ข้อถกเถียงในเรื่องของความน่าเชื่อถือของ Wikipedia ถูกยกขึ้นมาพูดกันหนาหูขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหลังมานี้ โดยเฉพาะเมื่อมีการอ้างอิงข้อมูลไปใช้ในงานจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และมีข่าวการปลอมข้อมูลไปใส่ไว้โดยไม่ได้รับการตรวจสอบอยู่เป็นระยะ
นักวิจัยที่UCSC จึงเสนอทางออกใหม่ที่จะให้ชุมชนใน Wikipedia สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อความที่ถูกแก้ไขได้เร็วขึ้น โดยการเพิ่มแถบสีแสดงความน่าเชื่อถือของแต่ละข้อความเอาไว้
การแสดงแถบสีระบุความน่าเชื่อถืออาจจะเป็นเรื่องที่คิดกันได้ไม่ยากนัก แต่ประเด็นที่สำคัญกว่าคือการตัดสินว่าข้อความใดน่าเชื่อถือหรือไม่ โดยปรกติแล้วเว็บจำนวนมากจะใช้ระบบการโหวตจากผู้ใช้คนอื่นๆ เช่น eBay ที่ใช้การโหวตจากผู้ซื้อและผู้ขายกัน แต่ในกรณี Wikipedia นี้ทางผู้วิจัยได้เสนอทางออกที่ง่ายกว่านั้นคือ การวัดจากการคงอยู่ ของข้อความที่ผู้เขียนนั้นๆ เคยเขียนลงในวิกิพีเดีย เช่น หากข้อความที่ผู้เขียนนั้นเขียนลงถูกลบออกไปอย่างรวดเร็ว คะแนนของผู้เขียนนั้นก็จะลดลง ถ้าข้อความนั้นคงอยู่เป็นเวลานานก็จะมีคะแนนมากขึ้นเรื่อยๆ ข้อดีของวิธีนี้คือชุมชน Wikipedia ไม่ต้องทำอะไรเพิ่มขึ้นแม้แต่น้อย เพราะการเพิ่มและลดข้อความจากผู้เขียนคนอื่นๆ ก็เป็นกระบวนการปรกติอยู่แล้ว
นักวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าข้อความที่ถูกระบุว่าเป็นข้อความที่น่าสงสัยนั้นมีถึงร้อยละ 80 ที่ต้องได้รับการแก้ไขจริง และมีเพียงร้อยละ 60-70 ที่ได้รับการแก้ไขโดยชุมชนเอง โดยที่ไม่มีระบบการเตือนให้ชุมชนมาแก้ไขอะไร ดังนั้นหากมีระบบนี้ใช้งานจริงก็น่าจะทำให้ Wikipedia น่าเชื่อถือขึ้นไปอีกขั้น
การคำนวณค่าความน่าเชื่อถือนี้ใช้ข้อมูลย้อนหลังไปถึงเจ็ดปี และใช้เวลาในการคำนวณประมาณหนึ่งสัปดาห์ ดังนั้นหากมีการใช้งานจริงคงต้องพูดถึงพลังการคำนวณด้วยว่าจะไปหากันมาจากไหน
ที่มา - PhysOrg, The UCSC Wiki Lab
Comments
สงสัยต้องมีโครงการ wikipedia@home ^_^
Lastest Science News @Jusci.net
ยากอ่ะ จะตรวจสอบยังไงหมดล่ะเนี่ย
--- Khajochi
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
framework ก็มีอยู่แล้ว น่าใช้ดี :-). ไม่รู้ว่าถ้าทำจริงๆ มันจะหนักไปทางส่ง data หรือคำนวณ ถ้าเน้นคำนวณมากๆก็น่าจะใช้ได้. --- http://openil.wordpress.com/
