หลังการสืบสวนกว่า 16 เดือน อนุกรรมาธิการด้านการผูกขาด ของคณะตุลาการสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ ( House Judiciary subcommittee on antitrust) ได้ออกรายงานสรุปแล้วว่า Apple, Amazon และ Facebook และ Google มีการดำเนินการแบบผูกขาดในด้านต่างๆ ของโลกเทคโนโลยีจริง
คณะอนุกรรมการระบุว่า Apple ผูกขาดในด้าน “การเผยแพร่ซอฟต์แวร์ บน iOS” Google ในด้าน “ตลาดการค้นหาแบบออนไลน์” Facebook ในด้าน “ตลาดสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์ค” และ Amazon ในด้าน “การมีอำนาจเหนือคู่ค้า third-party และซัพพลายเออร์”
คณะอนุกรรมการยังแนะนำให้ออกร่างกฎหมาย ป้องกันไม่ให้บริษัทที่ครองตลาดใดตลาดหนึ่ง เข้าซื้อกิจการบริษัทที่ดำเนินงานคล้ายกัน เช่น Facebook ซื้อ Instagram หรือ Google ซื้อ Youtube และแนะนำให้ออกอีกร่าง ที่กำหนดว่าการควบรวมของสองบริษัทใหญ่ จะมีสถานะไม่เอื้อต่อการแข่งขันทันที ทำให้บริษัทที่จะควบรวมหรือซื้อกิจการมีหน้าที่ในการพิสูจน์ว่าการควบรวมนั้นไม่เป็นอุปสรรคต่อการแข่งขัน (จากเดิมที่ภาครัฐต้องเป็นคนพิสูจน์)
หากร่างกฎหมายนี้ผ่าน อาจะเป็นผลดีต่อ Epic ที่กำลังมีคดีฟ้องเกี่ยวกับการผูกขาดกับ Apple ได้ แต่ร่างกฎหมายนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกฝั่งเดโมแครตเป็นส่วนใหญ่ ยังไม่แน่ว่าจะได้รับเสียงสนับสนุนจากฝั่งรีพับลิกันมากน้อยแค่ไหน คงต้องติดตามผลกันต่อไป
อ่านรายงานฉบับเต็มที่ได้ที่นี่
Comments
กฏหมายเค้าดีจัง
ยังไม่เป็นกฎหมายครับ พวกนี้เป็นความเห็นทางการเมือง ไม่ใช่กระบวนการยุติธรรม
แต่กรรมาธิการเหล่านี้ออกความเห็น หลายครั้งมันแปลว่า "ต่อให้ไม่ผิดกฎหมาย ก็ควรทำให้ผิดกฎหมาย" ถึงได้มีความเห็นว่าต้องออกกฎหมายเพิ่มเติม
lewcpe.com, @wasonliw
ความคิดเค้าไกลและเจริญแล้ว เหลียวมามองเมืองไทย ทำไมไม่มีใครจัดการอะไรแบบนี้สักที
จะรอให้ใครมาจัดการให้ครับ ?
ประชาธิปไตยทุกคนมีสิทธิ์ในการออกเสียง
หากคิดว่าเรื่องไหนไม่ยุติธรรม
ก็ควรเรียกร้องสิทธิ์นั้นด้วยตนเองครับ
หากมีผู้เห็นด้วยก็จะร่วมเรียกร้องร่วมกับเรา
ถ้าผู้เห็นด้วยมีมากพอก็จะเกิดการตกลงกัน จนมีทางออกให้ทั้งสองฝ่ายอยู่ร่วมกันได้ การไม่ออกมาเรียกร้องสิทธิ์ถือเป็นการยอมรับเบื้องต้นครับ
เก่งแต่ในโซเชียลเนี่ยแหละครับ พอเค้าให้ลงชื่อร่างแก้ไขรธน.กว่าจะครบ แทบรากเลือด
ตั้งหน่วยงานแล้วครับ ก็ที่มีดราม่าสอบพนักงานแล้วเซ็นชื่อตัวหวัดแล้วโดนสั่งยุติการสอบนั่นแหละครับ
ตราบใดที่ยังฟังเสียงนายทุนมากกว่าประชาชนมันก็ยากที่จะเกิดครับ
เพราะกฏหมายพวกคนที่เสียผลประโยชน์คือเจ้าตลาดหรือนายทุนเจ้าใหญ่เต็มๆเลย
รอบนี้ MS ไม่โดนแฮะ
เพราะพิสูจน์ได้แล้วว่าคนซื้อ Windows ส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ browser ที่ติดมากับเครื่อง?
