ความยากของการใช้ Docker บนระบบปฏิบัติการที่ไม่ใช่ลินุกซ์คือการติดตั้งต้องผ่านตัวจำลองระบบหรือ Virtual Machine (VM) เท่านั้น คนสายเขียนโปรแกรมจึงต้องเรียนรู้วิธีการใช้งานที่ยุ่งยากกว่าปกติ ทั้งเรื่องการแชร์นำโค้ดเข้าไปใช้ใน VM และเรื่องการเข้าถึงแอพพลิเคชันผ่าน Docker ใน VM ที่ต้องใช้ความรู้ทางด้านเครือข่ายบ้าง
ที่ผ่านมาจึงมีตัวติดตั้ง Docker ที่ช่วยให้ชีวิตของนักพัฒนาง่ายขึ้นตั้งแต่ Boot2docker ที่เป็นลินุกซ์ VM ขนาดเล็กไว้สำหรับรัน Docker มาจนถึง Kitematic ที่มีหน้าตาสวยงามถูกใจผู้ใช้งาน มาเป็นซอฟต์แวร์ครอบสำหรับจัดการ Boot2docker อีกทีหนึ่ง
มาถึงภาคที่สองของการรีวิวกันแบบรูปท่วมทุ่งกันต่อเลยนะครับ การรีวิวนี้เป็นเนื้อหาที่ต่อจาก รีวิว Samsung Galaxy Tab ภาค 1 - ฮาร์ดแวร์ ซึ่งในภาค 2 นี้จะเน้นไปที่การใช้งานทั่วไปโดยที่ยังไม่ได้ลงโปรแกรมเพิ่มเติมครับ
เริ่มแรก หลังจากที่ผมใช้มาหนึ่งวันเต็มๆ มีความรู้สึกดังนี้ครับ
หลังจากความสำเร็จของ Samsung Galaxy S ที่ทำกำไรถล่มทลายให้กับซัมซุง จนถึงกับหลายคนอาจจะยกให้ Galaxy S เป็นคู่แข่งโดยตรงของ iPhone 4 จนมาถึงวันนี้ที่เปลี่ยนการแข่งขันจากอุปกรณ์มือถือมาสู่แท็บเล็ตที่มีขนาดหน้าจอใหญ่ขึ้น และยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าขนาดมาตรฐานชายไทยควรจะเป็นเท่าใด ด้วยผู้นำตลาดอย่าง iPad ที่หลายคนบ่นว่าถือมือเดียวไม่ไหว แต่กลับเป็นอุปกรณ์ที่มีวางขายอยู่แทบทุกตู้กระจกในห้างชื่อดังชั้น 4 ใกล้สยาม จนมาถึงแท็บแล็ตที่ทุกคนกำลังจับตามองว่าจะเข้ามาตีเจ้าตลาดได้เหมือนกับ Galaxy S หรือไม่ นั่นคือ Samsung Galaxy Tab ที่ผมจะนำมารีวิวในวันนี้นี่เองครับ
เมื่อไฟร์ฟ็อกซ์คิดการใหญ่อยากถูกบันทึกลงในกินเนสส์บุ๊ก แคมเปญ "Firefox 3 Download Day 2008" จึงเกิดขึ้น โดยทางโมซิลล่าได้เขียนลงในบล็อกชักชวนให้ผู้ที่ใช้งานไฟร์ฟ็อกซ์ (หรือแม้อาจจะไม่ได้ใช้งานก็ตาม) ร่วมดาวน์โหลดไฟร์ฟ็อกซ์ 3 เพื่อให้ได้สถิติ "ซอฟต์แวร์ที่ถูกดาวน์โหลดมากที่สุดภายในเวลา 24 ชั่วโมง" โดยผู้ที่อยากจะเข้าร่วมการทำสถิติครั้งนี้เพียงแค่เข้าไปที่หน้า Firefox 3 Download Day 2008 แล้วกดปุ่มเข้าร่วม (ในเว็บใช้คำว่า Pledge) จากนั้นใส่ประเทศที่ตัวเองอยู่ และอีเมลลงไป
กูเกิลประกาศเปิดตัว "AJAX Libraries API" ซึ่งเป็นจาวาสคริปต์ที่เอาไว้เรียกจาวาสคริปต์ไลบรารีอีกทีหนึ่ง โดยมีแนวคิดว่า ปัจจุบันนักพัฒนาเว็บจำนวนมากนิยมใช้จาวาสคริปต์เพื่อเพิ่มความสามารถให้กับตัวเว็บไซต์ให้มีลูกเล่นมากขึ้น และจาวาสคริปต์ไลบรารีก็เป็นเฟรมเวิร์กที่นักพัฒนาเว็บชอบใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความเร็วให้กับการพัฒนา
หลังจากที่ออก KDE 4.0 มาได้สักพักหนึ่ง และได้เสียงตอบรับจากผู้ใช้ทั้งในแง่ดีและแง่เสีย ซึ่งในแง่เสียส่วนมากจะมีปัญหาในเรื่องของความเสถียร ซึ่งทางทีมงาน KDE เองก็ประกาศชัดว่า KDE 4.0 เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของแพลตฟอร์ม "KDE 4" เท่านั้น สำหรับฟีเจอร์ที่ยังขาดไปจะเริ่มทยอยมาใน KDE 4.1 (ข่าวเก่า)
ทีมงานจึงได้ฤกษ์ออก KDE 4.1 Beta1 มาให้ทดสอบฟีเจอร์ใหม่ๆ โดยที่น่าสนใจคือการนำโปรแกรมที่ยังตกค้างอยู่จาก KDE 3 มายัง KDE 4.1 โดยเฉพาะโปรแกรม Kontact ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ประเภท PIM ซึ่งถูกนำมาปรับปรุงให้เข้ากับการใช้งานทางธุรกิจมากขึ้น