ไมโครซอฟท์ประกาศอัพเดต Windows Subsystem for Android (WSA) ที่ทำให้ Windows 11 สามารถรันแอพ Android ได้
Mozilla ออก Firefox 33 ทั้งบนเดสก์ท็อปและ Android ของใหม่ได้แก่
ไฟร์ฟอกซ์รุ่น 33 เตรียมรองรับ H.264 ผ่านโครงการ OpenH264 ที่ทางซิสโก้ดูแลและจ่ายค่าสิทธิบัตรให้ โดยตอนนี้ยังไม่สามารถเปิดใช้งานได้ แต่หากใครใช้รุ่น Nighty ตอนนี้ก็จะเห็นคอนฟิกนี้ให้เลือกแล้ว
กระบวนการเปิดใช้งาน H.264 ในตอนนี้ผู้ใช้จะต้องเปิดคอนฟิก media.peerconnection.video.h264_enabled
แล้วจะสามารถเลือกปลั๊กอิน OpenH264 ขึ้นมาใช้งานได้ ตัวปลั๊กอินจะดาวน์โหลดจากทางซิสโก้โดยตรง แต่ตอนนี้ยังไม่สามารถดาวน์โหลดได้ ทำให้ยังทดสอบการใช้งานไม่ได้
แนวทางนี้เป็นไปตามที่ไฟร์ฟอกซ์ประกาศไว้ตั้งแต่ปีที่แล้ว
ไดรเวอร์กราฟิกโอเพนซอร์สของลินุกซ์มีปัญหาเรื่องการรองรับฟีเจอร์ไม่เท่ากับไดรเวอร์ปิดของผู้ผลิตเองเสมอ แต่ความร่วมมือจากผู้ผลิตที่ส่งแพตซ์เข้ามาก็ช่วยให้กระบวนการพัฒนาเร็วขึ้นมาก ตอนนี้ค้ายเอเอ็มดีก็ส่งโค้ดเข้าโครงการ Mesa ที่เป็นไดรเวอร์โอเพนซอร์สสำหรับชิปเอเอ็มดี
โค้ดใหม่จะช่วยให้ Mesa รองรับฮาร์ดแวร์ VCE2 บนชิปรุ่นใหม่ๆ ตั้งแต่ Sea Island, Kabini ขึ้นมา โดยมีโค้ดบางส่วนถูกคอมไพล์เป็นไบนารีมาแล้ว
VCE2 เป็นตัวเข้ารหัส H.264 ความเร็วสูง ใช้งานเช่นระบบแสดงภาพไร้สาย ที่ต้องเข้ารหัสให้รวดเร็วเพื่อส่งข้อมูลไปแสดงบนจอภาพ
ต่อจากข่าว Cisco ใจดีเตรียมปล่อยโค้ด H.264 เป็น open source ทางค่าย Mozilla ที่มีปัญหากับ H.264 ด้วยเหตุผลด้านค่าสิทธิการใช้งานมายาวนาน ก็ประกาศว่า Firefox จะรองรับ OpenH.264 ของ Cisco ในเร็วๆ นี้
Mozilla อธิบายว่าปัญหาของการใช้ H.264 คือต้องจ่ายเงินค่าใช้งานสิทธิบัตรให้กับ MPEG LA แต่เมื่อ Cisco ใจป้ำยอมจ่ายเงินส่วนนี้ให้แทน (ครอบคลุมถึงใครก็ได้ที่นำ OpenH.264 ไปใช้งาน ไม่เฉพาะ Firefox) ปัญหานี้จึงหมดไป
Cisco เตรียมปล่อยโค้ดการถอดรหัสสัญญาณ H.264 ให้เป็น open source เพื่อสนับสนุนระบบการสนทนาผ่านเว็บตามโครงการ WebRTC
ในปัจจุบันนี้ผู้พัฒนาเว็บเบราว์เซอร์หลายรายได้ปรับปรุงการทำงานให้ผู้ใช้สามารถสนทนาด้วยวิดีโอผ่านเว็บกันได้โดยไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ใดๆ เพิ่มเติม ทว่าประเด็นที่สำคัญคือระบบการเข้ารหัสและถอดรหัสสัญญาณภาพและเสียงที่ใช้กันอยู่นั้น บ้างก็นิยมเลือกใช้โค้ดที่ปลอดค่าใช้จ่ายอย่าง VP8 ในขณะที่ผู้พัฒนาบางรายก็หนุนหลังการใช้ H.264 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ใช้กันแพร่หลายมากกว่า หากทว่าต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสิทธิเพื่อการใช้งาน
นี่อาจจะเป็นข่าวที่ผู้ใช้ Firefox ใน Linux รอคอยมานาน
