วันนี้กระทรวงคมนาคมเรียกตัวแทน Uber และแท็กซี่เข้ามาหารือใช้เวลากว่าสามชั่วโมง ได้ข้อสรุปสำคัญคือทางกระทรวงจะจ้างที่ปรึกษามาศึกษาว่าควรทำอย่างไร โดยใช้เวลา 6-12 เดือน
ทางกระทรวงขอให้ Uber หยุดให้บริการไปก่อนระหว่างนี้แต่ทางบริษัทไม่ตกลง
จนตอนนี้ชาติในอาเซียนออกกฎหมายสำหรับบริการนำรถยนต์ส่วนบุคคลออกมาให้บริการแล้วหลายชาติ เช่น อินโดนีเซียออกกฎหมายตั้งแต่มีนาคมปี 2016, สิงคโปร์และมาเลเซียก็ออกกฎหมายหรืออยู่ระหว่างออกกฎหมาย หากไทยใช้เวลาศึกษาก่อนที่จะเริ่มกระบวนการออกกฎหมายเราก็อาจจะเริ่มกระบวนการร่างกฎหมายกันได้ประมาณปี 2018
ที่มา - ThaiPBS
Comments
ขอเวลาศึกษาอย่างเดียว 6 - 12 เดือน ระหว่างนี้นั่งเฉย ๆ ไปก่อนนะ ขอแบบนี้ธุรกิจไหนเค้าจะอยู่ได้ ก็เหมือนบอกให้ปิดไปเลยนั่นแหละ
ในฐานะที่มีรถขับไปทำงานทุกวันผมเข้าใจแนวคิดเลยนะ ผมนั่งแท็กซี่ไม่เกินเดือนละครั้ง รอไปครึ่งปีถึงปีกว่าไม่เห็นจะเดือดร้อนอะไร
(ถ้าไม่คิดถึงคนที่ต้องนั่งแท็กซี่บ่อยกว่าผมอ่ะนะ)
lewcpe.com, @wasonliw
เขาหมายถึงมุมมองของธุรกิจหรือเปล่าครับ ? ไม่ใช่มุมมองของคนใช้บริการ
มุมมองที่ว่าคือของผู้มีอำนาจ ซึ่งไม่ได้รู้สึกกระตือรืนร้นในการจะปรับปรุงการให้บริการแท็กซี่มาตั้งแต่ไหนแต่ไร แท็กซี่ส่งกะ แท็กซี่ไม่รับคนไทย หรือแท็กซี่ไปก่อคดีแล้วก็ไม่มีการเล่นงานอู่หรือสหกรณ์ เราก็ได้ยินมาเป็นสิบปีแล้ว
กลไกในการคานอำนาจมันไม่มี ผู้มีอำนาจจึงไม่ต้องสนใจเสียงเรียกร้องคนใช้บริการ (นวัตกรรมใดที่จะปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ...)จะสู่ตลาดอยู่ถูกกฎหมายช้าไปอีกสักสิบปี ก็ไม่ใครตายเสียหน่อย อยู่กันได้มานาน ก็อยู่กันแบบไทยไทยกันต่อไปสิ จะเรียกร้องไปทำไม
ผมว่าคุณ lew เค้าประชดนะ
+1
ผมว่าเขาหมายถึงคนที่คุยนะมีรถขับแถมมีคนขับด้วย ไม่เดือดร้อนเลยไม่รีบแก้ครับ
ผมว่าคุณหลิวเค้าพูดในมุมมองของคนออกนโยบายนะ
ผมก็เข้าใจแบบนั้นแหล่ะ
บ้านเราคนออกนโยบายไม่ลงมารับรู้ปัญหาเลย
ถึงลงมาก็ไม่ยอมรับว่ามันเป็นปัญหาอยู่ดี
ปัญหาจะไปได้แก้อะไร
คือผมเป็นเจ้าของธุรกิจครับ จังหวะแรกที่อ่านก็คิดว่ามันไม่มีการแสดงความจริงใจในการจะแก้ปัญหาให้ทั้งสองฝ่ายอยู่ด้วยกันได้เลย ถ้าตอนสมัยรับเงินเดือนเป็นหลักแล้วเค้าบอกว่าให้ผมพักงานไปปีนึงก่อนอาจจะพอไหว ใช้เงินเก็บไปก่อนหรือระหว่างนั้นไปหาอะไรทำก็ได้ ครบปีก็กลับไปบริษัททำงานต่อ แต่สำหรับตัวบริษัทเองบอกว่าให้หยุดอยู่เฉย ๆ ปีนึงก็เท่ากับสั่งให้ปิดกิจการแล้วล่ะครับ ผ่านไปปีนึงพนักงานก็ไม่รู้ไปไหนหมดแล้ว ลูกค้าก็ไปที่อื่นหมดแล้ว แม้แต่สำนักงานก็คงไม่อยู่แล้ว ต้องเริ่มหาทุกอย่างใหม่หมด
