Tags:
Node Thumbnail

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) จัดอภิปรายเรื่องผลกระทบจากพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ Ann Lavin ตัวแทนจากกูเกิลระบุถึงปัญหาของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ของไทยว่ามีปัญหาหลักคือมาตรา 15 ที่ระบุถึงความผิดของผู้ให้บริการ ทำให้ทั้งที่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้กูเกิลสามารถเข้าไปทำธุรกิจได้ ทั้ง สิงคโปร์, มาเลเซีย, และอินโดนีเซีย

ปัญหากฎหมายที่ทำให้กูเกิลไม่เข้ามาเปิดธุรกิจ YouTube ซึ่งเปิดให้เจ้าของเนื้อหาทำเงินจากการโฆษณาที่ส่งลงบนวิดีโอได้ เป็นปัญหาที่คุณกริช ทอมมัสได้เคยระบุว่าเป็นปัญหาทางกฎหมายจนแกรมมี่ไม่ต้องการนำวิดีโอขึ้น YouTube อีกต่อไปเพราะไม่สามารถสร้างรายได้กลับเข้ามาได้

ในงานเสวนาเดียวกัน สาวตรี สุขศรีอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดงานวิจัยพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ นับแต่ประกาศใช้มา 4 ปี 6 เดือนว่ามีคดีจากพ.ร.บ.ฉบับนี้จำนวน 325 คดี แบ่งออกเป็นคดีทางคอมพิวเตอร์จริงๆ 62 คดี และเป็นคดีที่เกี่ยวกับการโพสข้อความหมิ่นประมาทต่างๆ 215 คดี ในขณะที่การปิดเว็บด้วยคำสั่งศาล จนตอนนี้มีคำสั่งมาแล้วถึง 102,191 URL จากปีที่แล้วที่มี 81,213 URL (เฉลี่ยวันละ 57.5 URL) บางคำสั่งระบุถึง URL มากถึง 300-400 URL แต่สามารถอนุมัติได้ในวันเดียว

ข้อเสนอของอาจารย์สาวตรีมี 5 ข้อด้วยกันคือ

  1. ปรับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ให้ใช้สำหรับคดีทางคอมพิวเตอร์เท่านั้น ความผิดอื่นให้ปรับปรุงกฎหมายให้เหมาะสม
  2. เนื้อหาบางอย่างที่ต้องอยู่ในพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ให้นิยามให้ชัดเจนไม่คลุมเครือ เช่น ความมั่นคง, ศีลธรรมอันดี
  3. มีกระบวนการสำหรับผู้บริการและแยกโทษออกจากการกระทำความผิดด้วยตัวเอง
  4. ตั้งองค์กรกลั่นกรองการปิดกั้นเว็บแทนศาล เพื่อให้สามารถตรวจสอบคำร้องเข้ามาได้ทั้งหมด
  5. ทบทวนนโยบายการแก้ปัญหาด้วยการปิดกั้นเว็บ

ที่มา - ประชาไท

Get latest news from Blognone

Comments

By: kerk09
iPhoneAndroid
on 11 January 2013 - 02:17 #527930

ชื่ออาจาร์ย์แปลกจัง "สาวตรี"

By: FeiZio
ContributorAndroidWindows
on 11 January 2013 - 12:59 #528113 Reply to:527930
FeiZio's picture

สา-วะ-ตรี

By: PaPaSEK
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 11 January 2013 - 16:05 #528190 Reply to:527930
PaPaSEK's picture

ลูกสาวคนที่ 3?

By: bi89
ContributorUbuntuWindows
on 11 January 2013 - 02:22 #527931
bi89's picture

"ในขณะที่การเปิดเว็บด้วยคำสั่งศาล" ตรงคำว่า "เปิด" น่าจะพิมพ์ 'เ' เกินนะครับ

และตัวหัวข้อด้วยครับ "พ.รบ." ตกจุดตรง 'ร' ไปครับ

By: toandthen
WriterMEconomics
on 11 January 2013 - 02:26 #527934 Reply to:527931
toandthen's picture

หัวข้อ น่าจะเป็น "เป็นเหตุ" ด้วยครับ


@TonsTweetings

By: neon02
Contributor
on 11 January 2013 - 03:03 #527941
neon02's picture

โลโก้กูเกิ้ลน่าอัพเดทเป็นแบบใหม่นะครับ

By: illusion
ContributorAndroid
on 11 January 2013 - 05:37 #527942
illusion's picture

สอดคล้องกับที่รุ่นพี่ผมบอกมาเลย (พี่ทำงานอยู่ที่ RS ครับ)