concept ของ wikipedia คือ อะไร อันนี้ไม่ต้องตอบนะครับ ผมแค่รำพึงกับตนเอง ผมเข้าใจว่า wikipedia ถูกสร้างขึ้นมาในแนวคิดที่ว่า ถ้าข้อมูล ถูก review มากพอ(จำนวนคนที่เข้ามาแก้ไข) และ คงอยู่ในระยะเวลาที่นานพอ (review แล้ว ไม่แก้ไข) น่าจะเป็นข้อมูลที่ถูก
ถ้าเป็นแนวคิดนี้ ผมว่ามันผิดตั้งแต่แนวคิดแล้วครับ
ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่า ข้อมูล ถูก review มากแค่ไหน ประเด็นอยู่ที่ ผู้ review มัน มีความรู้ "อย่างถูกต้อง" มากแค่ไหน
สิ่งที่ได้ใน wikipedia คือ สิ่งที่คนเข้ามาแก้ไข เชื่อว่าเป็นสิ่งที่ถูก แต่ไม่ได้ การันตี อะไรเลยนะครับ คือ ผู้รู้ ก็รู้เท่าที่ตนเองรู้ และ ไม่มีทางคิดว่าความรู้ของตนเองผิดอย่างแน่นอน คราวนี้ถามว่า ผู้รู้นั้น มีสิทธิ์ ที่จะรู้มาแบบผิดๆ หรือไม่ (อันนี้ลองคิดดูเอาเอง ครับ)
ทางแก้ น่าจะเป็นการ ระบุชื่อผู้แก้ไข ว่า มีความรู้ในสาขานั้นๆ มากพอหรือไม่ แต่คงจะขัดแย้งกับ สิ่งที่ wikipedia ทำคือ ยอมให้แก้ไขเป็นจุดๆได้ ซึ่งทำให้ยากต่อการระบุเจ้าของบทความ หรือ เนื้อหานั้นๆ
จึงเป็นไปได้ว่า ในหัวข้อหนึ่งๆ ควรทำเป็นข้อความของแต่ละคนแยกกันไป ทิ้งไว้เป็นระยะเวลาที่นานพอ จากนั้นคือ vote เพื่อบรรจุ หรือ รวบยอด บทความนั้น และทำการ vote หรือ รวบยอดบทความเป็นระยะๆ
แต่ก็อีกนั่นหล่ะ ใคร จะเอาสิทธิ์ อะไรมารวบยอด ... จะรู้ได้อย่างไรว่า ผู้ รวบยอด หรือ ผู้สรุป มีความรู้ในสาขานั้น จริงๆ
และก็อีกละครับต้องมีคนมาประสานงาน จัดการ การ vote อีก ซึ่งน่าจะขัดกับหลักการของ wikipedia ที่ปล่อยให้จัดการเอกสารอย่างอิสระ
สรุปคือ เป็น แหล่งรวบรวม "ความคิดเห็น" ที่น่าสนใจ แต่คงเป็น แหล่งความรู้ ไม่ได้ หรอก ครับ
อะไรเป็นแหล่งความรู้ได้บ้าง? --- http://openil.wordpress.com/
ผมคิดว่า wikipedia ไม่ได้ใช้วิธีจำนวนพวกมากลากไปนะครับ แต่การที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงความเห็นอย่างมีเหตุผล ทำให้สังคมและความรู้อยู่รอดได้
สำหรับผมแล้ว ผู้เชี่ยวชาญนั้นไม่ต่างอะไรกับเด็กนักเรียน หากเขาไม่สามารถหาเหตุผลและแหล่งอ้างอิงที่ดีได้ การที่บทความจะน่าเชื่อถือนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นคนเขียน แต่อยู่กับว่าบทความนั้นมีเหตุผลหรือเปล่าไม่ใช่หรือ
ถ้าเราเชื่อผู้มีความรู้ "อย่างถูกต้อง" มาตั้งแต่ต้น ผมคิดว่าโลกนี้ก็ยังคงแบน และหินขนาดต่างกันก็ร่วงด้วยความเร่งไม่เท่ากัน -- My blog: poomk.blogspot.com
ปัญหาพวกนี้ใน Wikipedia เค้าคุยกันไปเยอะพอสมควรแล้วนะครับ ลองไปอ่านพวกหน้านโยบาย (และ discussion ของหน้านโยบาย) แบบละเอียดๆ ดูครับ