หัวข้อข่าวอาจจะงงๆ สักหน่อยแต่หลังการเปิดตัว Android 3.0 Honeycomb ฟีเจอร์หนึ่งที่นักพัฒนาสนใจกันมากคือ Fragments API ที่ช่วยให้การออกแบบหน้าจอเป็นหลายๆ ส่วนสามารถทำได้ง่ายขึ้น แต่ฟีเจอร์นี้ก็จำกัดอยู่เฉพาะ Android 3.0 ที่ยังไม่ลงโทรศัพท์มือถือ ทางแก้ของกูเกิลคือการแยกฟีเจอร์ Fragments API นี้ออกมาเป็นคลาสต่างหากให้นักพัฒนาสามารถดาวน์โหลดแล้วลิงก์เข้ากับแอพพลิเคชั่นไปได้
ตัวไลบรารีใหม่นี้จะรวมมาในชุด “Android Compatibility package” ซึ่งสามารถอัพเดตจากตัว SDK ได้ทันที และสามารถใช้งานได้ในแอนดรอยรุ่น 1.6 เป็นต้นไป
แนวทางการแยกฟีเจอร์ออกจากรุ่นระบบปฎิบัติการคงเป็นแนวทางของแอนดรอยในอนาคต นับแต่การแยกบริการต่างๆ ของกูเกิลออกมาเป็นแอพลิเคชั่นแยก ในตอนนี้ API ที่สามารถแยกได้ทางกูเกิลก็เริ่มแยกออกมาเพื่อให้นักพัฒนาไม่ต้องเลือกพัฒนาแอพลิเคชั่นโดยจำกัดผู้ใช้เป็นแอนดรอยรุ่นใหม่ๆ
อนาคตเราอาจจะมีแอนดรอยรุ่น "ยอดนิยม" ที่คนไม่อัพเกรดแม้รุ่นใหม่ๆ จะออกเหมือนสมัย Windows XP ก็เป็นได้
ที่มา - Android Developers
Comments
ออกใหม่เร็วเกินไป และถี่เกินไป.....เรื่อง ประสิทธิภาพมันดีเยี่ยม แต่การจัดการยังไม่ดีเลยครับ
ในความรู้สึกของผม 2.2 คือตัวที่ค่อนข้างเจ๋งที่สุดแล้ว เหมาะสมกับการใช้งานทั่วๆ ไป
2.3 ไม่ได้เร็วกว่า 2.2 แต่มีการสนับสนุน NFC
ในอนาคตจะมี Android Xp : dark edition
modified by illusion ??
555+
Android True Fast 5555+
^
^
that's just my two cents.
skz
May the Force Close be with you. || @nuttyi
แยกติดตั้งเป็นโมดูล แต่คอร์หลักยังเหมือนเดิมอย่างนั้นเหรอ
คือด้วยความที่ Honeycomb ออกแบบสำหรับแท็ปเบล็ต การเอา UI ของแอพที่ออกแบบสำหรับจอ 3-6 นิ้ว ไปทำงานบนจอ 9-11 นิ้วมันไม่เวิร์ก เลยออกแบบให้มีสิ่งที่เรียบว่า Fragment เป็นชิ้นส่วนย่อยๆของแอพฯ มี UI ของตัวเอง และ life-cycle ของตัวเอง สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล/สื่อสารกันได้
เหมือนแนวคิด Portlet ใน Portal framework อ่ะครับ
+1 เปรียบเทียบได้เห็นภาพชัดเจนมากครับ (ทีแรกก็นึกไม่ออกว่ามันไปคล้ายอะไร)