Jacqueline Scott Corley ผู้พิพากษาศาลเขตแคลิฟอร์เนียเหนือ ซึ่งเป็นเจ้าของคดี FTC ฟ้องขอให้ขวางดีลไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard และตัดสินให้ FTC แพ้ ได้เผยแพร่ความเห็นของตัวเองที่ใช้ในชั้นศาลออกมา
เอกสารชิ้นนี้ยังมีบางส่วนที่คาดดำเพราะเป็นความลับทางธุรกิจ แต่ก็ช่วยให้เราได้เห็นมุมมองของผู้พิพากษาชัดเจนขึ้น
ที่มา - เอกสารฉบับเต็ม
Judge Corley just released a less heavily redacted version of her denial of the FTC's PI motion: https://t.co/hkc2B4EHmwAdditional passages are now publicly accessible, particularly about Sony!Here's a long passage about Sony's practices that was previously redacted:As a…
— Florian Mueller (@FOSSpatents) July 19, 2023
Comments
ด่าอะไรเขา เข้าตัวหมด โซหนี้
ส่วนตัวมองว่า ปริมาณมันแปรผันตรงกับความนิยมในตัวอุปกรณ์ ก็ฟังได้นะครับ
ตั้งแต่MSแพ้ยุค360ก็เล่นปล่อยจอยเลย ก็ไม่แปลกที่จะน้อยกว่ามาก
ถ้าMSเอาเงินซื้อActivisionไปซัพพอร์ท3rd partyให้ผลิตเกมแบบที่Sonyทำ ก็น่าจะได้EXซัก30+เกมได้อยู่นะ
แต่ประเด็นมันไม่ได้อยู่ที่ว่า "โซนี่ก็ทำ แถมทำเยอะกว่า" ไม่ใช่เหรอครับ
ใช่ครับ ประเด็นอยู่ที่ไมโครซอฟผูกขาดตามที่โซนี่กล่าวหาจริงหรือไม่ คำตอบก็จากข่าวนี้ก็พิจารณาได้บ้างไมโครฟซอฟไม่ได้มีอำนาจผูกขาดในตลาดเกม โซนี่ก็ยังคงใช้พลังของเจ้าตลาดมีอำนาจต่อรองให้ค่ายเกมทำ ex ลงเครื่องได้ง่ายกว่าไมโครซอฟไปขออยู่ดี
จากความเห็นส่วนตัวนะครับ ประเด็นนี้ผู้ตัดสินใช้พฤติการเป็นตัวตัดสิน มากกว่า
1. ผู้ตัดสินคิดว่าการทำเกม ex ของ first party เป็นเรื่องปกติทางธุรกิจ เรื่องเกม ex เยอะกว่า 8 เท่าน่าจะเป็นเรื่องรอง
2. เขามองว่าการไล่กดดันด้วยส่วนแบ่งการตลาดหรือให้เงินซื้อ ex/ time ex จาก third party เข้าข่ายการผูกขาดมากกว่า
3. จากการที่โซนี่โจมตีเรื่อง COD เขาไม่พบพฤติการว่า MS จะทำให้ COD เป็น ex ทางเอกสารและยกพฤติการตอนควบรวม Mojang มาประกอบว่าควบรวมมาแล้วก็ไม่ได้ทำให้ Minecraft เป็น ex
ใช้การเข้่าซื้อในอดีตแบบ minecraft มาเทียบไม่ได้อ่ะครับ เทียบกันยากมาก เพราะตอนนี้ไมโครซอฟท์มีค่ายเกมใหญ่เป็นของตัวเองแล้ว (Bethesda) ถ้าได้ Activision Blizzard ไปอีกจะทำให้ไมโครซอฟท์กลายเป็นเจ้าของสตูดิโอเกมใหญ่หลายเกม ซึ่งจะทำให้ไมโครซอฟท์มีอำนาจในตลาดเกมสูงขึ้นมากกว่าเดิมหลายเท่า