เนื่องจากวันนี้ผมได้ลง Firefox ใหม่ พบว่าระบบเสนอตัวเลือกให้ติดตั้งตัวถอดรหัสเพิ่มเติมเพื่อให้ Firefox สามารถสนับสนุน H.264 และ MP3 ได้ผ่าน gstreamer
โดยผู้ที่อยากจะใช้ H.264 จะต้องลง gstreamer0.10-ugly-plugin เพิ่มเติม
และอีกข่าวครับ ในที่สุดหลังจากที่รอคอยมานาน Firefox เริ่มสนับสนุน MP3 ใน Windows XP แล้ว
หมายเหตุ มีมุกตลกเล็กน้อยเกี่ยวกับการตั้งชื่อ gstreamer
วันนี้กูเกิลประกาศปรับปรุงการเข้ารหัสวิดีโอสนทนาผ่าน Hangout จากเดิมที่ใช้ H.264 อยู่มาเป็น VP8 (ที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ WebM) ซึ่งเป็นการเดินเท้าตาม Skype ที่เปลี่ยนมาใช้ VP8 มาก่อนในปี 2011
โดยทั้งนี้กูเกิลยังอธิบายเพิ่มด้วยว่า การเปลี่ยนมาใช้ VP8 นอกจากจะทำให้การสนทนาแบบวิดีโอความละเอียดสูงทำได้ราบลื่นแล้วนั้น ยังจะทำให้ผู้ใช้สามารถทำสตรีมมิ่งวีดีโอแบบสดๆ ผ่าน Hangout ได้เลยในทันที โดยไม่ต้องหาโปรแกรมหรือเว็บไซต์สำหรับสตรีมมิ่งวิดีโอเพิ่มเติมครับ
โครงการ x264 เป็นความพยายามของโลกโอเพนซอร์สในการสร้างซอฟต์แวร์เข้ารหัสวิดีโอตามมาตรฐาน H.264 (AVC) ซึ่งผลลัพธ์ของโครงการก็ออกมาเป็นซอฟต์แวร์ยอดนิยมตัวหนึ่ง
เมื่อมาตรฐานวิดีโอกำลังวิวัฒนาการเข้าสู่ H.265 (HEVC) โลกโอเพนซอร์สก็เริ่มเดินหน้าพัฒนาโครงการ x265 ด้วยเช่นกัน เบื้องต้นมีเว็บไซต์ของโครงการแล้ว และโค้ดชุดแรกที่พัฒนาโดยบริษัท MultiCoreWare ก็เปิดโค้ดออกมาให้ชุมชนเริ่มพัฒนากันแล้ว
ที่มา - Phoronix
ที่งาน Google I/O กูเกิลได้โชว์รายละเอียดของ VP9 ที่เปิดตัวไปก่อนหน้านี้
วิศวกรของกูเกิลบอกว่าจุดเด่นของ VP9 อยู่ที่ความสามารถในการบีบอัดที่ดีกว่า H.264 ที่ช่วยลดแบนด์วิธลงได้ถึง 50% และถ้านำไปเทียบกับ H.265 ที่ขนาดไฟล์เดียวกัน H.265 จะให้คุณภาพของภาพดีกว่า VP9 เพียงแค่ 1% เท่านั้น
สเปกสุดท้ายของ VP9 จะเสร็จวันที่ 17 มิถุนายนนี้ แต่ตอนนี้ผู้ใช้ Chrome 28 Dev สามารถเปิดใช้ VP9 Beta ได้ก่อนแล้ว (จากหน้า chrome://flags) และ VP9 ตัวจริงจะเริ่มเข้ามาใน Chrome 29 Dev ที่เปิดใช้งานมาเป็นมาตรฐาน ไม่ต้องเปิด flag เอง
Mozilla ประกาศฟีเจอร์ใหม่ๆ ใน Firefox Nightly รุ่นทดสอบดังนี้
ITU ได้อนุมัติฟอร์มแมตวีดีโอ H.265 ซึ่งเป็นรุ่นต่อจาก H.264 ที่เป็นฟอร์แมตมาตรฐานที่พวกเราส่วนใหญ่รู้จักกัน H.265 นั้นมีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการอีกชื่อหนึ่งว่า High Efficiency Video Coding (HEVC) โดยมีเป้าหมายคือการลดแบนด์วิดท์ในการสตรีมมิงวีดีโอลงไปกว่าครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับฟอร์แมต H.264 ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากสำหรับการสตรีมมิงวีดีโอความละเอียดระดับ 4k ที่กำลังจะมาแรงในอนาคต และยังช่วยให้การสตรีมมิงวีดีโอความละเอียดระดับ HD บนเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือที่มีข้อจำกัดเรื่องแบนด์วิดท์นั้นดีขึ้นด้วยครับ