พี่บอกว่าทั้ง RS ทั้ง GMM เอง อยากให้ Google เข้ามาพร้อม VEVO ใจจะขาด เพราะมันเป็นโมเดลที่ win-win ทุกฝ่ายที่สุดแล้ว Google เองก็สนใจจะเข้ามา แต่การที่ Google ไม่ยอมเข้ามาซักที เพราะยอมรับกฏหมายไทยข้อนี้ไม่ได้นั่นเอง

กรณีที่ Google รับไม่ได้เลย คือกรณีประชาไทครับ สั้นๆ แค่นี้ บางทีการตัดสินคดีเล็กๆ ที่ผู้ใหญ่หลายคนในบ้านเราอาจจะมองว่าไม่มีอะไร แต่หารู้ไม่ว่าผลกระทบที่ตามมามันอาจจะรอบด้านและเสียผลประโยชน์ไปมหาศาลกว่าที่คาดคิด เช่นถ้าไม่ติดเรื่องนี้ ตอนนี้ Google คงเข้ามาพร้อม VEVO แล้วทำให้ธุรกิจเพลงในเมืองไทยเติบโตกว่านี้ไปแล้ว อาจจะมีกรณีอื่นๆ ที่เรายังมองไม่เห็นอีกมาก เช่นการตัดสินใจมาลงทุนด้านไอทีของบริษัทต่างชาติ พอมาเจอกรณีนี้เลยทำให้เขาหนีไปสิงคโปร์ มาเล เวียตนามแทน เป็นต้น ...คงต้องเป็นประเด็นที่บ้านเราต้องมาคิดครับว่าจะเอายังไงกันต่อไป ว่าตกลงเราจะอยู่กันแบบนี้จริงๆ หรือ

รุ่นพี่เล่าอีกว่า ถ้า Google เข้ามา เขาก็ต้องมาตั้งบริษัทในเมืองไทยเป็นเรื่องเป็นราว มีพนักงานคนไทยในเมืองไทยหลายคนแน่นอน (สร้างงานได้อีกเยอะนะนั่น) แต่เพราะกฎหมายตัวนี้ กูเกิลรับไม่ได้ถ้าพนักงานของตัวเองต้องมาเสี่ยงต่อการเกิดคดีแบบนี้ (ผู้ให้บริการมีความผิดด้วย) ดังนั้นการตัดสินใจของเขาในตอนนี้คือไม่เข้ามาซะเลยซะยังจะดีกว่า จนกว่าจะมีกฏหมายและการบังคับใช้ที่สมเหตุผลกว่านี้

By: l2aelba
iPhoneAndroid
on 11 January 2013 - 03:48 #527948
l2aelba's picture

ต้องรอเด็กรุ่นใหม่มานั่งแทนละมั่ง

By: Ton-Or
ContributorAndroidCyberbeingRed Hat
on 11 January 2013 - 05:22 #527954 Reply to:527948
Ton-Or's picture

ไม่ใช่รุ่นลูกนะครับ รุ่นหลาน เพราะพวกนี้ ตายหมด ยังเหลือลูกน้องที่จงรักภัคดี อยู่ ต้องอีกรุ่นเลยหล่ะ รุ่นที่โตมากับเรื่องพวกนี้


Ton-Or

By: plawanja
Android
on 11 January 2013 - 07:36 #527964 Reply to:527954
plawanja's picture

ใครจงรักภักดีใคร..?

By: LazarusSP1
ContributoriPhone
on 11 January 2013 - 12:54 #528105 Reply to:527964

น่าจะหมายถึง ลูกน้องที่สืบสานงาน คอนเซอร์เวทีฟ จากนักการเมืองรุ่นพี่ มั้งครับ #คหสต.

By: Ton-Or
ContributorAndroidCyberbeingRed Hat
on 13 January 2013 - 03:27 #528584 Reply to:528105
Ton-Or's picture

ตามนนี้ครับ


Ton-Or

By: kowito
Android
on 11 January 2013 - 07:59 #527970 Reply to:527954

คนพวกนี้ สนใจตัวเองก่อน ประเทศชาติช่างแม่ง แต่ตอนพูดกลับกลายเป็นตรงกันข้าม

By: leonoinoi
AndroidUbuntuWindows
on 11 January 2013 - 06:38 #527961

ช่วงนี้ผมว่าเรื่องการเมือง เงียบลงไปมาก เดี๋ยวคงแก้ได้เองครับ (แต่คงต้องเสนอไปยังรัฐบาล)

