นอกจากคดี Sony ถูกฟ้องแบบกลุ่มกรณีผูกขาดการขายเกมดิจิทัลบน PlayStation ยังอีกคดีฟ้องผูกขาดแพลตฟอร์มจัดจำหน่ายเกมในช่วงนี้คือ บริษัทเกมอินดี้ Wolfire Games ฟ้อง Valve ว่าผูกขาดช่องทางขายเกมบนพีซีด้วย Steam Gaming Platform
ในคำฟ้องนี้บอกว่า ธุรกรรม 75% ของเกมพีซีขายผ่าน Steam โดยเสียส่วนแบ่ง 30% ให้กับ Valve ซึ่งทำรายได้ให้ Valve มหาศาลถึงปีละ 6 พันล้านดอลลาร์ (ตัวเลขประเมินเพราะ Valve ไม่เคยเปิดเผยรายได้) เมื่อ Steam ได้รับความนิยมสูง มีคนใช้เยอะ ทำให้เกมต้องผูกติดกับบริการ Steam Gaming Platform (ส่วนที่จัดการรายชื่อเพื่อน มัลติเพลเยอร์ และอื่นๆ) เพื่อให้ขายได้
Valve บังคับว่าเกมที่จะใช้บริการ Steam Gaming Platform ต้องขายผ่าน Steam Store ด้วย ซึ่งบริษัทเกมต้องโดนหัก 30% เสมอ
คำฟ้องยังพูดถึงการขาย Steam Key ที่อนุญาตให้ร้านขายเกมอื่นๆ ขายคีย์แล้วนำมาเล่นบน Steam Gaming Platform ได้ แต่ก็มีนโยบาย Price Parity Provision ที่ห้ามร้านอื่นขายถูกกว่า Valve (เช่น Humble ที่อาจลดส่วนแบ่งให้น้อยกว่า 30%) ทำให้ไม่เกิดการแข่งขันในฝั่ง Store
Valve ยังตรวจสอบว่าหากบริษัทเกมขาย Steam Key ผ่านช่องทางอื่นได้เยอะกว่า Steam Store ถึงสัดส่วนที่กำหนด ก็จะขู่บริษัทเกมและไม่อนุญาตให้ขาย Steam Key เพิ่มด้วย
นอกจากนี้ Valve ยังมีนโยบายอีกข้อชื่อ Price Veto Provision ที่บริษัทเกมต้องยอมให้อำนาจ Valve มีสิทธิโต้แย้ง (veto) การตั้งราคาเกมทั้งบน Steam และช่องทางอื่นๆ ซึ่งตรงนี้คำฟ้องอ้างคำพูดของ Tim Sweeney ซีอีโอของ Epic Games ที่บอกว่านโยบายนี้ทำให้ Epic ไม่สามารถตั้งราคาเกมแข่งกับ Valve ได้
ในคำฟ้องยังเอ่ยถึงบริษัทต่างๆ ที่พยายามเข้ามาแข่งกับ Steam ในตลาดขายเกมดิจิทัล เช่น EA, Microsoft, Amazon, Epic และบอกว่าต่อให้บริษัทเหล่านี้ใหญ่แค่ไหนก็สู้ Valve ไม่ได้ ด้วยเหตุผลด้านพฤติกรรมผูกขาดของ Valve ดังที่กล่าวมา
อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ Wolfire Games เป็นบริษัทผู้ริเริ่มทำ Humble Bundle ตั้งแต่ปี 2010 และทีมงานได้แยกตัวเป็นบริษัทใหม่ในปีเดียวกัน (บริษัท Humble Bundle ขายให้ Ziff Devis ในปี 2017 และกลุ่มผู้ก่อตั้งลาออกในปี 2019 แล้ว) อย่างไรก็ตาม คำฟ้องของ Wolfire Games ครั้งนี้อยู่ในฐานะสตูดิโอผู้พัฒนาเกม และไม่เกี่ยวอะไรกับ Humble Bundle ที่ปัจจุบันถือเป็นคู่แข่งของ Steam
ที่มา - คำฟ้อง, Ars Technica
Comments
ชิงคอมเมนต์ก่อน "เขาลงทุนสร้างแพลตฟอร์มมาให้ใช้ จะทำอะไรก็ได้ ไม่ใช่การกุศล"
Yes, Amazon, I'm looking at you.
