ที่ผ่านมาทุกคนค่อนข้างเห็นด้วยกับการที่แอนดรอยเปิดกว้างใครผู้ผลิตคอนเทนต์ผลิตอะไรก็ได้ ตรงข้ามกับ Apple โดยสิ้นเชิง จนเกิดวาทะจาก Steve Jobs ว่าถ้าอยากซื้อโปรแกรมโป๊ก็ให้ไปซื้อบนแอนดรอย แต่ความเป็นอิสระนั้นถ้าไม่ถูกตรวจสอบเลยก็อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง หากเจ้าของระบบปฏิบัติการมีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งนี้กำลังจะเป็นเรื่องที่ผมอยากนำเสนอและสอบถามความคิดเห็นของทุกท่าน ว่าอะไรคือเส้นแบ่งระหว่างอิสระภาพกับความรับผิดชอบผมขอยกกรณีตัวอย่างให้เห็นภาพครับ
เหตุเกิดเนื่องจากคุณ Michael Gartenberg ได้ทวีตบนทวิตเตอร์ว่าเขาได้ค้นหาคำว่า "Jewish" ในแอนดรอยมาร์เก็ตกลับพบ themes ของนาซีกับฮิตเลอร์จำนวนมากแน่นอนว่าทาง Engadget ได้เข้าไปตรวจสอบดูและพบว่าเป็นเรื่องจริง
ทางผู้เขียนของ Engadget ได้ให้ความเห็นว่า app store ไม่ใช้อินเตอร์เน็ตซึ่งสามารถจะเขียนหรือแสดงความคิดเห็นใดๆก็ได้ แต่ app store คือพื้นที่ที่ถูกควบคุมโดยผู้ผลิตที่ต้องมีกฏและการตรวจสอบเพื่อทำให้ลูกค้าที่เข้ามาใช้ app store นั้นสามารถใช้งานและติดตั้ง software ได้ง่ายและปลอดภัยไม่ว่าผู้ผลิตจะมีกฏมากแบบ Apple หรือน้อยแบบ Google ก็ตาม
การที่คุณบอกว่าไม่อยากให้มีการเซ็นเซอร์เลยให้เป็นวิจารณญาณของผู้ใช้ ถ้าคุณบอกว่าโปรแกรมที่มีรูปโป๊เป็นเรื่องที่คุณยอมรับได้ แล้วการที่คุณเข้าไปค้นหาโปรแกรมโดยใช้ข้อความค้นหาที่ไม่เกี่ยวข้องกันกับแอพพลิเคชั่นที่ขึ้นมาล่ะ คุณยอมรับได้ไหม เช่นถ้าคุณค้นหาคำว่า "ธรรมะ" แล้วมีรูปโป๊ขึ้นมาล่ะคุณยอมรับได้ไหม (กรณีของ Engadget คือการค้นหาคำว่า"Jewish" กลับพบ theme "นาซี")
นอกจากนี้การที่บอกว่าแอนดรอยมาร์เก็ตเป็นตลาดเปิดใครอยากจะขายโปรแกรมอะไรก็ได้ มันหมายถึงการที่ผู้ผลิตต้องยอมรับโปรแกรมทุกตัวที่ออกมาขาย ถ้ามันผ่านเงื่อนไขทางเทคนิคเท่านั้น หรือว่าเป็นความมักง่ายของผู้รับผิดชอบที่ปล่อยให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นเพราะขาดการตรวจสอบที่ดีพอ
แน่นอนว่ากรณีนี้มันค่อนข้างที่จะสุดโต่งไปซักนิด แต่เรื่องแบบนี้จะเกิดขึ้นแน่นอนในอนาคตแม้แต่ในประเทศไทยเองก็ตาม ยิ่งบ้านเราเริ่มมีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายมากขึ้นแล้วจุดไหนละที่คุณต้องควบคุมจุดไหนล่ะที่มันมากเกินไป เรื่องนี้ล่ะครับที่ผมอยากฟังความคิดเห็นของทุกท่าน เพราะเรื่องนี้มันไม่มีดำมีขาวชัดเจน นั่นคือเหตุที่ทำให้มันยากในการตั้งข้อกำหนดครับ แล้วผมเองก็ไม่แน่ใจด้วยว่าในประเทศไทยมีใครเป็นผู้รับผิดชอบตรงนี้หรือไม่ แล้วถ้าเกิดมีผู้รับผิดชอบควรใช้เกณฑ์อะไรที่จะตัดสินว่าโปรแกรมนี้ผ่านหรือไม่ผ่านการตรวจสอบ
ส่วนตัวผมเองมองว่ายังไงก็ต้องคุมครับ เพราะมันเป็นความรับผิดชอบเบื้องต้นที่บริษัทควรจะมี แต่มากน้อยแค่ไหนเป็นเรื่องที่ตัวผมเองก็ไม่แน่ใจว่าเส้นแบ่งตรงไหนถูกต้องหรือเราแบ่งมันตามใจเราหรือเปล่ายังไงก็ลองช่วยกันคิดดูนะครับ
ป.ล ทาง Google ได้ออกมาแจ้งแล้วว่าโปรแกรมดังกล่าวละเมิดข้อตกลงในการใช้งานครับ
ที่มา: Engadget.com
Comments
ผมไม่แน่ใจว่าควรทำเป็นข่าวหรือไม่ ถ้าไม่เหมาะสมยังไงรบกวนแจ้งนะครับจะลบออกหรือย้ายไปในที่ที่เหมาะสมครับ และเนื่องจากข่าวนี้ผมได้ทั้งแปลและปรับเนื้อหาให้อ่านเข้าใจกันได้มากขึ้นถ้าไม่เหมาะก็ขอให้แจ้งครับจะได้ปรับปรุงต่อไป
เรื่องหัวข้อแก้ไขให้แล้วครับ
