ที่งาน Ignite ไมโครซอฟท์โชว์โครงการวิจัย Project Silica สตอเรจถาวรสำหรับเก็บข้อมูลระยะยาว เช่น แสกนฟิล์มต้นฉบับ ที่ต้องการเก็บข้อมูลป้องกันความเสียหายระยะยาว
แผ่นแก้วควอตซ์ขนาด 75x75x2 ลูกบาศก์มิลลิเมตร ใช้เก็บข้อมูลขนาด 75.6 กิกะไบต์พร้อมข้อมูลแก้ไขความผิดพลาด โดยไมโครซอฟท์หวังว่าจะมันจะทนทานระดับร้อยปี แต่ละบิตจะถูกเข้ารหัสเป็น voxel สามมิติ ที่ความหนา 2 มิลลิเมตรสามารถเก็บ voxel ได้ 100 ชึ้น
การเก็บข้อมูลระยะยาวเป็นค่าใช้จ่ายที่สูง ฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปต้องการอัพเดตสตอเรจทุกๆ 3-5 ปี หรือเทปแม่เหล็กต้องเปลี่ยนม้วนเทปทุกๆ 5-7 ปี บริษัทภาพยนตร์อย่าง Warner Bros. ระบุว่าบริษัทต้องเปลี่ยนสตอเรจทุกๆ 3 ปีก่อนที่สื่อเก็บข้อมูลจะเสื่อม
แผ่นแก้วควอตซ์ทนความร้อนที่ 500 องศา (ไม่ระบุหน่วยแต่น่าจะเป็นฟาเรนไฮต์ เท่ากับ 260 องศาเซลเซียส) อบด้วยไมโครเวฟ, ต้มน้ำ, ขูดด้วยฝอยขัดหม้อ และยังสามารถอ่านข้อมูลได้
ที่มา - Microsoft News
Comments
ตอนนี้มี blue lay เอามาใช้แทนก่อนก็ได้มั้ง มีความจุ 25-200GB น่าจะราคาถูกสุดในการจัดเก็บข้อมูลแล้ว
ประเด็นเค้าคือ ทนร้อน, ทนน้ำ, ทนขูดขีด, ทนแม่เหล็ก และอยู่ได้ระดับร้อยปีครับ
ผมอ่านข่าวช่วงต้นที่เค้าจะสื่อ ที่ต้องการเก็บระยะยาว blue ray ตามสเป็กอยู้ได้ร้อยกว่าปี ส่วนความสามารถที่เหลือผมคิดว่ามีประโยชน์ก็จริงแต่น่าจะน้อยเพราะมันจะเหมาะกับการใช้งานทั่วไปไม่เหมาะกับพกพาแบบเพราะมันเป็นแก้วที่แตกได้ง่าย ถ้าเทียบกับบลูเล คงไม่สามารถใส่ซองขาวธรรมดาได้และจำเป็นต้องมีที่จัดเก็บที่ค่อนข่างดีเพื่อไม่ให้มันแตก
ถ้าเทียบกัน เน้นเครื่อนย้ายน้อยโดยถ้าจำรองสถานะการเทียบกับบลูเลในการจัดเก็บระยะยาวแทบจะไม่ต่างกัน
ถ้าเทียบกับใช้งานปรกติบลูเลก็เหนือกว่าอยู่ดีลองนึกว่ามีกระจกบาง2มิลิเมตรอยู่ในกระเป๋าในกล่องกันกระแทกที่เข็งแรง
Blu-ray ตามสเปกอยู่ได้ร้อยกว่าปี แต่ในความเป็นจริงการผลิต Blu-ray ที่อยู่ได้เกิน 10 ปีนี่ก็มหรรศจรรย์แล้วครับ
ลองเอา CD เก่า ๆ เกิน 5 ปีมาเปิดตอนนี้ ก็เปิดไม่ได้แล้วครับ
แผ่นเสีย?
