อุตสาหกรรมชิปเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบและตื่นตัว หลังมีคำสั่งประธานาธิบดีห้ามทำธุรกิจกับบริษัทจีน ล่าสุดมีรายงานว่าผู้ผลิตชิปสหรัฐหลายเจ้ากำลังหาทางส่งของให้ Huawei อีกครั้งตามสัญญา โดยที่ไม่ละเมิดกฎหมายที่ออกมา
บริษัทที่เริ่มกลับมาส่งมอบแล้วมี Micron ผู้ผลิตชิปแฟลชเมมโมรี, Qualcomm และ Intel โดยแหล่งข่าวที่ให้ข้อมูลตรงนี้ระบุว่าบริษัทอย่าง Intel และ Micron ส่งมอบโดยไม่ระบุว่าเป็นผลิตภัณฑ์ของอเมริกามาได้ราว 3 สัปดาห์แล้ว เนื่องจากตัวโรงงานที่ผลิตชิปตั้งอยู่นอกสหรัฐอยู่แล้ว ขณะที่กฎหมายก็ไม่ได้ห้ามส่งมอบสินค้าที่ผลิตจากนอกสหรัฐ
ภาพจาก Shutterstock
Comments
การสั่งแบนยิ่งเหมือนไปกระตุ้นจีนให้เร่งพัฒนาให้ไวกว่าแผนเดิม บริษัทสหรัฐที่เคยขายของกันจันก็ลำบากอยู่ๆ ยอดขายหายวับ แพลนธุรกิจก็ลำบาก
จีนขาย 2แสนล้านๆ อเมริกา ขายจีนได้แค่ 6หมื่นล้านๆเป็นการบีบให้บิรษัทอเมริกัน ออกนอกจีนไปผลิตที่อื่น ไม่งั้น ของอเมกันแต่ผลิตจีน มาทำให้ ขาดดุลเกิน
การบีบให้ออกนอกจีนก็มีปัญหาเรื่องต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสุดท้ายก็จะสะท้อนกลับไปทีราคาสินค้าอยู่ดีครับ
จริงๆเรื่องการส่งออกการผลิตซึ่งเป็นส่วนที่ทำกำไรได้ต่ำออกไปนอกประเทศ เพื่อใช้ศักยภาพในการทำสิ่งอื่นทีกำไรสูงกว่าตามทฤษฎี comparative advantage ก็เป็นแนวคิดที่สหรัฐเองนั่นแหละสนับสนุนแต่แรก
มองเผินๆก็ win-win ดี แต่ถ้าดูลึกๆมันคือการที่ประเทศที่รวยแล้วก็จะรวยขึ้นเรื่อยๆเพราะเอาเวลาไปทำของมีกำไร ประเทศยากจนอย่างดีก็ขึ้นมาเป็นประเทศกำลังพัฒนา
ประเทศที่อ่านเกมออก พยายามขัดขืนด้วยการ C&D เพื่อยกระดับตัวเองก็กลายเป็นประเทศเศรษฐกิจใหญ่กันไป(แล้วก็โดนอเมริกาไล่บี้กันไป) ส่วนประเทศเด็กดีอย่างเราก็เลยจมอยู่กับการเป็นประเทศกำลังพัฒนาต่อไปเรื่อยๆแบบนี้นั่นแหละครับ
เอกชนไม่เห็นหัวทรัมป์ขนาดนี้ สงสัยปีหน้าก็เตรียมเปลี่ยนปธน
นักการเมืองมาแล้วก็ไป เอาคู่ค้าไว้ดีกว่า
+1
ถือว่าดีย์
ตราหน้า ?