เรื่องว่าจะ exclusive หรือไม่เป็นแค่ส่วนหนึ่งของอำนาจในตลาดที่สามารถกดความสามารถในการแข่งขันของคู่แข่งได้ (ผมไม่ได้ใช้คำว่าผูกขาด) การจะ exclusive หรือไม่ ไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ตัวเดียวที่ว่าไมโครซอฟท์ทำลายการแข่งขันในตลาดรึเปล่า
ก็ FTC ไปฟ้องเรื่อง "เป็นการกีดกันคู่แข่ง ให้เกมต้องอยู่เฉพาะในแพลตฟอร์มของ Xbox" อะครับ สุดท้ายเขาก็เลยต้องพิจารณาเรื่องเกม ex
ไม่ว่าจะเป็นการซื้อธุรกิจหรือดีลเป็นครั้งๆ มันก็เป็นเพียงแค่หนึ่งในวิธีที่ใช้เพื่อแข่งขันทางธุรกิจเหมือนกัน เพียงแต่มันจะส่งผลอย่างไรกับตลาดในอนาคตจนต้องเบรกไว้ไหมก็ว่ากันอีกเรื่องนึง
ผมมองว่าความเห็นนี้ ต้องการแสดงให้เห็นว่า MS มีความจำเป็นที่จะต้องทำแบบนี้ ถึงจะสามารถแข่งกับ Sony ได้ครับ เมื่อรวมกับการที่ศาลมองว่าความเสี่ยงที่จะส่งผลต่อตลาดในอนาคตต่ำ ก็เลยทำให้ชนะคดีนี้ไป
ชนะคดีแล้วเหรอครับ? อันนี้ไม่ได้กวน ผมนึกว่ายังอยู่ในชั้นศาล
เข้าใจว่าชนะแล้วนะครับ? กระทั่งอุทธรณ์ก็ปฏิเสธไปแล้วด้วย
แต่ผมก็ไม่แม่นเรื่องขั้นตอนในชั้นศาลเหมือนกัน ไม่รู้เหมือนกันว่าหลังอุทธรณ์แล้วยังเหลืออะไรอีกไหม 55+
อุทธรณ์คือศาลปฏิเสธคำขอคุ้มครองชั่วคราวของ FTC ครับ ตัวคดียังอยู่ on process
ขอบคุณครับ
ไปหาอ่านเพิ่มเติมมา เหมือนว่าคดีเดิมจะตัดสินวันที่ 2 สิงหา แต่ไม่กี่วันที่ผ่านมาเหมือนว่า FTC จะถอนฟ้อง(ไม่แน่ใจว่าใช้คำถูกไหมนะครับ)ไปแล้ว
แบบนี้ถือว่าจบหรือยังนะ? 😅
ที่มา: reuters
ที่อ่านจากบล็อกนัน คร่าวๆ คือ FTC ยื่นขอยืดเวลาวิจารณาคดี แต่ศาลไม่เอาด้วย ตอนนี้เหลือด่านใหญ่คือ CMA ของอังกฤษครับ
ถ้าไม่มองว่ามันเป็นเกมแต่ธุระกิจก็ประมาณลื้อต้องวางขายเฉพาะห้างอั๊วเท่านั่งห้ามวางห้างอื่งๆ
The Last Wizard Of Century.
ก็พี่เล่นใช้อำนาจเจ้าตลาดกดดันบริษัทเกมกีดกันผูดขาดขั้นสุด ยังไปว่าคนอื่นแพ้คดีไปสมควร 55555
Sony ใช้วิธีการผูกขาดหนักกว่า MS มาตลอด ทั้งเงินอุดหรือใช้ความเป็นเจ้าตลาดมาบีบไข่ค่ายอื่นให้ยอม ex ให้
แต่ MS ซื้อไปก็ยังทำเกม Multi ต่อ
ทำให้ sony กล่าวหา ms ดูตลก (เพราะชี้ผิดจุดแล้วดันย้อนเข้าตัวเอง)
คือไปด่าเขาว่าจะซื้อค่ายเกมพื่อทำ Ex แต่ตัวเองก็ไล่เอาเงินอุดปากพวก 3rdparty ให้มาลงของตัวเองก่อน เข้าเรียกอะไรนะ พวก
“ตีปลาหน้าไซ”