By: Aoun
AndroidWindows
on 11 January 2013 - 09:17 #527989 Reply to:527961

เรื่องแก้ รธน. ข้อที่อยากแก้ใจจะขาดรัฐบาลยังหาทางไปไม่ค่อยถูก เจอกับดักเยอะ questก็เยอะ จะมาแก้เรื่องยิบย่อยรอไปเหอะ

By: leonoinoi
AndroidUbuntuWindows
on 11 January 2013 - 19:01 #528247 Reply to:527961

แต่ก่อนแก้ไม่ได้เลยครับ พูดถึงยังไม่ได้เลย เพราะ ปัญหาคดีหมิ่น รุนแรง ถ้าขืนใครบอกแก้ จะเป็นคนไม่จงรักภัคดีทันที แต่ช่วงนี้ มันเลิกพูดกันแล้ว ก็น่าจะพอมีช่อง เสนอเข้าไปอีกรอบ

By: thep497
Windows PhoneAndroidWindows
on 11 January 2013 - 09:06 #527987
thep497's picture

เรารวบรวมรายชื่อเพื่อขอเสนอแก้กฎหมายได้ไม่ใช่หรือครับ ผมไม่มีความรู้ไม่รู้ว่าขั้นตอนต้องทำอย่างไร ถ้ามีใครในนี้มีความรู้และเปิดประเด็นขึ้นมา ผมเอาด้วยเสียงหนึ่งครับ

By: gogermany
Windows PhoneUbuntuWindows
on 11 January 2013 - 10:16 #528013 Reply to:527987
gogermany's picture

ผมร่วมด้วยครับ

By: Onewings
Windows
on 11 January 2013 - 11:03 #528051 Reply to:527987

จำได้คุ้นๆว่ามีการล่ารายชื่อถอดถอนนายกด้วย แต่ไม่สำเร็จจำไม่ได้ว่ามีข้ออ้างว่าอะไร

แล้วนี่แก้กฏหมายที่คนหาประโยชน์จากมันได้เยอะแยะน่าจะยากพอๆกัน

By: mk
FounderAndroid
on 11 January 2013 - 12:05 #528076 Reply to:527987
mk's picture

ลองดูรายละเอียดที่นี่ครับ iLaw

By: thep497
Windows PhoneAndroidWindows
on 11 January 2013 - 15:27 #528165 Reply to:528076
thep497's picture

เข้า iLaw แล้วไปทางไหนต่อครับ ลองเข้าไปแล้ว เห็นแต่รวบรวมรายชื่อค้านกฎหมาย 3 ฉบับ จะเป็นทำนองนั้นหรือเปล่า ?

By: mk
FounderAndroid
on 11 January 2013 - 19:11 #528251 Reply to:528165
mk's picture

ตรงกฎหมายประชาชนครับ

By: figgaro
ContributorAndroidWindows
on 11 January 2013 - 10:27 #528019
figgaro's picture

ในขณะที่การเปิดเว็บด้วยคำสั่งศาล น่าจะเป็น ในขณะที่การปิดเว็บด้วยคำสั่งศาล หรือเปล่าครับ


Texion Business Solutions

By: schanon
Android
on 11 January 2013 - 10:55 #528041
schanon's picture

เมืองไทยจำเป็นต้องปิดหูปิดตาประชาชน เพื่อผลประโยชน์บางอย่าง

By: TheOne
iPhoneWindows Phone
on 11 January 2013 - 11:00 #528047
TheOne's picture

ภาคไอทีของประเทศเราก็คงต้องเสียโอกาสต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่า พ.ร.บ. ฉบับนี้จะถูกปรับปรุง (ปิดกั้นได้ทั้งเว็บและนักลงทุน)

By: best
iPhoneAndroid
on 11 January 2013 - 12:17 #528088

เรื่องนี้จะถึงหู คนระดับ บนไหมเนีย

By: put4558350
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 11 January 2013 - 14:39 #528151
put4558350's picture

ข้อ 4 นี้เหมือนอณาคตจะบลอคกันสนุกเลยนะครับ กรองเอง ปิดเอง

ถ้าจะเอาจริงๆ ถ้าบลอคผิดอยากให้เจ้าหน้าที่มีความผิดด้วย เพราะมันกระทบกับธุรกิจของคนที่ถูกบลอค


samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo

By: adamy
iPhoneAndroidBlackberryUbuntu
on 11 January 2013 - 18:15 #528236

ผมว่าเป็นเรื่องกลืนไม่เ้ข้า คายไม่ออกแน่เลยครับ ถ้าลองมองดูในแต่ละประเด็นที่อาจารย์ท่านว่ามาว่าจะเปลี่ยนแปลงยังไง ... ผมพอมองเห็นภาพรางๆในหัวได้ว่า .......

ปรับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ให้ใช้สำหรับคดีทางคอมพิวเตอร์เท่านั้น ความผิดอื่นให้ปรับปรุงกฎหมายให้เหมาะสม

  • สมควรที่สุดครับ แต่กว่า พ.ร.บ. แต่ละฉบับกว่าจะแก้ทีใช้เวลาเป็นสิบๆปียกเว้นจะโดนกดดันจนเสียผลประโยชน์อย่างมาก (ผลประโยชน์ในที่นี้ไม่ใช่ของประเทศชาตินะครับ แต่เป็นของตัวบุคคล ชื่อเสียงของบุคคล หรือชื่อเสียงของพรรค ฐานความนิยม หรือผลประโยชน์ทางการเงินครับ) ดังนั้น พ.ร.บ. คอมฯ ถือเป็นเรื่องรองบ่อนสุดๆในสายตาของคนที่ต้่องไปแก้อะไรที่เสียผลประโยชน์เขามากกว่าครับ กว่าจะเรียกร้องได้คงต้องนานแน่ๆครับ

เนื้อหาบางอย่างที่ต้องอยู่ในพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ให้นิยามให้ชัดเจนไม่คลุมเครือ เช่น ความมั่นคง, ศีลธรรมอันดี

  • ไม่มีทางที่ฝ่ายรัฐจะยอมให้มันชัดเจนครับ เพราะถ้าชัดเจน เขาก็ไม่มีอำนาจคุมสื่อ คุมกฏหมายครับ ต่อให้มันดีและถูกต้องแค่ไหน ผมก็ไม่เคยเห็นว่ามันแก้ได้จริงเลยครับ เพราะนี่ก็สู้กันมาเป็นร้อยปีแล้ว ก็ยังไม่เคยได้ครับ

มีกระบวนการสำหรับผู้บริการและแยกโทษออกจากการกระทำความผิดด้วยตัวเอง

  • อันนี้ต้องอ่านประเด็นแรกคือเขาไม่แก้เพราะเขาจะไม่แก้ (เพราะเขาไม่เสียผลประโยชน์) ครับ ต่อให้ได้แก้จริง การที่คนที่จะรู้เรื่องการให้บริการได้เข้าไปมีปากมีเสียงนั้นถือเป็นเรื่องยุ่งยากมากครับ ไม่นับรวมว่าคนเหล่านั้นจะโดนบีบบังคับด้วยกลเกมการเมืองต่างๆให้คล้อยตามประเด็นพิจารณาหลักของผู้ที่มีอำนาจในคณะกรรมการที่มาปรับปรุง พ.ร.บ. หรือเปล่า ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากถึงยากอีกเช่นกันครับในการระบุความชัดเจนของผู้ให้บริการ (คือแบบสั่งทำให้มันผิดๆให้หมด มันจะได้กลัว จะได้ Regulate เข้มขึ้นแล้วฝ่ายบังคับใช้กฏหมายจะได้สบายตัว เวลามีปัญหาก็ปิด ISP ไปเลย ง่ายกว่า .... แต่ผมสงสัยว่าถ้าปิด True ปิด CAT ปิด TOT ทั้งสาม ISP พร้อมทั้ง Gateway ที่เขาให้บริการไปแล้วมันจะเข้าข่ายทำลายความมั่นคงของชาติหรือเปล่าน่ะครับ เพราะผมเชื่อว่า Internet Gateway ทั้งในและนอกประเทศทุกตัวเป็นส่วนสำคัญต่อความมั่นคงของชาติครับ)

ตั้งองค์กรกลั่นกรองการปิดกั้นเว็บแทนศาล เพื่อให้สามารถตรวจสอบคำร้องเข้ามาได้ทั้งหมด

  • อันนี้อาจจะมีการสนับสนุนครับ แต่คงจะไม่ใช่แบบ กสทช. หรือ มคบ. แต่จะเป็นแบบ กบว. มากกว่าครับคือฝั่งบังคับใช้กฏหมายความมั่นคง ไม่ใช่ฝั่งคุ้มครองสิทธิผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ครับ .... แล้วก็น่าจะรับรองได้ว่าจะมีทหารเข้ามา 2/5 รัฐเข้ามา 2/5 แล้วก็ภาคเอกชนที่ถูกคัดสรรแล้ว 1/5 (ไม่มีภาคประชาชนครับ) มานั่งในกรรมการพิจารณาแน่ๆครับ

