Disney+ และ Hulu (ในอเมริกา) เป็นแอปสตรีมมิ่งล่าสุดที่ยกเลิกวิธีการสมัคร Subscription ผ่านระบบ In-App ของ App Store ของแอปเปิล เพื่อไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้แพลตฟอร์ม
ผลจากการเปลี่ยนแปลงนี้ ผู้ใช้งานใหม่จึงต้องสร้างบัญชีผ่านเว็บไซต์ภายนอกเท่านั้น ไม่สามารถทำผ่านแอปได้โดยตรง ส่วนผู้ใช้งานเดิมที่สมัครผ่านระบบ In-App อยู่แล้วยังจ่ายเงินผ่านช่องทางเดิมได้ต่อไป
Spotify ยุติไม่ให้สมาชิก Spotify Premium รายใหม่ชำระค่าบริการผ่าน App Store มาตั้งแต่ปี 2016 เพื่อหลีกเลี่ยงส่วนแบ่งรายได้ 30% ให้กับ Apple และล่าสุด Spotify ก็ประกาศ ไม่รองรับวิธีชำระเงินค่าสมาชิกผ่าน App Store สำหรับสมาชิกเดิมอีกต่อไป
สำนักข่าว Variety รายงานว่า Spotify แจ้งกับสมาชิก Spotify Premium เดิมที่ยังชำระค่าสมาชิกผ่าน App Store ทางอีเมลว่า บริษัทจะไม่รองรับการชำระค่าสมาชิกผ่าน App Store โดยบัญชีของสมาชิกที่ชำระผ่านช่องทางดังกล่าว จะถูกปรับเป็นบัญชีแบบฟรีโดยอัตโนมัติเมื่อสิ้นสุดการเรียกเก็บเงินรอบปัจจุบัน ผู้ใช้จะสามารถสมัครบัญชีพรีเมียมใหม่ได้ทางเว็บไซต์ของ Spotify และชำระค่าสมาชิกผ่านบัตรเครดิต หรือ PayPal แทน
นักวิเคราะห์สายโซเชียลมีเดีย Matt Navarra สังเกตเห็นฟีเจอร์ใหม่และโพสต์ลงใน Twitter ว่าช่อง Telegram บางช่องสามารถใช้ฟีเจอร์ที่ให้ผู้ใช้ต้องชำระเงินจึงจะดูโพสต์ได้แล้ว อย่างไรก็ตาม Telegram ยังไม่ได้ประกาศอย่างเป็นทางการ จึงน่ายังอยู่ในช่วงทดลองอยู่เท่านั้น
สิ่งสำคัญ คือ แม้ว่าฟีเจอร์จ่ายเงินเพื่อดูโพสต์จะเปิดทดลองในแอปพลิเคชันบนระบบ iOS แต่ Telegram กลับให้ตัดบัตรเครดิตโดยตรงแทนที่จะใช้ระบบจ่ายเงินภายในแอปของ Apple ซึ่งถือว่าผิดนโยบายของ Apple ซึ่งดูเหมือนว่า Telegram จะพยายามหลีกเลี่ยงการโดนหักค่าคอมมิชชัน 30% จากฝั่ง Apple
Diablo Immortal หนึ่งในเกมที่ขึ้นชื่อว่าอยากจะเทพต้องเปย์หนัก มีการกวาดล้างลบข้อมูลเงินในเกมที่ผู้เล่นบางคนได้มาแบบผิดกฎ ทำให้หลายคนจู่ๆ ก็มีเงินติดลบในระบบทันที และทางเดียวที่ผู้เล่นจะกลับมาเล่นเกมได้ตามปกติคือต้องใช้เงินจริงซื้อเงินในเกมเหล่านั้นให้บัญชีพ้นจากสถานะตัวแดง ซึ่งก็คือต้องซื้อจากช่องทางหลักของ Blizzard เท่านั้น
เงินในเกมที่ถูกกล่าวถึงนี้คือไอเทม Eternal Orbs ซึ่งเป็นสกุลเงินแบบพรีเมียมภายในเกม Diablo Immortal นั่นคือเป็นสกุลเงินในเกมที่ผู้เล่นสามารถเติมได้ด้วยการใช้เงินจริงซื้อมันมา และถ้าหากอยากจะมีชุดเท่ๆ อาวุธเจ๋งๆ หรืออัพเกรดตัวละครได้แบบรุดหน้าจริงจังแล้ว Eternal Orbs คือสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้เยอะมาก
