ไมโครซอฟท์ประกาศปรับวิธีการออกแพตช์องระบบปฏิบัติการรุ่นเก่าที่ยังซัพพอร์ต ได้แก่ Windows 7, Windows 8.1, Windows Server 2008 R2, Windows Server 2012, Windows Server 2012 R2
เดิมทีไมโครซอฟท์ออกแพตช์แยกเป็นไฟล์ๆ (ตามรหัส KB) และเปิดให้ผู้ใช้หรือแอดมินเลือกอัพเดตเป็นบางแพตช์ได้ แต่หลังจากเดือนตุลาคม 2016 เป็นต้นไป ไมโครซอฟท์จะออกแพตช์รวมเป็นก้อนเดียวในแต่ละเดือน (Monthly Rollup) แทน
ไมโครซอฟท์ให้เหตุผลของการรวมแพตช์เป็นก้อน ว่าเพื่อลดความซับซ้อนของการอัพเดตแพตช์ลง ทุกเครื่องได้แพตช์เท่ากันหมด ลดจำนวนครั้งของการอัพเดตมาเหลือเดือนละครั้ง คาดเดาได้ว่าจะมาเมื่อไรอย่างไร และประสบการณ์การอัพเดตก็คงที่ เหมือนเดิมทุกเดือน
ระบบแพตช์แบบใหม่จะแยกเป็น 2 แบบคือ แพตช์ทั้งหมด (รวมแพตช์แก้บั๊กและแพตช์ความปลอดภัย) และแพตช์ความปลอดภัยอย่างเดียว โดยผู้ใช้ทั่วไปที่อัพเดตผ่าน Windows Update จะมีตัวเลือกเดียวคือต้องอัพเดตแพตช์ทั้งหมด แต่แอดมินองค์กรที่อัพเดตผ่านช่องทางอื่น (เช่น WSUS, SCCM, Microsoft Update Catalog) สามารถเลือกอัพเดตเฉพาะแพตช์ความปลอดภัยได้
นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ยังประกาศว่า .NET Framework ก็จะเปลี่ยนมาใช้ระบบแพตช์แบบก้อนเดียว Monthly Rollup ด้วยเช่นกัน
ที่มา - Windows for IT Pros
Comments
หวังว่าจะไม่เกิดปัญหา Cumulative Update Error...Reverting Change...เหมือน Windows 10 นะครับ
สำหรับผมอาจจะประสบปัญหาพื้นที่อัพเดตไม่พอ ที่แล้วมาค่อย ๆ เลือกทีละรายการหรือเป็นกลุ่มไป
แยกกันถึงจะซับซ้อนแต่ก็บริหารจัดการง่ายกว่าไม่ใช่เหรอ แพทไหนมีปัญหาก็ revert ทิ้ง และยังป้องกันการสอดไส้อะไรมาอีกด้วย
อย่างคราวที่แล้ว MS เองก็ทำฝั่ง IE ไม่พอใจกรณี IE11 มาทีนึงแล้ว
แพทบางตัวที่เป็น Telemetry ก็คงไม่มีใครอยากบงหรือเปล่า?
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)