รายอื่นอาจจะผูกขาดโดยฐานผู้ใช้ในแพลตฟอร์ม แต่ผมคิดว่าGoogleผูกขาดด้วยคุณภาพล้วนๆ คือเราจะใช้Searchอะไรเมื่อไหร่ก็ได้แต่ผลลัพธ์คือGoogleทำได้ดีที่สุด
แล้วไมโครซอฟท์ล่ะ ทำมานานยิ่งกว่า
Adobe ก็ผูกขาดสกุลไฟล์
กระบวนการขายสินค้า กับตัวสินค้าที่ขาย ใช้หลักการตรงข้ามกันครับ
Adobe อาจยังใหญ่ไม่พอ ใหญ่แค่กับ Creative กับผู้ใช้ธรรมดาแทบไม่รับผลกระทบ
งง ๆ กับการผูกขาดของ google ก็มันเป็นบริการที่คนเลือกใช้เยอะ แล้วจะให้แก้ยังไงหว่า
ห้ามกูเกิลบังคับลง play store ห้ามบังคับลงโครมบังคับนู่นนี่นั่น ฯลฯ ที่เป็นการใช้อิทธิพลของการเป็นเจ้าใหญ่มากดดันคู่ค้าให้ตัวเองได้เปรียบคู่แข่ง
ประเด็นคือคนใช้เยอะเพราะของดีกว่าเจ้าอื่นหรือใช้เยอะเพราะติดตั้งมาให้เป็นค่าเริ่มต้นนี่แหละครับ
ตามปกติแล้ววิธีแก้จะใช้การแยกธุรกิจออกจากกันครับ เช่น แยก Mobile Service, Search Engine, Web browser ออกจากกัน
ถ้าให้ยกตัวอย่างในทางปฏิบัติก็เช่น Chrome จะต้องไม่ได้รับสิทธิพิเศษเหนือกว่า Browser อื่นๆในการเป็น Browser เริ่มต้นใน Android หรือก็คือทุกเจ้าต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน เช่น ประมูลแข่งกันอะไรแบบนี้ครับ
chrome ไมไ่ด้เป็น browser เริ่มต้นของ Android อยู่แล้วนะครับ
โหลดเพิ่มเองตลอด แต่มันดี เลยต้องโหลดมาใช้แทน browser ของเครื่อง
ในทางปฏิบัติมันติดมากับเครื่องเลยครับ แถมเอาออกไม่ได้เพราะลงเป็น system app (ลองดู app ของ Google หลายๆ ตัว จะเห็นว่ามันลงเป็น system app แถมบางอันใช้งานในไทยไม่ได้ บางอันใช้งานไม่ได้ทั่วโลกแต่ก็เอาออกไม่ได้อีก)
รายใหญ่ผูกขาดหมดแหละครับ ระบบเหล่านี้แทรกแซงเศรษฐกิจข้ามชาติด้วย แต่เหล่านี้ก็ยังเป็นแค่ ม้าศึกตัวน้อย ๆ เหมือนโพนี่ ของเหล่าไซออนนิสต์ผู้เรื่องปัญญา
ไม่ใช่ ศาล ไม่มีนำ้หนักหรอก จะพูดอะไรก็ได้
มันก็จริงที่รายใหญ่ๆเหล่านี้ไม่ได้ทำผิดอะไร
แต่ถ้าเราปล่อยไป มันก็จะกลายเป็นเหมือนเบียร์หรือร้านสะดวกซื้อในบางประเทศ ซึ่งไม่ส่งผลดีกับตลาดโดยรวมเท่าไหร่
เพราะงั้นการออกกฏหมายเพื่อแทรกแซงตลาดก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะเดิมทุกวันนี้มันก็ไม่ใช่ทุนนิยมค้าขายเสรีแต่มีกฏหมายแทรกแซงเรื่อยๆอยู่แล้ว
เห็นด้วยครับที่จริงบริษัทนี้หลายๆ ครั้งก็ไม่ได้ทำผิดอะไร แค่ใหญ่เกินไปและครองตลาดมากเกินไปจนทำให้การแข่งขันเกิดขึ้นได้ลำบาก หน้าที่ของรัฐต้องควบคุมครับ เพราะสุดท้ายในระยะยาวจะเป็นผลเสียต่อผู้บริโภคเอง
คณะอนุกรรมาธิการ
(House Judiciary subcommittee on antitrust)
Apple, Amazon, Facebook และ Google
YouTube (ref: https://www.blognone.com/glossary )
Seriously?
{$user} was not an Imposter