อาทิ DDoS, CSRF ที่ผลกระทบต่ำ หรือ URL Redirects เป็นต้น สามารถดูรายละเอียดและช่องทางการรายงานช่องโหว่ได้ที่นี่
ที่มา - Microsoft
ตัวแทนของไมโครซอฟท์ให้ข้อมูลกับเว็บไซต์ Business Insider ว่าชื่อคอนโซลรุ่นใหม่ Xbox Series X ที่เพิ่งเปิดตัว ชื่อของมันจริงๆ คือ Xbox เท่านั้น ไม่มีสร้อยอื่นใดต่อท้าย
ไมโครซอฟท์ระบุว่าสิ่งที่ไมโครซอฟท์ส่งต่อจากยุค Xbox One มาสู่ยุคใหม่มีเพียงแบรนด์ "Xbox" เท่านั้น ส่วนคำว่า "Series X" เป็นคำขยาย ซึ่งไมโครซอฟท์ยอมรับว่าการตั้งชื่อแบบนี้ เปิดโอกาสให้มีคอนโซลซีรีส์อื่นๆ ตามมาในอนาคต (อย่างที่เราคาดกันว่าจะมี Xbox Series S รุ่นราคาถูก โค้ดเนม Lockhart)