แต่ส่วนเรื่อง Header กับ Bullet ขอเวลาศึกษาซักนิดนะครับจะพยายามแก้ไขให้
เพราะลองทำแล้วมันแปลกๆขอลองอีกซักพักถ้าโอเคจะ post ขึ้นอีกครั้งครับ
ผมลองใส่ header ดูครับน่าจะทำให้อ่านง่ายขึ้นเพราะเท่าที่ดูไม่อยากใช้ bullet ครับ
ไม่ทราบว่าพอใช้ได้ไหมครับหรือยังเยอะไป
header โอเคแล้วครับ แต่ตรงเนื้อหายังเขียนติดกันเป็นพรืดไปหน่อยครับ ลองเว้นๆ ช่วงจบประโยคเพิ่ม
ผมลองแก้ไขโดยการขึ้นย่ิอหน้าใหม่ครับไม่มราบว่าดีขึ้นไหมครับ
ไม่แน่ใจว่าพอขึ้นย่อหน้าใหม่ควรจะเว้นบรรทัดจากข้อความก่อนหน้าหรือไม่ครับ
แก้ไขแล้วครับ แต่ชอบแบบนี้มากกว่าแบบเคาะย่อหน้าใช่ไหมครับคราวหน้าถ้ามีข่าวยาวๆ (ซึ่งผมก็เล็งไว้แล้วว่าจะเอามาเขียน) จะได้่ปฏิบัติถูกครับ
ก็ตามนั้นไงครับ
สำหรับ App Store สิ่งที่ควบคุมมันได้คือ ข้อตกลงการใช้งาน และการแจ้งจากผู้พบเห็น
โปรแกรมเป็นหมื่นเป็นพันเราก็ควรจำเป็นต้องยอมรับข้อจำกัด การกระทำแบบปิดก่อน ต้องผ่านทีมงานก่อน แบบแอปเปิล มันไม่ได้ผล 100% หรือแม้แต่การดักก็มีทางหลบเลี่ยงมากมาย
ในขณะที่การวางมาตรการป้องกันก็จะไปกระทบคนดีๆที่เขาทำสิ่งดีๆ
กรณีศึกษา มีเพื่อนของเพื่อนผม กู้เงินเปิดบริษัทเล็กๆ ก่อน iPhone จะวางจำหน่าย เพื่อจะได้เขียนเกมเขียนแอพไอโฟนขายได้เป็นบริษัทแรกๆ และเขียนแอพแรกเสร็จก่อนวันวางจำหน่าย พอถึงวันที่ส่งได้ก็ส่งไป
สามเดือนผ่านไม่ App ไม่ถูก Approve เสียที เงินที่กู้มากำลังจะหมด ไม่มีเงินจ่ายเงินเดือนพนักงาน
อันนี้จริงๆไม่มีใครผิด แต่มันเป็นข้อจำจัดของระบบที่ต้องการให้ปลอดภัยที่สุด กับข้อจำกัดของบริษัทเล็กๆที่เงินไม่คล่อง แต่สุดท้ายแล้วก็ช่วยไม่ได้อยู่ดี จำได้ว่ามีข่าวว่าไอโฟนก็มีแอพแปลกๆหลุดมาให้คนซื้อไป แล้วแอปเปิลก็ถึงมาถอนแอพนั้นทีหลัง
เปล่าประโยชน์
ส่วนตัวแล้วผมไม่เคยขัดข้องกับการมีแอพนาซีขาย
ก็เป็นเรื่องที่น่าขัดใจกับการที่หาเรื่องยิวแต่ไปเจอแอพนาซีเข้า
แต่เอาจริงๆ ตราบใดที่โลกนี้ยังมีลัทธิชาตินิยม ลัทธิคลั่งศาสนา หรือลัทธิหัวรุนแรงอะไรก็ตามแต่ นาซีก็ถือเป็นเรื่องปกติ
อ่านประวัติศาสตร์นาซีจะทราบครับ นาซีใช้อุดมคติเกี่ยวกับศาสนาคริสต์ ฮิตเลอร์เป็นผู้สนับสนุนนิกายโปรเตสแตนท์ แถมยังเป็นคาธอลิคที่เคร่งครัดมาก กินมังสวิรัติด้วย
คนที่ออกกฏหมายห้ามสูบบุหรี่เป็นคนแรกในประวัติศาสตร์ ก็ฮิตเลอร์นี่แหละ
นอกจากนี้ยังชอบใช้วาทกรรมชาตินิยม รักชาติ เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย เป็นคนเยอรมันต้องรักชาติ รักชาติต้องเลือกพรรคนาซี ใครไม่เลือกพรรคนาซีแปลว่าไม่รักชาติ ไม่มีความรู้สึกชาตินิยม
ก่อนจะออกทะเลไปมากกว่านี้ขอตัดจบที่ว่า การที่มีคนจะชื่นชมนาซีมันเรื่องปกติมากครับ
ไทยเราอยู่ในสถานะสนับสนุนอเมริกาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ก็มักจะคิดว่านาซีทำในสิ่งที่ต้องไม่มีใครชื่นชม คนที่ทำแอพนาซีนี่มันต้องไม่ใช่คนดี
แต่คนดีๆที่ชื่นชมพรรคนาซียังมีอีกเยอะครับ ขี้เกียจจะเล่ามากนะ แต่เอาเป็นว่า จากที่ผมพูด รู้สึกมั้ยครับว่าพรรคนาซีคล้ายๆอะไรในประเทศไทย?
แนวคิดของพรรคนาซี ผมก็เกลียด แต่มันมีคนชอบเยอะ
ถ้าคุณรู้และเข้าใจนาซี คุณอาจจะชอบแนวคิดแบบนาซีก็ได้
ตอนนั้นนาซีแค่ผิดพลาดในรายละเอียด พยายามหาทางทดลองกับคนให้คนกลายเป็นชาวอารยัน เพราะถ้าสำเร็จ ก็ไม่ต้องทำสงครามต่อ เพราะเปลี่ยนให้ทุกคนกลายเป็นชาวอารยันหมดแล้ว โลกจะสงบสุข ทุกคนเหมือนกัน และไม่มียิวอีกต่อไป
ความรู้สึกนี้ต่างกันแค่ไหน เวลาที่เราเอาลิงมาทดลอง?