Amazon เลิ่กลั่กใหญ่แล้ว
5555 ใช่! ก็สมน้ำหน้าแล้ว เอาของไปขายในตลาดดัง ก็ต้องโดนเขาขูดรีดค่าที่เป็นธรรมดา ไม่พอใจก็ทำเองไง ในเว็บนี้ก็บอกไว้
ช่วงนี้ โดนกันเยอะนะ
ผมเข้าใจผิดมาตลอดว่าที่ Epic สู้ไม่ได้เพราะ platform กาก ที่แท้มี valve อยู่เบื้องหลังนี่เอง
เรื่องนี้ก็พูดยากนะ
การห้ามร้านอื่นที่ไม่ใช่คีย์ Steam ตั้งราคาถูกกว่า มันส่งผลให้เกิดการกีดกันการแข่งขันจริงแหละ (แข่งกันตัดราคาไม่ได้)
แต่ในทางกลับกัน ถ้าไม่ห้ามเลย ก็จะโดนผู้ไม่ประสงค์ดีใช้ประโยชน์จาก Steam เช่น ตั้งราคาใน Steam ให้สูงเวอร์ๆไปเลย เพื่อดิสเครดิตพร้อมๆกับโปรโมทร้านอื่นไปในตัว (ซึ่งดูจากนิสัย Epic แล้วผมว่าอาจจะทำก็ได้)
ส่วนกรณีอื่นๆผมว่าสมเหตุสมผลนะ ไม่ได้ดูแล้วผูกขาดอะไร
ก็ต้องรอติดตามกันต่อไป
cdkey เขาก็ขายถูกกว่านิครับ
มีเกมไหนบ้างเหรอครับ ที่ "ราคาตั้งต้น" ถูกกว่าที่ขายใน Steam?
เท่าที่ผมลองค้นมามันเท่ากันหมดเลย (เทียบราคา US$ นะ) ไม่ว่าจะเป็นคีย์ Steam หรือร้านอื่นๆที่มี Platform ของตัวเองก็ตาม
คือถ้าค้นเจอนี่มันเอาไปแย้งข้อกล่าวหาของ Wolfire ได้ง่ายๆเลยนะครับ แต่ผมอ่านข่าวนี้มาหลายที่ก็ยังไม่เห็นใครยกตัวอย่างได้เลยซักอัน
ถ้าพวกรหัสโค้ดเกมเก่า ๆ หรือเกมที่ยกเลิกการวางจำหน่ายบน Steam กรณีที่มีโค้ดปริมาณมาก ราคาจะถูกกว่ามาก ๆ ผมซื้อโปรแกรมถูกลิขสิทธิ์ในราคา 90 บาทได้ด้วยคีย์เลย (โปรแกรมนี้หยุดพัฒนาแล้ว และเขากำลังขายของที่ใหม่กว่าบน Steam)
ส่วนที่เขาหมายถึงราคาถูกกว่า ผมคิดว่าเขาน่าจะหมายถึง discounted price ที่เป็นเรื่องปกติของร้านจำหน่ายรหัสเกมอยู่แล้ว
ที่อาจเป็นพฤติกรรมผูกขาดก็กรณี veto แต่ก็ต้องไปดูรายละเอียดอีกทีว่ามีอำนาจบังคับหรือแค่แสดงความเห็น
ส่วนกรณีอื่นก็แล้วแต่มุมมอง Wolfire มองว่า store กับ platform ควรแบ่งแยกเป็นคนละส่วนกัน แต่ Valve คงมองว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
แต่ส่วนตัวยังไม่เห็นว่าเป็นพฤติกรรมผูกขาดยังไง
Wolfire Games ขายเกมไรไม่รู้จัก
ทำเกมให้มีคุณตะพาบแล้วค่อยมาว่าเขา
เขามีเกมอะไรที่เป็นที่รู้จักมั้งมั้ยครับ
The Dream hacker..
