แอปเปิลส่งคำร้องไปยังศาลแคลิฟอร์เนีย ขอให้ระงับคำสั่งศาลที่ให้แอปเปิลเปิดทางให้นักพัฒนาวางลิงก์สำหรับจ่ายเงินภายนอกระบบ In-App Purchase (IAP) ออกไปก่อน จนกว่ากระบวนการอุทธรณ์จะสิ้นสุด แม้ว่าหลังศาลพิพากษาแอปเปิลจะประกาศว่าชนะคดีก็ตาม
คำสั่งศาลขีดเส้นตายให้แอปเปิลต้องอนุญาตให้นักพัฒนาวางลิงก์ออกไปยังระบบจ่ายเงินภายนอกเพื่อเก็บเงินจากผู้ใช้โดยตรง ไม่ต้องผ่าน IAP ที่มีค่าธรรมเนียมถึง 30% แอปเปิลระบุว่าการเปิดระบบเช่นนี้สร้างความเสี่ยงให้กับผู้ใช้ เพราะผู้ใช้อาจจะเชื่อใจความปลอดภัยของแอปเปิลและกรอกข้อมูลโดยไม่ระมัดระวัง
ที่ผ่านมาแอปเปิลบังคับแอปห้ามรับเงินผ่านระบบภายนอกกับแอปบางประเภทเท่านั้น ผู้ใช้แอปใน iOS กรอกหมายเลขบัตรเครดิตตรงในแอปจำนวนมาก เช่น แอปอีคอมเมิร์ช หรือบริการ e-Wallet หลายประเภท
คำสั่งศาลมีเส้นตายวันที่ 9 ธันวาคมนี้ ที่แอปเปิลต้องเปิดให้นักพัฒนาแสดงระบบจ่ายเงินภายนอกให้ผู้ใช้ได้
ที่มา - ArsTechnica
Comments
ถ้า apple ลด IAP เหลือ 10% คงน้อยรายจะไปทำระบบจ่ายข้างนอก apple ก็ยังมีรายได้
ยากครับ ยกเว้นจะตัดช่องทางการชำระเงินบางประเภทออกไป เช่น ตัดผ่านค่าโทรศัพท์ หรือ e-wallet บางตัว
epic บอก 30 ทำไม 12 ก็พอแล้ว แต่ผลประกอบการร้านค้าตัวเอง 2 ปีที่ผ่านมา ขาดทุนยับเลย ทั้งที่พี่แกอ้างว่า มียอดการสั่งซื้อรวมกันตลอดทั้งปี ไม่ต่ำกว่า XX ล้าน
ปัจจุบัน Epic Games ยังคงเดินหน้าจ่ายเงินให้กับการแจกเกมฟรี รวมไปถึงค่า Exclusive สำหรับทีมพัฒนาเกมอยู่
จะขาดทุนก็ไม่แปลกน่ะ โปรโมทเรียกแอปเข้าสโตร์
ไม่ใช่ปัญหาครับ เงินจาก Fortnite เหลือเฟือ
https://www.youtube.com/watch?v=oVEYzuAdUCo
เรื่องของ รายได้จาก Unreal หรือ รายได้จาก Fortnite ไม่ควรเอามานับกับ Store ต้องยอมรับว่า รายได้ของ เฉพาะ Store มันขาดทุนจริง
ไม่มีใครปฏิเสธว่า Epic Store ไม่ขาดทุนนะครับ ตัวเลขนี่ Epic เป็นคนเผยออกมาเองด้วยซ้ำ เขาตั้งใจขาดทุนเพื่อประโยชน์อื่นในระยะยาว เช่น ส่วนแบ่งตลาด
แต่จะบอกว่าเป็นท่าปกติที่บริษัทอื่นก็ทำกัน Amazon ก็ขาดทุนสะสมมานาน ใช้เงินจาก AWS มาโปะ หรือ Shopee ก็ใช้เงินจากฝั่ง Garena มาโปะเหมือนกันครับ
12 มันไม่เพียงพอต่อการที่จะดูแลบริหาร Store แล้วยังมาบังคับคนทั้งโลกให้ 12 ตามอีก
มันเป็นโมเดลธุรกิจปกติของกลุ่มทุนหนาครับ ที่ยอมขาดทุนในช่วงแรก เพื่อดึงลูกค้าเข้ามาให้มากที่สุด
