ทิศทางของเทคโนโลยีไมโครชิปยุคต่อไปนั้นค่อนข้างแน่ว่าเทคโนโลยีด้านออปติคอลจะเข้ามามีผลมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ทุกวันนี้เราจะสามารถใช้เทคโนโลยีเหล่านี้เพื่อการส่งข้อมูลความเร็วสูงกันได้แล้ว แต่เรายังมีข้อจำกัดที่ต้องแปลงสัญญาณโฟตอนเหล่านั้นมาเป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อจัดเก็บและประมวลผลในชิปแบบดั้งเดิม
แต่ตอนนี้อนาคตอาจจะเข้าใกล้เรามากขึ้น เมื่อนักวิจัยที่ไอบีเอ็มสามารถสร้างชิปเพื่อ "หน่วง" สัญญาณโฟตอนไว้ในไมโครชิปได้เป็นเวลา 0.5 นาโนวินาที โดยก่อนหน้านี้การหน่วงสัญญาณต้องใช้สายไฟเบอร์ออปติกที่มีขนาดใหญ่และราคาแพง การสร้างไมโครชิปเพื่อทำหน้าที่นี้ทำให้เราสามารถกักเก็บสัญญาณโฟตอนไว้ได้ในอุปกรณ์ราคาถูก
นักวิจัยที่ไอบีเอ็มใช้เทคนิคสร้างเส้นทางเดินแสงเป็นวงจำนวนร้อยวงต่อเนื่องกัน เพื่อหน่วงโฟตอนให้เคลื่อนที่ในเส้นทางดังกล่าว ที่น่าสนใจคือเส้นทางเดินโฟตอนเหล่านี้สร้างขึ้นจากเทคโนโลยี CMOS ที่ใช้ผลิตชิปทั่วไปนี่เอง
กลุ่มนักวิจัยระบุว่าในไม่ช้านี้ จำนวนคอร์ในซีพียูจะเพิิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนอาจถึงหลักร้อย เทคโนโลยีโฟตอนบนไมโครซิปจะช่วยให้นักออกแบบสามารถเลือกใช้โฟตอนเพื่อสื่อสารข้อมูลระหว่างคอร์แทนการใช้สัญญาณไฟฟ้าตามปรกติได้
ที่มา - NewScientist, IBM Press room
Comments
Sony Toshiba IBM Cell PS3 Linux
Intel AMD M$ Windows
จะมีการเปลี่ยนขั้วอำนาจทางการเมืองสหรัฐ
quantum computing!!
อีกหน่อยคงได้บูรณะวิชากันใหม่หมด เพราะฮาร์ดแวร์แรงจัด
หวังว่าคงได้บูรณะกันจริงๆ ไม่ใช่แค่เพิ่มวิชา
นึกถึง Star Trek's ODN (Optical Data Network)