wolfire games ทำ Overgrowth ครับ ผมอยากจะเรียกว่าเป็น Tech demo มากกว่า ถถถ+
อ่อ CEO กับ COO ของบริษัทนี้ก่อตั้ง Humble bundle ครับ
สตีม เปิดช่องทางให้ขายคีย์ผ่านทางจ้าวอื่น แต่ห้ามขายดีกว่าการซื้อผ่านสโตร์ของตนเอง ผมว่ามีแฟร์ออกนี่ เพราะว่าคีย์เกมที่ขายจากแหล่งอื่นก็ยังมาใช้ platform ของสตีมได้
ผมว่า เกมอินดี้ พึ่งพาสตีมเพื่อโปรโมตตนเองนะ บริษัทอินดี้มองเห็นเหล่าผู้เล่นที่กระจุกกันอยู่ในสตีม แล้วอยากไปกวักมือเรียก มันก็มีหลายทาง แต่คนเขาจะสนในไหม ... ไม่รู้อ่ะ ผมว่าไอ้พวกรายชื่อเพื่อนบนสตีมมันไม่ช่วยอะไรเลย เพราะระบบการแชทมันห่วยแตกจนนักเล่นเกมใช้ระบบอื่นเข้ามาช่วยด้วยซ้ำ
คีย์ Steam ผมว่าแฟร์นะที่จะคุมราคาและปริมาณ เพราะรายได้มันไม่เข้า Steam และแต่สุดท้ายก็ใช้บริการของ Steam อยู่ดี
ที่เป็นประเด็นคือ Steam คุมราคาเกมที่ขายที่อื่นที่ไม่ใช่คีย์ Steam ด้วยนี่แหละครับ
แต่ส่วนตัวถ้ายึดตามกรณีของ Booking.com (เคสคล้ายๆกันคือห้ามลงราคาที่อื่นถูกกว่าที่ลงที่นี่) ผมคิดว่าทำได้นะ มันจำกัดการแข่งขันเรื่องราคาจริง แต่มันจำเป็นต้องทำเพื่อป้องกันไม่ให้ใครใช้ประโยชน์โดยมิชอบ และไม่มีทางอื่นที่จำกัดการแข่งขันน้อยกว่านี้
เรื่องห้ามขายถูกกว่า อันนี้มองยังไง ผู้พัฒนาก็น่าจะวินนะ คือไปขายในเว็บในราคาที่ไม่ต้องแบ่ง%มากเหมือนในสตีมอ่ะ กำไรก็เข้าผู้ผลิตไม่ใช่หรอ จุดนี้คือผมงงมาก คุณขายในสตีม100ได้70 เอาไปขายข้างนอก100ได้(ถ้าเว็บขายขอ12%)ก็ได้88 แถมได้ใช้ steam platform อีก
ผมว่าจุดที่ค่ายอาจไม่พอใจคือบริมาณที่จะนำคีย์ไปขายได้มากกว่า เพราะสตีมมีกฏเรื่องปริมาณด้วยซึ่งเรายังไม่รู้ว่าสัดส่วนมันเท่าไหร่
ผู้พัฒนาจะได้เงินมากขึ้นก็ต่อเมื่อคนมาซื้อร้านที่ได้ส่วนแบ่งเยอะครับ
ถ้าทั้ง 2 ร้านราคา 100 เท่ากัน ส่วนแบ่งอีกร้าน 88 เยอะกว่าก็จริง แต่ผู้เล่นเขาไม่มาซื้อครับ ผู้เล่นจะไปซื้อร้านที่เราได้ 70 แทน
ในทางกลับกัน ถ้าร้านแรกตั้งราคา 100 อีกร้านตั้งราคา 90 ถึงแม้ส่วนแบ่งเราจะได้ 79.2 แต่ก็จะมีผู้เล่นที่อยากได้ของถูกมาซื้อเยอะขึ้นครับ ทำให้โดยรวมผู้พัฒนาได้เงินเยอะกว่าเดิม
ส่วนเรื่องคีย์ Steam ผมมองว่ามันเป็นผลประโยชน์ที่ Steam ควรได้รับนะครับ เพราะการขายคีย์นี่รายได้ไม่เข้า Steam เลยแต่ใช้บริการของ Steam เต็มๆ เพราะงั้นผมมองว่าการจะกำหนดราคาหรือปริมาณเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลอยู่
อยากให้ฟ้องชนะแล้วให้ศาลสั่งให้สร้าง HL3 มาไถ่โทษแทน!!!!