สงครามสิทธิบัตรระหว่างโมโตโรลากับไมโครซอฟท์ (ที่สืบต่อมาจนถึงยุคของกูเกิล) เริ่มมีสัญญาณของสันติภาพ เมื่อกูเกิลยื่นเอกสารต่อ ITC ขอ "ถอนคำฟ้อง" สิทธิบัตรบางรายการที่เคยฟ้องไมโครซอฟท์เอาไว้
สิทธิบัตรที่ว่าเกี่ยวข้องกับ H.264 ซึ่งมีส่วนหนึ่งที่ถือเป็น "สิทธิบัตรพื้นฐาน" (standards-essential patents) ที่จำเป็นต่อการใช้งานของทุกบริษัทในวงการ และตามมารยาทแล้วไม่ควรนำมาใช้กลั่นแกล้งหรือต่อรองกันในทางธุรกิจ (ในข้อตกลงที่กูเกิลยอมความกับ FTC ก็มีเรื่องนี้ คือจะอนุญาตให้คู่แข่งใช้งานสิทธิบัตรพื้นฐานเหล่านี้ได้)
หลังจากค่าย Mozilla กลับใจมาสนับสนุน H.264 ล่าสุดความสามารถนี้เริ่มเข้ามาใน Firefox 20 ซึ่งมีสถานะเป็น nightly แล้ว
การเล่น H.264 ยังจำกัดเฉพาะรุ่นบนวินโดวส์เท่านั้น (ต้องเป็น Vista ขึ้นไป) เพราะนโยบายของ Mozilla คือไม่ทำตัวเล่น H.264 เอง (ต้องจ่ายเงินให้กับ MPEG) แต่จะใช้ตัวเล่น H.264 ของระบบปฏิบัติการแทน ซึ่งตอนนี้ทีมงานเพิ่งทำเสร็จเฉพาะรุ่นบนวินโดวส์ ที่เล่นไฟล์ H.264 ผ่าน Windows Media Foundation
ก่อนหน้านี้ Firefox รุ่นบน Android 4.x รองรับ H.264 ไปก่อนแล้ว โดยใช้ตัวเล่นของระบบปฏิบัติการ Android ในลักษณะเดียวกัน
Firefox 20 จะออกรุ่นจริงช่วงเดือนเมษายน 2013 ครับ
ตัวแทนของบริษัทที่เป็นสมาชิกกลุ่ม MPEG ไปประชุมกันที่สวีเดนเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อเตรียมพัฒนามาตรฐานการบีบอัดวิดีโอตัวใหม่ High Efficiency Video Coding (HEVC) หรือชื่ออย่างไม่เป็นทางการคือ H.265
HEVC เป็นพัฒนาการอีกขั้นของการเข้ารหัสแบบ Advanced Video Coding (AVC) หรือ H.264 ที่เราคุ้นเคยกันดี โดยทางกลุ่ม MPEG คาดว่ามันจะบีบอัดข้อมูลได้มากกว่า H.264 ถึงสองเท่า
เจ้าภาพของงานนี้คือ Ericsson ซึ่งระบุว่า HEVC ถูกออกแบบมาสำหรับเล่นวิดีโอผ่าน mobile broadband ซึ่งจะกลายเป็นเรื่องปกติที่พบได้ทั่วไป ดังนั้นประสิทธิภาพในการบีบอัด HEVC จึงต้องดีขึ้นกว่า AVC เพื่อส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายมือถือได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ต่อจากข่าว Firefox อาจเปลี่ยนใจมารองรับ H.264 ทางผู้บริหารของ Mozilla สองรายออกมาเขียนบล็อกสนับสนุนทิศทางนี้
Brendan Eich ซึ่งมีตำแหน่งเป็น CTO ของ Mozilla (เขาคือผู้สร้าง JavaScript) เขียนบล็อกสนับสนุนให้ Firefox รองรับ H.264 โดยเขาบอกว่าตลาดวิดีโอบนเว็บเปลี่ยนไปมาก มือถือกำลังมีความสำคัญมากขึ้น ถึงแม้ Firefox เวอร์ชันเดสก์ท็อปจะไม่รองรับ H.264 ก็ไม่เป็นปัญหามากนัก เพราะยังเลี่ยงไปใช้ Flash แทนได้ (แต่เขาก็บอกว่ามันน่าเศร้าที่หลบ H.264 แล้วต้องใช้ Flash มาช่วย)