เปล่าครับ คอมไม่มีช่องใส่แผ่น ผ่ามมม
เอาดี ๆ คือการเก็บข้อมูลระยะยาว Blu-ray ยังไม่ค่อยเหมาะเท่าไรครับ เพราะต่อให้เซฟทนไฟ ถ้าไฟไหม้ความร้อนยังสูงถึง 170 C ครับ แต่ Blu-ray ทนได้แค่ 70 ครับพลาสติกก็ละลายแล้วครับ
อีกอย่างที่ต้องคิดคือเครื่องเล่นมีเดีย Blu-ray จะสามารถเก็บรักษาไว้ได้ในระระยาวรึเปล่า
และลองสังเกตดูอีกอย่างนึง ในองค์กรใหญ่ ๆ ไม่มีใครแบคอัพข้อมูลสำคัญ ๆ ไว้ใน Disc เลย ตั้งแต่สมัย CD แล้ว มันคงมีเหตุผลของมันครับ ที่เราอาจจะไม่รู้
เรื่องเครื่องเล่น ถ้าองค์กรระดับ enterprise ยังใช้อยู่มันก็มีเครื่องขายครับ เหมือนที่ทุกวันนี้ยังมีเครื่องอ่านแถบแม่เหล็กอยู่ ส่วนเรื่องความทนของ cd ผมไม่อยากให้เอามาเทียบกับ bluray ที่อายุต่างกันร่วมสิบปีน่ะครับ แต่ผมก็ไม่รู้ว่าทำไมเค้าไม่เลือกใช้สื่อแบบ bluray เหมือนกัน
น่าจะเข้าใจผิดแล้วมั้งครับ แผ่น VCD DVD และ Blue-ray อายุต่างกันมากครับ แต่จาก BD 10ปีของ ps3 เกมส์เก่าๆก็ยังเล่นได้อยู่เลย ถ้าจำไม่ผิดสารที่ใช้ในการเก็บข้อมูล Blue-ray มีความคงทนสูงจึงต้องใช้แสงสีน้ำเงินที่มีพลังงานสูงเพื่อสร้างข้อมูลเลยเป็นที่มาว่าทำไมเก็บได้นานกว่าแผ่นอื่นๆที่เก็บไว้ไม่กี่ปีก็โปรงแสง
ส่วนไฟใหม้ไม่น่าจะต่ำแค่ 170c ครับ เพราะเปลวไฟสีแดงทั่วไปก็เป็นพันองศาส่วนอุหภูมโดยรอบน่าจะไม่น้อยกว่า500c ซึ่งไม่รอดทั้งคู่
ส่วนที่บอกว่าจะหาเครื่องอ่านไม่ได้ ไม่แน่ใจว่าแผนแก้วนี้อ่านโดนไม่ต้องใช้เครื่องอ่านหรือเปล่าผมไม่แน่ใจ ถ้าใช้ก็คงไม่ต่างกัน ถ้ายังมีใช้ยังไงก็มีคนผลิตจนกว่าจะมีเทคโนโลยีใหม่มาทดแทน ซึ่งก็เห็นอยู่ว่าผ่านมาเป็นสิบปีก็ยังไม่มีอะไรทดแทนและตอนนี้ราคาก็ถูกลงมาก และหนังสมัยนี้4K ถ้าจะสะสมเรื่องนึงก็ประมาณ40-100GB ก็มีแต่ต้องซื้อแผน Blue ray
... ไม่ไช่ครับ cd / dvd ส่วนใหญ่ อายุการไช้งานต่ำ เพราะออกแบบให้ต้นทุนถูกครับ - https://youtu.be/Ie9qomn3_3U?t=170
ว่าง่ายๆเลย cd แบบที่นิยมไช้กัน "เพราะถูก" มีพลาสติกชั้นเดียว โลหะที่เก็บข้อมูล แล้วก็ ลายด้านหลัง ถ้าลายด้านหลังลอกโลหะที่เก็บข้อมูลก็มักจะลอกไปด้วย