คงจะยากพอๆกับให้ sony แพ้คดีแล้วศาลสั่งให้สร้าง killzone ภาคใหม่นั้นแหละครับ
เรื่องจะใช้ Steam Gaming Platform ต้องขายผ่าน Steam Store ด้วยนี่เป็นการอ้างที่แปลกมาก ๆ นะไม่เข้าใจว่าจะโยงเหตุผลว่านำไปสู่พฤติกรรมการผูกขาดยังไงการเล่นเรื่อง Price Parity Provision ยังพอฟังขึ้นบ้างอยู่หรอก
Steam platform มันมีบริการหลายตัวมารวมๆ กันนะ พอเอาเกมลง Steam แล้วจะเอาไปลงขายที่อื่นตัดราคาทั้งๆ ที่ใช้งาน Steam platform อยู่ผมว่ามันก็ไม่ค่อยแฟร์เท่าไหร่ ไม่งั้นก็เอาไปลง gog, humble, itch แทน
พอบอก Steam ส่วนแบ่งการตลาดเยอะ ทำแบบนี้ผูกขาดรึเปล่า มันจะกลายเป็นว่า ต่อไปถ้าร้านไหนพัฒนา feature ดีๆ คนใช้เยอะๆ จะกลายเป็นผูกขาดหมดรึเปล่า คราวนี้ร้านก็จะกลายเป็นเสือนอนกินจริงๆ ไม่ต้องพัฒนาเยอะเดี๋ยวงานเข้า
ที่มันเป็นประเด็นก็เพราะต่อให้เอาไปลงที่อื่นที่ไม่เกี่ยวกับ Steam ไม่ว่าจะเป็น gog epic origin หรือร้านอื่นๆ ก็โดนห้ามไม่ให้ตั้งราคาต่ำกว่านี่แหละครับ
ลองอ่านข่าวดีๆ ครับ
ที่โดนห้ามขายตัดราคาเพราะว่าเป็น key ของ product ที่อยู่บน Steam platform ครับ ถ้าจะเอาลงร้านอื่นแบบ pack เองจะตั้งราคาเท่าไหร่ก็ไม่น่ามีใครว่า
ใน Blognone ไม่ได้ระบุชัดเจน แต่ในคำฟ้องระบุไว้ว่าในส่วนของ Price Veto Provision สามารถโต้แย้งเรื่องราคาในร้านอื่นๆได้ แม้ว่าร้านนั้นจะไม่เกี่ยวข้องใดๆกับ Steam Platform เลยก็ตามครับ นอกจากนี้ก็ยังอ้างถึง Epic ที่ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับ Steam ด้วยครับ
ใน Blog ของ Wolfire เองก็ระบุไว้เหมือนกันว่าเขาสอบถามกับ Steam เรื่องการตั้งราคาถูกกว่า ซึ่ง Steam ไม่ให้ทำแม้ว่าจะขายบนเว็บตัวเองโดยที่ไม่มีคีย์ Steam หรือไม่ได้ใช้ Steam DRM เลยก็ตาม
ที่มา: http://blog.wolfire.com/2021/05/Regarding-the-Valve-class-action
ไปนั่งอ่านคำร้องมาละ
เรื่อง Price Veto นั้นจะกระทบเฉพาะราคาเกมบน Steam เท่านั้น คือเหมือนว่าไม่ได้ห้ามว่าจะไปขายที่อื่นถูกกว่า แต่ว่าเวลาตั้งราคาบน Steam นั้น Valve จะเอาราคาเกมในตลาดมาดู รวมไปถึงราคาชอง ver ที่ไม่ได้อยู่บน Steam platform ด้วย (Windows store, no DRM, etc.)