แต่คิดอีกทียุคนี้ถ้าเค้าไม่แคร์จริงเค้าก็ไม่ต้องออกมาพูดอะไรเลยก็คงไม่มีใครทำอะไรเค้าได้ หรือนี่อาจจะเป็นการแสดงความรักความเป็นห่วงในแบบของราชการไทยก็เป็นได้
จ่ายไปอีกเท่าไหร่ดี
6-12 เดือน ถึงตอนนั้น บอร์ดของ Uber จะออกไปกี่คนเนี่ย ตอนนี้ก็ออกเรื่อยๆละ
"เราก็มีบริการเป็น Consultant ให้นะ" Uber ไม่ได้กล่าวไว้
สมกับเป็นยุครัฐข้าราชการ เช้าชามเย็นชามได้ใจจริงๆ
ทั้งวันได้ถึงชามรึป่าวก็ไม่รู้ครับ
เคยได้ยินคนเรียก เช้าช้อนเย็นช้อน
ดีเท่าไหร่ไม่บอกว่ารอเลือกตั้งก่อน
รอถนนลูกรังหมดไปก่อนครับ
6-12 เดือน ระหว่างนั้นสังเคราะห์แสงไปก่อน
ขอเวลาอีกไม่นาน *สร้อย
ค่าที่ปรึกษาอีกเท่าไหร่
ตอนนี้อำนาจเหนือกฎหมายก็มีในมือ ...ไม่รีบแก้ไข
ที่ปรึกษาน่าจะแพงครับ เพราะมีประสบการณ์มาอย่างมากมาย จากการเป็นทหาร
ทำไมต้องมีที่ปรึกษา
สามฝ่าย รัฐ บริการแบบเดิม บริการแบบใหม่ มานั่ง พร้อมหน้ากัน
ก็ คุยกัน เรื่องผลประโยชน์ และ กฎหมาย ให้เรียบร้อย
รัฐมี ฝ่ายกฎหมาย เป็นกระบุง เรื่องแค่นี้ ยังช้าได้อีก ตลกจริง
ใครจะรู้เรื่องดี ก็ตัวเองนั่นแหละ ที่ปรึกษานี่ เอามาเป็นหนังหน้าไฟ ไว้ไปฟาดฟันกับ หรือ ไว้เจรจา มั้ง
ความอภินิหารของกฎหมาย มีไว้เลือกใช้ ไม่ได้มีไว้แก้ปัญหา (หรืออาจไว้สร้างปัญหาใหม่)
ถ้าอยู่ในวงการจะรู้ว่า จ้างที่ปรึกษาเสร็จก็จะได้ Paper ฉบับนึง ที่แลกด้วยเงินระดับล้านขึ้น โดยกระดาษกองนี้ที่ได้มา บางที่เรื่องที่เขียนก็เอามาจากในสำนักงานนั่นแหล่ะ ประจำ เหมือนเอาชื่อมาประทับตรายางเพื่อยืนยันความน่าเชื่อถือ กันเฉยๆ จริงๆ เจ้าหน้า่ที่ระดับปฏิบัติงานผมว่าเขามีข้อมูลอยู่แล้วแหล่ะ แต่ผู้ใหญ่ก็หาเรื่องใช้งบไปเรื่อย
หึหึหึ ผมเคยเป็นผู้ช่วยนักวิจัย ในโครงการที่หน่วยงานราชการหน่วยงานนึงจ้างให้เป็นที่ปรึกษาครับ ด้วยงบประมาณที่ 1.X ล้าน แลกกับเล่มรายงานวิจัยหนึ่งฉบับ (จริงๆ ส่งไปหลายสิบก๊อปปี้)
แทบจะรู้เนื้องานแบบนี้หมดไส้หมดพุงเลย เพราะทำเองมากับมือ อย่างที่คุณว่าไว้เป๊ะเลยครับ ข้อมูลพวกตัวเลขหลายอย่างก็เอามาจากสำนักงานเค้านั่นแหละ (ขอผ่านคนในมาอีกที เค้าช่วยประสานงานอยู่) แต่ก็คือการเอามาประทับตราชื่อสถาบันเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ และเพราะงานวิจัยแบบนี้ มติคณะรัฐมนตรีกำหนดไว้ว่า "จะต้องมาจากหน่วยงานภายนอกเป็นผู้จัดทำ" ก็เลยเป็นช่องทางในการใช้งบดีๆ นี่เอง