มีรายงานว่าแอปแชตยอดนิยมของเกาหลีใต้ KakaoTalk ถูกปฏิเสธการอัพเดตเวอร์ชันของแอปใน Play Store ของกูเกิล โดยกูเกิลให้เหตุผลว่าแอปทำผิดข้อกำหนดการใช้งาน ที่ห้ามแทรกลิงก์ไปจ่ายเงินผ่านแพลตฟอร์มภายนอก
ก่อนหน้านี้กูเกิลออกข้อกำหนดมีผลตั้งแต่ 1 มิถุนายน ว่าหากพบแอปใดมีลิงก์ให้ไปจ่ายเงินค่าบริการยังเว็บไซต์ภายนอก ที่ไม่ใช่ระบบจ่ายเงินของกูเกิล แอปจะถูกระงับการอัพเดตหรืออาจถูกถอดออกจาก Play Store
กูเกิลปรับนโยบายช่องทางการจ่ายเงินบน Google Play Store ให้ผ่อนคลายมากขึ้น จากเดิมที่บังคับต้องจ่ายผ่านระบบของกูเกิลเท่านั้น แต่เมื่อช่วงหลังได้รับแรงกดดันจากหน่วยงานภาครัฐในหลายประเทศ (เช่น เกาหลีใต้ที่ถึงขั้นออกเป็นกฎหมาย) ทำให้กูเกิลต้องยอมปรับตัว
ล่าสุดกูเกิลประกาศว่าจะ 'ทดลอง' ให้นักพัฒนาในประเทศอื่นใช้ระบบจ่ายเงินของตัวเองด้วย โดยเริ่มจาก Spotify เป็นรายแรก ที่สามารถนำเสนอวิธีการจ่ายเงินของตัวเองคู่ไปกับ Google Play billing แล้วให้ผู้ใช้เป็นฝ่ายเลือกว่าจะจ่ายทางไหน
มีผู้ใช้พบว่าบริการ Apple TV บนอุปกรณ์ที่เป็น Android TV/Google TV ไม่สามารถซื้อหรือเช่าหนังของ iTunes ได้อีกต่อไป โดยเปลี่ยนเป็นข้อความว่าผู้ใช้สามารถเช่าหรือซื้อหนังได้จาก iPhone, iPad หรืออุปกรณ์สตรีมมิ่งต่างๆ แทน
แอปเปิลไม่ได้ให้ข้อมูลใดๆ ในเรื่องนี้ แต่คาดกันว่าสาเหตุน่าจะเกิดจาก แอปเปิลไม่อยากเสียส่วนแบ่งรายได้ 30% ให้กูเกิลในฐานะเจ้าของแพลตฟอร์ม
จากกรณีเกาหลีใต้ออกกฎหมายให้ร้านขายแอพต้องมีช่องทางจ่ายเงินแบบอื่น ฝั่งของกูเกิลเคยออกมาประกาศว่าจะปฏิบัติตาม
วันนี้ Google Play Store โชว์วิธีการจ่ายเงินแบบอื่น (in-app billing) แล้ว โดยผู้ใช้จะเห็นตัวเลือกตอนกดจ่ายเงิน (ดังภาพ) ซึ่งกูเกิลจะหารือร่วมกับพาร์ทเนอร์รายอื่น เพื่อแชร์วิธีการเชื่อมระบบกันต่อไป
กูเกิลบอกว่าปัจจุบัน Google Play สามารถจ่ายเงินได้หลายแบบ เช่น ซื้อเป็นบัตรของขวัญ หรือจ่ายด้วยแต้ม Play Point ซึ่งลูกค้าที่เลือกจ่ายเงินด้วยระบบของบริษัทอื่น "อาจ" ไม่มีตัวเลือกเท่าจ่ายผ่านระบบของกูเกิลเอง
แอปเปิลปรับกฎของ App Store เล็กน้อย 3 จุด การเปลี่ยนแปลงสำคัญคือลบเงื่อนไขข้อ 3.1.3 ที่เดิมทีห้ามนักพัฒนาใช้ข้อมูลจากแอพเพื่อไปสื่อสารกับผู้ใช้นอกแอพว่ามีวิธีจ่ายเงินอื่นนอกจาก in-app purchase (เช่น ส่งอีเมลแจ้งผู้ใช้ว่ามาจ่ายผ่านเว็บเราเถอะ ถูกกว่า)
การลบข้อความนี้ออกถือว่าแอปเปิลปฏิบัติตามคำสั่งศาลจากคดี Apple vs Epic โดยถือว่าแอปเปิลดำเนินการก่อนกำหนด 90 วัน (ครบกำหนด 9 ธันวาคม) ถือเป็นข่าวดีเล็กๆ สำหรับนักพัฒนาสาย iOS
แอปเปิลส่งคำร้องไปยังศาลแคลิฟอร์เนีย ขอให้ระงับคำสั่งศาลที่ให้แอปเปิลเปิดทางให้นักพัฒนาวางลิงก์สำหรับจ่ายเงินภายนอกระบบ In-App Purchase (IAP) ออกไปก่อน จนกว่ากระบวนการอุทธรณ์จะสิ้นสุด แม้ว่าหลังศาลพิพากษาแอปเปิลจะประกาศว่าชนะคดีก็ตาม