เรื่องนี้ ถ้ามองในมุมของ Valve ผมก็พอจะเข้าใจนะ คือแบบ ทำไมตั้งราคาร้านกรูแพงกว่าชาวบ้าน แล้วใครจะมาซื้อ ก็เลยอาศัยความเป็นเจ้าใหญ่ "ต่อรอง" ราคา
ส่วนฝั่งคนขายก็แบบ ร้านอื่นเก็บค่าวางน้อยกว่า แล้วจะให้ตั้งราคาเท่ากัน แบบนี้ก็ได้กำไรน้อยกว่าสิ ก็เลยโวย
เออ แต่เรื่องที่บอกว่า โดนขู่ว่าถ้าเอาเกมไปตั้งขายที่อื่นราคาถูกกว่าจะโดนเอาเกมออกจาก Steam นี่ผมว่าแปลกๆ เพราะมีหลายคนออกมาบอกว่าไม่เคยเจอเคสแบบนี้ แถมเรื่องนี้ก็ไม่ได้อยู่ในคำร้องด้วย ทั้งๆ ที่เป็นส่วนที่สำคัญมากต่อคดี (แถมจริงๆ ผมก็แอบเห็นเกมอินดี้บางเกมตั้งราคาในร้านอื่นถูกกว่าบน Steam ก็ไม่มีปัญหา)
จริงๆ ประเด็นที่ผมสนใจในคำร้องนี้คือ ตอนแรก Steam ให้ Humble เรียก api redeem เกมเข้า account ตรงๆ ได้ไม่ต้องกรอก key แล้วต่อมา Steam ยกเลิกไม่ให้ทำ ทาง Humble สอบถามไป Steam ก็ไม่ได้ตอบอะไรกลับมา ผมก็สงสัยเหมือนกันว่าทำไม
จากที่เคยทำงานในองค์กรใหญ่ๆ ก็พอเข้าใจนะครับว่าหลายๆ ครั้ง กฏเกณฑ์ต่างๆ ทำมาเพื่อกันคนเอาเปรียบองค์กร (หรือในที่นี้คือตัว Platform)
พอตรากฏมากๆ เข้า คนที่เข้ามาใช้มีตัวเปรียบเทียบก็จะรู้สึกไม่พอใจเป็นธรรมดา
ตอนนี้ก็รอศาลตัดสินว่าสิ่งไหนที่ Valve ต้องปรับบ้าง เพื่อความเป็นธรรมกับนักพัฒนาและผู้บริโภค
คือยังไงนะ
ต้องการใช้ Steam Gaming Platform อยากเข้าถึงฐานผู้เล่นบน Steam แต่อยากไปขายที่ store อื่น ?
That is the way things are.
อีกหน่อยก็ iOS ลง app Android ไม่ได้ เป็นการผูกขาด
แล้วทำไมไม่เอาไปขายร้านของ Epic ล่ะ ขายแบบเอ็กคลูซีฟไปเลย
งอแงเพราะค่าคีย์ที่เอามาลง Humble bundle มันแพงขึ้นรึเปล่า?
ส่วนต่างที่เสียเพื่อซื้อเกมมาทำ Bundle เลยแพงขึ้น เข้าบ.ตัวเองน้อยลงอะไรงี้
ที่ออกมางอแงในนาม wolfire เพราะกลัวเสียชื่อ Humble bundle รึเปล่านะ