ฟีเจอร์หนึ่งที่น่าสนใจของ Android Q คือ Project Mainline หรือการแบ่งบางส่วนของตัวระบบปฏิบัติการออกมาให้อัพเดตผ่าน Play Store ได้เหมือนอัพเดตแอพปกติ ไม่ต้องรอรอบการอัพเดต OS เวอร์ชันใหญ่จากผู้ผลิตฮาร์ดแวร์อีกต่อไป
Project Mainline เป็นขั้นกว่าของ Project Treble หรือการแยกชั้นฮาร์ดแวร์ออกจากตัว OS ในปี 2017 โดยส่วน OS ที่เหลืออยู่ (Android OS Framework) จะถูกจับแยกเป็นโมดูลต่างๆ เพื่อให้แยกอัพเดตเฉพาะโมดูลที่มีการเปลี่ยนแปลงได้
ฝั่งของ Play Store จะมีไฟล์อัพเดตแบบใหม่ที่เรียกว่า APEX (Android Pony EXpress) โดยมีลักษณะคล้ายกับไฟล์ APK ของแอพ (เป็นไฟล์ที่ zip มาแล้วมีข้อมูล metadata หรือ manifest อยู่ภายใน) แล้วปรับรูปแบบของไฟล์ให้เหมาะกับอิมเมจของระบบปฎิบัติการแทนที่จะเป็นแอพ
ความต่างคือไฟล์ APK ทำงานผ่าน package manager ที่รันขึ้นมาหลังบูตระบบเสร็จแล้ว แต่ APEX จะทำงานผ่าน APEX manager (apexd) ซึ่งเป็นเดมอนที่ถูกบูตขึ้นมาเป็นตัวแรกๆ ในระหว่างกระบวนการบูต
ข้อจำกัดของการอัพเดตแบบ APEX คือสามารถอัพเดตเฉพาะไฟล์บางประเภทเท่านั้น โดยโมดูลเบื้องต้นที่รองรับการอัพเดตแบบ APEX ได้แก่
กูเกิลระบุว่าตอนนี้กำลังร่วมมือกับผู้ผลิตฮาร์ดแวร์หลายๆ เจ้าในการทดสอบอัพเดตแบบ APEX ให้ปลอดภัย และมีกลไกแก้ปัญหาหากอัพเดตแล้วมีข้อผิดพลาด แต่ก็ไม่บอกว่ามีผู้ผลิตฮาร์ดแวร์รายใดบ้าง
ที่มา - Android Developers Blog
Comments
น่าจะ ดี ขึ้น ไปอีกนะ
Q ใกล้ PC เข้าไปทุกที
สุดยอด
ไม่รู้ว่าฝั่ง Windows มีแผนอะไรแบบนี้อยู่บ้างรึเปล่า เข้าใจว่ามันขยับตัวยากกว่ามากแต่ถ้าไม่ทำก็คงลำบาก
มาตอนนี้อยากให้ทำแบบ Windows 10 หรือเหมือน Chrome คือเลิกมี major version ซะที แต่อัพเดตให้เรื่อยๆ เป็นระยะๆ ไปเลย คนใช้ไม่ต้องสนใจรุ่นอีกต่อไป อัพเดตสม่ำเสมอก็พอ (ก็อาจจะเรียก codename ชื่อขนมไปเหมือนเดิมกับตัวอัพเดตใหญ่ก็ได้ จะได้รู้ว่าตอนนี้ใช้อัพเดตตัวไหนอยู่)
แล้วก็อยากให้ Android เลิกออกมาในรูปแบบ ROM ได้แล้ว ยุคสมัยก่อนมันอาจจะดีที่อัพเดตทีเป็นก้อนๆ ได้ และจัดการง่าย แต่ยุคนี้ไม่น่าจะเหมาะแล้ว อยากให้ทำ ROM บนมือถือเป็นลักษณะเหมือน BIOS ก็พอ บูทขึ้นมาแล้วก็ไปเรียก Android OS ใน internal storage แทน เวลาอัพเดตก็อัพง่ายด้วย driver ต่างๆ ก็ detect และดาวน์โหลดอัตโนมัติจากเว็บเอา ส่วนผู้ผลิตที่อยากปรับแต่งก็มี framework ให้ปรับแต่งได้แต่ไปยุ่งกับตัว OS ระดับล่างๆ ไม่ได้ เอาง่ายๆ คือทำเหมือน Windows นั่นแหละเวิร์คสุดแล้ว
แต่เท่าที่อ่านในข่าวก็ถือว่า Android ก็พยายามทำตามแนวทางนี้แล้วนะครับ ถือว่ามาถูกทางแล้ว
แต่อัปเดตตอนนี้ผมว่า Android นำ Windows ไปแล้วนะครับ (ในแง่คนใช้ว่ามันสะดวก)
ส่วนฝั่งผู้ผลิตก็ตามนั้น