แต่ก็มีข้อมูลหลายส่วนที่คณะผู้วิจัยลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูลเอง แต่พอได้ข้อมูล/ข้อเท็จจริงมาแล้ว (มีในแนวลบพอสมควร ซึ่งอันนี้หน่วยงานเค้าก็รู้) กลับโดน "กดดัน" ทั้งจากตัวผู้ประสานงานในหน่วยงานเอง และตัวผู้บริหารระดับสูงที่มาเซ็นรับเล่ม กดด้นให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเนื้อหาไปในแนวทางที่หน่วยงานนั้นได้ "ตั้งธง" เอาไว้ก่อนแล้ว สุดท้ายก็ต้องเปลี่ยนตามครับ ไม่งั้นเดี๋ยวเค้าไม่เซ็นรับเล่ม
กลายเป็นว่าผลออกมาเป็นทางบวกกับเค้าสุดๆ เลย เนื้อหาเป็นในแนวที่หน่วยงานนั้นได้ตั้งธงไว้แล้ว เหมือนให้เรามาประทับตรายืนยันความน่าเชื่อถือเท่านั้นเอง ผมนี่เงิบเลยครับ จรรยาบรรณนักวิจัยไม่ต้องมีแล้วแบบนี้
สาบานเลยว่าต่อไปนี้ รายงานศึกษาผลต่างๆ จากหน่วยงานราชการ ผมจะเอาไปหารสิบเลย ไม่เชื่อถืออีกแล้วครับ ผ่านกระบวนการมาเองกับมือ
หิวเงินกันมากสินะ
วินแท็กซี่เถื่อนจะทำให้ถูกกม. รอหกเดือนไม่ได้เลยเหรอครับ
เปรียบเทียบได้ถูกใจมาก
เขาไม่ได้บอกว่าจะทำให้ถูกกม. นะ เขาบอกว่ายังคิดไม่ออก ขอคิดก่อนอีกหกเดือนถึงหนึ่งปี
ถ้าคิดออกแล้วบอกว่าจะเริ่มกระบวนการ หกเดือนถึงหนึ่งปีถือว่าอยู่ในช่วงเดียวกับประเทศเพื่อนบ้าน อินโดประมาณหนึ่งปี (กฎประกาศปีที่แล้ว กำลังจะมีผลเร็วๆ นี้), สิงคโปร์น่าจะประมาณครึ่งปี (นับถึงมีกฎและเริ่มลงทะเบียน ส่วนท่าทีระหว่างกฎยังไม่มีผลที่ต่างกันอันนี้ก็คงเป็นอีกนโยบายไป
หน่วยงานที่รับผิดชอบบอกว่าต้องคิดเรื่องทีเกิดขึ้นมาแล้วตั้งแต่สามสี่ปีที่แล้ว มีข่าวไปทั่วโลกมาเป็นเวลานาน มาบอกว่าเพิ่งตระหนัก ขอเวลาคิดไปอีกครึ่งปีถึงปีนึง มันโอเคไหม อันนี้ก็ต้องแล้วแต่ความคาดหวังกับหน่วยงานรัฐแล้ว
lewcpe.com, @wasonliw
หลังจากศึกษาเสร็จแล้วอาจจะต่อด้วย ม.44 ก็ได้นะครับใครจะไปรู้ ฮ่าๆ
แล้วทำให้แท็กซี่ที่ถูกกฎหมายไม่ให้ปฏิเสธผู้โดยสาร มันต้องใช้เวลาถึงหกเดือนด้วยรึเปล่าครับ?
อย่าเอาสิ่งที่เป็นไปไม่ได้มาเทียบสิครับ มันไม่แพร์ >_<
มี ฮั๋ว ไหม
ทำไมต้องจ้างที่ปรึกษา แล้วข้าราชการที่ทำงานอยู่ไม่มีความสามารถกันเลยรึไง
มีคนหวังกับผดก.ด้วยหรอ
ศึกษา 6 เดือน ออกกฏหมายอีก 6 ปี Uber อาจจะจากไปก่อน