จนถึงจุดหนึ่งที่เริ่มติดตลาดแล้วก็ค่อยลดโปรโมชั่นพวกนี้ลง
Microsoft ก็ใช้ GamePass ที่ขาดทุนยับเหมือนกันเพื่อดึงคนจาก Sony
SEA ที่ลดแลกแจกแถมสารพัดคูปองใน Shopee เพื่อดึงคนจาก Lazada
ทั้งหมดนี้คือการยอมขาดทุนหนัก ๆ ในช่วงต้นเพื่อสู้กับเจ้าตลาดที่ครองส่วนแบ่งเกือบทั้งหมด
มันคือโมเดลปกติของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินมากพอที่จะนำรายได้จากธุรกิจอื่นมาทดแทนส่วนที่ขาดทุน
ซึ่งจะเห็นว่าจากตัวอย่างทั้งหมดที่ว่ามาต่อให้ขาดทุนหนักกว่านี้อีกสัก 3-4 ปีเขาก็ไม่สะเทือนครับ
จะไปบอกว่ามันควรให้ธุรกิจนั้นอยู่ได้ด้วยตัวเอง นั่นมันสำหรับธุรกิจที่ไม่มีคู่แข่งที่เหนือกว่ามาก ๆ ครับ
คนรวยติดอันดับโลกบางคน เขาถึงบอกว่าขาดทุนคือกำไร ซึ่งมันใช่่ได้สำหรับคนรวย
ส่วนคนจนที่เอา "ขาดทุนคือกำไร" มาบูชา มาใช้เป็นประจำก็อดตายกันพอดี
ผมลกลัวอยู่อย่างหนึ่ง ถ้า Apple แพ้คดีแบบนี้ อาจจะกลายเป็นว่าจ่ายนอก platform ได้แต่ถ้ามีปัญหา ให้มาเคลมกับ Platform ไรงี้
I need healing.
ผมเพิ่งโดนพ่อค่าส่งของผิดสเปคใน Shoppee บน iOS ไป ก็ร้องเรียนผ่าน Shopee นะครับ จัดการเรียบร้อยไป
ลูกค้าที่โวยมั่วนี่มีแน่นอน บริษัทที่ลูกค้าเป็นล้านนี่ได้เจอลูกค้าประหลาดๆ อย่างไม่ต้องกังวล แต่ถ้าอ้างลูกค้าาประหลาดๆ แล้วทำอะไรก็ได้นี่คงสบายบริษัทเลย
lewcpe.com, @wasonliw
ผมขออนุญาตไม่เห็นด้วยอย่างแรงในเรื่องนี้นะนะครับเพราะเมื่ออ่านดูจากเนื้อข่าวคือ Apple ยื่น a stay of the injunction pending appeal ภาษากฎหมายของบ้านเราก็คือ คำขอทุเลาการบังคับคดี (stay of execution)
เวลายื่นอุทธรณ์ตามปกติมันยื่นมาพร้อมกับคำขอทุเลาการบังคับคดี หรือขอทุเลาคำสั่งในคดีจนกว่าจะมีคำพิพากษาในชั้นอุทธรณ์ (stay of the injunction pending appeal) โดยในคำร้องขอทุเลาคำสั่งจะต้องระบุเหตุผลมาด้วยว่าทำไมจะต้องขอทุเลาไว้ก่อนซึ่งก็เห็นว่าเหตุผลของ Apple มันปกติในเชิงกฎหมายนะ คือบอกว่าให้ระงับไปก่อนจนกว่าจะมีคำพิพากษาเพราะถ้าไม่ระงับ มันจะเกิดความเสียหายที่ไม่อาจจะทำให้ย้อนกลับมาให้เป็นเหมือนเดิมได้ นี่คือหลักปกติเป็นเขียนคำร้องขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งศาลครับ ส่วนศาลจะเห็นด้วยหรือไม่เป็นเรื่องของศาลครับ