มนุษย์เราเชื่อว่า ลิงเป็นสิ่งมีชีวิตที่ต่ำชั้นกว่าเรา เอามาทดลองได้ เป็นการเสียสละ นี่ก็เหมือนกันว่า ในตอนนั้นนาซีก็เชื่อว่า ยิวเป็นสิ่งมีชีวิตที่ต่ำชั้นกว่าอารยัน เอามาทดลองได้ เป็นการเสียสละ
มุมมองต่างกันมันก็เลยเป็นปัญหาให้เราโจมตีนาซี
แต่ในมุมมองผม คนที่ยังเฉยๆกับการเอาลิงมาทดลอง มันก็ไม่ต่างกับนาซีเท่าไหร่
ผมเลยไม่รู้จะเกลียดชังนาซีไปทำไม ทุกวันนี้การแพทย์ของเราส่วนหนึ่ง ก็มีดอกผลการทดลองของนาซีปนอยู่ด้วย
ผมไม่อยากเกลียดปลาไหลแล้วกินน้ำแกง
หลุดประเด็นไปไกลแล้ว กลับมาที่การควบคุม
ยุคนี้คือ Internet 3.0 แล้วครับ App Store จะได้รับการควบคุมจาก Google แต่หน้าที่ในการตรวจตราตรวจสอบคือหน้าที่ของคนใช้งาน
แอพเป็นหมื่นเป็นแสนจะให้ใครตรวจสอบ ต้องจ้างกี่คน แน่ใจหรือว่าจะไม่หลุด
ปุ่ม Report มันมีไว้เพื่อการนี้ หรือถ้าเราต้องการจริงๆ เราอาจจะไปช่วยบริจาคให้ Google จ้างคนมานั่งตรวจ App ก็ย่อมได้
หรือต่ออาจจะมีคนที่ประกาศตัวว่ารับจ้างตรวจ App แลกเงินบริจาค(เหมือนรับจ้างเขียนข่าว หรือสืบหาเรื่องทุจริตของนักการเมือง ตามเงินบริจาค)
และที่สำคัญกว่านั้น มี App นาซี มีธีมนาซี แล้วมันยังไง?
อย่างที่บอกครับว่า นาซีก็มีแนวคิดที่ถูกจริตคนกลุ่มหนึ่ง เราห้ามไม่ให้ใครสนับสนุนนาซีได้หรือ?
การเอาเรื่องนี้มาเป็นประเด็นไม่ปลอดภัยนี่มันถือว่าไม่ใช่เรื่องนะ
สำหรับผม ผมไม่อยากให้มีการปิดกั้นอะไรในโลกนี้ แต่อยากให้มีการกรองมากกว่า
นั่นคือ App บาง App ควรจะมีการติด Tag อะไรบางอย่าง ให้ไม่สามารถค้นเจอได้ ถ้าผู้ใช้ไม่มี Tag ที่ตรงตามเงื่อนไข
อย่างไอ้ธีมนาซีนี่ก็ควรจะติด Tag Nazi ไว้ ถ้าใครที่ไม่ได้ Like Nazi ก็จะหามันไม่เจอ
ก็ควรจะมีหน้ารวม Tag ที่จัดได้ว่าสุ่มเสี่ยง คนใช้ต้องไป Accept กันเองทีละอัน แอพ/ธีมพวกนั้นถึงจะมีโผล่มาให้่เห็น
การที่คิดว่า ต้องมีคนมาควบคุม นั่นมันไม่เข้าท่าครับ
ไม่ว่ายังไงคนก็มีอคติ แม้แต่คุณก็ยังเกลียดนาซี(ผมก็เกลียด) แต่ก็มีคนชอบนาซี
แล้วอะไรผิดอะไรถูกกันแน่?
สิ่งที่ควรควบคุมมีอย่างเดียวครับ คือการกระทำที่จะไปกระทบคนอื่น อันพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์
เช่นการไปฆ่าคน หรือเบาะๆก็ไปทำร้ายคน กระทบคนอื่นตามหลักวิทยาศาสตร์แน่นอน คือสิ่งที่ควรควบคุม
อินเตอร์เน็ตก็เหมือนกัน ใครจะซื้อหาหรือครอบครองอะไรก็ตาม มันไม่ควรมีใครควบคุม นอกจากว่ามันไปกระทบต่อคนอื่นได้
และสิ่งที่ควบคุมก็ไม่ควรเป็นสิ่ง Active เพราะมันทำไม่ได้ และมันจะละเมิดความเป็นส่วนตัวของคนในสังคม
มันควรจะเป็นการควบคุมแบบ Passive คือกำหนดบทลงโทษให้รุนแรง แต่ต้องมีคนมาแจ้งถึงจะเริ่มทำงานได้
อันนี้เป็นหลักการธรรมดาของกฏหมาย แต่ถ้าใครชอบตุลาการภิวัฒน์ ผมก็คงจะต้องบอกว่า นี่แหละแนวคิดนาซี
สุดท้ายี้ผมขอบอกว่า
ผมไม่เห็นด้วยกับ Engadget ที่บอกว่า App Store ต้องรับผิดชอบวบคุมดูแลของที่มาขาย
เพราะยุคนี้แล้วมันทำไม่ได้ แอพตัวนึงมันก็เหมือนสินค้าชิ้นนึงในสินค้านับล้านชิ้นในห้างสรรพสินค้า
สมมุติว่าธีมคือเสื้อผ้า ลองสั่งให้หาเสื้อผ้าในจตุจักรที่มีสัญลักษณ์นาซีสิครับ หาให้หมดได้รึเปล่า? ต้องใช้คนกี่คน? ทางหลบเลี่ยงมีมากแค่ไหน?
เอาออกรอบนึง พรุ่งนี้ก็คงกลับมาใหม่ จะให้ตรวจทุกวัน?
ปรัชญาลัทธิเต๋าบอกว่า ถ้าอยากบีบ ต้องปล่อยให้มันขยาย
ยิ่งปิดก็ยิ่งเพิ่ม ยิ่งมีระบบยิ่งมีช่องว่าง ยิ่งมีกฏหมายยิ่งมีโจร ยิ่งเก็บภาษีประเทศยิ่งจน
ยิ่งพยายามควบคุม คนที่ไม่ถูกควบคุม ไม่อยากถูกควบคุม ก็มีมากเท่านั้น
อย่าลืมว่ามันเป็นข้อตกลงของ Android อยู่แล้วว่า จะไม่มานั่งตรวจสอบ App ใน AppStore
คนใช้ Android ก็ต้องตรวจสอบเอง ดูแลตัวเอง และช่วย Report ให้กูเกิล
ถ้าอยากอยู่ในกรงที่ปลอดภัย ก็อย่าซื้อแอนดรอยด์ครับ ไปซื้อไอโฟนซะ
+1
ถูกใจมาก
อ่านของคุณแล้วเพลินดีเหมือนกัน
และก็เห็นด้วยนะว่าใช้ปุ่ม report ให้เป็นประโยชน์
like
+1 ยาวแต่เคลิ้ม.. และแอบเห็นด้วยเรื่องนาซี
+1
ถ้าลองอ่านประวัติศาสตร์จะเห็นว่าเรื่องนาซีในซีกโลกตะวันตกเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก การที่ลัทธิความเชื่อหนึ่งสามารถปลุกปั่นมนุษย์ให้เป็นเครื่องจักรสังหารฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวทั้งโลกเกือบ 6 ล้านคนนั้นถือได้ว่าเป็นเรื่องน่าเจ็บปวดของผู้ถูกกระทำ และเป็นเรื่องน่าอัปยศอดสูสำหรับผู้กระทำ
ดังนั้นในมุมมองของผู้ได้รับผลกระทบแล้ว เราสามารถเชื่อได้เลยว่าคำว่านาซีนั้นมีนัยยะทางความคิดที่ต่างจากบุคคลอื่นๆโดยสิ้นเชิง
ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้ตัวอย่างเรื่องการค้นหาใน Market จึงกลายเป็นประเด็นขึ้นมาได้
(แค่อยากเล่าเรื่อง)
ปุ่ม Like อยู่ตรงไหนคะ
Like ด้วยคนครับ
ป.ล.