คำสั่งศาลขีดเส้นตายให้แอปเปิลต้องอนุญาตให้นักพัฒนาวางลิงก์ออกไปยังระบบจ่ายเงินภายนอกเพื่อเก็บเงินจากผู้ใช้โดยตรง ไม่ต้องผ่าน IAP ที่มีค่าธรรมเนียมถึง 30% แอปเปิลระบุว่าการเปิดระบบเช่นนี้สร้างความเสี่ยงให้กับผู้ใช้ เพราะผู้ใช้อาจจะเชื่อใจความปลอดภัยของแอปเปิลและกรอกข้อมูลโดยไม่ระมัดระวัง
วันนี้ คดีระหว่าง Apple vs Epic เริ่มไต่สวนในชั้นศาลตามนัดหมาย ฝั่งของกูเกิลก็ออกมาประกาศนโยบายของ Android และ Google Play Store ในประเด็นเรื่องการผูกขาด จำนวน 5 ข้อดังนี้
กรรมการการแข่งขันทางการค้าและการปกป้องผู้บริโภคออสเตรเลีย (Australian Competition and Consumer Commission - ACCC) ออกเอกสารขอข้อมูลและความเห็นต่อสภาพการแข่งขันของตลาดแอปพลิเคชั่น ที่มีกูเกิลและแอปเปิลครองตลาดส่วนใหญ่
เอกสารมีทั้งส่วนปูพื้นภาพรวมอุตสาหกรรมและคำถามถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม โดย ACCC ต้องการหาข้อมูลใน 8 ประเด็นได้แก่
Digital Content Next (DCN) กลุ่มสื่อที่รวมเอาสื่อรายใหญ่ เช่น The Washington Post, The New York Times, Financial Times ตั้งคำถามต่อแอปเปิลว่าองค์กรต่างๆ ต้องทำอย่างไรจึงจะสามารถลดค่าธรรมเนียมการจ่ายเงินผ่านแพลตฟอร์มที่แอปเปิลเก็บค่าธรรมเนียมถึง 30%
บทความของ DCN ในเว็บระบุว่าแอปเปิลอ้างว่านโยบายค่าธรรมเนียมนั้น "ไม่สามารถต่อรองได้" (non-negotiable) แต่ในความเป็นจริงแอปเปิลกลับลดค่าธรรมเนียมให้ผู้ให้บริการรายใหญ่ เช่น Amazon Prime Video นั้นคิดค่าธรรมเนียมเพียง 15% แถมหากผู้ใช้เป็นลูกค้าเดิมของ Prime Video มาก่อนก็ไม่คิดค่าธรรมเนียมเลย
Silicon Studio เป็นสตูดิโอเกมญี่ปุ่น ผู้พัฒนาเกม RPG ชื่อดังอย่าง Bravely Default, Bravely Second บน 3DS แต่บริษัทก็ยังมีเกมมือถืออีกหลายเกม เช่น Terra Battle 2, Grand Sphere ที่ใช้การทำเงินแบบ in-app purchase รวมถึงธุรกิจขายเอนจิน มิดเดิลแวร์หรือเฟรมเวิร์คในการพัฒนาเกมด้วย
สิ่งที่ไม่ธรรมดาคือ Silicon Studio มีระบบ AI ของตัวเองที่ใช้อัลกอริทึม deep learning เรียนรู้พฤติกรรมของผู้เล่นแต่ละคน ว่ามีรูปแบบการเล่นอย่างไร และควรทำเงินอย่างไร ในจังหวะไหน
Fleksy แอพคีย์บอร์ดชื่อดังได้ถูกปล่อยเป็นแอพฟรีแล้วทั้งบน iOS และ Android และหันไปหาเงินจาก In-app purchase จากธีมและส่วนเสริม (extension slot) อย่างเดียวแทน
สำหรับคนที่เคยจ่ายเงินซื้อแอพไปแล้ว ทาง Fleksy จะให้เครดิตมูลค่า 8 เหรียญสำหรับซื้อธีมและส่วนเสริมอื่นๆ ในแอพแทน
ที่มา - The Next Web