สงคราม codec อาจยุติเร็วกว่าที่คิด เมื่อทีมงาน Mozilla บางส่วนเริ่มเรียกร้องให้ Firefox เริ่มรองรับ H.264 บนอุปกรณ์บางตัว
Andreas Gal ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของ Mozilla ออกมาเสนอให้ระบบปฏิบัติการ Boot to Gecko และ Firefox for Android สามารถดึงพลังของฮาร์ดแวร์ช่วยประมวลผล H.264 ที่ติดมากับฮาร์ดแวร์ของมือถือได้
เว็บไซต์ MeFeedia รวบรวมสถิติของวิดีโอบนอินเทอร์เน็ต พบว่าวิดีโอถูกแปลงให้เข้ารหัสแบบ H.264 มากขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยในเดือนมกราคม 2010 มีวิดีโอเพียง 10% ที่เข้ารหัสแบบ H.264 แต่ในเดือนธันวาคมนี้ ตัวเลขเพิ่มเป็น 80% แล้ว
เหตุผลสำคัญก็มาจากความนิยมใน HTML5 และผลจากอุปกรณ์พกพาหลายๆ ชนิดไม่สามารถเล่นวิดีโอที่เข้ารหัสด้วย codec ของ Flash อย่าง VP6 หรือ Sorenson Sparks ได้ ทำให้เว็บไซต์และผู้ให้บริการจำนวนมากต้องแปลงวิดีโอเป็น H.264 เพื่อให้วิดีโอไฟล์เดียวสามารถให้บริการได้ทั้งแบบ Flash และ HTML5 นั่นเอง
สงคราม codec ระหว่างค่าย MPEG LA และ WebM ยังต่อสู้กันอย่างดุเดือด ความเคลื่อนไหวล่าสุดของฝั่ง MPEG LA คือสอบถามไปยังคู่ค้าของตนว่ามีสิทธิบัตรทางวิดีโอชิ้นใดบ้าง เพื่อสร้างชุดของสิทธิบัตร (patent pool) ไปไล่ฟ้องคู่แข่ง (ไม่ได้ระบุนามแต่เข้าใจตรงกันหมดว่าหมายถึง VP8 และ WebM)
ความเคลื่อนไหวนี้ทำให้กระทรวงยุติธรรมสหรัฐลงมาสืบสวนเรื่องนี้ เพราะอาจเข้าข่ายเจ้าตลาด (H.264 และ MPEG LA) ใช้อิทธิพลกีดกันคู่แข่งหน้าใหม่ไม่ให้เข้าสู่ตลาด
นอกจากกระทรวงยุติธรรมสหรัฐในฐานะตัวแทนรัฐบาลกลาง ทางสำนักงานอัยการของรัฐแคลิฟอร์เนียก็เตรียมสืบสวนเรื่องนี้เช่นกัน
ที่มา - Wall Street Journal
สงครามวิดีโอ H.264 vs WebM ยังผลัดกันรุกรับอยู่เรื่อยๆ ไมโครซอฟท์ซึ่งเป็นผู้สนับสนุน H.264 รายใหญ่ เคยออกส่วนเสริม H.264 สำหรับ Firefox มาก่อนแล้ว คราวนี้เป็นคิวสำหรับ Chrome บ้าง
ส่วนเสริมตัวนี้มีชื่อเต็มๆ ว่า Windows Media Player HTML5 Extension for Chrome ใช้ได้กับ Chrome 8.0 ขึ้นไป และใช้ได้บน Windows 7 เท่านั้น หลักการทำงานของมันจะเหมือนกับรุ่นของ Firefox คือใช้ความสามารถในการเล่น H.264 ที่ฝังมากับตัว Windows 7 มาเล่นวิดีโอให้แทน ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดได้จาก เว็บไซต์ Interoperability Bridges ของไมโครซอฟท์
ประเด็น กูเกิลถอด H.264 ออกจาก Chrome ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาอย่างมาก จนกูเกิลทนไม่ไหว ออกมาอธิบายการตัดสินใจใน Chromium Blog ดังนี้