ดังนั้นประเด็นที่ว่า ถ้าอ้างลูกค้าประหลาดๆ แล้วทำอะไรก็ได้นี่คงสบายบริษัท มันไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับข่าวนี้เท่าไหร่นะครับ
อีกอย่างหนึ่งหัวข้อของข่าวนี้ก็ควรจะเป็น "แอปเปิลยื่นขอทุเลาคำสั่งในชั้นอุทธรณ์ในคดี Epic โดยระบุเหตุผลว่าหากเปิดให้ผู้ใช้จ่ายเงินภายนอกจะอันตรายต่อผู้ใช้"
ยื่น notice of appeal ไปพร้อมกันครับ ไม่ใช่แค่ stay of the injunction
lewcpe.com, @wasonliw
อันนี้ท่านเข้าใจอะไรผิดหรือเปล่าครับประเด็นของผมคือ stay of the injunction จะต้องยื่นไปพร้อมกับ ตัวอุทธรณ์ และในตัวอุทธรณ์มันจะมีสำเนาหมายให้คู่ความฝ่ายตรงข้ามในตปท. เขาให้ส่ง The Notice of Appeal อยู่แล้วไม่ใช่อยากยื่นอุทธรณ์ก็ยื่นได้ครับ
point ของผมคือ เอกสารพวกนี้มันต้องยื่นพร้อมกันเมื่อจะทำการยื่นอุทธรณ์เป็นหลักตามปกติ ที่ผมไม่ได้กล่าวถึงไม่ใช่ว่าไม่มี
แต่ point ของผมคือ stay of the injunction จะต้องมาพร้อมกับเหตุผลด้วยว่าที่ยื่นตัวนี้มาจะยื่นมาลอยๆโดยไม่ระบุเหตุผลไม่ได้เพราะจะกลายเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมันปรากฎในข่าวว่าเขาระบุเหตุผลว่าอะไร
แต่ในเมื่อหัวข้อข่าวบอกว่า "แอปเปิลยื่นอุทธรณ์คดี Epic ระบุหากเปิดผู้ใช้จ่ายเงินภายนอกจะอันตรายต่อผู้ใช้" ย่อมทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิดว่า ในตัวอุทธรณ์ระบุเหตุผลไว้ว่าแบบนี้ แต่พอไปอ่านเนื้อข่าวต้นทาง กลับพบว่ามีการยื่น stay of the injunction โดยระบุเหตุผลนี้เพื่อให้ศาลทุเลาการบังคับตามคำสั่งศาล ซึ่งมันแยกจากตัวอุทธรณ์อย่างชัดเจนและไม่ถือว่าเป็นสาระในตัวอุทธรณ์ แต่เป็นคำร้องที่มีไว้เพื่อมีวัตถุประสงค์ในการทุเลาการบังคับคดีตามคำพิพากษาจนกว่ามีคำพิพากษาในศาลสูงเท่านั้น
หัวข้อข่าวที่ว่ามาจึงผิดเพี้ยนจากความเป็นจริงไปมากครับในเชิงกฎหมาย
ทำไมผมถึงกล้าโต้แย้งรู้ไหมครับเพราะมันเป็นงานที่ผมทำอยู่ทุกวัน ข่าวนี้มันค่อนข้างลึกและใช้ความเข้าใจเรื่องกระบวนการในศาลด้วย
อย่างประโยคนี้ "คำสั่งศาลมีเส้นตายวันที่ 9 ธันวาคมนี้ ที่แอปเปิลต้องเปิดให้นักพัฒนาแสดงระบบจ่ายเงินภายนอกให้ผู้ใช้ได้" มันไม่มีเส้นตายครับเมื่อคู่ความยื่น stay of the injunction ไปหากศาลอนุญาตตามคำขอ คำสั่งนี้จะไม่มีผลจนกว่าจะมีคำพิพากษาในชั้นอุทธรณ์นี่คือหลักเบื้องต้นเลยนะครับ จะใช้คำว่าเส้นตายก็ไม่ได้ในเมื่อเขายื่นขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งไปแล้ว โดยปกติตามมารยาทคู่ความอีกฝั่งจะไม่ทำอะไรจนกว่าศาลจะมีคำสั่งว่าอนุญาตหรือไม่อนุญาตตามคำร้องครับ ซึ่งศาลจะดูว่าอนุญาตแล้วส่งผลกระทบแค่ไหนซึ่งเป็นเรื่องของศาล ดังนั้นเส้นตายที่ว่าไม่มีอยู่จริงครับ