นี่มันก็เป็นแค่ความเห็นของ Engadget ที่เชื่อเอาเองว่า App Store ทุกที่ในโลก ต้องมีการควบคุม ต้งปลอดภัยจากอะไรทุกอย่าง
ไม่ใช่เรื่องเลยที่มากล่าวหาว่าคนอื่นมักง่าย
ป.ล.2
รูปโป๊ใช้บำเพ็ญตบะได้นะครับ
ปล.2 ถูกใจผมมากคับ 5555+
ที่ผมแปลเรื่องนี้เพราะเหตุผลแบบที่พี่ว่ามาเลยครับ เพราะผมเข้าใจว่าในอเมริกาคนยิวเยอะและมีอำนาจการไปทำให้คนกลุ่มนั้นไม่พอใจคงไม่ใช่เรื่องดี แต่คนอื่นๆทั่วโลกล่ะคนชอบนาซีผิดไหมถ้าคุณเชื่อในเสรีนิยมใครจะนิยมชมชอบใครก็ต้องเป็นอิสระครับ ผมก็เลยสงใสว่าการให้ report เอาแบบนี้หรือจะกรองเอาเลยแบบ Apple มันจะช่วยได้จริงหรือเพราะไม่ว่าจะ report หรือ approve ก็ต้องผ่านคนอยู่ดีแล้วสุดท้ายใครล่ะเป็นคนตัดสิน ส่วนตัวผมเลยอยากให้ทำคู่มือมาเลยมากกว่าว่าหัวข้อไหนจะจัดการยังไง แต่ก็อีกนั่นล่ะแล้วใครจะเป็นคนมากำหนดอีกมันก็เลยเป็นเรื่องที่วนไปวนมาในหัวผม ก็เลยเอามาลองสอบถามดูใน Blognone ว่าคิดเห็นกันอย่างไรครับ
ในประเทศไทย Search หาเรื่องเว็บนาซีอาจได้เจอเว็บดราม่าแทน..
และยังมีอาเบะเป็นท่านผู้นำในหลายๆภาค..
555 ผีนาซี
เปลี่ยนจากควบคุมเป็นสร้า่งเงื่อนไขในการเจอน่าจะตรงใจกว่า อย่างน้อยๆก็ไม่ต้องเจอสิ่งที่ตรงกันข้ามกันอย่างสิ้นเชิง เช่น search เหลืองเจอแดง (กรณีน่าจะใกล้ๆกัน) ก็เป็นประเด็นได้ เหมือนเราชอบสังคมแบบไหนก็เข้าไปอยู่ อีกสังคมนึงที่เราไม่คุ้นชินมันก็น้อยมากที่เราจะเจอ เหมือนกับพวกมุกภายในกลุ่มเพื่อน เราคุยกันเ้ข้าใจ คนอื่นนอกกลุ่มก็จะ งงๆ ถ้ามันเป็นเรื่องเฉพาะมากๆ
เป็นกรณีศึกษาที่ google จะจัดการตลาดตัวเองยังไงให้มันเหมาะสมตามที่ๆมันควรอยู่มากกว่า (ไปบังคับเป็นกฎ) ถ้าให้มองมุม app เป็นสินค้าตามตลาด ในกรณีนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับผมเป็นยิว ไปเดินโซนยิว แต่เจอ app นาซี ทั้งๆที่มันไม่น่าจะมี แต่ถ้ามาคิดในมุม search engine ผม search ยิวยังไงผมก็เจอนาซีวันยันค่ำ เพราะนาซีมีประวัติชัดเจนกับยิว สุดแล้วแต่จะนึกก็ต้องตามดูกันต่อไป
ลองคิดเล่นๆ ถ้าผมเป็นพ่อแม่ ผมจะกล้าซื้อแอนดรอยด์ให้ลูกวัยประถมของผมเล่นได้ยังไงเนี่ย
อืมถ้าแบบนั้นผมว่าซื้อ Nokia รุ่นขาวดำครับแน่นอนกว่าอึดทนถึกไม่ต้องห่วงโดนขโมยเพราะโจรมันไม่เอา :>
แต่ถ้าเป็นพวก Iphone, Android, Windows Mobile พวกนี้นี่ยังไงก็เจอครับ
ถ้าลูกอยู่ประถมคงไม่ให้แอนดรอยอะครับ 555
ถ้าคิดว่าดูแลไม่ได้ "ไม่ควรกล้า" ครับ
การซื้อ smartphone ให้เด็กๆ เทียบเท่ากับการซื้อคอมพิวเตอร์ให้เด็กๆ ไปเล่นในห้องนอนโดยไม่มีเราอยู่ตรงหน้าทุกประการ พ่อแม่ควรตระหนักประเด็นนี้อย่างเต็มที่
lewcpe.com, @wasonliw
สมัยผมตอนประถม ยังโยนตุ๊กตุ่น เป่าหนังยางดีดลูกแก้วอยู่เลย 555
ปัญหาไม่ได้อยู่ที่มือถือ เพราะเขาไม่ได้แปะป๊ายว่าเด็กต้องใช้ด๋อย
ประเด็นมันเป็นที่ตัวผู้ใหญ่ ว่าจะสามารถให้คำแนะนำลูกได้อย่างไร
หรือจริงๆ จะเป็นว่า ผู้ใหญ่คิดอย่างไรว่าเด็กสมควรใช้
กับอีกประเด็นคือตัวเด็ก เด็กมีวุฒิภาวะเหมาะสมหรือเปล่าที่จะรับสิ่งนี้
มันก็ไม่ใช่เรื่องอายุของเด็กหรอก แต่เป็นสภาวะแวดล้อมที่หล่อหลอมเด็กคนนั้นขึ้นมา
เด็กบางคนวุฒิภาวะดูมีมากกว่าผู้ใหญ่บางคนเสียอีก
ปล. (นอกประเด็๋น) ผู้ใหญ่ก็เกรียนแตกได้ แถม Ego แรงกว่าเด็กอีก
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