ทำไมกูเกิลจึงสนับสนุน <video> และ WebM
กูเกิลสนับสนุน <video> เพราะเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน HTML5 ส่วนเรื่อง codec นั้นแบ่งเป็น 2 ค่ายชัดเจนอยู่แล้ว คือ Firefox/Opera สนับสนุน WebM/Theora และ Safari/IE สนับสนุน H.264 ซึ่งกูเกิลสนับสนุน WebM เพราะไม่ต้องเสียค่าใช้งาน
ทำไมกูเกิลถึงไม่เลือก H.264
ข่าว Chrome ยกเลิกการรองรับ H.264 แล้ว ยังสะเทือนวงการเว็บต่อเนื่องอีกหลายวัน เราเห็นปฏิกริยาตอบโต้จากไมโครซอฟท์กันแล้ว คราวนี้มาดูปฏิกริยาจากค่ายอื่นๆ กันบ้าง
ค่าย Mozilla ไม่มีอะไรซับซ้อน เพราะไม่เอา H.264 ตั้งแต่แรก บุคคลากรของ Mozilla ออกมาสนับสนุนการตัดสินใจของกูเกิลกันสั้นๆ โดยให้ข้อมูลว่าพันธมิตร WebM ทั้งสามเบราว์เซอร์มีส่วนแบ่งตลาดโลกรวมกัน 40% จะช่วยดันให้ WebM เกิดได้ไม่ยาก - Aza Dotzler
ปัญหาแท็ก <video>
ที่ไม่สามารถหาตัวถอดรหัสร่วมกันได้ทุกเบราเซอร์เป็นปัญหาเรื้อรังมาตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นแท็กนี้โดยก่อนหน้านี้มีเพียง Opera และ Firefox ที่ไม่ยอมรับ H.264 เนื่องจากค่าใช้จ่ายที่แพงเกินไปส่วนผู้ผลิตรายอื่นๆ (รวมถึงกูเกิล) นั้นต่างมีสิทธิเข้าใช้งาน H.264 ทั้งสิ้น แต่การตัดสินใจของโครงการ Chromium/Chrome ที่จะไม่รับ H.264 ก็เพิ่มพันธมิตรเข้ามาอีกราย
ปัญหาเรื่อง codec ที่ใช้ในแท็ก <video> ของ HTML5 ยังไม่ได้ข้อยุติ และดูจะแบ่งเป็นสองขั้วอย่างชัดเจน โดยฝ่ายที่สนับสนุน H.264 คือไมโครซอฟท์และแอปเปิล ส่วนฝ่ายที่ไม่อยากใช้ H.264 ด้วยเหตุผลเรื่องสิทธิบัตรก็ไปรวมกันที่ WebM ซึ่งนำโดยกูเกิล (จริงๆ แล้วกูเกิลก็สนับสนุน H.264 ด้วย แต่เมื่อมี WebM ทิศทางก็เปลี่ยนไป)
ค่ายที่ปฏิเสธ H.264 อย่างจริงจังคือ Firefox ซึ่งช่วงแรกเสนอให้ใช้ Ogg Theora เสียด้วยซ้ำ โอกาสที่ Firefox จะใช้ H.264 ดูริบหรี่มาก แต่วันนี้มันกลับเป็นจริงแล้ว โดยฝีมือของ "ไมโครซอฟท์"
สงครามสิทธิบัตรระหว่างกูเกิลและ MPEG LA ผู้ถือสิทธิ์ในสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสวีดีโอจำนวนมากกำลังทำให้สมรภูมิวีดีโอบนอินเทอร์เน็ตอาจจะเป็นตัวตัดสินอนาคตของอัลกอลิทึมการเข้ารหัสภาพเคลื่อนไหว เพื่อหยุดกระแสการย้ายค่ายของเว็บวีดีโอต่างๆ ไว้ล่วงหน้า ทาง MPEG LA ก็ประกาศว่าวีดีโอที่เปิดให้เข้าชมฟรีผ่านอินเทอร์เน็ต จะไม่ต้องเสียค่าสิทธิบัตรให้กับ MPEG LA อีกต่อไป โดยไม่มีกำหนดหมดอายุ
ก่อนหน้านี้ MPEG LA ประกาศให้ใช้งาน H.264 ฟรีเช่นกันแต่กำหนดเวลาไว้ที่ปี 2015 เท่านั้น
ประกาศนี้ไม่มีผลต่อผู้ผลิตเครื่องเล่นทั้งหลายที่ต้องจ่ายค่าสิทธิบัตรอยู่แล้ว และยังไม่รวมถึงบริการเสียเงินเช่น iTunes และ Hulu เป็นต้น