ทบทวนนโยบายการแก้ปัญหาด้วยการปิดกั้นเว็บ

  • ผมว่าเค้าทบทวนตลอดครับ เป็นรายกรณี แต่ไม่ใช่ว่าการทบทวนจะอยู่ในเชิงสร้างสรรค์นะครับ เพราะกรณีใหม่ๆก็โผล่ขึ้นมาเป็นดอกเห็ด Policy ก็ปรับไปเรื่อยๆ .... แต่ไม่ใช่ในแง่ดีครับ ... Policy การปิดกั้นเว็บตอนนี้ออกจะไปในทางไม่ค่อยสร้างสรรค์นักครับ แล้วก็ยังคงเป็นเช่นนี้แน่นอนครับ

ผมเองคิดว่า พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ จะสร้างสรรค์ขึ้นได้ต่อเมื่อไทยโดน AEC กดดันครับ (เหมือนกับกรณีพม่าเปิดประเทศน่ะครับ) เราต้องรอให้มันเกิดการติดขัดจนถึงขีดสุดก่อนจึงน่าจะมีการขยับตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดียิ่งขึ้นครับ ซึ่งนั่นผมเชื่อว่าจะมาจากการเปิดประชาคมอาเซียนแล้วทำให้เม็ดเงินหมุนถ่ายไปมา ภาคเอกชนใหญ่เล็กก็จะเริ่มกดดันรัฐหนักขึ้น พวกกลุ่ม G2G ก็จะกดดันรัฐหนักขึ้น บริษัท IT ระดับโลก (แบบ Google, Yahoo, Facebook, Apple) ก็จะกดดันรัฐหนักขึ้น ภาคประชาชนก็จะกดดันรัฐหนักขึ้น พรรคฝ่ายค้านเองก็จะกดดันรัฐหนักขึ้น แม้กระทั่งภายในหน่วยงานของรัฐเองก็จะกดดันรัฐหนักขึ้น ..... เมื่อกดดันแบบนี้ บีบแบบนี้ซัก 5-15 ปี ผมเชื่อว่ารัฐก็จะเริ่มปรับตัวอย่างช้าๆให้เท่าทันกับกระแสสังคมโลกครับ แต่ถึงตอนนั้นเราอาจจะเสียหายมหาศาลไปแล้วก็ได้ .... แต่ก็ดีกว่าจะไม่เปลี่ยนเลยแบบเกาหลีเหนือ/อีหร่าน ครับ

ขอบคุณครับ สวัสดีครับ

By: doanga2007
AndroidSymbianUbuntu
on 11 January 2013 - 18:57 #528245 Reply to:528236
doanga2007's picture

ขอกล่าวนิดนึงว่าอิหร่านไปไกลไทยในด้านเทคโนโลยีมาก คือ digital TV ของอิหร่านเขา มีตั้งแต่ปี 2009 แต่ไทย digital TV พึ่งมีในปี 2012 และอีกอย่าง คือ อิหร่านผลิตรถเองได้ ไม่มีภาษีแรงม้า ส่วนไทย ผลิตรถเองไม่ได้และมีภาษีแรงม้าครับ

By: adamy
iPhoneAndroidBlackberryUbuntu
on 12 January 2013 - 01:36 #528358 Reply to:528245

โอว์ จริงด้วยครับ ประเทศเราความจริงก็น่าจะผลิตได้นะครับ อุตสาห์เรียกเราเป็นดีทรอยต์แห่งเอเชียแล้ว ....​ ส่วนภาษีแรงม้านี่น่าสงสารคนไทยมากๆครับที่เรา Regulate รถยนต์ได้แย่มากๆครับ การขึ้นภาษีไม่ได้หยุดคนรวยให้ซื้อรถแรงม้าสูงๆได้ (และซื้อจำนวนมาก) แต่คนทั่วไปที่อยากได้รถราคาถูกใช้ก็ไม่มีปัญญาซื้อครับ ฮาๆ

ส่วน DIgital TV นี่ Oiligarchy ชัดๆครับ ...​ให้ตายสิ

ขอบคุณครับ สวัสดีครับ

By: Onewings
Windows
on 12 January 2013 - 08:44 #528389 Reply to:528358

คนมีรถ 6 คันมูลค่ารวมเกือบ 100ล้านวิจารณ์นโยบายรถคันแรกบอกทำให้รถติดครับบ้านเรา

By: Ulquiorra
Windows PhoneAndroidSymbianWindows
on 11 January 2013 - 21:44 #528296
Ulquiorra's picture

แก้หน่อย จะได้มีงานทำกันเยอะขึ้น ^^