ในบริบทนี้ไม่น่าจะใช้คำว่า "ตราหน้า" นะครับ คำนี้จะไว้ใช้ในเชิง ดูถูก เหยียดหยาม หมายหน้าไว้มากกว่า เช่น "ฉันจะตราหน้าแกไว้เลย ว่าแกเป็นพวกเนรคุณ" แนะนำว่าใช้คำว่า "แปะหน้า" ดีกว่า
ผมเดาว่า ผู้เขียนน่าจะตั้งใจให้ความรู้สึกแบบนั้นแหละครับ
ถ้าระดับ intel กล้าทำ แสดงว่าน่าจะได้สัญญาณไฟเขียวจากรัฐบาลสหรัฐแล้วมั๊ง
บริษัทใหญ่ๆ ส่วนมากจ้าง lobbyist เข้าหานักการเมืองกันหมด เงินทุนสนับสนุนพรรคก็มาจากบริษัทใหญ่ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม
มันเป็นเกมส์การทูตอย่างนึง หน้าตาขึงขัง แต่เบื้องหลัง ก็แนะวิธีเลี่ยงกฎหมายให้ (เอ คล้ายๆ ที่ไหนหว่า) เพราะถ้าทางภาครัฐไม่แอบส่งซิกวิธีให้ เอกชนก็ไม่กล้าทำหรอก แค่ขายของไม่ได้ก็ลำบากแล้ว มีปัญหากับภาครัฐอีกปวดหัวตาย แต่เข้าใจว่าคงตาม Deal ที่มีสัญญาอยู่ เพื่อแก้ปัญหาโดนฟ้องร้องภายหลัง รวมทั้งระบายของในสต็อค แต่ถ้าจะต้องเปิดสัญญาใหม่ ต้องรอสัญญาณจากทำเนียบขาวอีกรอบ ผมว่างานนี้บริษัทไอทีมีลงขันล้มทรัมป์กันบ้างแหล่ะ ก็อยู่ที่ว่าฝั่งบริษัทค้าอาวุธ ค้าน้ำมันจะหนุนทรัมป์ต่อไหม ถ้าหนุนต่อน่าก็สูสีลุ้นกันยันรัฐสุดท้ายในเลือกตั้ง ปธน.สหรัฐ
ไม่ขายได้ไง เงินทั้งนั้น
มันก็เทคนิคเลี่ยง country of origin ธรรมดานี่แหละ
เหมือนตอนเมกาสั่งให้ญี่ปุ่นขึ้นค่าเงิน ตั้งกำแพงภาษีนำเข้าจากญี่ปุ่นไปเมกา ญี่ปุ่นก็ย้ายฐานการผลิตมาอาเซียน จบ
ที่ผ่านมาเหมือนแค่ชะลอการห้ามเพื่อให้สัญญาที่คั่งค้างอยู่หมดไป จะได้ไม่โดนฟ้องกลับเรื่องผิดสัญญามากกว่า แต่ถ้าให้ร้ายแรงจริง ต้องสั่งระงับการขายสิทธิบัตรอย่างสิ้นเชิง
แต่อย่างว่า การทูตระหว่างประเทศ ตีไปคุยไป เบื้องหน้าเบื้องหลังฝุ่นตลบ ไม่มีใครอยากเสียผลประโยชน์หรอก
แต่ที่แปลกใจกว่าเคสจีน คือเคสอิหร่าน ทำไมจู่ๆก็เกือบจะเกิดสงคราม คือข่าวข้อพิพาทอะไรออกมาน้อยมากๆ คือเข้าใจว่าคุกรุ่น แต่นี่เหมือนข่าวสารอะไรไม่ค่อยออกมาเลย
us-อิหร่าน
อดีต us เคยมีสัญญาอะไรสักอย่างที่ อิหร่านใด้ตัง แลกกับไม่วิจัยโรงไฟฟ้านิวเคลีย (ซึ่งอาจกลายเป็นอาวุทนิวเคลียใด้) ทรั้มบอกว่า us เสียเปรียบแล้วถอนตัวไป โดยอ้างว่ายังมีสัญญากับประเทศอื่น อิหร่านไม่ควรวิจัยโรงไฟฟ้านิวเคลียต่อ - ซึ่งอิหร่านก็เดินหน้าวิจัยโรงไฟฟ้านิวเคลีย เลยขัดใจกัน
ที่เกิดเรื่องคือ us ปล่อยโดรนราคา $110 m เข้าใกล้หน้านน้ำของอิหร่าน แล้วโดนยิงตก โดยทั้ง us และ อิหร่าน อ้างว่าตัวเองถูก
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ถ้าเรื่องโดรน ผมเข้าข้างอิหร่าน ส่วนปัญหานิวเคลียร์ ผมว่าเคลียร์อีกยาว แต่ถ้าเขาต้องการแค่ทำโรงไฟฟ้ากับขีปณาวุธป้องกันตัวเอง มันก็เรื่องของเขา คุณไปยุ่งอะไรกับเขา ผมมองว่ามันเป็นสิทธิชอบธรรมที่เขาจะมี เหมือนที่จีน สหรัฐ และรัสเซียมีในครอบครอง ไม่มีใครว่าหรือคว่ำบาตรอะไรเลย เพราะเป็นเจ้าใหญ่เลยไม่มีใครกล้าหาเรื่อง
ถ้ามีทดสอบหรือยิงหรือหาเรื่องใส่พันธมิตรจนเกิดสงครามจริงๆ เมื่อไหร่ อันนี้ค่อยเอาคืนเต็มกำลังเหมือน WW2 ก็ไม่สาย เต็มที่จนกว่าจะสงบ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ที่ส่งได้ ไม่ใช่เป็นเพราะว่าเป็นช่วงผ่อนผัน 90 วันเหรอครับ ?
สหรัฐออกใบอนุญาตชั่วคราวให้ Huawei สั่งสินค้าจากบริษัทของอเมริกาได้ เป็นเวลา 90 วัน
https://www.blognone.com/node/109867
ความหมายในที่นี้คือ
Micron ->
Made in Malaysia Designed by Micron US
Made in Taiwan Designed by Micron US
ใช่ไม๊
น่าจะเป็นไปได้ แต่อาจเป็น Made is xxx. Patented in US by xxx.
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
อีกหน่อยต้องเอา Design in California ออกเหลือแต่ Assembled in China หรือเปล่า