ซื้อมือถือรุ่นไหนต่อเน็ตได้ เด็กก็เข้าเว็บที่ไม่เหมาะสมได้ทั้งนั้นแหละครับ
มันอยู่ที่คนใช้ ไม่ใช่ที่มือถือ มือถือเค้าไม่ได้ build-in wallpaper เป็นภาพโป๊มาสะที่ไหน
เปิดเว็บก็ไม่ได้ตั้งหน้า homepage มาให้เป็นเว็บโป๊นะครับ
และที่สำคัญผมคงไม่ซื้อมือถือแพงๆให้เด็กเสี่ยงอันตรายหรอกครับ
ถ้าลูกอยู่ประถม internet ได้ อ่านไทยรัฐวันอาทิตย์ หรือ เดินผ่านแผงหนังสือ หรือแม้แต่เข้าร้านตัดผมชายแบบโบราณ
ไม่ต่างกับกับการมีโทรศัพท์แอนดรอยด์
แต่ถ้าลูกผมอยู่ประถมจริง ผมคงหามือถือที่โทรเข้าออกได้พอให้ใช้
กลัวจะเจอเหตุการณ์เหมือนสมัยที่ youtube โดนแบนมากกว่า
อย่างน้อยควรจะมีระบบ เรทติ้ง มาตรฐานเดียวกับอุตสาหกรรมเกมส์และหนัง
ส่วนเรื่อง นาซี ควรปล่อยให้มีได้ แต่ต้อง ผ่านการเซนเซอร์ด้านความถูกต้อง
ของประวัติศาสตร์ และมีคำเตือนให้ชัดว่าเป็นลัทธิที่สนับสนุนการฆ่าล้างเผ่าพันธ์
ปัญหาทั่วโลกคือพวกขวา เป็นนักโกหกหน้าตายที่เก่ง ไม่ว่าประเทศไหน (แถวนี้ด้วย)
แต่ผมว่าหลีกเลี่ยงเป็นดี มันเป็นประวัติศาสตร์ที่น่าอับอาย และน่าเจ็บปวด
บางครั้งคนรุ่นหลัง ที่ไม่เข้าใจหลงยึดติดกับ ความสวยงามเรียบหรูของ การออกแบบ
สถาปัตยกรรมทางศิลป แนวนาซี ออกมานิยมชมชอบยกย่อง เลียนแบบ
อย่าลืมว่าประวัติศาตร์นี้ยัง สด อยู่ในหลายครอบครัว ที่มีญาติมิตรตกเป็นเหยื่อ
เขาจะรู้สึกอย่างไรที่ แนวคิดชั่วร้ายเหล่านี้ ถูกแฝงมาใน รูปแบบที่ดูสวยงาม
และมีคนยกย่องนิยม
( มนุษย์ส่วนใหญ่ผิวเผินและตัดสินที่ความสวยงามภายนอกโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ )
ตอนคันหาข้อมูลใน Google ยังมีการเลือกระดับการกรองข้อมูลเลย แต่น่าแปลกให้ market ไม่มีตัวเลือกอะไรแบบนึ้ให้เห็นเลย
ผมว่าจากบทความนี้ เราสามารถตั้งคำถามได้ออกมาเป็นอย่างน้อยๆ สองกรณี ที่จะมองถึงการควบคุม app store
มุมหนึ่ง เราสามารถควบคุมเนื้อหา ว่าไม่ให้เนื้อหาประเภทใดเข้าไปอยู่ในร้านค้า อย่างของแอปเปิล เขาไม่ยอมให้มีแอพลิเคชันที่เป็นเนื้อหาโป๊เข้าไปอยู่ ถ้าพูดถึงกฎหมาย มันก็มีกฎหมายห้ามในแต่ละประเทศ อย่างรูปโป๊ บางประเทศก็ถือว่าผิดกฎหมายเลย อย่างประเทศไทย ในขณะที่ในหลายประเทศมองว่าสื่อลามกเป็นเรื่องถูกกฎหมาย เป็นเรื่องส่วนบุคคล แต่ในขณะเดียวกัน ประเทศที่มีสื่อลามกถูกกฎหมาย ส่วนใหญ่ต่อต้านสื่อลามกเด็ก (child pornography) อย่างรุนแรง ในขณะที่คนไทยบางคนกลับมองว่า เป็นเรื่องเฉยๆ ไม่เห็นจะมีอะไร (ลองดูอภิปรายในข่าวเก่า) ในเยอรมนีกับฝรั่งเศส เนื้อหาที่สนับสนุนลัทธินาซีหรือนาซีใหม่ (neo-Nazi) เป็นเรื่องผิดกฎหมาย แต่ก็มีผู้สนับสนุนอยู่ไม่น้อย เนื้อหาอีกหลายอย่างก็มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดข้อโต้แย้งหรือข้อถกเถียง อย่างเนื้อหาที่เกี่ยวพันกับศาสนา ดังนั้นคำถามแรกเกี่ยวกับการควบคุม เกี่ยวกับการเลือกควบคุมเนื้อหาบางประเภท
แต่อีกมุมหนึ่งที่เจ้าของบทความพยายามจะเน้นมากกว่าคือ การบิดเบือนเครื่องมืออะไรบางอย่าง อย่างที่คุณยกมาว่า ถ้าเสิร์ชหาธรรมะแล้วไปเจอเนื้อหาโป๊จะรับได้ไหม (จริงๆ อันนี้ถ้าจะแยกไปอีกอันหนึ่ง ก็สามารถพูดถึงเรื่องว่าควรมีข้อกำหนดในการเสนอเนื้อหาไหม เช่น แอพที่มีเนื้อหาลามก จะต้องแยกออกมาเป็นพิเศษ ให้ผู้ใช้ที่ไม่ต้องการสามารถเลี่ยงได้ แบบเดียวกับที่นิตยสารโป๊ก็มีข้อกำหนดในการวางขาย หรือเว็บโป๊ก็ต้องมีข้อความเตือนก่อนเข้า) ซึ่งอันนี้เป็นคนละกรณีกับข้อแรก