cd เกรดดี / dvd มีการออกแบบมาทนขึ้นโดยด้านหลังจะมีพลาสติกอีกชั้น ลายลอกข้อมูลไม่เสียหาย ... แต่ถ้าอากาศเข้าไปใน layer ของ โลหะที่เก็บข้อมูล ใด้ มันจะขึ้นสนิม+ขยายตัว แล้วพลาสติกด้านหลังจะหลุดออก
แผ่น Blue-ray ก็เหมือนกัน มีหลายเกรด ... "ถ้าเป็น archive grade" จะไช้การห่อแผ่นโลหะด้วยพลาสติก เลยทน อยู่ใด้ 25 - 100 ปี
อ้อแผ่น R ทั้งหลาย แพ้ความร้อนเหมือนกันหมดนะครับ ถึงความร้อนจะต่ำแต่ถ้าโดนนานๆ bit ก็เปลี่ยนใด้
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ผมน่าจะจำผิดเองครับ ลองกลับไปอ่านดูคร่าวๆแล้วเป็นเรื่องของมาตราฐานออกแบบแผ่นที่ต้องใช้สารเครือบทนรอยขีดข่วนเพราะแสงสีฟ้า และใช้วิธีเครือบแผ่น
แต่ผมไม่เคยเห็นเลยว่ามีบลูเลที่ผลิดออกมาแบบ CD DVD ทั่วไปด้วย
แผ่นแบกอัพข้อมูลขนาดแผน 25GB printable 10 บาทถูกที่สุดในตอนนั้นที่ใช้อยู่ยังเครือบแผนเลย(ราคาเมื่อแปดปีที่แล้ว) ไม่น่าจะเป็นแบบที่คุณบอกนะครับว่าผลิตเหมือน CD กับ DVD ทั่วไป เพราะเคยหักแผ่นที่ไร้เสียน่าจะอยู่ที่ข้อกำหนดมาตราฐานมากกว่า
ขอตอบในส่วนที่ใช้อยู่ในตอนนี้ BD รอดหมด(ถ้าจำไม่ผิดน่าจะโอเชียน ส่วน CD ไปหมด DVD ก็รอดบ้าง
จริงๆมันมีเหตุผลจากแสงสีน้ำเงินว่าทำไมทำแบบ CD DVD ไม่ได้และต้องมีมาตราฐานที่สูงกว่าลองอ่านใน wiki ดูครับ ผมเคยสงสัยตอนหักแผน bluelay แล้วแปลกใจ
เทปแม่เหล็ -> เทปแม่เหล็ก
แสกนฟิล์ม -> สแกนฟิล์ม
บล็อก: wannaphong.com และ Python 3
ตอนนี้เรามี M-Disc ซึ่งเป็นยี่ห้อนึงของ Blu-Ray ที่สามารถอ่านด้วย Blu-Ray drive ทั่วไปได้ (เพราะทำตาม standard Blu-Ray spec) เค้าเคลมว่าสามารถเก็บรักษาได้หลายร้อยปีนะ
ผมซื้อแผ่นมาแล้วแต่ยังไม่ได้เขียน 555
ทนหล่นอ๊ะป่าว หุๆ เอาจริงๆถ้าเก็บไว้แล้วโดนไฟไหม้จนร้อนจัดแล้วพอโดนน้ำที่มาดับไฟก็อาจจะแตกได้อยู่สินะ
เอาจริงๆ ผมว่ลูกบาศก์ มันพังไปตั้งแต่ไฟไหม้แล้วครับ
อุณหภูมิของไฟขณะไหม้บ้านคนอยู่ที่ราวๆ 500-700 องศาเซลเซียสนะครับ ร้อนระดับที่ว่า บ้านไม้ที่อยู่ไกล้ๆสามารถติดไฟได้แม้ไม่ได้โดนเปลวไฟเลยครับ
อันนี้ innovation จริงแต่เป็นสาย enterprise
น่าจะเป็นแผ่นแก้ว มากกว่าแท่งแก้วนะครับ
บาง 2 มิล
ก็น่าจะแผ่นแก้วแหละครับ
ทนทุกอย่าง ยกเว้นทำตก 555
จากหนังเรื่อง Stargate ใช้ crystal ในการเก็บข้อมูลเลย
