หลังจากออราเคิลเข้าซื้อซัน สิ่งที่ได้มาด้วยคือชิป RISC สำหรับเซิร์ฟเวอร์ราคาแพงอย่าง SPARC และ UNIX ก็ถึงเวลาลาจากชิป RISC จากอินเทลคือ Itanium กันไป โดยออราเคิลได้ประกาศว่าจะซัพพอร์ตเฉพาะรุ่นปัจจุบันต่อเนื่องไปจนจบนโยบายการซัพพอร์ตของออราเคิล โดยออราเคิลแนะนำให้ลูกค้าย้ายไปใช้ซีพียู X86-64 หรือ SPARC
การซัพพอร์ตแบ่งเป็นสามระดับ
สถานะการณ์ของ Itanium นั้นดูไม่ดีนัก ก่อนหน้านี้ทั้งไมโครซอฟท์และ Redhat ก็ถอนการซัพพอร์ตออกไปจาก Itanium แล้วทำให้ตอนนี้เหลือเพียง HP-UX เท่านั้นที่ยังทำตลาดอยู่
ทางด้านอินเทลรีบออกมาให้ข่าวยืนยันทันทีว่าอินเทลยังคงพัฒนา Itanium ต่อไป โดยซีพียู Poulson นั้นยังสามารถวางตลาดได้ตามกำหนดการ และอินเทลจะเปิดเผยแผนการสำหรับ Kittson ซึ่งเป็นรุ่นต่อไปในงาน IDF ที่ปักกิ่งปีนี้
ความเปลี่ยนแปลงในช่วงปีที่ผ่านมาแสดงไม่มีมิตรแท้ในโลกไอที พันธมิตรข้ามธุรกิจที่วันหนึ่งเคยอยู่ร่วมกันอย่างลงตัวไม่กี่ปีที่แล้ว วันนี้กลับกลายเป็นศัตรูกันได้อย่างแทบไม่น่าเชื่อ
Comments
...ธุรกิจอะไรก็ไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวรทั้งนั้นแหละครับ ผลประโยชน์ Only
จะ IT การเมือง หรือสงคราม ก็ธุรกิจทั้งนั้น
แสดงว่า trend การใช้ processor ใหญ่ๆลดลง คงหันไปเน้นใช้ processor กลาง + เล็ก(ARM)
ตลาดนี้ยังเป็นของ IBM ต่อไปสินะ
ตรงที่มีแสง
ก็ล่าสุดเมื่อต้นปีที่ผ่านมา Intel C/C++/Fortran Compiler รุ่นล้าสุด XE 2011 ก็ไม่รองรับ Itanium แล้วนี่ครับ มันเริ่มส่งสัญญาณประมาณนี้ แล้วจะให้ 3rd party ไปตามซัพพอร์ตต่ออีก 5 ปี ก็คงไม่เหมาะเท่าไร
ที่มา http://software.intel.com/en-us/articles/intel-c-composer-xe-2011-release-notes/
อันนี้แรง ขนาด Intel เองยังเลิกซัพพอร์ตเองเลย
ผมว่ามันเหมือนปลาใหญ่กินปลาเล็กอ่ะ ตัวเล็กๆ ล้มหายตายจากไปหมด สุดท้ายแล้วเหลือแต่ตัวแข็งแกร่งหรือพวกมากจึงจะอยู่รอด
ความเห็นผม Itanium คือซากจากยุคที่อินเทลจะทิ้ง x86 แล้วได้ itanium กับ xscale ครับ
ทีนี้มันไปสัญญากับลูกค้าแล้ว จะทิ้งกันดื้อๆ ก็เสียชื่อบริษัท ก็ต้องซัพพอร์ตพอไม่น่าเกลียด แต่คงไม่ลงทุนอะไรหนักๆ แล้ว
lewcpe.com, @wasonliw
สะดุดตรง "ซากจากยุคที่อินเทลจะทิ้ง x86" แล้วกลับมาดูซีพียู x86 ทั้ง Intel และ AMD มันเริ่มหายไปจากตลาดได้สักพักแล้วจริงๆ
ที่บริษัทยังใช้โปรแกรม 32 บิตอยู่ทั้งโอเอสและแอพ ไม่ทันรู้ตัว