และแน่นอน นอกจากคำถามว่าจะควบคุมอะไร มันก็ต้องมีคำถามว่า จะควบคุมอย่างไร อย่างที่คุณ Thaina ตั้งขึ้นมา ฟากแอปเปิลก็เลือกวิธีที่จะควบคุมก่อนเข้า ในขณะที่อีกฟากหนึ่งก็อาจจะใช้วิธีปล่อยเข้าไปก่อนแล้วเข้าเอาออก
ในข้อแรก แน่นอนว่าเจ้าของตลาดอาจจะตั้งเงื่อนไขตามใจคุณค่าของตัวเองก็ได้ สตีฟ จอบส์อาจจะไม่เห็นด้วยกับการมีสื่อโป๊ ก็ตั้งเงื่อนไขว่าห้ามมีสื่อโป๊ ถ้าเจ้าของตลาดเป็นมุสลิม ก็อาจจะตั้งกฎตามข้อห้ามทางศาสนาของอิสลามก็ได้ คนไทยสร้างตลาด ก็อาจจะออกกฎควบคุมเนื้อหาเกี่ยวพันกับชาติ ศาสน์ กษัตริย์ (แบบเดียวกับในเว็บบอร์ดต่างๆ) ก็ว่ากันไป หรือคุณจะไปอิงตามกฎหมายก็ได้ เช่น อะไรที่ไม่ถูกห้ามตามกฎหมายสหรัฐ ถือว่าสามารถเข้ามาในตลาดได้ กรณีนี้เจ้าของตลาดก็อาจจะไม่เลือกใช้คุณค่าของตัวเอง แต่เลือกตามคุณค่าที่เป็นข้อตกลงร่วมกันไปแล้วแทน
ข้อแรกในความคิดของผม ขั้นต่ำอยู่แค่ว่า ไม่ไปละเมิดผู้อื่น (เช่น ทำแอพฯ รวมวิดีโอภาพแอบถ่ายในห้องน้ำ อันนี้คงเป็นปัญหา) ซึ่งค่อนข้างจะใกล้เคียงกับกฎหมายพื้นฐาน แต่ถ้าเจ้าของเขาอยากเลือกคุมมากกว่านั้น ก็เป็นเรื่องของเขา
ข้อที่สอง ผมว่าจริงๆ แล้วมันก็สามารถออกกฎควบคุมตลาดที่สะท้อนกฎทั่วไป เช่น ห้ามหลอกลวง (มาอธิบายแอพฯ ว่าเป็นรวมพระไตรปิฎก แต่โหลดมากลายเป็นมิยาบิ) และอาจจะรวมถึงการตั้งข้อกำหนด เช่น แอพฯ โป๊จะต้องมีการควบคุมเฉพาะ เพื่อไม่ให้คนที่ไม่ต้องการสามารถหลีกเลี่ยงได้
แน่นอนว่าข้อสำคัญจริงๆ แล้วมันไปอยู่ที่ข้อสาม ผมอยากเปรียบเทียบกับสารานุกรมวิกิพีเดีย แน่นอนว่าวิกิพีเดียเลือกเส้นทางเปิด ให้คนทั่วไปสามารถเข้ามาใส่เนื้อหาได้ ถามว่าแล้วมันไม่มีข้อมูลผิด ข้อมูลอคติ ใส่ความคิดเห็น หรือความเฮงซวยอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นกับสารานุกรมเกิดขึ้นบนวิกิพีเดียหรือ? แน่นอนว่ามันมี และคงจะไม่น้อยด้วย แต่แน่นอนว่าวิกิพีเดียก็เป็นแหล่งอ้างอิงแบบ casual ที่สำคัญมาก ในรูปแบบที่สารานุกรมอย่างบริทานิกาก็ให้ไม่ได้
ในความคิดผม เรื่องนี้ดูจะเป็นความตื่นตระหนกของฝ่ายที่นิยมการควบคุมเสียมาก และผมเห็นว่า การกล่าวหาว่าเป็นความักง่ายของเจ้าของตลาด ก็อาจจะเป็นความมักง่ายอย่างหนึ่ง
สุดท้าย จุดที่ทำให้ผมคิดว่าเรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาใหญ่มาก คือการที่กฎของตลาดแอพฯ ไม่ใช่กฎหมาย ไม่ใช่กฎของรัฐ ทำไม? เพราะกฎหมายของรัฐนั้นมีลักษณะของการผูกขาด สามารถเป็นได้เพียงอย่างเดียว จะห้ามหรือจะให้ขายหนังสือโป๊ในประเทศ ก็เลือกได้ทางเดียว และพลเมืองก็ไม่ได้สามารถจะย้ายประเทศกันได้ง่ายๆ ฉันไม่ชอบกฎประเทศนี้ จะย้ายไปอีกประเทศหนึ่ง แต่ในกรณีนี้มันไม่ใช่แบบนั้นเลย เรามีตลาดแอพที่มีการควบคุมเข้มงวดอย่างของไอโฟน เรามีตลาดแอพที่เปิดกว้างอย่างของแอนดรอยด์ ซึ่งเราเองก็รู้กันดี ดังนั้นจำเป็นจริงหรือ ที่จะต้องไปให้ตลาดเหล่านี้ใช้กฎรูปแบบเดียวกัน ในเมื่อผู้บริโภคก็มีสิทธิเลือกและรับความเสี่ยงในแบบที่ตัวเองต้องการได้
อย่าลืมว่า สุดท้ายถ้าตลาดมันเละเทะมั่วซั่ว เสิร์ชหาโปรแกรมทวิตเตอร์ ดันเจอแอพฯ ธรรมะ เละเทะไม่เป็นระเบียบ ใครจะอยากใช้ล่ะครับ?