อีกหน่อยน่าจะมี บันทึกไว้ในสมอง
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
นึกถึง Stargate เหมือนกันเลยครับ แสดงว่าคอเดียวกัน 5555
ผมว่าต่อไปน่าจะเก็บไว้ DNA ของสิ่งมีชิวิตขนาดเล็กมากกว่า การเก็บในสมองมีความเสี่ยงกับเรื่องสุขภาพของผู้ทดสอบ แล้วก็ต้องยุ่งเกี่ยวกับกฎหมายด้านสาธารณสุขอีก น่าจะเป็นตัวเลือกท้ายๆ ของการทำ แต่การให้สมองสั่งงานอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยคลื่นสมองโดยการแปะอุปกรณ์อ่านคลื่นสมองกับร่างกายน่าจะมีโอกาสเป็นไปได้ เพราะการพัฒนาเทคโนโลยีด้านอุปกรณ์อ่านคลื่นสมองให้มีขนาดเล็กลงจะไม่เกะกะน่าจะทำได้ง่ายกว่า
แต่ก็ไม่แน่ วันหนึ่งหากการโคลนนิ่งได้รับการยอมรับทางกฎหมายและศิลธรรม เทคโนโลยีการเขียนข้อมูลลงสมองโดยตรงกับตัวโคลนอาจเป็นไปได้ แล้วคาดว่าก็จะมีการเรียกร้องสิทธิให้กับโคลน สุดท้ายก็เกิดสงครามระหว่างโคลนกับมนุษย์ .... ไปกินยาแป๊บ
เหมือนกับเดินไปคุยกับคริสตัลแล้วเลือกกดเซฟหรือเปล่าครับ :)
บันทึกในสมอง Johnny Mnemonic
ถ้าเอาเทคโนโลยีไปเขียนข้อมูลเก็บไว้ในเพชรสังเคราะห์จะทำได้หรือเปล่าเนี่ย ? เข้าใจว่าน่าจะใช้หลักการหักเหของแสงภาพในโครงสร้างในการอ่านข้อมูลที่แตกต่างกัน เดาเอา ถ้าตามหลักการนี้ก็ต้องใช้เลเซอร์ในการเขียนข้อมูล แต่กับเพชรสังเคราะห์เลเซอร์เขียนได้หรือเปล่าหว่า ?
มนุษย์ต่างดาวอาจเขียนข้อมูลเก็บไว้ในเพชรก็ได้นะ ถ้าเราอ่านโครงสร้างการสะท้อนแสงของเพชรได้ อาจสื่อสาร หรือรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีกับเขาได้ 555 ไปกันใหญ่แล้วกรู
เคยอ่านหนังสือเก่าๆ ก็ใช้พวกแก้ว พวก ควอตซ์ เก็บข้อมูลสำหรับระยะยาว แต่เก็บยาวอีกร้อยปีต้องมีเครื่องอ่านข้อมูลรองรับด้วยนะเนี่ย ไม่ใช่เก็บแล้วเอาข้อมูลใช้ไม่ได้
แท่งแก้วควอตซ์ขนาด 75x75x2 ลูกบาศก์มิลลิเมตร >> แท่งแก้วควอตซ์ขนาด 75x75x2 มิลลิเมตร
ดูยุ่งยากไม่น่าใช้เลย อยากให้ผลิตมาพร้อมเครื่องอ่านแพคเป็นก้อนมาเลยมากกว่า
แบบก้อนนึงมีสัก 1PB เขียนได้ครั้งเดียวใช่ป่ะ แต่เสียบกับเครื่อง PC ใช้ได้ตลอด
ทำมาก้อนโตๆเป็นร้อยๆ PB ไปเลย ไม่ต้องโชว์ความเล็ก ซื้อมาเก็บข้อมูลถาวรแบบนี้
ขายคนทั่วไปก็ขายได้ ทำมาหลายๆขนาด รับรองขายดี