MixRadio บริการสตรีมมิ่งเพลงออนไลน์ที่ Microsoft ได้มาจาก Nokia และได้ขายให้ LINE เมื่อปลายปีที่แล้ว ส่งอีเมลแจ้งลูกค้าว่าตั้งแต่เดือนมีนาคมนี้เป็นต้นไปจะหยุดบริการจ่ายเงินโดยการตัดบัตร (บัตรเครดิตและบัตรเดบิต) และตัดเงินจากผู้ให้บริการเครือข่าย นั้นหมายความว่าผู้ใช้จะไม่สามารถซื้อเพลงหรืออัลบั้มจากในแอพได้อีก แต่ผู้ใช้จะยังรับฟังเพลงหรืออัลบั้มที่เคยถูกซื้อไปแล้ว รวมถึงรายชื่อเพลงฟังฟรีที่อยู่บนระบบได้ต่อไป
เว็บไซต์ Windows Central คาดว่าฟีเจอร์ซื้อเพลงจะกลับมาในอนาคต เนื่องจากอีเมลระบุว่าการหยุดให้บริการซื้อเพลงนี้เพื่อเตรียมการสำหรับฟีเจอร์ใหม่ที่จะถูกปล่อยให้ใช้งานในปีนี้
ต่อจากข่าว EU เตรียมกำกับดูแล In-app Purchase ไม่ให้ถูกคิดเงินโดยไม่รู้ตัว ล่าสุด EU กำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ In-app Purchase เรียบร้อยแล้ว โดยมีเนื้อหาสำคัญดังนี้
หน่วยงานที่คอยกำกับและดูแลการแข่งขันและป้องกันการผูกขาดของประเทศอิตาลี ได้ออกมาบอกว่าแอพพลิเคชันประเภท "ฟรีเมี่ยม" ของ App Store และ Google Play อาจจะผิดกฎหมาย เนื่องจากผู้ขายได้ติดป้ายบอกว่าแอพพลิเคชันเหล่านี้ว่าเป็นแอพ "ฟรี"
หน่วยงานฯ อ้างว่าผู้ใช้งานได้ดาวน์โหลดแอพพลิเคชันเหล่านี้มา แล้วคิดว่าเกมนี้เป็นเกมที่สามารถเล่นได้ฟรี และผู้ใช้ก็ไม่มีทางบอกได้ว่าเกมเหล่านี้มีราคาที่แท้จริงเท่าใด
ถ้าหากแอปเปิลและกูเกิลถูกพบว่ามีเจตนาหลอกลวงลูกค้าจริง จะถูกปรับเป็นเงินมูลค่า 5 ล้านยูโร ซึ่งจริง ๆ แล้ว ก็ไม่ได้กระทบสถานะทางการเงินของกูเกิลหรือแอปเปิลเท่าใดนัก
จริงๆ เป็นข่าวเก่าใหม่ปนกัน แต่ขออนุญาตรวบข่าวเลยละกันครับ
เมื่อวันที่ 10 เมษายนที่ผ่านมา อเมซอนประกาศเข้าซื้อกิจการ comiXology ซึ่งเป็นระบบขายการ์ตูนคอมมิคแบบดิจิทัลที่โด่งดังมากทางฝั่งอเมริกา มีแอพให้ซื้อและอ่านการ์ตูนทั้งบน iOS, Android และ Kindle Fire มีพวกการ์ตูนดังๆ จากทั้งฝั่ง DC, Marvel และ Dark Horse มากันครบ อีกทั้งเป็นแอพทำเงินติดอันดับ Top Ten ใน App Store ในปี 2011 และ 2012 และเป็นแอพทำเงินมากที่สุดในกลุ่มไม่ใช่เกมบน iPad ในปี 2012 และ 2013
ทิศทางของการหารายได้บนแอพมือถือในปัจจุบัน เปลี่ยนจากการขายแอพโดยตรง มาเป็นการเปิดให้ดาวน์โหลดฟรี แต่ขายฟีเจอร์หรือเนื้อหาเพิ่มเติมในภายหลัง (ซึ่งชื่อเราคุ้นกันคือ in-app purchase หรือ IAP)
อย่างไรก็ตาม การแสดงราคาว่า "ฟรี" แต่มีวิธีคิดเงินแบบ IAP แถมตัดบัตรเครดิตอัตโนมัติ กลับสร้างปัญหาให้ผู้บริโภค โดยเฉพาะพ่อแม่ที่โหลดเกมฟรีมาให้ลูกๆ เล่น แต่ไม่รู้ตัวเมื่อลูกกดซื้อไอเทมภายในเกม ตัวอย่างกรณีปัญหาที่เคยเกิดขึ้นคือลูกสาวอายุ 8 ขวบ กดซื้อของภายในเกมจนทำให้พ่อของเธอถูกคิดเงินไปถึง 4,000 ปอนด์ (220,000 บาท) ถึงแม้แอปเปิลจะคืนเงินให้ในภายหลังแต่กระบวนการระหว่างนั้นก็สร้างปัญหาให้กับทุกฝ่าย
