Tags:
Node Thumbnail

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดเผยผลวิจัยว่า วัยรุ่นอเมริกันส่วนใหญ่ 82% แยกไม่ออกว่าคอนเทนต์ไหนบนโซเชียลออนไลน์เป็นข่าว คอนเทนต์ไหนเป็นเนื้อหาโฆษณา

นักวิจัยทำการสำรวจวัยรุ่นอเมริกัน 7,804 คน ทั้งที่กำลังศึกษาอยู่ในช่วงชั้นต่างๆ ทั้งมิดเดิลสคูล-ไฮสคูล ให้ผู้ให้การสำรวจประเมินความน่าเชื่อถือของคอนเทนต์ต่างๆ บนทวิตเตอร์ ประเมินว่ารูปภาพที่เห็นนี้น่าเชื่อถือหรือไม่ รวมถึงประเมินคอมเมนต์ใต้ข่าวหรือคอนเทนต์นั้นๆ และแน่นอนว่าคณะวิจัยแทรกคอนเทนต์โฆษณาและข่าวที่ชวนให้เข้าใจผิดเข้าไปด้วย

ผลการสำรวจคือ คนส่วนใหญ่ล้มเหลวในการระบุว่าข่าวใดเป็นเรื่องเท็จข่าวใดเป็นเรื่องจริง โดย 2 ใน 3 ของผู้ให้การสำรวจระบุว่าคอนเทนต์ที่นายธนาคารคนหนึ่งเขียนป็นเรื่องจริง (ทั้งที่เป็นเรื่องที่เขียนขึ้นเพื่อโน้มน้าวใจทางธุรกิจ) และ 40% เชื่อว่าดอกเดซี่ที่พิกลพิการใกล้กับเขตฟุกุชิมะ เป็นผลจากการทดลองนิวเคลียร์ที่นั่นเป็นเรื่องจริง (รูปไม่มีการแทกสถานที่)

นักวิจัยยังระบุว่า เหล่าวัยรุ่นจะสนใจข่าวที่พาดหัวฉูดฉาดและมีรูปภาพประกอบ มากกว่าสนใจว่าตัวแหล่งข่าวมาจากไหน

No Description
ภาพจาก Pexels

ที่มา - Quartz

Get latest news from Blognone

Comments

By: gingtalk
Windows PhoneAndroidWindows
on 23 November 2016 - 20:01 #955301
gingtalk's picture

คหสต คนไทยส่วนใหญ่(เด็ก/หนุ่ม/แก่/ทุกวัย)เชื่อข่าวในเน็ตและแชร์ต่อ

By: plen007
iPhoneAndroidWindows
on 24 November 2016 - 10:01 #955400 Reply to:955301

เชื่อข้อมูลในเน็ตมากกว่าคนที่มีความรู้จริงๆ ซะอีก

By: KuLiKo
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 23 November 2016 - 22:59 #955338
KuLiKo's picture

เปลี่ยนอเมริกาเป็นไทย ก็ดูจะได้สำหรับเรื่องนี้

By: zipper
ContributorAndroid
on 24 November 2016 - 10:02 #955401

น่าจะเป็นกันทั้งโลก

By: nrml
ContributorIn Love
on 24 November 2016 - 10:12 #955406
nrml's picture

นี่คือสาเหตุที่ต้องมีวิชาจริยธรรมสื่อสารมวลชนเกิดขึ้นมาบนโลกนี้ แต่ปัญหาในปัจจุบันคืออินเตอร์เน็ตสามารถทำให้ทุกคนผลิตเนื้อหาและทำตัวเป็นสื่อเองได้อย่างง่ายดาย