ขออธิบายเรื่องการค้นหาแอพพลิเคชั่นธรรมะซักนิดนะครับ ที่ผมเขียนแบบนั้นเพื่อพยามหาตัวอย่างที่เข้าใจได้ง่ายแต่ในขณะเดียวกันก็ใกล้เคียงกับตัวอย่างของทางต้นฉบับ เพราะคนค้นหา "Jewish" คงไม่มีใครอยากได้ theme "นาซี" แน่ๆครับ แต่เพราะไม่รู้จะยกตัวอย่างยังไงให้ใกล้เคียงกับต้นฉบับโดยไม่ทำให้ผมมีปัญหากับใครหรือติดคุกมันยากเหมือนกันครับ ผมยกตัวอย่างนั้นเพื่อสื่อให้เห็นสิ่งที่ต้นฉบับเจอมาซึ่งผมมองว่ามันเป็นลักษณะของการค้นหาที่ไม่น่าจะมาเจอกันได้ (คนค้นหาคำว่าธรรมะก็ไม่น่าจะอยากได้หนังชมพูไปดูเล่น) ประมาณนี้ครับ
เรื่องนี้มันมากกว่าแค่เนื้อหาโป๊นะครับ เพราะมันลงไปถึงความเชื่อของบุคคลด้วยผมอยากให้มองในมุมนั้นมากกว่าครับเพราะถ้าเอาแค่เรื่องลามกมันง่าย เพราะขาวดำมันพอเห็นได้และมีตัวอย่างให้เห็นกันอยู่ครับ
คืออย่างนี้ครับ คนที่ต้องการแอพฯ เกี่ยวกับยิว คงไม่ได้ต้องการอะไรเนื้อหานาซี แต่ถามว่า เนื้อหานาซีมันเกี่ยวกับยิวไหม มันก็เกี่ยวข้องกันอยู่ ผมเองก็ไม่รู้ว่า ที่เสิร์ชเจอได้ เกิดจาก manipulation หรือเกิดจากความเกี่ยวข้องที่เกิดขึ้นจริงๆ
ถามว่าเสิร์ชกูเกิลเกี่ยวกับยิว แล้วจะเจอเรื่องนาซีไหมครับ
หนังชมพูแปลว่าอะไรเหรอครับ?
ทำไมผมไม่เคยได้ยิน XD
จริงๆมันก็น่าจะมีการตรวจสอบทั้งก่อนและหลังเข้า App Store แหละถูกแล้ว
ผู้ให้บริการต้องมีความรับผิดชอบและมีภาระในการควบคุมอย่างแน่นอน ส่วนจะควบคุมมากหรือน้อยอย่างไรก็นับเป็นอีกเรื่องหนึ่ง การไม่ควบคุมเลยไม่ใช่เสรีภาพแต่เป็นการไม่มีกฎระเบียบต่างหาก ซึ่งถามว่ากฎระเบียบจำเป็นหรือไม่สำหรับสังคมผมก็คงต้องตอบว่าจำเป็น คงไม่อยากมีคนอยู่บนโลกที่ไร้กฎหมายวัฒนธรรมจารีตประเพณีค่านิยมเป็นแน่
ถ้าผมมีพื้นที่หลายไร่เปิดตลาดเป็นของตัวเองแบ่งเป็น Zone ต่าง ๆ A-Z ยกให้กับผู้ดูแลในแต่ละ Zone เป็นผู้จัดหาสินค้ามา ทีนี้ดันมี Zone นึงขายสินค้าที่ผิดกฎหมาย เช่น ปืนเถื่อน ยาเสพย์ติด ของโจร เป็นต้น ทีนี้ตำรวจรู้และนำกำลังมาจับ ถามว่าผมจะปฏิเสธง่าย ๆ ได้หรือไม่ว่าผมไม่รู้เรื่อง ผมเป็นแค่เจ้าของ ไม่ได้คุม Zone ด้วย คนพวกนี้คนคุม Zone เป็นคนจัดหามาผมไม่เกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้น ผมว่าผมก็คงปฏิเสธแบบนั้นไม่ได้
ดังนั้นตลาดของผมต้องมีการควบคุม
ถ้าหากวิธีการควบคุมตลาดนั้นไม่เป็นที่น่าพอใจหรือไม่ตรงกับความต้องการของพ่อค้าที่จะนำของมาขาย พ่อค้าก็คงต้องไปหาตลาดอื่นแทน ถ้าตลาดอื่นไม่มีเปิดแล้วต้องการมาตลาดผมก็ต้องทำตามกฎ ถ้าคิดว่ากฎมันเฮงซวยกีดกันก็ไปฟ้องร้องมาตามกฎหมายของสังคม ถ้าทำอะไรไม่ได้แล้วก็ลองหาทางไปเปิดตลาดเอง ถ้าไม่มีปัญญาเปิดตลาดเองก็ช่วยก้มหน้าก้มตาทำตามกฎไป หรือไม่งั้นก็ไม่ต้องขาย
โลกมันไม่ได้ง่ายดายขนาดที่ว่าใครอยากได้อะไรก็ต้องได้ไปเสียหมด
That is the way things are.