Tony Learner ผู้อำนวยการฝ่ายแฟรนไชส์ธุรกิจของเกม Plants vs. Zombies จากบริษัท PopCap ให้สัมภาษณ์ในประเด็นที่ผู้เล่นจำนวนมากบ่นถึงระบบ in-app purchase ว่าสำหรับบริษัทแล้ว นี่ไม่ใช่ปัญหา
Learner บอกว่าแนวทางของ Plants vs. Zombies มั่นคงมาตลอดว่าต้องการให้เล่นเกมฟรี โดยมีตัวเลือกให้จ่ายเงินอัพเกรดเพิ่มเติม
เขายังพูดถึงเสียงเรียกร้องของผู้เล่น "ส่วนน้อย" ที่ขอให้ทำเวอร์ชันเสียเงินที่ไม่มี in-app purchase ว่าเป็นเรื่องยากสำหรับ PopCap เพราะเกมถูกออกแบบมาให้เพิ่มเนื้อหาใหม่ๆ เข้ามาตลอดเวลา บริษัทไม่ได้คิดล่วงหน้าไปไกลขนาดนั้นว่าจะมีตัวเลือกหรือเนื้อหาเสริมอะไรบ้างในอนาคต
ที่งาน Google I/O ทีม Google Play เผยสถิติที่สำคัญด้านรายได้ ดังนี้
In-app purchase เป็นหนึ่งฟีเจอร์ที่ Microsoft ไม่ได้กล่าวถึงในงาน Windows Phone Developer Summit ซึ่งล่าสุดทาง Microsoft ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฟีเจอร์นี้ผ่าน Windows Phone Developer Center ว่า Windows Phone 8 จะรองรับ in-app purchase แต่ Windows Phone 7.8 จะไม่รองรับอย่างแน่นอน
ที่มา : The Verge
แฮกเกอร์ชาวรัสเซีย Alexey Borodin (ZonD80) ได้เผยแพร่วิธีการของเขาซึ่งอ้างว่าเป็นเทคนิคที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถกดซื้อแอพที่ต้องซื้อได้โดยไม่เสียเงิน และสามารถทำได้โดยไม่ต้องเจลเบรคอุปกรณ์ใดๆ เพียงแค่เปลี่ยนการตั้งค่าเล็กน้อยเท่านั้น โดยแอพดังกล่าวนั้นเป็น in-app คือเป็นของที่อยู่ในแอพอีกที (เช่นการซื้อของจากเกม)
สำหรับวิธีการคร่าวๆ คือการติดตั้งใบรับรองสองใบและการเปลี่ยนค่า DNS เพื่อให้เชื่อมต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์ของแฮกเกอร์ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางโดยตัวกลางนี้ก็จะส่งค่า (ที่ถูกแก้ไขแล้ว) กลับไปยัง App Store ตัวจริงเพื่อหลอกว่าได้สั่งซื้อเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
กูเกิลออกมาประกาศข่าวว่า Google Play Store รองรับการสมัครสมาชิกภายในแอพ (in-app subscription) โดยผู้ใช้สามารถซื้อบริการ (เช่น หนังสือ นิตยสาร เพลง) เป็นรายเดือนหรือรายปีจากตัวแอพ แล้วจ่ายเงินด้วยบัญชีของ Google Play ได้
กูเกิลบอกว่าฟีเจอร์นี้เป็นการต่อยอด in-app purchase/billing เดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยสถิติของกูเกิลระบุแอพส่วนใหญ่ในกลุ่ม top grossing เลือกใช้โมเดลหารายได้แบบนี้เป็นหลักอยู่แล้ว
ฟีเจอร์นี้จะใช้ได้กับ Google Play เวอร์ชัน 3.5 ขึ้นไป ส่วนนักพัฒนาแอพก็ศึกษา API กันได้ถ้าต้องการ
ที่มา - Android Developers Blog