ปรับหัวข่าวใหม่นะครับ
lewcpe.com, @wasonliw
ขอบคุณครับ
+
มีน่ะมีอยู่แล้วครับลูกค้าแปลกๆตรรกะเพี้ยนๆ แต่ถ้าเกิดขึ้นแอปเปิลก็ชนะอยู่แล้วไม่มีทางที่แพลทฟอมนึงจะไปรับผิดชอบแทนแพลตฟอร์มนึงได้หรอกครับ ดูจากคำสั่งศาลเขาก็แฟร์นะครับไม่มีทางเข้าข้าง ลค.แบบนั้นหรอก เหมือนคุณ lew ว่าถ้าอ้างลูกค้าแบบนี้แล้วบริษัทจะทำอะไรก็ได้มันก็เหมือนแถเข้าข้างตัวเองให้จะทำอะไรก็ได้มากกว่าทำเรื่องที่ถูกต้องนะครับ จะแย้งก็ได้แต่แย้งด้วยเรื่องนี้ฟังไม่ขึ้นครับเพราะศาลสั่งให้เปิดการชำระเพื่อเสรีทางการค้าแต่คุณมาอ้างความปลอดภัยของลูกค้าที่เขาไม่ได้เชื่อแพลตฟอร์มคุณคนละเรื่องกันเพราะเขาเลือกแล้ว มันขัดหลักการค้าเสรี
เอาเข้าจริงเหตุที่ว่าเพื่อความปลอดภัยของลูกค้าจึงขอให้ทุเลาคำสั่งไปก่อนจนกว่าจะมีคำพิพากษาในศาลอุทธรณ์มันพอฟังขึ้นในระดับหนึ่งครับ ใครเคยร่างฟ้องยื่นอุทธรณ์จะรู้สึกเฉยๆกับข่าวนี้มากเพราะมันคือขั้นตอนตามกฎหมายเพราะไม่สามารถยื่นขอทุเลาคำสั่งศาลโดยไม่ระบุเหตุผลได้ แต่การขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งของศาลชั้นต้นกฎหมายจะระบุไว้เลยว่าคำร้อง จะต้องระบุเหตุผลมาด้วย มิฉะนั้นคำร้องดังกล่าวจะกลายเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลตีตกขึ้นมาแล้วจะยุ่ง สำนักงานกฎหมายนั้นๆจะถูก Apple ฟ้องร้องและทนายความอาจถูกพักใบอนุญาตทนายความครับอยากให้มองประเด็นนี้ด้วยครับ
ข่าวนี้ศัพท์กฎหมายมันเยอะที่สำคัญผู้เขียนข่าวอาจต้องทำความเข้าใจกระบวนการของศาลก่อนเขียนครับข่าวนี้ค่อนข้างลึกและใช้ความรู้เฉพาะทางเยอะมาก บรรดาสำนักข่าวประเทศที่ไม่มีความรู้เรื่องนี้ก็จะเขียนข่าวแบบเอามันส์โดยไม่ได้สนใจว่าเนื้อในมันคืออะไรบ้าง
ถ้าจำไม่ผิดรอบก่อนศาลก็เตือนว่าถ้าอ้างแบบนี้จะแพ้คดีไม่ใช่รึ หรือจำผิดคดีหว่า พี่แกก็ยังไม่หยุด
กฎหมายบังคับว่าการทุเลาคำสั่งจะต้องระบุเหตุผลมาในคำร้องด้วยครับซึ่งจะแถมาหรือจะมาดีๆตรงๆเป้งๆก็ไม่ได้ห้ามครับ ส่วนศาลอุทธรณ์จะตีตกหรือไม่เป็นเรื่องของศาลครับ
ซึ่งเรื่องช่วยแถเนี่ยก็ต้องไปถามสำนักงานกฎหมายที่ Apple จ้างครับว่าทำไมเลือกเหตุผลนี้