Tags:
Node Thumbnail

การได้เข้าทำงานบริษัทไอทีชื่อดังในสหรัฐฯ ไม่ได้การันตีความเสมอภาคในการทำงานเสมอไป ผลวิจัยในสหรัฐฯเผยว่า 40% ของคนที่ลาออกจากงานไอทีในสหรัฐฯ มีสาเหตุเพราะการเลือกปฏิบัติ (unfairness) กลั่นแกล้งกันในที่ทำงาน (bullying) รวมถึงทัศนคติคนวงการไอทีที่ค่อนข้างเหยียดเพศ-เหยียดสีผิว

ผลสำรวจจาก Kapor Center for Social Impact และ Harris Poll สำรวจคนทำงานไอทีในสหรัฐฯ 2,000 คน ที่ลาออกจากงานไอทีในรอบสามปีที่ผ่านมา เผยว่าผู้หญิง 1 ใน 10 ต้องเจอประสบการณ์การคุกคามทางเพศ (unwanted sexual attention) และ 1 ใน 4 คนที่เป็นคนผิวสีลาออกจากงานไอทีเพราะต้องเจอกับการเลือกปฏิบัติ (discrimination)

ในรายงานวิจัยระบุว่าผู้หญิงผิวสีพบกับการเลือกปฏิบัติสูงสุด 30% ระบุว่าพวกเธอถูกมองข้ามจากการโปรโมทในหน้าที่การงาน นอกจากนี้ การคุกคามทางเพศในอุตสาหกรรมไอทียังสูงกว่าในอุตสาหกรรมอื่นเป็นสองเท่า

ผู้จัดทำรายงานวิจัยบอกว่า อัตราการลาออกด้วยสาเหตุนี้เป็นปัญหาใหญ่ เพราะต้องใช้จ่ายในการจัดหาพนักงานมาหมุนเวียนเป็นจำนวนมหาศาลถึง 16 พันล้านดอลลาร์

No Description
ภาพจาก รายงานฉบับเต็ม

ที่มา - The Guardian

Get latest news from Blognone

Comments

By: Witna
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 2 May 2017 - 08:35 #982447

ของคนที่ลาออกจากานไอทีในสหรัฐฯ
"ลาออกจากงาน"

By: john dick
iPhone
on 2 May 2017 - 11:54 #982523
john dick's picture

เอาจริงๆ ก็เป็นทุกวงการแหละ

By: Pride of London
AndroidUbuntuWindows
on 2 May 2017 - 11:59 #982526
Pride of London's picture

โปรโมท = เลื่อนตำแหน่ง ปะครับ

By: delta on 2 May 2017 - 12:04 #982535
delta's picture

สัญชาตญาณเพศผู้..มักขดขี่และเอาเปรียบเพศเมียเสมอมา..เพียงแต่มากหรือน้อย และ ยอมรับได้หรือไม่ เท่านั้น..แต่ผิวและชาติพันธุ์ อยู่ที่วัฒนธรรมแต่ละชนชาติ

By: zyzzyva
Blackberry
on 2 May 2017 - 12:07 #982536 Reply to:982535

ผมไม่ยอมรับ เพราะผมเป็นเพศผู้ที่ชอบกดขี่และเอาเปรียบเพศผู้ด้วยกันเอง

By: mr_tawan
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 2 May 2017 - 12:16 #982545 Reply to:982535
mr_tawan's picture

#พ่อบ้านใจกล้า


  • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
By: HMage
AndroidWindows
on 2 May 2017 - 12:20 #982548 Reply to:982535

ไม่จริงนะ จากสถานกาณ์ที่บ้านผมกลับด้านกันมากกว่า

เอาจริงๆ ผมว่าปัจจัยหลักอยู่ที่ ใครมีนิสัยชอบโวยวายใช้ความรุนแรงจะเป็นฝ่ายกดขี่คนอื่น ต่างหาก เพียงแต่เพศชายมักะมีนิสัยแบบนั้นมากกว่าเท่านั้นเอง

By: crucifier
iPhoneAndroidUbuntu
on 2 May 2017 - 12:31 #982556

ผมนึกว่าวงการไอทีจะเปิดกว้างกว่าวงการอื่นซะอีกนะ

By: nrml
ContributorIn Love
on 2 May 2017 - 12:40 #982559 Reply to:982556
nrml's picture

ผมว่ามันเป็นสัญชาตญานการเอาตัวรอดของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ปกติทั่วไปนะ อยู่ที่ว่ามันจะแสดงออกมาตอนไหน ซึ่งก็มีแบบทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว การจะเป็นมนุษย์ที่มีความศิวิไลซ์ก็จำเป็นต้องรู้จักควบคุมตรงนี้ให้ได้

By: Jaddngow
AndroidUbuntuWindows
on 2 May 2017 - 13:30 #982580
Jaddngow's picture

เลือกปฏิบัติจริง หรือเป็นพวกเรื่องมากแบบfeministคลั่ง อ่านๆดูเป็นแค่self report ไม่ได้มีการตรวจสอบว่า เหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้นจริง เติมแต่ง หรือสมเหตุสมผลหรือไม่

By: whitebigbird
Contributor
on 2 May 2017 - 13:33 #982582
whitebigbird's picture

อยากรู้ว่าการคุกคามทางเพศที่เจอมาในรูปแบบไหนบ้างครับ ผมเห็นว่าบางครั้งการถูกเนื้อต้องตัว (ไม่ได้แตะต้องด้วยสเน่หาทางเพศ) หรือแม้กระทั่งการกล่าวชมร่างกายของเพศหญิง ก็ถูกตัดสินว่าเป็นการคุกคามทางเพศ และถูกปฏิบัติเหมือนว่าเป็นความรุนแรงระดับเดียวกันทั้งหมด

อันนี้ไม่ได้โทษใครนะครับ แค่อยากรู้ว่าผลสำรวจที่พบมามันบอกลักษณะไว้ด้วยรึเปล่า

By: indyend
AndroidUbuntu
on 2 May 2017 - 15:24 #982621
indyend's picture

ศีลในบริษัทใหญ่ กำลังจะก้าวข้ามสัญชาตญาณที่ฝั่งอยู่ในตัวผู้ชายมานานแล้วเหรอเนี้ย จะทำได้มั๊ยน้าาา

By: Holy
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 2 May 2017 - 15:28 #982622
Holy's picture

Unwanted Sexual Attention เพราะผญ. ในวงการนี้มันน้อยรึเปล่าครับ อารมณ์เหมือนมี ผญ. เดินเข้าไปในโรงเรียนชายล้วน

By: illuminator
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 3 May 2017 - 09:25 #982819 Reply to:982622
illuminator's picture

โรงเรียนชายล้วนที่ผู้ชายกินกันเอง :P

By: Tanapongs
Android
on 3 May 2017 - 17:28 #982953

unfairness น่าจะแปลว่าการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม มากกว่าแปลว่าการเลือกปฏิบัตินะ
อันที่จริงแปลทั่วไป ก็อาจจะหมายถึงโดนเอาเปรียบ กดค่าแรง ไม่เกี่ยวกับเรื่องเพศเท่าไหร่
แต่อย่างว่า ไปถามคนออกจากงาน ก็ต้องใส่ไฟที่เก่าอยู่แล้วปะ