ขอเปรียบ iPhone เป็น สังคมสมบูรณ์แบบ ในคุก
Android คือ สนามฟุตบอล อันยุ่งเหยิง
ผมเชื่อว่าความไม่สมบูรณ์แบบ คือ ความสมบูรณ์แบบ และ Job ไม่น่าจะรักษา ความสมบูรณ์แบบ ในแบบ ของ Job ในไม่ช้า เมื่อมันตาม เทรนไม่ทัน มันจะต้องพัง iPhone คือ สิ่งล้ำยุค ใน วันที่มันเปิดตัว และตอนนี้ มันเริ่มจะกลายเป็นของธรรมดา(ที่ยังล้ำชาวบ้านอยู่ แค่เพียงน้อยนิดแล้ว
ส่วนตัวผมคิดว่า Job ก็ยังคงรักษาให้เป็นแบบนี้ต่อไปนะ จ๊อบรู้ตัวอยู่ตลอดอยู่แล้วล่ะว่ายังไงซักวัน แอนดรอยด์ ก็ต้องแซงไอโฟนไปอยู่ดี
ตอนนี้ส่วนตัวผมคิดว่ามันก็เหมือน PC กับ MAC ในปัจจุบันแหละครับ
สุดท้ายแล้ว PC (Windows) ก็จะกินตลาดไปมากกว่า 90% ในขณะที่ Mac (OSX) ยังไม่ถึง 10%
แต่ยังไง iPhone ก็ยังขายได้ ด้วยตัวของมัน เหมือนกับที่ MAC ขายได้ถึงจะมีราคาแพงกว่าชาวบ้าน
(จะเรียกศรัทธา/แตกต่าง/ดีไซน์/ความเสถียร/บลาๆๆ..ก็ตามแต่) ยังไงก็มีคนซื้อ
มีคนซื้อ > ผู้ถือหุ้นพอใจ > บริษัทอยู่ได้
ผมจึงมองไม่เห็นว่า Job ต้องตามเทรนด์ตรงไหนเลย
และความสมบูรณ์นี้แหละครับเป็นสิ่งหนึ่งให้คนซื้อ ถึงจะไม่มากเท่าแอนดรอยด์ แต่มันก็ทำให้มันอยู่ได้เรื่อยมา ^^
นี่แหละสมองซีกขวาของวงการไอที
ระบบเซิดใน Market ห่วยมากๆ
เรื่องนี้น่าสนใจครับ
ผมคิดว่าไม่ควรวิจารณ์แนวทางของ Apple AppStore เพราะผมว่ามันค่อนข้างชัดเจนนะครับว่า Apple เค้าไม่ได้ขายโทรศัพท์ในรูปแบบของวัสดุพื้นฐาน แต่ขายประสบการณ์การใช้งานโทรศัพท์แบบ Apple ดังนั้น การจ่ายเงินเพื่อซื้อ iPhone ไม่ได้แปลว่า Apple ต้องรองรับทุกอย่างที่คุณทำกับ iPhone เหมือนซื้อรถแล้วคุณเอาไปแต่งเอง ผู้ผลิตรถต้องรับประกันคุณอยู่ไหม ขนาดขายแร่ธาตุ โลหะ เค้ายังไม่ต้องรับผิดชอบเลยหากเอาไปแปรรูป ดังนั้นผมว่าแนวทางของ Apple มันก็ยุติธรรมนะครับ ถ้าอะไรที่ให้ขายได้แล้วมันส่งผลเสียต่อผู้ใช้ เค้าก็ต้องรับผิดชอบ ส่วนของบางอย่างที่ถูกต้องตามกฏกลับผ่านช้า ไม่ผ่าน อันนี้ผมว่ามันเป็นความเสี่ยงที่ผู้ขายจะต้องรับอยู่แล้ว ภาคธุรกิจอื่นเค้าก็มีความเสี่ยงแบบเดียวกัน ถ้าเคยทำงานกับคนมาก็น่าจะเข้าใจ เรื่องผิดสัญญาเป็นอะไรที่ธรรมดามาก
เช่นเดียวกัน ฝั่ง Android Market ก็ไม่ควรไปวิจารณ์ เปิดให้ขายได้เสรี แล้วมีคนไม่ถูกใจ คนไม่ถูกใจก็เลิกใช้ไป ไม่ได้ยากเย็นอะไร
สรุปว่า ชอบฝั่งไหน ก็เลือกเอาตามใจ อย่าเปรียบเทียบเลย พระเจ้ายังมีไม่เหมือนกันได้(หรือไม่มียังได้) ดังนั้น เรื่องนี้มันไม่มีถูกหรือผิดหรอกครับ ถ้าไม่ชอบทั้งสองแนวทาง ก็ไม่จำเป็นต้องเลือกทั้งสอง ทางอื่นยังมีอยู่
เพิ่มเติม:
ผมคิดว่าเสรีภาพไม่มีจริง เราอยู่ภายใต้กฏต่างๆอยู่แล้ว ถ้าเรายอมรับกฏได้ เราก็รู้สึกว่ามีเสรีภาพ
แต่ผมว่า สิ่งที่เค้าทำมาขาย (ให้ใช้) คือ ตัวโทรศัพท์ (และระบบปฏิบัติการในนั้น) ด้วยนะครับ เพราะถ้าบอกแบบนั้น ทำไมเราต้องซื้อโทรศัพท์เอง (ก็เค้าขายประสบการณ์ไม่ใช่หรือ) แจกเครื่องและจัดเตรียมทุกอย่างที่อยากให้ใช้เอาไว้ในนั้น แล้วให้คนใช้เอาไปใช้ เบื่อเมื่อไหร่ก็เอามาคืน หรือหมายความว่าทุกวันนี้คนที่ซื้อไอ้แท่งสี่เหลี่ยมที่เรียกว่า iPhone ราคาหลักหมื่นไม่ได้เป็นเจ้าของเครื่องแค่ยืมเค้ามาเฉย ๆ เมื่อทรัพย์สินนั้นเป็นของเราแล้ว เราก็น่าจะทำอะไรกับมันก็ได้นี่ครับ? จะใช้เป็นอาวุธเอาไปปาหัวสุนัขก็ไม่น่าผิด และผมว่าไม่น่าจะเกี่ยวกับว่าเมื่อใช้ผิดประเภทแล้วเจ้าของต้องมารับผิดชอบนี่ครับ แค่ติดคำเตือนหรือแจ้งเอาไว้ก็พอ เช่น ตู้เย็นห้ามเอาแมวไปแช่ ใครเอาไปแช่แล้วมันตาย บริษัทผลิตตู้เย็นก็หนาวล่ะงานนี้
เสรีมากๆมันก็เละสิ lol ทุกวันนี้มีประเทศไหนในโลก "เสรี" หรือ "เท่าเทียม" จริงๆบ้างไหม ตอบเลยว่าไม่มี
ทุกที่ต่างก็มีกฏของมัน
ดูแค่ๆเวบดังๆในไทย ล้วนมีกฏของเวบ ระดับหนึ่ง เมื่อละเมิดก็จะถูกลงโทษ
เหมือนอย่างช่วงสาวก apple มาเกรียนหรือใครมาป่วน blognone ก็จะโดนแบนออกไป
ในอนาคตตลาดแอนดรอยก็น่าจะมีการควบคุมอีกระดับเหมือนกัน
ช่วงแรกที่เปิดก็เป็นกลยุทธ์การตลาด เพื่อดูดผู้พัฒนาเข้าคอก
พอมีเยอะมากถึงระดับหนึ่งก็ต้องจัดระเบียบให้เข้ารูปกันไป
ไม่มีครับ แต่หน่วยงานของรัฐ และกระบวนการยุติธรรม (authority) จะต้องมีมาตรฐานเดียวกันสำหรับประชาชนทุกคน อันนี้แม้แต่ประเทศไทยเองก็มีกฏนี้อยู่ครับ ข้าราชการเจอข้อหาเลือกปฎิบัตินี่อ่วมเอาเหมือนกัน
lewcpe.com, @wasonliw
หมายถึง "ข้อความ" หรือ "ความจริง" ครับ?