อินเทลประกาศก่อสร้างโรงงานผลิตชิปแห่งใหม่ในชื่อว่า Fab 42 เป็นโรงงานแห่งที่ 11 ของอินเทลในรัฐแอริโซนา คาดว่าจะใช้เงินลงทุนรวมมากกว่า 5 พันล้านดอลลาร์ และสร้างงานให้นับพันตำแหน่ง
โรงงานแห่งใหม่นี้จะรองรับกระบวนการผลิตแบบ 14 นาโนเมตรซึ่งจะทำให้อินเทลกลับไปเป็นผู้นำในแง่ของกระบวนการผลิตเซมิคอนดักเตอร์อีกครั้ง หลังจากที่บริษัทฝั่งเอเชียเช่น TSMC กำลังพยายามไล่เข้ามาด้วยกระบวนการผลิต 28 นาโนเมตรที่เริ่มผลิตได้ตั้งแต่ปี 2010 ที่ผ่านมา แต่ในแง่ของกำลังการผลิตนั้น ขนาดเวเฟอร์ของ Fab 42 ยังคงเป็นแบบ 300มม. ซึ่งก็ตรงตามที่บริษัทเคยประกาศข่าวไว้ว่าการอัพเกรดไปใช้เวเฟอร์ขนาด 450มม. นั้นแพงเกินไปและต้องรอไปถึงปี 2018
ตัวโรงงานจะเริ่มดำเนินการผลิตได้ในปี 2013 ถึงตอนนั้นหากโรงงานอื่นๆ ยังไม่สามารถอัพเกรดกระบวนการผลิตไปให้ทันได้ อัตราการใช้พลังงานของ Atom ก็อาจจะแซงหน้าคู่แข่งเช่น ARM ไปได้อีกครั้งเหมือนเช่นที่ผ่านมาที่อินเทลสามารถใช้เทคโนโลยีการผลิตที่เหนือกว่าเอาชนะคู่แข่งมาได้โดยตลอด
ที่มา - eWeek
Comments
อีกไม่นานคงไปพิโกแล้วเนอะ
ระดับ pico อาจยากมากจน quantum computer รุ่นแรกๆ เริ่มออกครับ
คงไม่ง่ายละครับ ให้เห็นภาพว่าพิโคเมตรมันแค่ไหน เอาแค่อะตอมไฮโดรเจนเดี่ยวขนาดประมาณ 100 พิโคเมตร (0.1nm) ครับ
ที่ระดับต่ำกว่า 10nm ผลของ quantum (quantum tunneling) จะโผล่มาแล้วชัดเจนมาก ยกตัวอย่างง่ายๆคือ คุณสมบัติไดโอดไม่ทำงาน อิเล็กตรอนจำนวนหนึ่งวิ่งข้ามเฉยเลย วัสดุเป็นที่เคยเป็นฉนวนจะไม่เป็นฉนวนอีกต่อไป
อาจจะต้องรอ technology breakthrough ประเภทนาโนเทคโนโลยี (นิยามตอนนี้เป็นระดับโมเลกุลหรืออะตอมกันแล้ว) จึงจะมีหวังที่จะไปเล่นกันระดับพิโคเมตร
อาจจะต้องหนีกลับไปพวกเทคโนโลยีแสงครับ ตอนนั้นอาจจะไม่เล็กมากแต่ switching จะสูงมาก leakage ต่ำใกล้ศูนย์
lewcpe.com, @wasonliw
คำว่า "อัตราการใช้พลังงานของ Atom ก็อาจจะแซงหน้าคู่แข่งเช่น ARM ไปได้อีกครั้ง" หมายความว่า ใช้พลังงานมากกว่า หรือใช้พลังงานได้ดีกว่า (ประหยัดกว่า)
แล้วพอพวก ARM มาใช้เทคโนโลยีนี้ ก็แซงกลับได้หรือเปล่าครับ?
ยังจำได้ถึงวันที่ซีพียูขนาด 0.13 ไมโครเมตร (130 นาโนเมตร) เป็นอะไรที่สุดยอดมากของอินเทล ขณะที่เอเอ็มดียังใช้ 0.18 ไมโครเมตรอยู่
คนมีตังทำอะไรก็ดีเนอะ เอาไว้ เกทับคู่แข่ง