กลุ่มค่ายเพลงในสหรัฐฯ นำโดยสมาคมอุตสาหกรรมเพลงของสหรัฐอเมริก (RIAA) ยื่นฟ้องบริษัทปัญญาประดิษฐ์สร้างเพลง Suno และ Udio ที่ให้บริการสร้างเพลงตามพรอมพ์ที่ผู้ใช้ใส่เข้าไป
แม้คดีจะคล้ายกัน แต่ค่ายเพลงก็ยื่นฟ้องคนละศาล โดย Suno ถูกฟ้องที่ศาลแขวงรแมสซาชูเซตส์ ขณะที่ Udio ถูกฟ้องที่ศาลแขวงนิวยอร์กใต้
คำฟ้องที่ค่ายเพลงยื่นฟ้อง Suno และ Udio นั้นไม่ได้ระบุหลักฐานตรงๆ ว่ามีหลักฐานการใช้เพลงใดในการฝึก ต่างจากคำฟ้องของ New York Times ที่เคยฟ้อง OpenAI ที่แสดงหลักฐานชัดเจนว่าสามารถเขียนพรอมพ์ให้ ChatGPT แสดงบทความทั้งบทความออกมาได้ แต่คำฟ้งอ้างอิงจากความคล้ายคลึงของเพลงที่ Suno และ Udio สร้างออกมา ประกอบการท่าทีหลีกเลี่ยงการตอบคำถามของบริษัทที่เคยถูกถามว่าใช้ข้อมูลอะไรมาฝึกบ้าง ตลอดจนคำสัมภาษณ์ของ Antonio Rodriguez ตัวแทนของ Matrix Partners ผู้ลงทุนใน Suno ว่าตระหนักดีว่า Suno อาจจะถูกค่ายเพลงฟ้องเข้าสักวัน
คำฟ้องขอให้บริษัททั้งสองหยุดใช้งานเพลงมีลิขสิทธิ์ของค่ายเพลงที่ยื่นฟ้องทั้งหมด, จ่ายค่าเสียหาย 150,000 ดอลลาร์ต่อชิ้นงานที่ใช้ไป ตลอดจนดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายทางกฎหมายอื่นๆ
ปัญหาทางกฎมายอาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่กูเกิลยังคงเลี่ยงที่จะเปิดปัญญาประดิษฐ์ AI สร้างเพลงออกมาให้ใช้งานในวงกว้าง แต่เน้นทำความร่วมมือกับนักดนตรีในวงการก่อนเท่านั้น
ที่มา - The Verge
Comments
เพลงอะไรพวกนี้มันมีกิมมิกของมันอยู่ ถึงเพลงจะออกมาเยอะแค่ไหนมันก็จะมีเสียงเฉพาะของมัน ฟังปุ๊บบางครั้งรู้เลยว่ามาจากค่ายไหน ศิลปินคนไหน
เท่าที่ไล่ดูแม้ RIAA จะอ้างแบบนี้แต่ก็ไม่ยอมยกตัวอย่างเพลงเลยว่าเพลงไหนคล้ายเพลงไหน ก็นับว่า "แปลกๆ" อยู่ครับ
lewcpe.com, @wasonliw
เพิ่งเข้าไปดูคลิปที่เอา Suno กับ Udio มาทำงานใน workflow เดียวกัน ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นเพลงเนียน ๆ
ของแบบบนี้ดูแล้วน่าจะเหมาะกับค่ายเกมอินดี้หรือค่ายหนังอินดี้ที่ทุนไม่เยอะเลย
จะฟ้องเค้าก็ต้อง "พิสูจน์" ให้ได้ก่อนนะ
จะสอน AI ก็ต้อง train จะ train ก็ต้องใช้ data แล้ว data เอามาจากไหน ?
หรือจะบอกว่าอยู่ ๆ AI เก่งขึ้นมาเอง ?
That is the way things are.