คดีสิทธิบัตรที่โมโตโรลาฟ้องแอปเปิลและแอปเปิลฟ้องโมโตโรลามาตั้งแต่ปี 2010 (สมัยที่โมโตโรลายังเป็นไทแก่ตัวด้วยซ้ำ) และลากยาวมาถึงปัจจุบันได้ยุติลงแล้ว เมื่อทั้งสองบริษัทสามารถเจรจายุติคดีและยอมความกันได้นอกศาล
ทั้งคู่ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดของการยุติคดีครั้งนี้ แต่ก็ไม่ได้แลกเปลี่ยนสิทธิบัตรกันตามธรรมเนียมของคดีแนวๆ นี้ ทั้งสองฝ่ายบอกเพียงว่าจะร่วมมือกันผลักดันเรื่องการปฏิรูปกฎหมายสิทธิบัตรในบางประเด็นต่อไป
สถานะของคดีในสหรัฐอยู่ในชั้นศาลอุทธรณ์ ซึ่งขั้นต่อไปทั้งสองบริษัทจะแจ้งให้ศาลจำหน่ายคดีออกจากระบบ
ตอนนี้โมโตโรลายังมีสถานะเป็นบริษัทลูกของกูเกิล เพราะกระบวนการขายให้กับเลอโนโวยังไม่เสร็จสิ้นครับ
ที่มา - Reuters
Comments
ตอนแรกผมอ่านหัวข้อข่าวเป็น "ตีกันนะ" แต่พออ่านเนื้อหาแล้วไม่ใช่
แหม่ กูเกิ้ลซื้อโมโต มิใช่เพราะสิทธิบัตรหรอ นาง apple เลยคิดว่าถ้าสู้ๆไปอาจจะโดนถล่มสิทธิบัตรจาก google อีกทอด เลยไปฟ้อง samsung ดีกว่า
ปล.ถ้า ios8 มีมัลติสกรีนจริง แบบนี้ SS สามารถฟ้องได้ไหมครับ เอาใจเชียร์
ยอดความ => ยอมความ
ผมว่าจริงๆ คำมันฟุ่มเฟือยนะ เจรจายุติคดี/ยอมความ มันก็ความหมายเดียวกันอะครับ
จำหน่ายคดีออกจากระบบ => จำหน่ายคดีออกจากสารบบ
แจ้งให้ศาลทราบ(เรื่องการยอมความ)เพื่อให้ศาลทราบเพื่อที่ศาลจะได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบ
เพราะคู่ความแจ้งให้ศาลสั่งจำหน่ายคดีไม่ได้ครับ จำหน่ายคดีเป็นเรื่องของศาลไม่ใช่เรื่องของคู่ความ
ถอนฟ้อง ?
แล้วแต่กรณีครับ การถอนฟ้องก็ส่วนหนึ่ง
อย่างไรก็ตามการจำหน่ายคดีจากสารบบ นั้นเป็นส่วนหนึ่งของงานในศาล ซึ่งเป็นหน้าที่ของศาลไม่ใช่หน้าที่ของคู่ความ
เพราะปกติแล้วกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจคู่ความแจ้งให้ศาลจำหน่ายคดี (ไม่ว่าจะเป็นประเทศไหนก็เถอะ) มันเป็นเรื่องของศาลที่จะจำหน่ายคดี
ดังนั้นการแจ้งจึงเป็นการแจ้งให้ศาลทราบว่ายอมความนอกศาลได้แล้วไม่คิดจะเอาความกันก็คือถอนฟ้อง
แต่ถ้าคดีอยู่ในศาลอุทธรณ์ ก็มักจะไปขอยอมความในศาลเพื่อให้ศาลพิพากษาตามยอม เพราะถ้าถอนฟ้องในชั้นอุทธรณ์ คำพิพากษาในศาลชั้นต้นก็ยังอยู่เหมือนเดิมคนที่แพ้ก็แพ้เช่นเดิม ดังนั้นจะบอกว่าเป็นการถอนฟ้องเสมอไปไม่ได้
ถอนฟ้องในชั้นอุทธรณ์ = ถอนอุทธรณ์ ?